ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พรหมชาลสูตรที่ ๑.ชี้ชัดว่า กายพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่  (อ่าน 13599 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
0
[quote name='ไร้สังกัด' timestamp='1286071539' post='5923']
พรหมชาลสูตรที่ ๑.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว
ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา
ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.


ไม่ว่าจะเป็น จิต เจตสิก รูป หรือ กาย ก็ไม่มีอะไรเหลือ แล้วจะไปเหลือจิตบริสุทธิ์ อะไรที่ไหน

[/quote]

เอาพรหมชาลสูตรที่ 1 มาลง  แต่คุณไม่เข้าใจความหมายอะไรเลย

พรหมชาลสูตรที่ ๑.

พระพุทธพจน์

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่"


พรหมชาลสูตรที่ ๑.ชี้ชัดว่า

กายของตถาคต......... ยังดำรงอยู่  = กายนี้เป็นกายแท้ ที่เป็นอัตตา(เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา) = ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ = กายอนัตตาท่ตายไป เพราะมันไม่เที่ยง ทุกข์ แปรปรวนเป็นธรรมดา = เกิด แก่ เจ็บ ตาย

ปรมัตถธรรม มี 4 อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน     จิตหมายถึงจิตสังขาร   นิพพานหมายถึงนิพพานจิต

พระสูตรในนิกายเซ็น: พระพุทธเจ้าตรัสว่า " ดูกรกัสสปะ ท่านมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้อง เพราะนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะ เธอพงรักษาไว้ให้ดี ”

คาถาพระนิพพานนิมิต
" นิมิตจิตติ นิมิตจิตตา นิพพานจิตติ นิพพานจิตตา [size="4"][/size]"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 04, 2010, 11:28:28 am โดย tuenum »
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พรหมชาลสูตร ฉบับเต็ม พิจารณาข้อความทั้งหมด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 03:37:46 pm »
0
ดิฉันไม่สามารถในส่วนที่ยกมาอ้างอิงนั้นได้ เนื่องด้วยฉบับจริง และเป็นฉบับที่รับรองด้วยฝ่ายหินยาน เถรวาท

เพื่อนสมาชิกโปรดอ่านให้ถี่ถ้วนคะ





เล่มที่ ๙ ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
เป็นพระสุตตันตปิฎก(เล่ม ๑)

  ๑. พรหมชาลสูตร
สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ

    พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เดินทางอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา มีปริพพาชก ( นักบวชนอกศาสนา) ชื่อสุปปิยะ พร้อมด้วยศิษย์ชื่อพรหมทัตมาณพ เดินทางมาข้างหลัง. สุปปิยะ ปริพพาชก ติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ศิษย์กล่าวสรรเสริญ . เมื่อถึงเวลากลางคืนภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันถึงเรื่องศิษย์อาจารย์กล่าว แย้งกันเรื่องสรรเสริญ ติเตียนพระรัตนตรัย พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงตรัสเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ ๒. แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล ๓ ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย ศีลอย่างกลาง ศีลอย่างใหญ่.๓.

   
ศีลอย่างเล็กน้อย ( จูฬศีล)

    ๑. เว้นจากฆ่าสัตว์ , ลักทรัพย์, ประพฤติล่วงพรหมจรรย์.
    ๒. เว้นจากพูดปด, พูดส่อเสียด ( ยุให้แตกกัน) , พูดคำหยาบ ๆ , พูดเพ้อเจ้อ.
    ๓. เว้นจากทำลายพืชและต้นไม้.
    ๔. ฉันมื้อเดียว เว้นจากการฉันอาหารในเวลากลางคืน , เว้นการฉันในเวลาวิกาล, เว้นจากฟ้อนรำขับร้อง ประโคม และดูการเล่น, เว้นจากทัดทรง ประดับประดาร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิวต่าง ๆ , เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่มีภายในใส่นุ่นหรือสำลี, เว้นจากการรับทองและเงิน.
    ๕. เว้นจากการรับข้าวเปลือกดิบ, เนื้อดิบ, เว้นจากการรับหญิง หรือหญิงรุ่นสาว, เว้นจากการรับทาสี ทาสา, เว้นจากการรับแพะ, แกะ, ไก่, สุกร, ช้าง, โค, ม้า, ลา, เว้นจากการรับนา, สวน.
    ๖. เว้นจากการชักสื่อ, การค้าขาย, การโกงด้วยตาชั่ง ด้วยเงินเหรียญ ( สำริด) และด้วยการนับ ( ชั่ง, ตวง, วัด,) . เว้นจากการใช้วิธีโกงด้วยให้สินบน หลอกลวงและปลอมแปลง, เว้นจากการตัด ( มือ , เท้า ) การฆ่า การมัด การซุ่มชิงทรัพย์ ( ในทาง ) การปล้น การจู่โจมทำร้าย.

   
ศีลอย่างกลาง ( มัชฌิมศีล )

    ๑. เว้นจากการทำลายพืช     ๒. เว้นจากการสะสมอาหารและผ้า เป็นต้น
    ๓. เว้นจากการเล่นหลากชนิด เช่น ฟ้อนรำ เป็นต้น
    ๔. เว้นจากการพนันต่างชนิด     ๕. เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
    ๖. เว้นจากการประดับประดาตกแต่งร่างกาย
    ๗. เว้นจากการติรัจฉานกถา ( พูดเรื่องไร้ประโยชน์หรือที่ขัดกับสมณเพศ)
    ๘. เว้นจากการพูดแข่งดีหรือข่มขู่กัน     ๙. เว้นจากการชักสื่อ
    ๑๐. เว้นจากการพูกปด, การพูดประจบ , การพูดอ้อมค้อม ( เพื่อหวังลาภ), การพูดกด, การพูดเอาลาภแลกลาภ ( หวังของมากด้วยของน้อย). ( ในแต่ละข้อนี้มีการแจกรายละเอียดออกไปมาก).

   
ศีลอย่างใหญ่ ( มหาศีล)

    ๑. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายนิมิต , ทายฝัน, ทายหนูกัดผ้า เป็นต้น.
    ๒. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ดูลักษณะแก้วมณี , ลักษณะไม้ถือ, ลักษณะผ้า , ลักษณะศัสตรา เป็นต้น.
    ๓. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายทักเกี่ยวกับพระราชา ด้วยพิจารณาดาวฤกษ์
    ๔. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายจันทรุปราคา สุริยปราคา เป็นต้น.
    ๕. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายฝนชุก ฝนแล้ง เป็นต้น.
    ๖. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น การบน , การแก้บน , การประกอบยา เป็นต้น.
    ( ในที่นี้มีคำว่า ติรัจฉานวิชา อย่างพิสดาร ฝรั่งใช้คำว่า low arts เมื่อพิสจารณาตามศัพท์ “ ติรัจฉาน” ซึ่งแปลว่า “ ไปขวาง” ก็หมายความว่า วิชาเหล่านี้ขวาง หรือไม่เข้ากับความเป็นสมณะ มิได้หมายความว่าเป็นวิชาของสัตว์ดิรัจฉาน เพราะฉะนั้น ถ้อยคำที่พระไม่ควรพูด จึงจัดเป็นติรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขวาง หรือขัดกับสมณสารูป. วิชาที่พระไม่ควรเกี่ยวจึงจัดเป็นติรัจฉานวิชา คือวิชาที่ขวาง หรือขัดกับความเป็นพระ . ส่วนสัตว์ดิรัจฉานที่มีชื่ออย่างนั้น เพราะเพ่งกิริยาที่ไม่ตั้งตัวตรง เดินไปอย่างคน แต่เอาตัวลง เอาศีรษะไปก่อน เมื่อไม่ได้ไปตรง ก็ชื่อว่าไปขวาง).

   
ทิฏฐิ ๖๒ ประการ

    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงความคิดเห็น ๖๒ ประการของสมณพราหมณ์ในครั้งนั้น คือพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องตั้นของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร ( ปุพพันตกัปปิกะ) ๑๘ ประเภท กับพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องต้นสิ่งต่าง ๆ ว่าจะลงสุดท้ายอย่างไร ( อปรัตกัปปิกะ) ๔๔ ประเภท ( รวมเป็น ๖๒ ) ดังต่อไปนี้:-

   
ความเห็นปรารภเบื้องต้น ๑๘

    ทิฏฐิหรือความเห็นประเภทนี้ ( ปุพพันตกัปปิกะ) ที่มี ๑๘ นั้น แบ่งออกเป็น ๕ หมวด คือหมวดที่เห็นว่าเที่ยง ( สัสสตวาทะ) ๔, เห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ( เอกัจจสัสสติกะ เอกัจจอสัสสติกะ) ๔, เห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ( อันตานันติกะ) ๔, พูดซัดส่ายไม่ตายตัวเหมือนปลาไหล ( อมราวิกเขปิกะ) ๔, เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ ( อธิจจสมุปปันนะ) ๒ รวมเป็น ๑๘ ดังรายละเอียด คือ :-

   

(๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง ( สัสสตวาทะ) ๔
      ๑. เห็นว่าตัวตน ( อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ.
      ๒. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกได้เป็นกัปป์ ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึง ๑๐ กัปป์.
      ๓. เห็นว่าตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ๆ ตั้งแต่ ๑๐ กัปป์ถึง ๔๐ กัปป์.
      ๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกเที่ยง.

   

(๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ( เอกัจจสัสสติกะ เอกัจจอสัสสติกะ) ๔
      ๑. เห็นว่าพระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง.
      ๒. เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน ( ขิฑฑาปโทสิกา) ไม่เที่ยง.
      ๓. เห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น ( มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง.
      ๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง.

   

(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ( อัตตานันติกะ) ๔
      ๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด. ๒. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด.
      ๓. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับตัวล่าง ส่วนด้านกว้างหรือด้านขวางไม่มีที่สุด.
      ๔. นักเดา เดาตามความคาดคิดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่.

   

(๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล ( อมราวิกเขปิกะ) ๔
      ๑. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่, อย่างนั้นก็ไม่ใช่ , อย่างอื่นก็ไม่ใช่ , มิใช่ ( อะไร) ก็ไม่ใช่.
      ๒. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑.
      ๓. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ .
      ๔. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย.

   

(๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ ( อธิจจสมุปปันนะ ) ๒
      ๑. เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์.
      ๒. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ.

   
ความเห็นปรารภเบื้องปลาย ๔๔

    ทิฏฐ หรือความเห็นปรารภเบื้องปลาย ( อปรันตกัปปิกะ) ที่มี ๔๔ นั้น แบ่งออกเป็น ๕ หมวด หมวดที่เห็นว่ามีสัญญาความจำได้หมายรู้ (สัญญีวาทะ) ๑๖ , หมวดที่เห็นว่าไม่มีสัญญา ( อสัญญีวาทะ) ๘, หมวดที่เห็นว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ( นวสัญญีนาสัญญีวาทะ) ๘. หมวดที่เห็นว่าขาดสูญ ( อุจเฉทวาทะ) ๗, หมวดที่เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ( ทิฏฐิธัมมนิพพานวาทะ) ๕ รวมเป็น ๔๔ ดังรายละเอียด คือ :-

   

(๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา ( สัญญีวาทะ) ๑๖
      ๑. ตนมีรูป     ๒. ตนไม่มีรูป
      ๓. ตนทั้งมีรูป ทั้งไม่มีรูป     ๔. ตนมีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่
      ๕. ตนมีที่สุด     ๖. ตนไม่มีที่สุด
      ๗. ตนทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด     ๘. ตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่
      ๙. ตนมีสัญญา ( ความจำได้หมายรู้) เป็นอันเดียวกัน
      ๑๐. ตนมีสัญญาต่างกัน     ๑๑. ตนมีสัญญาเล็กน้อย
      ๑๒. ตนมีสัญญาหาประมาณมิได้     ๑๓. ตนมีสุขโดยส่วนเดียว
      ๑๔. ตนมีทุกข์โดวยส่วนเดียว     ๑๕. ตนมีทั้งสุขทั้งทุกข์
      ๑๖. ตนไม่มีทุกข์ไม่มีสุข

    ตนทั้งสิบหกประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น.

   

(๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา ( อสัญญีวาทะ) ๘
      เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ ข้างต้น คือตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งแปดประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้.

   

(๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ( เนวสัญญีวาทะ) ๘
        เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ ข้างต้น คือตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งแปดประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
        ทั้งสามหมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้วจเป็นอย่างไร.

   

(๔) หมวดเห็นว่าขาดสูญ ( อุจเฉทวาทะ) ๗
      ๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์ ๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
      ๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากไป ๔. ตนที่เป็นอากาสนัญจายตนะ ๔.
      ๕. ตนที่เป็นวิญญาณัญจายตนะ ๖. ตนที่เป็นอากิจจัญญายตนะ
      ๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ทั้งเจ็ดประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้ว ก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก.

   

(๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน ( ทิฏฐิธัมมนิพพาน) ๕
        ๑. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน. ๒, ๓, ๔, ๕ เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน.

   
สรูป

    ในที่สุดได้ตรัสสรูปว่า สมณพราหมณ์ทุกพวกที่ทิฏฐิความเห็นความเห็นต่าง ๆ รวม ๖๒ ประการเหล่านี้ ย่อมได้เสวยอารมณ์ เพราะอาศัยอายตนะสำหรับถูกต้อง ๖ อย่าง ( คือตา, หู , จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ,), เพราะเหตุที่เสวยอารมณ์จึงเกิดตัณหาความทะยานอยาก, เพราะเหตุที่มีความทะยานอยาก จึงมีความยึดมั่นถือมั่น, เพราะเหตุที่มีความยึดมั่นถือมั่น จึงมีภพ คือความมีความเป็น, เพราะเหตุที่มีความมีความเป็น ( ภพ) จึงมีชาติ คือความเกิด , เพราะเหตุที่มีความเกิด จึงมีความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมติดอยู่ในข่ายแห่งความเห็นทั้งหกสิบสองนี้เหมือนปลาติดข่ายฉะนั้น.

    ส่วนตถาคตเป็นผู้ถอนตัญหาอันจะนำให้เวียนอยู่ในภพได้แล้ว กายยังดำรงอยู่ตราบใด ก็มีผู้แลเห็นเมื่อกายทำลายไปแล้ว ก็ไม่มีผู้แลเห็น.


บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การยก ข้อความพระพุทธวจนะนั้น ควรคำนึงข้อแตกต่างดังนี้

  1.พระพุทธวจนะ มีการแสดงอยู่ 2 แบบ

     1. แสดงแก่มหาชน หมู่ใหญ่ ไม่เจาะจงลงไปผู้หนึ่ง ผู้ใด เป็นหลัึกธรรมสากล เช่น ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร

   อนัตตลักขณสูตร เป็นต้น
   
     2. แสดงเฉพาะเจาะจง ลงไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่ืนทรงสอนกรรมฐาน พระจูฬปันถก ด้วยวิธีการ

  ภาวนาว่า รโช หรณัง เป็นต้น ผู้ฝึกก็ฝึกได้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นหัวข้อธรรมส่วนนี้ถึงแม้แสดงออกมา ก็ไม่

  ควรจะชี้แจงให้ตื้นลึก เพียงกล่าวดำรัสนั้นโดยตรง และไม่แตกอรรถกา เพราะการแตกอรรถกถา คือการใส่

  ความเห็น
 
  2. หลักธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงแสดง มี  3 นัยยะ

    1. เพื่อชนที่ไม่เลื่อมให้เลื่อมใส ธรรมที่แสดงส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องศีล
   
        ธรรมะส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำให้ปีติ ปราโมทย์ ยินดีในกุศลเป็นหลัก

    2. เพื่อชนที่เป็นกลาง และสั่งสมบารมี

        ธรรมะส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำให้กำลังใจ แก่พระโพธิสัตว์ และ ผู้ไม่ปรารถนาการสิ้นภพสิ้นชาติในพระ

 พุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน

    3. เพื่อภิกษุ ผู้เป็นพุทธสาวก ผู้ที่เลือกพระนิพพาน โดยตรง

       ธรรมะส่วนนี้เป็นส่วนที่แสดงให้แก่พระโยคาวจร
 
   ข้อความปรากฏใน อุทุทพิกสูตร สุตตันตปิฏก เล่มที่ 11 ฑีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์


 

  การแสดงธรรมพึงมีความฉลาด ในการ สัปปุริสธรรม  7 ประการ

  ดังนั้นเพื่อนสมาชิก พึ่งรับทราบ และ
 
  พึ่งศึกษา ธรรมวิจยะ เพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส ตามคำสั่งของพระอาจารย์

  วันนี้พระอาจารย์ให้โอวาท ไว้กรุณาไปอ่านกันก่อน


  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1264.0

  สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
โปรดเชื่อมั่น ในอริยมรรค
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 03:58:44 pm »
0
ในส่วนที่กล่าวนั้น tuenum มาแสดงคล้าย สถาบันแสงทิพย์อริยธรรมเชียงใหม่

ดิฉันเป็นลูกศิษย์ ของ อาจารย์มานิตย์ สุทธจิตต์

เนื่องด้วยดิฉันอยู่ที่เชียงใหม่

เนื่องด้วยเรา ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่บัญญัติในสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติถึงแม้ว่าจะมีอยู่มากมายในป่า

แต่ที่พระองค์ทรงแสดง ก็มากพอแล้ว

ดิฉันเชื่อมั่นใน อริยมัคคสูตร และ อริยสัจจะสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงไว้ดีแล้ว

โดยไม่ต้องเพิ่มเติม อรรถกถา

 :73:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2010, 04:03:04 pm โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
Re: พรหมชาลสูตร ฉบับเต็ม พิจารณาข้อความทั้งหมด
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2010, 11:13:59 am »
0

    ส่วนตถาคตเป็นผู้ถอนตัญหาอันจะนำให้เวียนอยู่ในภพได้แล้ว กายยังดำรงอยู่ตราบใด ก็มีผู้แลเห็นเมื่อกายทำลายไปแล้ว ก็ไม่มีผู้แลเห็น.

พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาทางเถรวาทว่า กายพระองค์มี 2 กาย คือ กายเนื้อ(นิรมาณกาย) และธรรมกาย

พระพุทธเจ้าตรัสสอนไปทางมหายานว่า กายพระองค์แยกให้ละเอียดแล้วมี 3 กาย คือ กายเนื้อ(นิรมาณกาย) และธรรมกาย และสัมโภคกาย(กายทิพย์ที่วนเวียนอยู่ในปรโลกให้ผู้คนพบเห็นได้)


คุณครูนภา ไม่มีทางเห็นพระพุทธเจ้า  เมื่อกายเนื้อ(นิรมานกาย)ของพระองค์ตายไปแล้ว  เพราะคุณยังไม่ตาย และยังเข้าไม่ถึงโลกุตตระธรรม  เพราะพระพุทธองค์บอกวิธีพบเห็นพระองค์ไว้แล้วว่า

"ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นเห็นเราตถาคต  ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"

แต่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงปู่มั่น หลวงพ่อคง หลวงพ่อสด หลวงปู่ดู่ ฯลฯ ท่านสามารถพบพระพุทธเจ้าได้ เพราะพวกท่านได้เข้าถึงโลกุตตระธรรมแล้ว  แต่ถูกไอ้พวกปริยัติที่ไม่ปฏิบัติ ไปกล่าวหาพวกท่านว่า "วิปัสสนูกิเลส"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 04, 2010, 11:24:36 am โดย tuenum »
บันทึกการเข้า

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิรมานกาย หรือ นิรมานกาย ในบาลีพระไตรปิฏก ของ เถรวาท ไม่มีครับ

คำ่ว่า กายเนื้อ ไม่มีครับ มีแต่ กาย เฉยๆ ระมัดระวังด้วยครับ

การนำเสนอ ควรบอกที่มาของ คัมภีร์ที่ชัดเจน เช่นนำมาจาก มหายาน หรือ เถรวาท

 เพราะแนวพระไตรปิฏก มีสอดคล้องกันบ้าง บางอันก็ไม่มีนะครับ เนื่องด้วยเถรวาท ไม่เพิ่ม และ ไม่ลด

 ถ้าข้อความเป็นอรรถกถา ควรระบุด้วยครับ

 ถ้าข้อความเป็นความคิดของเราเอง ก็ควรกล่าวไว้ครับ

 ไม่ใช่ ใช้พระพุทธวัจนะ สลับความคิดเห็นเรา แทรกอรรถกถา นั้น สลับเล่ม คัมภีร์ กันไปมา

 อีกอย่างถ้าข้อความใด เป็นข้อความที่ไม่ชัดเจน ควรกล่าวข้อปฏิบัติวิธีการให้ถึง

 โดยยึดกับการให้วิธีปฏิบัติ ไม่ใช่ให้น้อมใจเชื่อไปเป็นอะไร

 ให้พิจารณาความจริง ของศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นมุ่งภาวนาเป็นหลัก

 การภาวนาก็เพื่อละสิ้นจากสังสารวัฏฏ์ คือ พระนิพพาน

 ควรกล่าววิธีการ ในการเข้าถึง พระนิพพาน ที่เป็นการสละตัวตน และ กิเลส โดยตรง

   :25: :25:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำว่า อติเทวา อาทิเทวา ก็ไม่ปรากฏใน บาลี ของพระไตรปิฏก ฉบับ เถรวาทครับ

อ้างถึง
แต่ถูกไอ้พวกปริยัติที่ไม่ปฏิบัติ

ส่วนการที่คนไม่เชื่อในแนวคิด หรือ ความคิดของเรา นั้นก็ไม่ควรไปกล่าวร้าย หรือ ใช้วาจาเสียดสี หรือสบประมาท

ครับ ผมมองว่าในเมื่อเราเป็นผู้ปฏิบัติภาวนาได้ เช่น คุณจะเป็นพระอริยะระดับใดก็ตาม ผมว่าความเมตตาควรจะมี

ไม่ควรกล่าว ผรุสวาจา ส่อเสียด เพื่อทำให้ใจคนอื่นเศร้าหมอง

  อีกอย่าง ความเชื่อเป็นเรื่องส่วนบุคคล ทำไมจะต้องทำให้เขาเชื่อ ถ้าสิ่งที่คุณคิดเป็นสิ่งที่ดี ประกอบด้วยคุณธรรม

แล้ว ไม่ต้องไปเกรงว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ หรอกครับ โปรดให้เขาได้วิจาณญาณเอง

  พระตถาคต พระองค์ตรัสไว้ว่า พระองค์เป็นแต่เพียงผู้บอก อกฺขาตาโร ตถาคตา

  เราทำหน้าที่บอกแล้วก็จบ ใครจะเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ ก็ไม่ต้องไปใส่วาจา หรือประทุษร้ายจิตใจใคร

  จะสะใจอะไรครับ เมื่อเราเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย วันนี้เขาไม่ไปนิพพาน วันหน้าเขาก็ไปได้

  แต่วันนี้ขอให้ทุกคนได้สร้างกรรมที่ดี เพื่อบารมี หรือ กุศล เจตนาเพื่อพระินิพพาน


      :25: :25:

 
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนูปวาโท อนูปฆาโต  การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย

  แผ่เมตตา เถอะครับ เขาจะหลงผิด หรือว่า หลงถูก ก็ไม่ควรจะใส่วาจาส่อเสียดใส่

  ไม่ควรครับ

  ส่วนเรื่องความเชื่อ นั้นบังคับกันไม่ได้ ในเมื่อคุณปฏิบัติดี พูดไปเขาไม่เชื่อ ก็ไม่พึงไปดูหมิ่นว่าเขาไม่เชื่อ

เป็นพวกลา พวกโง่ ขอให้ยืนอยู่บนทางเมตตา ชนทั้งหลายก็จักให้ความเคารพซึ่งตัวคุณเอง

  อันว่าความเชื่อ เป็นเรื่องส่วนบุคคล เขาเชื่อคุณ แล้วเป็นอย่างไร เขาไม่เชื่อคุณ แล้วเป็นอย่างไร

ไม่ได้เกี่ยวกันเลย มันเกี่ยวแค่คุณทำหน้าที่ด้วยความเมตตา ก็เพียงพอแล้วครับ

   เมตตาธรรม เป็นเครื่องค้ำจุนโลก ครับ

    :25: :25:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
    พรหมชาลสูตร ของครูนภา ( จากพระไตรปิฏก ฉบับประชาชน สุชีพปุญญานุภาพ )
 
    ส่วนตถาคตเป็นผู้ถอนตัญหาอันจะนำให้เวียนอยู่ในภพได้แล้ว กายยังดำรงอยู่ตราบใด ก็มีผู้แลเห็น เมื่อกายทำลายไปแล้ว ก็ไม่มีผู้แลเห็น.

    พรหมชาลสูตร ของคุณ tuenum
   
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่"

    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค - หน้าที่ 44

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา   
และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว     
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต
เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว     
ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ   
ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา     
ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.   
        เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า   
น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า.     
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า

อรรถชาละก็ได้ 

ว่าธรรมชาละก็ได้

ว่าพรหมชาละก็ได้

ว่าทิฏฐิชาละก็ได้

ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้.


        ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม     
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ หมื่น   
โลกธาตุได้หวั่นไหวแล้วแล.   
                              จบพรหมชาลสูตรที่ ๑.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 04, 2010, 10:33:58 pm โดย pussadee »
บันทึกการเข้า

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
0
    พรหมชาลสูตร ของครูนภา ( จากพระไตรปิฏก ฉบับประชาชน สุชีพปุญญานุภาพ )
 
    ส่วนตถาคตเป็นผู้ถอนตัญหาอันจะนำให้เวียนอยู่ในภพได้แล้ว กายยังดำรงอยู่ตราบใด ก็มีผู้แลเห็น เมื่อกายทำลายไปแล้ว ก็ไม่มีผู้แลเห็น.

    พรหมชาลสูตร ของคุณ tuenum
   
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่"

    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค - หน้าที่ 44

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา   
และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว     
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต
เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว     
ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ   
ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา     
ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.   
        เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า   
น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า.     
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า

อรรถชาละก็ได้ 

ว่าธรรมชาละก็ได้

ว่าพรหมชาละก็ได้

ว่าทิฏฐิชาละก็ได้

ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้.


        ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม     
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ หมื่น   
โลกธาตุได้หวั่นไหวแล้วแล.   
                              จบพรหมชาลสูตรที่ ๑.

ต้องใส่ให้มันชัดๆอย่าผมซิครับ
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เอวเมว   โข   ภิกฺขเว อุจฺฉินฺนภวเนตฺติโก  ตถาคตสฺส  กาโย
ติฏฺติ  ยาวสฺส   กาโย   สฺสติ   ตาว   น   ทกฺขนฺติ
เทวมนุสฺสา  กายสฺส  เภทา   อุทฺธ  ชีวิตปริยาทานา  น  น  ทกฺขนฺติ  เทวมนุสฺสาติ  ฯ 
เอว  วุตฺเต   อายสฺมา   อานนฺโท   ภควนฺต   เอตทโวจ   อจฺฉริย   ภนฺเต 
อพฺภูต  ๒  ภนฺเต  โกนาโม  อย  ภนฺเต  ธมฺมปริยาโยติ  ฯ  ตสฺมาติห 
ตฺว  อานนฺท  อิม  ธมฺมปริยาย  อตฺถชาลนฺติปิ  น  ธาเรหิ  ธมฺมชาลนฺติปิ 
น   ธาเรหิ   พฺรหฺมชาลนฺติปิ   น   ธาเรหิ  ทิฏฺิชาลนฺติปิ  น  ธาเรหิ 
#๑ สี. วณฺฏูปนิพนฺธนานิ ฯ ๒ สี. ยุ. อพฺภุต ฯ   
อนุตฺตโร   สงฺคามวิชโยติปิ   น   ธาเรหีติ   ฯ   อิทมโวจ  ภควา  ฯ 
อตฺตมนา   เต   ภิกฺขู  ภควโต  ภาสิต  อภินนฺทุนฺติ  ฯ  อิมสฺมึ  จ  ปน 
เวยฺยากรณสฺมึ ภฺมาเน ทสสหสฺสี ๑ โลกธาตุ อกมฺปิตฺถาติ ฯ 
                 พฺรหฺมชาลสุตฺต ปม นิฏฺิต ฯ 

คำแปลจากบาลี ไม่ได้มีความหมายอย่างที่คุณ อรรถกถาไว้

คำแปลตรงไป ตรงมาในการเปรียบเทียบ สำนวนการแปลอาจจะทำให้คุณคิดอย่างนั้น

โปรดเทียบเคียงกับบาลี ให้ดีก่อนใส่ อรรถกถาลงไป


  สำนวนจะตรงกับที่สุชีพ แปลไว้ และ หลวงพ่อพุทธทาสได้แปลไว้

ส่วนตถาคตเป็นผู้ถอนตัญหาอันจะนำให้เวียนอยู่ในภพได้แล้ว กายยังดำรงอยู่ตราบใด ก็มีผู้แลเห็น เมื่อกายทำลายไปแล้ว ก็ไม่มีผู้แลเห็น.

  ส่วนสำนวนในพระไตรปิฏกไทยฉบับ มกุฏ แปลสำนวนให้ไพเราะขึ้น แต่ก็ยังทรงความหมายเดิม


แต่ถ้าให้ถูกต้องต้องใส่ สำนวนของ  "ยาว" และ "ตาว" ลงไปด้วยเพื่อรักษาศัพท์ให้ถูกความหมาย

ควรจะต้องใส่ ดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต    มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ ตราบใด  (ยาว ตถาคตสฺ กาโย)   
      เทวดา   และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ตราบนั้น ( ตาว ตถาคตสฺส กาโย )

  แต่เพราะการแปลโดยอรรรถ มองที่ความสละสลวยของผู้แปล และทรงความหมาย การแปลเยี่ยงนี้ก็ยังไม่ผิด

แต่เมื่อต้องเป็น อรรถกถา ฏีกา อนุฏีกา ควรต้องแปลยกศัพท์ กำกับด้วย จึงยุติด้วยสำนวน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2010, 11:05:25 am โดย ประสิทธิ์ »
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
0
คุณประสิทธิ์ครับ


ผมอ่านบาลีไม่ออก  จึงเถียงไม่ได้   

อีกอย่าง...ผมไม่ได้แสดงความเห็น หรืออรรถกถาอะไรเลย   เป็นข้อความในพรหมชาลสูตรอยู่แล้ว  ผมเพียงแต่นำมนตราของมารที่ปิดตาปิดจิตผู้อ่านออกเท่านั้น

นอกจากนี้ คุณ pussadee ยังเน้นข้อความไม่ถูกต้อง  ผมก็ทำตัวแดงใหญ่ให้เห็นชัดๆ

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่

สมมุติสงฆ์ทั้งคณะ ต่างโดนมนตราของมาร  ข้อความในพระสูตรนี้ก็เห็นอยู่  แต่พระที่ไม่ปฏิบัติเหล่าพวกนี้โดนบังจิต ทำให้มองไม่เห็น  พวกนี้บางพวกเลยตีความว่า พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่แล้ว....มารทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
0


 
ส่วนสำนวนในพระไตรปิฏกไทยฉบับ มกุฏ แปลสำนวนให้ไพเราะขึ้น แต่ก็ยังทรงความหมายเดิม

แต่ถ้าให้ถูกต้องต้องใส่ สำนวนของ  "ยาว" และ "ตาว" ลงไปด้วยเพื่อรักษาศัพท์ให้ถูกความหมาย

ควรจะต้องใส่ ดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต    มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ ตราบใด  (ยาว ตถาคตสฺ กาโย)   
      เทวดา   และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ตราบนั้น ( ตาว ตถาคตสฺส กาโย )

  แต่เพราะการแปลโดยอรรรถ มองที่ความสละสลวยของผู้แปล และทรงความหมาย การแปลเยี่ยงนี้ก็ยังไม่ผิด

แต่เมื่อต้องเป็น อรรถกถา ฏีกา อนุฏีกา ควรต้องแปลยกศัพท์ กำกับด้วย จึงยุติด้วยสำนวน

คณะสงฆ์ของไทยที่เป้นฝ่ายปริยัติ  พวกนี้หลงกลมารทั้งนั้น เอานั่นมาเติม ตัดนั่นตัดนี่  ดีว่าพระอริยะสงฆ์ไทย และสงฆ์เถรวาทต่างประเทศเขาไม่ยอม  ไม่งั้นพระไตรปิฎกของเราไม่เหลือข้อความของแท้ของพระพุทธเจ้าแล้วล่ะครับ

อนึ่ง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ กับ  กายของตถาคต    มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ตราบใด   มันคนละเรื่องเลย  อันแรกชี้ว่า กายของตถาคต...ยังดำรงอยู่  แต่อันหลังกายของตถาคตไม่ได้ยังดำรงอยู่แล้ว  เพราะท่อนหลังมันลงท้ายด้วย "ตราบนั้น" ซึ่งบังคับว่า ถ้ายังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักต้องเห็นตถาคต = พระพุทธเจ้าสูญพันธุ์ไปแล้วล่ะครับ 

เมื่อพระพุทธเจ้าสูญไปแล้ว หลวงพ่อสด หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ดู่ และพระอริยะสงฆ์อื่นๆ   จะไปพบพระพุทธเจ้าได้อย่างไร  และพระพุทธเจ้าจะมี 2 กาย ตามพระไตรปิฎก และ 3 กายตามพระสูตรมหายานย่อมไม่ได้

ถ้าพระไตรปิฏกไทยฉบับ มกุฏ แปลอย่างที่คุณว่า ก็ฉิบหายแล้วล่ะครับ  ฉิบหายจริงๆ  ให้คณะสงฆ์ฝ่ายปรยัติดูแล และเผยแพร่พุทธศาสนา มันเหมือนกับ ฝากเนื้อปลาไว้กับแมวหมาจริงๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2010, 11:54:20 am โดย tuenum »
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หนูว่า พระพุทธเจ้าที่เป็น กายนั้นไม่มีแล้ว

  แต่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธคุณ ยังคงทราบ และเห็นได้

 หนูว่า ลุง จะลำบากให้หนูพยายามเห็นพระพุทธเจ้า ที่เป็น ทิพย์ ทำนองนี้ใช่ไหมจ๊ะ

 ต้องทำอย่างไรคะถึงจะเห็นได้ อยากเห็นจริง ๆ เหมือนกันคะ

   คงไม่ต้องเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ ก็ได้ใช่ไหมคะ

      จะเห็นพระพุทธเจ้า ต้องทำอย่างไรบ้างคะ


  หนูอยู่ลำปาง วันก่อนพวกพี่ เขาก็พาไปที่โบสถ์ คริสต์ แล้วให้อธิษฐานถึงพระเจ้า ขอพรจากพระเจ้า

  หนูว่าวิธีนี้ก็ง่ายดีคะ แต่ความจริงก็ยังไม่เห็น พวกพี่เขาก็มีความพยายามนัดหนูอีกในวันเสาร์ อาทิตย์นี้

  ถ้าลุง อธิบายพระพุทธเจ้าที่เป็น ทิพย์มองเห็นได้ด้วยตาแล้ว ช่วยบอกวิธีการให้หนูหน่อยนะคะ

    เพื่อที่จะได้ชี้แจง พวกพี่จากโบสถ์คริสต์ ให้ฟังด้วย จะได้ยอมรับ พระพุทธเจ้า ว่าเป็นองค์เดียวกับพระยะโฮวา

  จะได้มานับถือพุทธ บ้าง

 :c017: ขอบคุณคะ

บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
0
คุณหมิวครับ

คุณหมิวพูดเหมือนกับรุ่นน้องของผมชื่อ ตี่ เลย  แต่พูดตรงกันข้าม  ไอ้ตี่มันเป็นชาวพุทธที่เคร่งที่สุด ไอ้ตี่นั่นต้องการเห็นพระเจ้า(พระบิดา)ของศาสนาคริสต์ มันจึงจะยอมเปลี่ยนศาสนาไปนับถือคริสต์

ผลปรากฏว่า ก่อนงานแต่งงานของมันกับเจ้าสาวที่นับถือคริสต์ทั้งครอบครัว เจ้าสาวของไอ้ตี่ดันเกิดอุติเหตุตาย  อีก 2 ปีต่อมา ตี่มันก็เป็นมะเร็งตายตาม

มันโชคดีที่รู้จักกับผม  ซึ่งมีพลังจิตสูง  สามารถแผ่เมตตาช่วยมันได้  พอผมแผ่เมตตาอุทิศกุศลช่วยมันอยู่หลาบวัน วิญญาณของมันก็มาหาผม  วันต่อๆมาผมก็ยังแผ่เมตตาช่วยมันอีก  ปรากฏว่าคราวนี้วิญญาณของมันไม่มาหาผมอีก  แต่กลับมีวิญญาณผู้หญิงคนหนึ่งมาหาผมแทน  ผมสัมผัสและรู้ว่า  เธอไม่ใช่ชาวพุทธ แต่เป็นชาวคริสต์  ผมรู้เพราะภพภูมิของชาวพุทธเป็นกามภูมิทั้งนั้น นอกจากในพรหมโลกจึงจะไม่มีกล่นไอกายอยู่  ความแตกต่างกันนี้ ทำให้ผมรับรู้ได้  เพราะไปสวรรค์กามภูมิของชาวพุทธมาเยอะแล้ว

เทวทูตหรือนางฟ้าคริสต์นั้น บอกผมว่าตี่ไปทำธุระบางอย่างอยู่  อีก 7 วันเขาจะมาหาผมใหม่

แล้ว..ไอ้ตี่ก็มาจริงในอีก 7 วัน  แต่วิญญาณตี่มันเปลี่ยนแปลงไป มีกลิ่นดอกไม้สวรรค์หอมอบอวลไปหมด  ตัวก็อ้วนขึ้นด้วย  ผมสัมผัสตัวมัน  ก็รู้ว่าไอ้ตี่มันไม่ได้อยู่ในสวรรค์ 6 ชั้น ที่เป็นกามภูมินี่หว่า  แต่ไปอยู่ในสวรรค์ของพระคริสต์ 

แล้วมันเป็นไปได้อย่างไร  ตี่ไม่เคยเป็นคริสต์ ไม่เคยทานปังปอนและเหล้าองุ่น ซึ่งเป็นตัวแทนร่างกายและโลหิตของพระเยซู  ซึ่งเป็นกฎเหล็กที่อนุยาตให้เข้าสวรรค์ของพระคริสต์  ดังนั้น..ตี่มันก็ไม่น่าจะเข้าไปในสวรรค์ของพระคริสต์ได้ 

ผมรู้โดยอัตโนมัติทันทีเลยว่า  ไอ้ตี่มันคงรู้ความจริงแล้วล่ะว่า   พระพุทธเจ้าเป็นองค์เดียวกับพระยะโฮวา  และพระเยซูคือพระอรหันต์โพธิสัตว์มหายาน  มันจึงยอมเข้าไปอยู่ในสวรรค์ของพระคริสต์  ไม่เช่นนั้นเป็นตายอย่างไร มันก็ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา


คุณหมิวครับ


อีกเรื่องหนึ่ง ชาวคริสต์คนหนึ่งชื่อสาธินี เศรษฐบุตร เธอเป็นคนไทยอยู่ต่างประเทศ  เธอบอกว่าผมเป็นซาตานมาล่อลวงเขาในเรื่องศาสนา  เรื่องนี้ ถ้าเธอโทรมาเล่าให้ผมฟัง ผมคงไม่เชื่อ

แต่นี่เป็นนางพยาบาลในต่างประเทศโทรมาหาตอนตี 3 บอกว่าคนไข้ชื่อ สาธินี เศรษฐบุตร เพ้อละเมอตลอดเวลาเข้าห้องไอซียู ว่า "พลศักดิ์ พลศักดิ์ บุตรของพระเจ้า" ในมือกำเบอร์โทรศัพท์ผมเอาไว้ตลอด นางพยาบาลสงสัย เลยโทรมา  เขานึกว่าผมขายประกันชีวิตให้คุณสาธินี อีกอย่าง เขาก็คงอยากรู้ว่า ทำไมคนไข้เพ้อแบบนี้ เพราะมีแต่พระเยซูเท่านั้น ที่เป็นพระบุตรของพระเจ้า แต่นี่คุณสาธินีเพ้อเรียกคนที่ชื่อพลศักดิ์ว่าบุตรของพระเจ้า มีหรือนางพยาบาลจะไม่สงสัย

เอ้า! โม้เสียเหลิน ตอบปัญหาของคุณดีกว่า

1. พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธคุณ = ถูกต้อง 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เทศน์ว่า "ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เคยเล่าไว้ว่า พระพุทธองค์เคยเสด็จลงทรงสอนท่านในยามที่ท่านกำลังพยายามปฏิบัติตามคำทรงสอนเพื่อให้ถึงความเป็นผู้ชนะที่ไม่กลับเป็นผู้แพ้อีกต่อไป อีกนัยหนึ่งก็คือให้ได้ไกลกิเลสสิ้นเชิง พ้นความเกิดแก่เจ็บตายตลอดไป ไม่มีการต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะอีกต่อไป..... .....

" คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ "

2. พระพุทธเจ้าตรัสวิธีเห็นพระองค์ไว้แล้วในพระไตรปิฎก

" ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต " 

คนในทุกศาสนาก็ยังติดต่อพระพุทธเจ้าอยู่  แต่เพราะความเชื่อของเขาแบ่งแยกศาสนา  เขาจึงไม่สามารถเห็นพระพุทธเจ้าได้  นอกจากต้องตายก่อน หรือไม่ก็ก่อนตายพระยะโฮวาก็จะมาให้เขาพบ  ถ้าเขามีจิตใจแน่วแน่จะเห็นพระพุทธเจ้าให้ได้
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาค

 แหมลุงตอบ ได้เพลินจริง ๆ ถามต่อนะจ๊ะ

  วิธีเห็นธรรม ทำอย่างไรคะ

    เอาแบบที่หนูจะได้เห็นก่อน วันเสาร์ อาทิตย์ นี้เลยนะคะ
 :c017:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
0
อ้างถึง
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาค

 แหมลุงตอบ ได้เพลินจริง ๆ ถามต่อนะจ๊ะ

  วิธีเห็นธรรม ทำอย่างไรคะ

 

เมื่อ 20 กว่าปีก่อน มีหญิงชราคนหนึ่งอายุ 90 กว่าปี เดินขายปากกาดินสอ มาถึงออฟฟิซผม  ผมก็สอบถามได้ความว่า ลูกหลานไมเลี้ยง จึงต้องออกมาทำงานหากินเล็กๆน้อยๆไปวันๆหนึง  ผมจึงซื้อปากกาลูกลื่นจากหญิงชราคนนั้น 1 ด้าม ราคาสมัยนั้นน่าจะ 1.50 บาท  แต่ผมให้เงินหญิงชราคนนั้นไป 8000 บาท ซึ่งเป็นเงินเดือนทุกครึ่งเดือนของผม  และบอกให้หญิงชราคนนั้นมาขายปากกาที่ออฟฟิซผมอีกในอีก 15 วัน (ซึ่งเป็นวันที่เงินเดือนงวดใหม่ผมจะออก)

หญิงชราคนนั้นทำตาลุก และมองหน้าผม และอุทานเสียงดังว่า

" ยายพบพระพุทธเจ้าแล้ว ยายพบพระพุทธเจ้าแล้ว  "

แล้วยายก็เล่าให้ฟังว่า  ชีวิตของยายลำบากมากเลย ยายอธิษฐานจิตขอให้ได้พบพระพุทธเจ้าก่อนตาย  ตกดึกยายฝันไปว่า มีคนมาบอกว่า "เร็วๆนี้ยายจะได้เจอพระพุทธเจ้า ให้สังเกตคนที่มีจิตเมตตาเกินกว่าปกติ  คนๆนั้นแหละคือ พระพุทธเจ้าในอนาคต"

พระพุทธเจ้ามี 3 ลักษณะ คือ 1. พระปัญญาธิคุณ 2. พระมหากรุณาธิคุณ 3. พระบริสุทธิคุณ

หญิงชราพบพระพุทธเจ้าโดยดูจากพระมหากรุณาธิคุณ  ผมแนะนำให้คุณพบพระพุทธเจ้าโดยดูจากพระปัญญาธิคุณ   คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าย่อมมีปัญญาทางธรรมเหนือกว่าคนธรรมดา รู้ในสิ่งที่คนธรรมดาไม่รู้ ข้อเขียนของเขาไม่สามารถแย้งได้ด้วยเหตุและผล



บันทึกการเข้า

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


มีคนเป็นพระพุทธเจ้ามากมาย ให้ยิ่งกว่าเงินเดือน 8000 บาททุกเดือน

ให้แม้กระทั่งชีวิต ก็มีแต่เขาไม่ได้มาโฆษณา บอกว่าเขาเป็น พระโพธิสัตว์ แต่ประการใด

เป็นบุคคลที่ไม่ยกย่องตนเอง และไม่เปิดเผย

 
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


และอีกหนึ่งพระองค์ ที่ทรงเหน็ดเหนื่อยยิ่งกว่าคุณ

อีก ทั้งทำนุบำรุงพระพุทธศาสนายิ่งกว่า

อีก ทั้งยังช่วยเหลือคนมากกว่าคุณอีก

อีก ทั้งยังเป็นกษัตริย์ที่บรรดากษัตริย์นับถือ ยิ่งกว่าคุณอีก

บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

phonsak

  • บุคคลทั่วไป
0


มีคนเป็นพระพุทธเจ้ามากมาย ให้ยิ่งกว่าเงินเดือน 8000 บาททุกเดือน

ให้แม้กระทั่งชีวิต ก็มีแต่เขาไม่ได้มาโฆษณา บอกว่าเขาเป็น พระโพธิสัตว์ แต่ประการใด

เป็นบุคคลที่ไม่ยกย่องตนเอง และไม่เปิดเผย

 

ไม่ได้สำคัญที่ตัวเงินหรอก  ถ้ามีเงิน 10 ล้าน ให้ออกไป 1 หมื่น  ยังได้ผลบุญน้อยกว่า คนที่เอาเงินเดือนทั้งหมด 8000 ที่ตนเพิ่งได้รับ ให้คนอื่นเพื่อซื้อปากกาธรรมดา 1 เล่ม  แล้วยังบอกให้เขามาอีกใน 15 วัน เมื่อเงินเดือนทั้งหมดของเขามาใหม่ ก็ให้ใหม่

บันทึกการเข้า

sumboon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

" ยายพบพระพุทธเจ้าแล้ว ยายพบพระพุทธเจ้าแล้ว  "


ถึงวันนี้ถ้าคุณยายยังสามารถรับรู้ได้ คุณยายคงเสียใจ ที่คำอุทานของยายเมื่อ20ปีก่อน
ทำให้ใครบางคน [size=5]บ้าไปแล้
บันทึกการเข้า
ศิษย์ วัดหนองบัวหิ่ง ปากท่อ ราชบุรี

กิจกรรมของวัด http://nbh2550.com/forum/

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำบุญ อยู่ที่ ศรัทธา
 
     ทำบุญแล้ว พยายาม พูดให้คนอื่นฟัง เพื่อให้เขา อนุโมทนา ก็เป็นบุญ แต่ บุญส่วนนี้ ยังไม่เป็น บุญใหญ่

   ทานูปฏินิสสัคคา 8

    บุญ หรือ ทาน ที่ทำ เพื่อความไม่มีตัว ไม่มีตน ควรจะเป็นคุณธรรมของพระอริยะ


    ถ้ากล่าวว่า ตัวเองเป็นพระอริยะ แล้ว ก็เลิกอวด ซะ

    ถ้ากล่าวว่า ตัวเองเป็นพระอริยะ แล้ว ก็เลิกประนามผู้อื่น

    ถ้ากล่าวว่า ตัวเองเป็นพระอริยะ แล้ว ก็จงใช้ เมตตา :58: เป็นหลัก

    จงลดมานะ ว่าเราสำคัญ เราเป็นนั่้นเป็นนี่ ซะ

    จงกล่าวธรรมเป็นเรื่อง สุญญตา เป็นหลัก

     :25: :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แต่เห็นคุณยังดูเหมือนยังโกรธคนอื่นอยู่เลย  ยังไม่เห็นจะแสดงความเมตตาอะไรเลย งงอะ จะใช่เหรอมันตรงกันข้ามกันมากเลย
เล่าให้ฟังหน่อยได้ไม๊อะว่า ในหนึ่งวันทำอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม