ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง)  (อ่าน 8975 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง)

๗. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ [๒๑๐]
               
               ข้อความเบื้องต้น
       
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุจฺฉินฺท" เป็นต้น.

               มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย               

               ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของพระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า "พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบายสำหรับท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของพระเถระอีก

               เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่านแล้วหรือ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน) ว่า "การถึงการปลงใจว่า ‘กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ’ ดังนี้ ย่อมไม่สมควร" แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน.

               แม้ในวาระที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอกแก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา. ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก.

               พระเถระคิดว่า "ภิกษุผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ‘มีอยู่’ และที่ไม่มีว่า ‘ไม่มี’ ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะนำ"

               จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."

               พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น               

               ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "ชื่อว่าอาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า "ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล?"

ทรงทราบว่า "จากสกุลช่างทอง" ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้นอันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า "ภิกษุหนุ่มนี้ ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วยคิดว่า "เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็นกัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ"

               จึงตรัสว่า "สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"

               เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."

               ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ               

               ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุปจารฌานเกิดแล้ว. ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ#- ๕ นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญอยู่.

#- อาการ ๕ คือ
               อาวัชชนะ การนึก, สมาปัชชนะ การเข้า, วุฏฐานะ การออก,
               อธิฏฐานะ การตั้งใจปรารถนา, ปัจจเวกขณะ การพิจารณา.


               พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.

               ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้ว จึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."

               ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้น อันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.

               ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"

               จงตัดความเยื่อใย เจริญทางสงบ               

               พระศาสดาทรงทราบว่า "บัดนี้ กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงเปล่งพระรัศมีไป. พระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น. ครั้นเมื่อท่านพิจารณาอยู่ว่า "นั่นอะไรหนอ?" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ตรงหน้า.

               ท่านลุกขึ้นแล้วประคองอัญชลี.
               ลำดับนั้น พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเธอแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-


                                       ๗.     อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน                 
                                           กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
                                           สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
                                           นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
                             เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือนบุคคลถอน
                             ดอกโกมุทที่เกิดในสรทกาลด้วยมือ, จงเจริญทางแห่ง
                             สันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพาน อันพระสุคตแสดง
                             แล้ว.



               แก้อรรถ               

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉินฺท คือ จงตัดด้วยอรหัตมรรค.
               บทว่า สารทิกํ ได้แก่ ที่เกิดแล้วในสรทกาล.
               บทว่า สนฺติมคฺคํ คือ ซึ่งทางอันมีองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน.
               บทว่า พฺรูหย คือ จงเจริญ.
               บทว่า นิพฺพานํ ความว่า เพราะพระนิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจงเจริญทางแห่งพระนิพพานนั้น.
               ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

               เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จบ.   

ที่มา: http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=7
ขอขอบคุณ
http://www.thammatipo.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=4&Category=thammatipocom&thispage=1&No=1290807
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระลูกชายนายช่างทอง
คำสอนของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ภิกษุสามเณรทั้งหลาย บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท วันนี้มาคุยกันก่อนหลับตามเดิม วันนี้เอาเรื่องสัทธิวิหาริก ท่าน พระสารีบุตร พูดไทย ๆ เขาเรียกว่าลูกศิษย์ของ พระสารีบุตร ก็แล้วกัน ใช้ศัพท์ภาษาบาลีจะไม่ใคร่รู้เรื่อง บางทีท่านผู้ฟังท่านรู้มากกว่าผมนะ ไม่แน่นอนนะ ผมก็ไม่ใช่ผู้วิเศษวิโสอะไร
 
ความมีว่าเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่ พระเชตวัน พระเชตวันสวนเจ้าเชต เขต เมืองพาราณสี ทรงปรารภ สัทธิวิหาริก พระสารีบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อุจฉินทะ เป็นต้น
 
เนื้อความในท้องเรื่องมีว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปร่างสวย บวชในสำนักของ พระสารีบุตร พระสรีบุตรท่านก็ดำริว่า คนนี้เป็นคนหนุ่ม รูปร่างหน้าตาสวยมีราคาจริตหนาคือ มีราคะหนา เข้าใจว่าอย่างนั้น แล้วท่านก็ให้เอา อสุภกรรมฐาน แก่เธอเพื่อกำจัดราคะ แต่พระกรรมฐานไม่เป็นที่สบายใจของท่าน คือไม่เหมาะแก่จริต เพราะฉะนั้นท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น 3 เดือน เอาเจริญ อสุภกรรมฐานไม่ได้
 
พระสารีบุตร จึงได้นำพระองค์เข้าไปหาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอประทาน กราบทูลให้ทรงทราบ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาแล้วก็ทราบว่า องค์นี้ไม่ใช่มี ราคะจริต เป็นคนที่มี โทสะจริต นี่มันผิดกันอย่างนี้

แล้วเวลาเจริญพระกรรมฐาน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกคนต้องระมัดระวังให้ดี การที่หวังผลจริง ๆ ในพระกรรมฐานต้องเข้าใจในจริตของตัวเอง มีหลายคนมาถามผมว่า ผมควรจะปฎิบัติจริตกองไหนก่อนครับ ผมก็ส่ายหน้าแล้วบอกไปดูเอาเอง จริตของคนมันมีด้วยกันทั้งหมด 6 อย่าง แต่ว่ามันหนักอย่างไหนทำลายอย่างนั้นก่อน
 
ต่อมาองค์สมเด็จพระชินวรก็ตรัสกับพระสารีบุตร ดูกรท่านสารีบุตร กุลบุตรที่มีศรัทธาที่ตถาคตสงเคราะห์ไม่ได้นั่นไม่มี ฉะนั้นเธอจงกลับไป เป็นหน้าที่ของตถาคตเอง ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงให้บทกรรมฐานแก่พระองค์นั้น

โดยให้กรรมฐานเกี่ยวกับโทสะจริต เพื่อเป็นการทำลายโทสะจริต ก็ได้แก่ กสิณ 4 กสิณ 4 กสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือว่าพรหมวิหาร 4 แต่เวลานั้นพระพุทธเจ้าทรงเลือกเอา กสิณสีแดง เป็นที่ถูกใจของเธอ กสิณ ทั้ง 4 อย่างนี้ ทำทั้ง 4 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งถูกใจเราทำแบบนั้น
 
แต่พระองค์นั้นจิตใจชอบใจกสิณสีแดง ซึ่งจะถูกกับใจ พระพุทธเจ้าทรงให้กสิณสีแดง ที่เรียกว่า โลหิตกสิณ คือเนรมิตดอกบัวทองคำขึ้นดอกหนึ่งแล้วให้เป็นสีแดง อธิษฐานให้เป็นสีแดงก็เป็นสีแดง แล้วมอบให้แก่พระองค์นั้น ให้ไปที่กองทรายหน้าวิหาร หลังจากนั้นให้มองกองทราย

โดยเอาก้านดอกบัวจิ้มลงไปในกองทรายแล้วก็ลืมตาดู จำภาพสีแดงให้ได้ หลังจากนั้นก็หลับตา ภาวนาว่า สีแดง สีแดง สีแดง โลหิตกสิณัง โลหิตกสิณัง เป็นต้น บาลีเรียกว่า โลหิตกสิณัง แล้ว โลหิตกสิณัง ก็ได้ กสิณัง ก็ได้ แปลว่าสีแดง นึกในใจว่าสีแดง จำไว้สีแดง สีแดง สีแดง จะได้เป็นสมาธิในคำภาวนา แล้วใจก็จับภาพสีแดง พอภาพเลือนไป ก็ลืมตามาดูใหม่
 
ไอ้แบบนี้ผมเคยบอกไป บางคนบอกว่าเพ่งซะน้ำตาไหล แสบตา อันนี้ไม่ถูก คือลืมตาตั้งใจจำแล้วก็หลับตานึกถึงภาพ

วิธีปฎิบัติกสิณจริง ๆ เขาทำแบบนี้ คือเรามีที่ใดที่หนึ่งตั้งกสิณไว้ ก็ไปนั่งหลับตาลืมตานึกถึงภาพกสิณ จนกระทั่งติดใจ พอติดใจแล้วกลับมานอนที่เดิม นั่งที่เดิม นั่งก็ได้ นอนก็ได้ เดินก็ได้ นึกถึงภาพกสิณกองนั้นให้ขึ้นใจ อย่างกสิณสีแดงนี่

กสิณทุกกองหรือกรรมฐานทุกกองจะมีสภาพเหมือนกัน มันจะคลายจากสีเดิม สีแดงคลายจากสีแดงลงมา สีจะค่อย ๆ คลาย ถ้าจิตเข้าถึง อุปจารสมาธิ

ถ้ายังเป็น ขณิกสมาธิ อยู่มันก็เป็นสีแดงตามเดิม
 
ถ้าเริ่มเป็น อุปจารสมาธิ จะคลายจากสีแดงอ่อนลง อ่อนลงจนกระทั่งกลายเป็นสีเหลือง

จิตดีขึ้น อุปจารสามาธิเข้มขึ้น จะค่อย ๆ ขาวขึ้นทีละน้อย จนกระทั่งขาวโพลนหมด


เมื่อขาวโพลนหมดทีนี้เมื่อกำลังจิตดีขึ้นกว่านั้น ก็จะบังคับสี ขยายให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ อยู่สูงก็ได้ อยู่ต่ำก็ได้ อยู่ข้าง ๆ ก็ได้ อยู่ข้างหน้าก็ได้ อยู่ข้างหลังก็ได้

จิตจะเห็นภาพอันนั้นอยู่ที่ๆ เราต้องการ อย่างนี้ถือว่าเป็น อุปจาระ เต็มที่
 
ต่อไปสีขาวจะคลายไปทีละน้อย ๆ จนเป็นประกายขึ้นแวววาวเป็นระยับสะท้อนแสงพระอาทิตย์ ผมก็ไปจำเอาภาษานักประพันธ์เขามาพูด แพรวพราวเป็นระยับตอนนี้เป็นฌาน เป็นฌานนี่ต้องสังเกตว่า

ถ้าฌานที่ 1 เห็นภาพแพรวพราวเป็นระยับ หูได้ยินเสียงชัดเจนแจ่มภายนอกมาก จิตยังภาวนาเป็นสีแดง สีแดงอยู่แต่ว่าไม่รำคาญในเสียงนั้น อย่างนี้เป็น ปฐมฌาน แล้วจิตก็ยังรู้ลมหายใจเข้าออก
 
หลังจากนั้นเมื่อเข้าถึง ฌานที่ 2 คำภาวนาจะหายไป ลมหายใจเข้าออกจะเบา จิตจะมีความ ชุ่มชื่นดีกว่าเก่า ภาพชัดเจนดีกว่าเก่า แพรวพราวดีกว่าเก่า อันนี้เป็นลักษณะของฌานที่ 2
 
พอถึง ฌานที่ 3 ความอิ่มเอิบหายไป จิตสงัดมากขึ้น ลมหายใจเบา รู้สึกเบามาก เสียงภายนอกที่สะท้อน ที่สะท้อนเข้ามาถึงหูได้ยินเสียงแว่ว ๆ เบาลงไปทุกที อาการทางกายตึงเป๋ง เครียด นอน ธรรมดา นั่งธรรมดาเหมือนกับใครจับมัดติดกับเสาแน่น อย่างนี้เป็นอาการของ ฌานที่ 3
 
พอถึงอาการของ ฌานที่ 4 จิตจะผ่องใส กสิณจะโพลง แจ่มมาก จิตจะทรงตัว หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก ลมหายใจไม่รู้สึกหายใจ เป็นอาการของฌานที่ 4 ที่สุดของกสิณ ต้องทำให้คล่อง
 
พระองค์นั้นเข้าถึงจิตตอนนั้นพอดีสมเด็จพระชินศรี อยู่พระเชตวันวิหาร ก็ทรงพิจารณาว่า ฌานของเธอถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่าเราจะไม่ช่วย จะทำวิเศษขึ้นได้ไหม เป็นพระอริยะได้ไหม ก็ทรางทราบว่าถ้าไม่ช่วย ไม่สามารถจะเป็นพระอริยเจ้าได้

แล้วก็ทรงอธิษฐานว่าขอดอกบัวนั้นจงเหี่ยวแห้งไป ดอกบัวดอกนั้นก็เหี่ยว ความสดใสก็หายไป แล้วก็กลายเป็นสีดำเหมือนดอกบัวที่ถูกขยี้ด้วยมือ


ภิกษุองค์นั้นออกจากฌานแล้วแลดูดอกบัวนั้น นึกถึงเป็นอนิจจัง ลักษณะนี้เป็นอาการไม่เที่ยง เอ๊ะ เมื่อกี้นี้ก็สดใสนี่นา แล้วทำไมก็เหี่ยวไปแล้ว ก็สีดำปรากฎขึ้นได้แปลกจริง ๆ

ต่อมาเมื่อปรากฎว่า อนุปปาทินนกะ แม้สังขารมาเทียบกับร่างกายของตน ไอ้ร่างกายของเรามันก็เป็นแบบนี้

เมื่อก่อนเราเป็นเด็ก ตอนนี้เราเป็นหนุ่ม ไม่ช้าก็แก่เหมือนพ่อ ก็ย่ำแย่เหมือนยาย ผลที่สุดก็ตายแน่ ในที่สุดก็เห็นว่าไม่เป็นเรื่อง

การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพต่าง ๆ ไม่ได้ความ มันเต็มไปด้วยความทุกข์ หาความแน่นอนไม่ได้ ไอ้ดอกบัวมันดีกว่า เนื้อหนังของเรายังเป็นแบบนี้

ผลที่สุดท่านก็ตัดอารมณ์ความรู้สึกในร่างกายเสียได้ เป็นพระอรหันต์ประกอบไปด้วยปฎิสัมภิทาญาณ
 
เรื่องนี้ที่ผมนำมาเล่าสู่ท่านฟัง บรรดาญาติโยมพระภิกษุทั้งหลาย อย่าประมาทในการปฎิบัติของตน คิดว่าเราได้มโนมยิทธิเข้าใจเรื่องสวรรค์ เรื่องพรหมโลก เรื่องพระนิพพาน เรื่องเทวดา เรื่องนรก เปรต อสุรกาย สามารถทำปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เกิดขึ้นได้ ถอยหลังชาติได้ อะไรก็ตามทั้งหมดนี่เรายังดีไม่พอ อันนี้เป็นเรื่องของ สมถภาวนา ควบวิปัสสนาภาวนา ต้องเร่งรัดให้สมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนาให้ขึ้นใจตามจริตของเรา
 
ที่มา  http://larntum.in.th/cgi-bin/kratoo.pl/011097.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตามมาอ่านเรื่องนี้ จึงเข้าใจว่า แม้แต่พระสารีบุตร ก็ยังให้กรรมฐาน ผิดทำให้ศิษย์ฝึกเสียเวลาไปถึง 3 เดือน

และเกิดความเบื่อหน่ายในการภาวนา แต่ท่านก็ยังได้อุตส่าห์พาศิษย์ไปหาพระพุทธเจ้า ประทานกรรมฐานให้

ใหม่ จนได้สำเร็จเ้ป็นพระอรหันต์

  ดังนั้น ถ้าเทียบกับพระอาจารย์ ตามสำนักในปัจจุบันนี้ ก็มีโอกาสแนะนำผิดด้วยเช่นกันใช่ไหม เจ้าคะ

 ดังนั้นจะมีกรรมฐาน อะไรที่เป็นกรรมฐาน กลาง ๆ ที่ไม่ทำให้เสียเวลาในการฝึกบ้่างคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มีแน่นอนครับ แต่ติดไว้ก่อน พรุ่งนี้จะมาตอบให้
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จริตใด?? เหมาะกับสมถกรรมฐานกองไหน??
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 07:42:46 am »
0
จริตใดเหมาะกับสมถกรรมฐานกองไหน

จริต หรือ จริยา ๖ (ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน)
 
ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต


๑. ราคจริต (ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม)
กรรมฐานคู่ปรับสำหรับแก้ คือ

๑.๑ อสุภะ ๑๐
-   อุทธุมาตกอสุภ   
-   วินีลกอสุภ   
-   วิปุพพกอสุภ   
-   วิฉิททกอสุภ 
-   วิกขายิตกอสุภ   
-   วิขิตตกอสุภ
-   หตวิกขิตตกอ
-   โลหิตกอ   
-   ปุฬุวกอสุภ
-   อัฏฐิกอสุภ
 
๑.๒ กายคตาสติ

 
๒. โทสจริต (ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด)
กรรมฐานที่เหมาะ คือ
 
๒.๑ พรหมวิหาร ๔
 
๒.๒ วรรณกสิณ อีก ๔ กอง
-   นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)
-   ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)
-   ลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)
-   โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)

 
๓. โมหจริต (ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึมเงื่องงง งมงาย)
กรรมฐานที่เกื้อกูล คือ
 
-   อานาปานสติ
และพึงแก้ด้วยมีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาลหรืออยู่กับครู

๔. สัทธาจริต (ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย) พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น
 
พิจารณาอนุสติ ๖ ข้อ คือ
-   พุทธานุสสติ   
-   ธัมมานุสสติ 
-   สังฆานุสสติ   
-   สีลานุสสติ   
-   จาคานุสสติ 
-   เทวตานุสสติ


๕. พุทธิจริต หรือ ญาณจริต (ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปในทางใช้ความคิดพิจารณา)
กรรมฐานที่เกื้อกูล คือ

-   มรณานุสสติ   
-   อุปสมานุสสติ 
-   อาหาเรปฏิกูลสัญญา   
-   จตุธาตุวัตถาน


๖. วิตกจริต (ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น
 
-   อานาปานสติ



กรรมฐานที่เป็นกลางๆเหมาะกับทุกจริต (มีจริตอะไรก็ตาม สามารถฝึกกรรมฐานนี้ได้) คือ

๑. อรูปฌาณ ๔
   
๒. ภูตกสิณ ๔ กอง คือ
-   ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน, กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์)
-   อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)
-   เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)
-   วาโยกสิณ (กสิณคือลม)
 
๓. กสิณอื่นๆ อีก ๒ กอง
-   อาโลกกสิน   
-   อากาสกสิณ


ที่มา คัมภีร์วิสุทธิมรรค



การฝึกกรรมฐานทุกกอง ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง จะช้าหรือเร็วอย่างไร

ขึ้นอยู่กับ บารมีเดิมที่สั่งสมมา และอีกอย่าง คือ ความเพียร

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :c017: :25:

ขอบคุณ คะ อนุโมทนากับคำตอบที่เอื้อเฟื้อมาจริง ๆ
 :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าอย่างนี้ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็เป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริต ที่มีความเชื่อโดยง่าย ใช่หรือไม่คะ
คนเรามีจริต เดียวหรือไม่คะ หรือมีประกอบกันทั้ง 6 จริตคะ

  การจัดจริต เลือกเฉพาะ ที่หนัก ๆ ในจริตใช่หรือไม่คะ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี