ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม  (อ่าน 3933 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:12:37 pm »
0
ของพระอาจารย์อุดม วัดป่าหนองเลง
เห็นว่ามีคติธรรมดี ก่อนที่จะหายไปจาก Profile ก็เลยนำมาให้อ่านกันคะ




เจริญพร ยินดีได้รู้จัก คุณโยมสนใจอ่านบทความธรรมะก็เชิญอ่านได้นะ

จะได้นำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน หรือปฏิบัติเป็นอยู่แล้วจะมาพักที่วัดได้นะ

ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่คุณโยมและคุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุขนะ

ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเลง

ป.ล. ขออภัยที่ตัดบทความเป็นตอนๆ เพราะส่งที่เดียวไม่ได้แล้วทั้งหมดมี ๑๕ บท

หน้าใหม่ ของ คติธรรม กรรมและวิบากกรรมที่ควรรู้

เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหันมาประพฤติธรรม เป็นกรรมใหม่ จึงจะได้รับผลของวิบากอันเป็นสุข การประพฤติธรรมก็เปรียบดังการปฏิวัติจิตใจของเรา ให้มีการคิดใหม่ทำใหม่อยู่อย่างสม่ำเสมอในจิตใจของเรา ถ้าไม่เช่นนั้นจิตของเราก็มีแต่จะอยู่ในวงจรของการคิดรู้ ด้วยความรู้สึกยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา การปฏิบัติธรรมก็คือการสร้างความคิดรู้ และความรู้สึกเสียใหม่ คือความรู้สึกที่ปล่อยวาง และวางเฉยเสียได้ นี้เรียกว่าเป็นจิตธรรมหรือกุศลจิต ควรทำให้มีการเกิดขึ้นในจิตอยู่เสมอ ที่เรียกว่าเพียรชอบ

ความยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ คืออาการของกิเลส อาการของความยึดมั่น ถือมั่น ที่เป็นเหตุให้เกิด ตัญหา โลภะ โทสะ โมหะ นี้คือจิตที่เรียกว่าอกุศลจิตเป็นสิ่งควรละ จึงต้องมีการกำจัดอาการเหล่านี้ไม่ให้มีในจิตในใจของเรา การจะละอกุศลจิตก็ต้องอาศัยการอบรมจิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ว่าเราจะไม่ยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ ต่อการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และการตามดูที่จิตใจอย่าให้หลงความคิดเรื่องในอดีต
เพราะเรื่องในอดีตที่เข้ามาลบกวนจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบก็จัดเป็นมารอย่างหนึ่งเรียกว่ากิเลสมาร การทำได้เช่นนี้เรียกว่าเป็นผู้รู้สังวรอินทรีย์ ถ้าทำได้เช่นนี้เป็นประจำ ไม่ช้าจิตนี้ก็เกิดความสงบ เกิดเป็นบุญเรียกว่าบุญอันเกิดจากการภาวนา หรือภาวนามัย หรือเรียกว่าปุญญาภิสังขาร คือรู้ปรุงแต่งจิตไปในทางบุญ ท่านทั้งหลายจงพากันตั้งใจปฏิบัติธรรมกันเทิด ท่านจะได้พบความสุขอันแท้จริง มีสุขชาตินี้ สุขชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน

ขอเจริญพร พระอุดม วัดป่าหนองเลง

บทที่ ๗. คติธรรม กรรมและวิบากกรรมที่ควรรู้

ทุก ๆ ชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนต้องตกอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ นั้นก็คือวัฏฏะ ๓ อย่าง วัฏฏะแปลว่า วนหรือวงเวียน คือกิเลส-กรรม-วิบาก กิเลสเป็นเหตุให้กระทำกรรม กรรมเป็นเหตุให้เกิดผลคือวิบาก การทำกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง เมื่อทำกรรมแล้วก็เกิดผลแห่งกรรมที่กระทำ เรียกว่าวิบาก

ผลของวิบากปรุงแต่งให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาแล้วมีผิวพรรณวรรณะดี มีความเป็นอยู่ที่ดี สถานที่เกิดก็ดี มีสุขไม่ค่อยเดือดร้อน มีชีวิตที่สบาย มีสถานที่ ๆ อยู่สบาย อาหารการกินไม่ลำบาก มีญาติมิตรดี มีบริวารมาก เป็นผู้มีทรัพย์มาก แต่เพราะกรรมบางอย่างที่กระทำไว้ ตั้งแต่อดีตชาติก็ดี หรือปัจจุบันก็ดี ส่งผลให้ชีวิตต้องเปลี่ยนไป กลายเป็นคนตกอับ ศูนย์สิ้นทุกสิ่งก็มี

บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาแล้ว มีผิวพรรณวรรณะไม่ดี มีความเป็นอยู่ที่ลำบาก สถานที่เกิดก็แห้งแล้งลำบากขัดสน ไม่ค่อยมีกิน ไม่ค่อยมีใช้ เปรียบดังตกนรก เช่นคนที่เกิดในแอฟฬิกาเป็นต้น นี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่ยกมาชี้ให้เห็น ให้เข้าใจ

สรุปสิ่งที่เป็นไปในชีวิตของคนที่เกิดมาในโลกใบนี้ ล้วนมีผลมาจากกรรมที่กระทำไว้เป็นตัวส่งผลให้ชีวิตของคนที่เกิดมา มีความเป็นไปต่าง ๆ นาๆ ที่เรียกว่าวิบาก จึงควรพิจารณาให้เข้าใจเพื่อความไม่หลงให้จิตเป็นทุกข์ นี้เรียกว่าการกำหนดรู้ในทุกข์

ดังคำกล่าวไว้ในบทสวดมนต์แผ่เมตตาว่า “สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย จักทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป จักต้องเป็นผู้ได้รับผล ของกรรมนั้น ๆ สืบไป” อ่านหน้าต่อไป>

Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2010, 06:00:43 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:13:45 pm »
0
> ตอนที่ 2 ธรรมกับชีวิตประจำวัน
คนเราที่มีความทุกข์ ก็เพราะเรารับเอา อกุศลธรรม มาไว้ในจิตตลอดเวลา ไม่เคยละเคยวาง ไม่กำจัดออกไปเราจึงประสบแต่ความทุกข์ใจอยู่เสมอๆ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ ต้องทำบันใดขั้นที่ ๑ ก็คือต้องทำให้จิตของเราเป็นฝ่าย กุศลธรรม ไม่ใช่ให้เป็นฝ่าย อกุศลธรรม อกุศลธรรมเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ส่วนกุศลธรรมเป็นต้นเหตุแห่งความสุขใจและความสงบใจ และเป็นยานพาหะนะนำไปสู่ความหลุดพ้น คือพระนิพพาน อกุศลธรรม คืออะไร? และเกิดได้อย่างไร?

อกุศลธรรม คืออารมณ์ หรือความรู้สึกที่มีความพอใจ หรือไม่พอใจ หรือความยินดี และยินร้าย เกิดอย่างไร คือเกิดได้ด้วยการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจที่คอยคิดนึกในทางไม่ดี เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้สัมผัสรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง หรือใจที่คิดนึกแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาคือความพอใจหรือไม่พอใจ หรือความยินดี ยินร้าย นี้คือลักษณะของจิตที่เป็น อกุศลธรรม

ฉะนั้นหน้าที่เราก็คือคอยละคอยวางเฉยต่อความพอใจหรือไม่พอใจ หรือความยินดียินร้าย ต่อสัมผัส ต่าง ๆ และใจที่คอยคิดนึกด้วยการภาวนาหรือการคิดนึก อบรมอยู่ในใจสม่ำเสมอ ว่าเราจะระวังคอยเคลียร์ไม่ให้จิตของเราเกิดความพอใจหรือไม่พอใจ หรือยินดียินร้าย ต่อสัมผัสอันเกิดจาก ตาได้เห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัสเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง และใจที่คอยจะคิดนึกถึงเรื่องราวในอดีต อกุศล เป็นต้นเหตุแห่งความไม่สงบเพราะมันคือตัวกิเลส และตัวความยึดมั่นถือมั่น ถ้าไม่ละก็จะเกิดเป็นอนุสัยกิเลสนอนเนื่องอยู่ในใจ
> อ่านต่อตอนที่ 3
>ตอนที่ 3
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็เพื่อการกำจัดกิเลสให้ออกเคลียร์ออกไปจากจิตจากใจ การปฏิบัติธรรมแบบนี้สามารถกระทำได้ในทุกอิริยาบถ มียืนเดินนั่งนอนดื่มกินทำพูดคิดแม้กระทั่งอุจจาระ หรือปัสสาวะ ไม่มีสถานที่ ไม่มีกาล ไม่มีเวลา สิ่งที่ควรรู้อีกอย่างคือ ชีวิตทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีวิบากอันเป็นผลของกรรมดี หรือกรรมชั่วที่เคยทำไว้ในอดีตชาติก็ดี หรือปัจจุบันชาติก็ดีคอยจัดให้เป็นไปต่างๆนาๆ วิบากนี้แหละคือกฎของธรรมชาติ ชีวิตที่ต้องประสบเคราะห์กรรมทั้งดีและร้าย การปฏิบัติธรรมจะช่วยให้จิตของเราไม่หลงยินดี หรือยินร้าย จนเป็นเหตุให้ทุกข์ ก็เพราะเราเข้าใจในความเป็นไปในผลของวิบากกรรมที่ได้รับอยู่และเป็นการรู้เหตุและผล ว่าอดีตเหตุปัจจุบันผล ปัจจุบันเหตุอนาคตผล จิตของเราจะไม่ยินดีหรือยินร้าย ต่อสิ่งทั้งหลาย เพียงสักแต่ว่ารู้ เพียงแต่รับรู้แต่ไม่รับรส จิตของเราก็จะเข้าสู่ความสงบได้โดยง่าย นี่แหละคือก้าวแรกสู่การรู้ตัว

ก้าวต่อไปเป็นบันใดขั้นที่ ๒ คือเราสามารถเกิดความรู้ตัวสติ คือรู้ทางกายก็สามารถถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้ รู้ทางเวทนา ก็ถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้ รู้ทางจิตก็ถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้ และรู้ทางธรรมอันเป็นสภาวจิตชั้นสูงก็สามารถถอดถอนความพอใจ หรือไม่พอใจออกเสียได้
> อ่านต่อตอนที่ 4>
>ตอนที่ 4 ธรรมกับชีวิตประจำวัน

เมื่อถึงเวลาจะนั่งสมาธิซึ่งเป็นการปฏิบัติในขั้นที่ ๓ ก็เพียงคอยตามดูจิตอย่าให้หลงมาร ลักษณะมารมี ๕ อย่างคือ ๑ ขันธ์มาร คือการทำร่างกายไม่พร้อมก็เป็นมาร ๒ กิเลสมาร คือการทำจิตไม่ดีพร้อมคือไม่สังวรอินทรีย์ให้ดีพอก็เป็นมาร ๓ อภิสังขารมารคือมารที่จะมาคอยหลอกให้เราคิดที่จะอยากทำสิ่งต่างๆอยากมีอยากเป็นต่างๆ ๔ มัจจุมาร คือความตายที่จะมาพรากชีวิตของเราเสียก่อนที่จะปฏิบัติให้สำเร็จ และ ๕ คือ เทวปุตมาร คือมารที่จะคอยเอาเรื่องความสุขต่างๆในอดีตมาหรอกให้เราหลง เพราะมารจะคอยขัดขวางไม่ให้จิตสงบโดยจะเอาภาพ และเรื่องราว ต่าง ๆ ในอดีตมาทำให้หลง

จะยกตัวอย่างตอนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรม มารได้ยกเสนามารมาขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรม ฉะนั้นเมื่อเราจะนั่งสมาธิพึงรู้กิจที่จะต้องทำคือคอยตามดูมาร เมื่อมารเอาอะไรมาให้รู้ก็ให้รู้ทันมาร และบอกกับมารว่าเรารู้แล้วมารไม่ต้องมาอีก ทำเหมือนกับที่พระพุทธเจ้าทำเมื่อรู้ทันมารพระพุทธเจ้าจะขับไล่มารไปทุกครั้ง อย่าได้เพียรเพ่งดูจิตเฉย ๆ เพราะจะเป็นโมหะหรือความหลงได้ แต่เพียรรู้จิตตามความเป็นจริงโดยไม่ยินดียินร้าย คอยรู้ให้ทันแล้วถอนความพอใจหรือไม่พอใจออกเสียได้ จึงจะเป็นการเจริญสติอย่างถูกต้อง จิตจะเข้าสู่ความเป็นสัมมาสมาธิโดยสงัดแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ผู้ใดเข้าถึงกุศลธรรมจนเป็นเอกัตคตารมณ์ คือจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียวเป็นธรรมตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ก็จะเข้าใจในคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราพระตถาคต"

เรามาปฏิบัติธรรมกันเถิดเพื่อสันติสุขอันแท้จริง
ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเล
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:15:05 pm »
0
บทที่ ๘. ธรรมกับชีวิตประจำวัน เพื่ออุทิศบุญนี้ให้กับพ่อหลวงของเรา

มาปฏิบัติธรรมะเเบบง่ายๆกันเถอะโดยไม่ต้องไปอยู่วัด แต่ให้ปฏิบัติกับการใช้ชีวิตประจำวันในทุกอิริยาบถเพื่อให้เกิดสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน และการใช้ชีวิตอยู่ในความถูกต้อง เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมก็คือต้องการให้จิตเป็นธรรม หรือการรู้ชำระจิตให้สะอาด หรือต้องการให้ธรรมะตั้งมั่นอยู่ในจิต จนจิตรวมตัวเป็นหนึ่งก็คือความเป็นสมาธินั้นเอง

ดังนั้นจึงต้องดำเนินจิตไปตามขั้นตอนเป็นบันใด ๓ ขั้น คือการทำความเพียรชอบก่อนจนจิตมีความรู้ตัวจึงไปสู่ความมีสติชอบ คือสามารถพิจารณาทำความรู้ถอนความพอใจ หรือไม่พอใจใน กาย เวทนา จิต ธรรม ได้ และจะทำให้จิตไปสู่ในขั้นสัมมาสมาธิได้ต่อไป

เพราะฉะนั้นเราจึงจะต้องรู้ว่า อะไรคือธรรม ธรรมในพระไตรปิฎกรวบรวมไว้ได้ถึง ๘๔.๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อย่อแล้วก็เหลือเพียง ๒ นั้นก็คือ กุศลธรรม และ อกุศลธรรม คำว่ากุศลธรรม ก็หมายถึงธรรมขาวหรือฝ่ายดี ส่วน อกุศลธรรมก็คือธรรมฝ่ายดำฝ่ายชั่ว ฝ่ายกิเลส ธรรมนี้เกิดอยู่ที่ไหน ตอบเกิดอยู่ที่จิตของเรานี้เอง และเราก็รับเอามาไว้ในจิตของเราตลอดเวลา
> อ่านหน้าต่อไปตอนที่ 2

บทที่ ๙.คติธรรมกุนเจภาวนา คือการทำจิตให้รู้ปล่อยวางอย่ายินดี ยินร้าย

การภาวนา คือการรู้อบรมจิตให้คิดเห็นอยู่ในจิต ให้รู้ระวังสังวรอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และตามดูจิตที่คิดนึก อย่าให้หลงยินดี ยินร้าย

การคิดนึกอยู่ในใจเช่นนี้จัดเป็นการภาวนามะยะปัญญา เป็นการฝึกจิตให้มีปัญญาเบื้องต้น และเป็นอุบายให้จิตเกิดความตั้งมั่นหรือสมาธิ เกิดมีขึ้น สมาธิที่เกิดมีขึ้นนี้จัดเป็นสมาธิที่เรียกว่าขณิกะสมาธิ หรือสมาธิทีเกิดได้เป็นขณะๆ ในขั้นนี้ก็จะเกิดปัญญาธรรมได้ สิ่งที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจ ก็จะเกิดรู้เกิดเข้าใจในธรรมต่างๆได้

ฉะนั้นการอบรมจิตให้รู้คิดเห็นอยู่ในจิตอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นการบอกจิตให้รู้เห็นก่อนรู้เห็นจริง จัดเป็นการสร้างตัวสัมปชัญญะ คือการรู้ตัวให้กับจิต เมื่อกำลังของความรู้ตัวมีมากพอ สติจึงเกิดได้ไวขึ้น สามารถที่จะไม่ยินดี ยินร้าย ต่อการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย และตามดูใจที่คิดนึกได้ดี

การรู้ปล่อยวางไม่ยินดี ยินร้าย นี้แหละ คือกุนเจภาวนา ไม่ให้หลงเป็นกิเลส รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย คือวัตถุกาม ความยินดี ยินร้าย คือกิเลสกาม ธรรมะของพระพุทธองค์มุ่งสอนให้ละกิเลส ละขันธ์๕ การปฏิบัติเช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติ เพื่อออกจากกาม ออกจากกิเลส และยังเป็นการตัดขันธ์ ๕ ไม่ให้เกิดมีต่อไป

การภาวนาอบรมจิต จึงจำเป็นต้องมีความขยัน หรือความเพียรกระทำอยู่ในใจอย่างสม่ำเสมอ การกระทำอยู่ในใจเรียก ว่ามโนกรรม การกระทำนี้จึงเรียกว่า เพียรชอบตามมรรคมีองค์ ๘

รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ทีเกิดขึ้นในทุกขณะ จัดเป็นวิบาก ที่จะทำให้เราหลงอยู่ตลอดเวลา การภาวนาอบรมจิต จึงช่วยให้เราไม่หลง ไม่ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจแห่งกิเลสมาร มารจึงไม่อาจครอบงำให้เรากระทำความชั่วได้

หลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ แห่งวัดป่าหนองเลง ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒

>หน้าต่อจาก คติธรรม เรื่องการภาวนา
เมื่อเราสามารถอบรมจิตได้อย่างนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง ในทุกเหตุการณ์ ในทุกสถานที่ ในไม่ช้าเราก็จะเกิดรับรู้ในสิ่งต่างๆ อย่างปล่อยวาง ไม่มียินดี ไม่มียินร้าย ไม่มีเกิดพอใจ หรือไม่พอใจใคร ในสิ่งใดๆ ที่อยู่รอบตัวเรา นี้แหละคือการกำจัดกิเลส กำจัดอกุศลจิต อันเป็นต้นเหตุของการเกิด โลภะ โทสะ โมหะ โดยฉะเพราะอย่างยิ่ง ในเหตุการณ์ ที่จะต้องเจอทางตา หรือทางหู เราก็อบรมให้จิตรู้ที่จะต้องเจอในทวารทั้งสองนี้ อยู่สม่ำเสมอ เมื่อกระทบคำเขาด่าว่ามา เราก็จะเกิดอาการสักแต่ว่ารู้ ว่าเขาด่าเรา ไม่มีการนำคำที่เขาด่ามาปรุงแต่งจิตให้คิดเห็นเป็นทุกข์ในใจเลย

การทำเช่นนี้ก็คือการทำให้รู้ก่อนรู้ ให้เห็นก่อนเห็น เป็นการใช้ปัญญาช่วยในการทำจิตให้สงบโดยเร็ว และการพิจารณาให้เห็นว่าตาย ก่อนตาย หรือที่เรียกว่ามรณะสติ ก็ใช้ในหลักเดียวกันนี้
เมื่อคนเรารู้ในสิ่งที่จะเกิดก่อนเกิด อยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเหตุการณ์ นั้นๆขึ้นมาเมื่อไรเราก็จะวางใจได้ทันที่ ไม่มีเกิดสุขหรือทุกข์ใดๆเลย นี้คือหลักในมรรคมีองค์๘ ข้อว่าเพียรชอบ คือเพียรละอกุศล เพียรเจริญกุศลให้เกิดในจิตมากๆขึ้น จนจิตอยู่ในอารมณ์เดียวที่เป็นกุศล องค์ความรู้ในธรรมก็จะเกิดรู้ขึ้นมา สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็จะเกิดรู้ขึ้น สิ่งที่ไม่เคยเข้าใจก็จะเกิดเข้าใจขึ้นมา

ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเลง ผู้เขียน

บทที่ ๑๐. คติธรรม เรื่องการภาวนา

มีหลายคนถามหลวงพ่อว่าจะภาวนาอย่างไรให้จิตสงบโดยเร็ว หลวงพ่อจึงถามกลับไปว่าคุณโยมภาวนาอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่า นึกคำว่า ”พุทโธ”อยู่ในใจ หรือหายใจเข้า พุท หายใจออก โธ
หลวงพ่อจึงว่าอย่างนี้เรียกว่า บริกรรมภาวนา ไม่ใช่ภาวนา คำว่าภาวนาในความหมายที่หลวงพ่อ หมายถึงคือภาวนามะยะปัญญา คือการรู้ที่จะอบรมจิต ให้รู้ตัว เพื่อให้เกิดตัวรู้ คำว่าให้รู้ตัวในบาลีคือสัมปชัญญะ ส่วนคำว่าให้เกิดตัวรู้ ได้แก่ สติ คือความระลึกได้ เมื่อเราสร้างความรู้ตัวไว้มาก สติได้แก่ตัวรู้ ก็จะเกิดได้ไวได้เร็ว

คราวนี้ เราจะมาว่าถึงการภาวนามะยะปัญญากัน ว่าจะทำอย่างไร การภาวนาคือการอบรมจิต ได้แก่การคิดเห็นอยู่ในใจ ว่าเราจะระวังจิตนี้ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ ในเมื่อได้เห็นรูป ได้
ยินเสียง ได้ลมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และจะตามดูใจไม่ให้หลงคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านไปแล้ว ที่มีสาเหตุให้เกิดทุกข์ เราจะไม่ยินดีพอใจ หรือยินร้ายไม่พอใจในเรื่องราวต่างๆ ที่มากระทบ โดยฉะเพราะเวลานั่งสมาธิต้องตามดูจิตนี้อย่าให้หลงคิดเรื่องใดๆ เวลาจะนั่งสมาธิจึงเป็นเวลาที่เราจะต้องต่อสู้กับกิเลสมาร นั้นก็คือเรื่องราวหรือภาพต่างๆ ที่เป็นสัญญาจำได้หมายรู้ที่จะมาปรากฏ อาการเหล่านี้พระพุทธเจ้าได้ทรงเรียกว่ามาร มีชื่อว่ากิเลสมาร >อ่านหน้าต่อไป>
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:15:57 pm »
0
>หน้าต่อจาก คติธรรมเรื่องการปฏิบัติธรรมไม่มีผิด>
ข้อว่าความเพียรชอบ คือการทำอย่างไร ก็คือการคิดเห็นอยู่ในใจอยู่อย่างเนืองนิตย์สม่ำเสมอ ตลอดเวลาเป็นปัจจุบัน ที่จะรู้คิดระวังสังวรอินทรีย์ ไม่ให้เกิดความยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อได้ลิ้มรส เมื่อได้สัมผัสทางกาย และระวังใจที่คิดนึกเรื่องอดีต

ข้อว่าสติชอบเป็นอย่างไร ก็คือเมื่อเราภาวนาอบรมจิตอยู่อย่างเนืองนิตย์สม่ำเสมอตลอดเวลา ก็จะเกิดสัมปชัญญะ คือความรู้ตัว กำลังความรู้ตัวมีมาก ก็จะเกิดสติ คือความระลึกได้ สามารถถอดถอนความพอใจ หรือความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ความยินดี ยินร้าย หรือความพอใจ ไม่พอใจ ก็คือกิเลส หรืออกุศลธรรม เมื่อเรารู้ถอดถอนกิเลส หรืออกุศลธรรมออกจากใจได้แล้ว ใจของเราก็เป็นกุศลธรรม หรือเป็นบุญ บุญคือความสบายใจ เรียกว่าเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า

ข้อว่าสมาธิชอบเป็นอย่างไร ก็คือจิตที่สงบแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย จิตที่สงบแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
อาการที่สงบนี้ยังมีความคิดนึกอยู่ แต่เป็นความคิดนึกในปัญญาที่จะคอยประคองจิตไว้ไม่ให้ตกไปในอกุศลธรรมทั้งหลายที่จะคอยแทรกแซงเข้ามา อาการที่คิดนึกนี้เรียกอีกอย่างว่ากุศลวิตก เมื่อกำลังความสงบมีมากขึ้นจึงค่อยๆละ วิตกวิจารนี้ออกไปๆตามดำรับจิต
นี่แหละคือสิ่งที่กล่าวไว้ในอริยะมรรคมีองค์ ๘
จากหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

บทที่ ๑๑. คติธรรม การปฏิบัติธรรมไม่มีผิด คือการปฏิบัติตามอริยะมรรคมีองค์ ๘

จะขอนำหัวข้อสำคัญมากล่าวอธิบายให้เห็นชัด ดังต่อไปนี้ เพื่อจะได้ปฏิบัติธรรมไม่ผิด
ข้อว่าการดำริชอบ คือ การดำริในการออกจากกาม การดำริ ก็คือการคิดเห็น กามคืออะไร ก็คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรียกว่าวัตถุกาม ความรู้สึกนึกคิดในใจที่ยินดี ยินร้าย เรียกว่ากิเลสกาม แล้วจะปฏิบัติในการออกจากกามอย่างไร ด้วยการรู้ที่จะคิดเห็นในใจอยู่อย่างเนืองนิตย์สม่ำเสมอ ตามหลักอินทรีย์สังวร คือให้รู้คิดเห็นในใจว่าเราจะระวังไม่ยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อได้ลิ้มรส เมื่อได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และระวังใจที่คิดนึกในเรื่องอดีต ถ้าหลงคิดนึกตาม ก็จะเกิดเป็นสมุทัย คือใจเป็นเหตุให้ทุกข์ เรื่องในใจที่มาลวงให้เราคิดนึก เรียกว่ากิเลสมาร ถ้าหลงคิดนึกตามไปในเรื่องใดๆ เรียกว่าเราหลงไปในมาร จะเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดกับผู้ปฏิบัติธรรมในการเจริญสมาธิภาวนา เมื่อเราปฏิบัติได้ตามแบบนี้ ก็จะเกิดอาการสักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่ารู้ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ตัวตน เราเขา ในสิ่งสัมผัสต่างๆ ขณะจิตที่สงบนี้ ก็อาจเกิดความรู้ขึ้นที่เรียกว่าปัญญา สิ่งใดไม่รู้ก็รู้ขึ้นมา สิ่งใดไม่เข้าใจก็เข้าขึ้นมาได้ >อ่านหน้าต่อไป>

>หน้าต่อจาก โอวาทปาฏิโมกข์
๒ การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือต้องมีความพากเพียรชอบ เมื่อเราได้พยายามที่จะอบรมอยู่ในใจอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเกิดสติระลึกรู้ที่จะไม่ยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ จนเหลืออาการสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น อาการที่รู้ตัวได้เช่นนี้เรียกว่าเป็นกุศลจิต หรือกุศลธรรม และยังเป็นอารมณ์ของสมาธิด้วย นี่แหละเรียกว่าการทำกุศลให้ถึงพร้อม ประตูแห่งความรู้ คือปัญญาก็จะเกิดมีให้รู้ ให้เข้าใจเกิดขึ้น
๓ การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง เมื่อเรามีความพากเพียรพยายามมากเท่าไรในการภาวนาอบรมจิตใจ จิตใจนี้ก็ได้รับการชำระให้มีความสะอาดขาวรอบมากขึ้นๆ สมาธิก็ค่อยตั้งมั่นขึ้น จนเกิดความรู้สว่างสงบในจิตใจนี้ จิตนี้ก็ปราศจากเครื่องเศร้าหมองจิต มีความสงบสุขเกิดขึ้น
นี้แหละการอธิบายโดยย่อ ในหลักแห่งโอวาทปาฏิโมกข์ ๓ ข้อ
โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๕ มีนาคม ๕๓

บทที่ ๑๒. คติธรรมในโอวาทปาฏิโมกข์
๑. การไม่ทำบาป ทั้งปวง
๒. การทำกุศล ให้ถึงพร้อม
๓. การชำระจิตของตน ให้ขาวรอบ หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
๑ การไม่ทำบาปทั้งปวง หมายถึงการไม่ทำด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ การกระทำใดๆที่กระทำด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ที่เป็นไปในการเบียดเบียน ทั้งบุคคล และสัตว์ บุคคลและสัตว์ก็จะเกิดความทุกข์ อันเป็นผลมาจากการกระทำของตน นี่และเป็นการทำบาปให้เกิดขึ้นแล้ว
การกระทำด้วยกาย และวาจา ยังพอมีความยับยั้งได้บ้างในบางเวลาที่มีความรู้ตัวว่ากระทำผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย และศีลธรรม แต่ใจสิไม่มีบทบัญญัติใดๆมาห้ามได้ เว้นไว้แต่หลักแห่งธรรม คือกุศลธรรม หรืออกุศลธรรม อกุศลธรรม คืออะไร ก็คือการยินดี ยินร้าย หรือพอใจ ไม่พอใจในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ความยินดี ยินร้าย พอใจ หรือไม่พอใจ นี่คืออกุศลธรรม หรือกิเลส เป็นเหตุกระทำความชั่วได้ ถ้ายังรู้สึกแบบนี้แล้วเก็บไว้ในใจ ก็จะเกิดเป็นกิเลสมาร ที่จะทำให้เกิดความรู้ สึกฟุ้งซ่านในจิตใจ ฉะนั้นอาการเช่นนี้จึงไม่ควรที่จะมีการสะสมไว้ในจิตใจ จึงต้องมีการอบรมจิตใจนี้ให้รู้ละรู้ปล่อยวาง อยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาในชีวิตประจำวันด้วยการคิดเห็นในใจ ว่าเราจะระวังจะไม่ยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ ต่อการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย และระวังใจที่คิดนึกด้วยความยินดี ยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ ในสัญญาใจที่เป็นกิเลสมาร
กรรมที่กระทำไปแล้วด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ จะเป็นเหตุให้เกิดวิบากต่อไป ฉะนั้นจึงควรกระทำแต่กรรมดีจะได้รับผลคือวิบากที่ดีดี อ่านหน้าต่อไป>>
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:17:24 pm »
0
หน้าต่อจาก คติธรรมการปฏิบัติธรรม คือการเข้าไปดับ ไฟคือโลภะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
ตรรกกะง่ายๆเพียงเท่านี้ก็จะทำให้จิตใจของเราเข้าถึงความสงบสุขได้ การอบรมใจ คือการย้ำคิด ย้ำทำอยู่ในใจตลอดเวลาหรือมีความเพียรชอบ ที่จะตักเตือนใจของเราให้มีความรู้ตัว เมื่อมีความรู้ตัวมาก สติ ก็จะทำหน้าที่ตัดความยินดี ยินร้าย หรือความพอใจ ไม่พอใจได้ การพิจารณาอยู่เช่นนี้ เรียกว่าการพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ เรียกการทำเช่นนี้เป็นปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานอย่างแท้จริง “ คือมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจ หรือความไม่พอใจออกเสียได้”
หลักสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัตินี้ คือการสังวรอินทรีย์ คือสังวรระวังไม่ให้จิตยินดี ยินร้าย ต่อการได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส การได้สัมผัสทางกาย มีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และการคิดนึกอันเนื่องมาจากสัญญาจำได้หมายรู้ ที่ฝังอยู่ในใจของเรา ที่เรียกว่าอนุสัยกิเลส ที่ทำให้เราหลงคิดนึกปรุงแต่งจนจิตฟุ้งซ่าน มีชื่อว่ากิเลสมาร
เมื่อเราสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักการในแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรม ผลย่อมได้รับในสิ่งที่ดี คือบุญกุศล กุศลผลบุญนี้ก็จะคุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข มีสุขชาตินี้ สุขชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน ต่อไป

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

บทที่ ๑๓. คติธรรมการปฏิบัติธรรม คือการเข้าไปดับ ไฟคือโลภะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

อัคคิ หรืออัคคี คือไฟซึ่งมีอยู่ ๓ กองภายในจิตใจของเรา ไฟ ๓ กองนี้ยังคงคุกลุ่นอยู่ตลอดเวลา การจะดับไฟ ๓ กองนี้ได้ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมเท่านั้น เมื่อปฏิบัติให้จิตมีความสงบ และตั้งอยู่ในกุศลธรรมแล้ว จึงจะดับไฟภายในใจของเราได้ วิธีการที่จะดับไฟนี้ได้ต้องอาศัยการอบรมใจให้มีความรู้ตัว หรือตัวรู้อยู่ในใจตลอดเวลา จึงจะเกิดสติ ยับยังไม่ให้ไฟในใจนี้ลุกโชนขึ้น เชื้อไฟที่ทำให้ใจของเราลุกโชนขึ้นคืออะไร ก็คืออารมณ์ หรือความรู้สึกที่ยินดี ยินร้าย หรือความพอใจ ไม่พอใจ ที่มีต่อการได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรสอาหาร การได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง และใจที่หลงคิดนึกในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นสัญญาคือความจำได้หมายรู้ที่อยู่ในใจ อันเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน >อ่านหน้าต่อไป>>

บทที่ ๑๔.
“มนุษย์ หรือสัตว์โลกทุกตัวคน ล้วนมีไฟ ๓ กองอยู่ในใจทั้งนั้น ไฟ ๓ กองที่ว่านี้ คือไฟโลภะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ไฟที่ว่านี้มันคุกลุ่นอยู่ในใจของเราตลอดเวลา จึงทำให้เราหาความสงบสุขไม่ค่อยได้ และเราก็เติมเชื้อไฟเข้าไปอยู่ตลอดเวลาด้วยโดยไม่รู้ตัว เชื้อไฟที่ว่านี้ก็คือความรู้สึกยินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น เมื่อได้ยินเสียง เมื่อได้รับรู้กลิ่น เมื่อได้รับรู้รส เมื่อได้สัมผัสทางกายมีเย็นร้อนอ่อนแข็ง และใจที่หลงคิดนึกเรื่องราวแห่งความหลัง นี่เองเป็นเหตุให้เกิดความยินดี ยินร้าย การอบรมใจให้รู้คิดเห็น เตือนตนอยู่เสมอในใจไม่ให้รู้สึกยินดี ยินร้าย ต่อการได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส การได้สัมผัสทางกาย และการหลงคิดนึกเรื่องสัญญาเก่าในใจถ้าสามารถเตือนใจอบรมใจได้เช่นนี้ก็จะทำให้เกิดสติ ไม่เกิดยินดี ยินร้ายได้ ไม่ช้าใจนี้ก็จะเห็นความสงบเกิดขึ้นในใจ ความสุขก็เกิดมีขึ้น
หลวงพ่ออุดม วัดป่าหนองเลง”

บทที่ ๑๕
อุบายทำจิตให้เป็นสมาธิด้วยปัญญา เรียกว่าปัญญาสมาธิ
วิธีทำก็คือทำตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เริ่มด้วยการดำริชอบ การดำริชอบเป็นอย่างไร ก็คือการดำริในการออกจากกาม ๑ การดำริในการไม่มุ่งร้าย ๑ การดำริในการไม่เบียดเบียน ๑
การดำริในการออกจากกามต้องทำอย่างไร คือต้องมีการสังวรอินทรีย์ คือระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อย่าให้ความรู้สึกยินดี ยินร้าย เกิดกับใจ คืออย่าให้ครอบงำใจ ความยินดี ยินร้ายเป็นกิเลสกาม เป็นเหตุให้จิตไม่สงบ เป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน การดำริก็คือการคิดเห็นอยู่ในใจ ให้คอยเตือนตัวเองอยู่ในใจว่าอย่ายินดี ยินร้าย เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายมีเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็งมากระทบ และระวังใจอย่าให้หลงความคิดนึกเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้ว อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ใจ ความไม่สงบ ความฟุ้งซ่าน การดำริได้ตลอดเวลาจะทำให้สติเกิดขึ้นได้เร็ว เมื่อสติเกิดขึ้นจะรู้เห็นสิ่งไร ก็จะรู้เห็นสิ่งนั้นเพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่เกิดความยินดี ยินร้าย นี้แหละเรียกว่าการปล่อยวางใจ ในอารมณ์ที่เป็นอกุศลได้ หรือปล่อยวางกิเลสได้ นี้เป็นอุบายให้เกิดสมาธิด้วยปัญญา
การดำริในการไม่มุ่งร้าย ทำอย่างไร ก็คือการคอยเตือนตัวเองไม่ให้คิดว่าร้ายผู้อื่น ที่อยู่ด้วยกันก็ดี ไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ดี ด้วยอคติจิต โดยปกติเรามักชอบติเตียนผู้อื่นอยู่เสมอๆ ฉะนั้นเมื่อรู้ตัวก็ให้เตือนตัวเองว่าอย่าได้ทำเช่นนั้นอีก เป็นสิ่งไม่ดี เป็นความมุ่งร้ายเขาให้ละเสีย การดำริเตือนตัวเองได้เช่นนี้เสมอๆ จะเป็นเหตุให้เกิดสติ รู้ที่จะไม่ทำเช่นนั้นอีก จึงเป็นเหตุให้จิตเกิดรู้ปล่อยวาง และเข้าถึงความสงบอีกทางหนึ่ง อ่านต่อตอน ๒ ของบทที่๑๕ >>
>> ตอน ๒ ของบทที่ ๑๕ ต่อ
การดำริในการไม่เบียดเบียน คืออะไร ก็คือการไม่อยากได้ของๆ เขา คิดจะเอาของเขามาเป็นของเราเป็นต้น เมื่อคิดเช่นนี้กับใครก็ให้รู้ตัวที่จะตักเตือนตัวเองว่าอย่าได้คิดเช่นนั้นไม่ให้คิดเช่นนี้อีก เป็นบาป เป็นสิ่งไม่ดี ควรละเสีย เมื่อดำริคิดตักเตือนตัวเองได้ทุกครั้งเวลาคิดไม่ดีกับใคร ในไม่ช้าความมีสติก็จะเกิด สามารถรู้ที่จะปล่อยวางได้อีกทางหนึ่ง
นี่คืออุบายอันชอบตามแบบอริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อว่าดำริชอบ เมื่อเรามีความสามารถที่จะดำริชอบ ได้แก่การตักเตือนตัวเองได้อยู่เสมอๆ ตลอดวัน ตลอดคืน ในอิริยาบถต่างๆ คือยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน ทำ พูด คิด อุจจาระ ปัสสาวะ เช่นนี้เรียกว่ามีความเพียรชอบ จะทำให้เกิดสติ รู้ที่จะไม่ให้บาปและอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกิดสติ รู้ไปในกาย รู้ไปในเวทนา รู้ไปในจิต รู้ไปในธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ เช่นนี้เรียกว่ามีสติชอบ รู้ไปในกาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อรู้ข้อไหนก็ถอนความพอใจ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เมื่อมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมเช่นนั้น ก็จะเกิดสมาธิชอบ คือเกิดความสงัดแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และจะเป็นเหตุให้เกิดฌานในขั้นต่างๆต่อไป
การใช้ปัญญา คือการใช้ความคิดดำริชอบอบรมจิตไปตามหลักแห่งมรรค เป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องเช่นนี้ จิตจะเกิดความสงบเป็นขณิกสมาธิในเบื้องต้น และจะเกิดปัญญาธรรมรู้เห็นตามความเป็นจริงในธรรมที่ไม่เคยรู้ก็จะรู้ขึ้น ปัญญาธรรมรู้เห็นตามความเป็นจริงก็จะพัฒนาไปสู่ความรู้เห็นในพระไตรลักษณะต่อไป ที่เรียกว่าวิปัสสนา
(ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้มีความเพียรความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมด้วยเทอญ)
ขอเจริญพร หลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 02:58:22 am »
0
ยินดีด้วยคะ คุณครู มีข้อธรรมมาฝากกัน ยาว ๆ ๆ 15 ตอน

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง