ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม พรหม และ เทวดา ไม่ปรารถนาความเป็นพระอรหันต์  (อ่าน 5526 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กระทู้สืบเนื่องคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3241.msg11600;topicseen#msg11600


อาจจะดูคำถาม เหมือนว่าถามเรื่องไกลตัว แต่เป็นเพราะความสงสัยว่า

 ในเมื่อเทวดา และ พรหม นั้นเป็นผู้มีฤทธิ์ กันเป็นปกติ น่าจะบำเพ็ญเพียรเพื่อเข้าสู่ นิพพานกันดีกว่า

แต่ในจำนวน เทวโลก 16 ชั้น มีเพียง 5 ชั้นที่เรียกว่า สุทธาวาส ที่อยู่ของ พรหมอนาคามี และ พวก สกิทาคามี

พระโสดาบัน ที่จะบรรลุในเทวโลก เทียบเปอร์เซ็นแล้ว น่าจะอยู่น้อย เปอร์เซ็น

 การบำเพ็ญเป็นพระอรหันต์ ทำไมต้องมาสู่โลกมนุษย์ รวมทั้งการสร้างบุญบารมีของเทวดา นั้นก็ต้องมาที่โลก

มนุษย์เป็นหลัก

  ดังนั้นการจะกล่าวว่าไปเกิดเป็นเทวดา ดีกว่า มนุษย์ นั้นก็ยังไม่น่าจะถูก.....

  พระพุทธเจ้า ต้องมาตรัสรู้บนโลกมนุษย์ มีประวัติตรัสรู้ ในเทวโลก มีองค์ไหนบ้างเอ่ย...

  ขอบคุณคะ

   :c017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 09:45:42 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็คงหลงติดอยู่ในความเป็นเทวดาหรือพรหมมั๊ง..... :hee20hee20hee:
เพราะทั้งสองภพเป็นภพที่เสวยผลในฝ่ายกุศลแต่อย่างเดียว.......ซึ่งเป็นการจมสุข...จึงไม่ตื่น(หลงในความสุข)จนไม่เห็นสัจธรรมควมแห่งการเกิดดับ....... :57: :34: :bedtime2: :015:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 09:46:02 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กระทู้สืบเนื่องคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3241.msg11600;topicseen#msg11600


อาจจะดูคำถาม เหมือนว่าถามเรื่องไกลตัว แต่เป็นเพราะความสงสัยว่า

 ในเมื่อเทวดา และ พรหม นั้นเป็นผู้มีฤทธิ์ กันเป็นปกติ น่าจะบำเพ็ญเพียรเพื่อเข้าสู่ นิพพานกันดีกว่า

แต่ในจำนวน เทวโลก 16 ชั้น มีเพียง 5 ชั้นที่เรียกว่า สุทธาวาส ที่อยู่ของ พรหมอนาคามี และ พวก สกิทาคามี

พระโสดาบัน ที่จะบรรลุในเทวโลก เทียบเปอร์เซ็นแล้ว น่าจะอยู่น้อย เปอร์เซ็น

 การบำเพ็ญเป็นพระอรหันต์ ทำไมต้องมาสู่โลกมนุษย์ รวมทั้งการสร้างบุญบารมีของเทวดา นั้นก็ต้องมาที่โลก

มนุษย์เป็นหลัก

  ดังนั้นการจะกล่าวว่าไปเกิดเป็นเทวดา ดีกว่า มนุษย์ นั้นก็ยังไม่น่าจะถูก.....

  พระพุทธเจ้า ต้องมาตรัสรู้บนโลกมนุษย์ มีประวัติตรัสรู้ ในเทวโลก มีองค์ไหนบ้างเอ่ย...

  ขอบคุณคะ

   :c017:

คุณกบแยมกะลา อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ ขอให้กลับไปอ่านเรื่องกรรมนำเกิด อีกครั้งนะครับ

การเกิดเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยากมาก การที่จะเกิดอยู่ในภพใดขึ้นอยู่กับจิตดวงสุดท้าย ก่อนหมดลมหายใจครับ

จิตดวงสุดท้ายที่คิดเป็นกุศล ก็จะส่งให้ไปดี ไปสุคติ ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ หรือ เป็นเทวดา หรือสูงกว่านี้ก็ได้

ในอีกทางหนึ่งหากจิตเป็นอกุศล เราก็จะไปเกิดในอบายภูมิ


พระพุทธเจ้าบอกว่า สัตว์ในอบายภูมิมีจำนวนมากกว่ามนุษย์จนประมาณไม่ได้  นั่นเพราะอะไร

ก็เพราะมนุษย์ตายแล้ว ส่วนใหญ่จะลงอบายภูมิครับ และนั่นเป็นที่มาของคำว่า

"เกิดเ้ป็นมนุษย์นี้แสนยาก" ท่านได้อุปมาไว้ ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ทุกๆร้อยปี

เต่าตาบอดตัวหนึ่ง จะโผล่ขึ้นมาเพื่อสวมแอกที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร

คิดดูซิว่า โอกาสที่เต่าตัวนั้นจะสวมแอกได้ มีมากน้อยเ่ท่าไร

แน่นอน ทุกคนต้องคิดเหมือนกัน ก็คือ เป็นเรื่องยากมากๆ

แต่โอกาสก็มีอยู่ โอกาสที่มีอยู่นั้น ก็คือ โอกาสที่จะเกิดเป็นมนุษย์นั่นเอง


เรื่องกรรมนำเกิดนี้เป็นเรื่องอจินไตยครับ ปุถุชนไม่อาจทราบได้ว่า ตัวเองตายแล้วจะไปเกิดเ้ป็นอะไร

ดังนั้น เราควรหวังให้สูงไว้ก่อน เผื่อพลาดพลั้งลงอบายภูมิ อย่าลืมว่า ภูมิของมนุษย์ อยู่ติดกับภูมิของเดรัจฉาน

ถ้าไม่อยากเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ควรหวังให้สูงไว้ก่อน เป็นสัตว์เดรัจฉานโอกาสสร้างบุญบารมีไม่มีครับ

ปัญญาก็ไม่มี ทำให้เราไม่รู้ว่า เมื่อตายจากการเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้ว จะเกิดเป็นมนุษย์อีกหรือไม่

ตรงกันข้ามการเป็นเทวดา สามารถที่ลงมาเกิดเป็นมนุษย์สบายๆครับ เพราะอยู่สูงกว่า มีปัญญามากกว่า

มีโอกาสทำบุญได้พอๆกับมนุษย์



คำถามที่ว่า มีพระพุทธเจ้าองค์ไหนตรัสรู้ ในเทวโลก บ้าง

คำตอบก็คือ ในจักรวาลของเรา พระุพุทธเจ้า ต้องมาตรัสรู้บนโลกมนุษย์เท่านั้น



เรื่องเทวดาบรรลุธรรมนั้น มีเยอะครับ เท่าที่จำได้ มีมากกว่ามนุษย์ครับ

คิดง่ายๆ ก็คือ เทวดามีอายุยืนมากกว่าเราเยอะ โอกาสบรรลุธรรมจึงมีมากกว่า

แต่คิดเฉพาะในแง่ของจำนวนเท่านั้นนะครับ

ถ้าคิดในแง่ของ สภาพจิตหรือคุณสมบัติของจิต และสิ่งแวดล้อม (ความยากง่ายของการบรรลุ)

เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์บรรลุธรรมได้ง่ายกว่า เทวดาหรือพรหม

เพราะว่า เทวดามัวแต่หลงความเป็นทิพย์ หรือภาษาบาลีเรียกว่า "นันทิราคะ"

ทำให้หลงเพลิน เผลอเพลิน จนลืมปฏิบัติธรรม

แม้แต่จิตของพรหมก็ออกไปทางนิ่งเกินไป ทำให้เห็นไตรลักษณ์ได้ยาก (พรหมยกเว้นชั้นสุทธาวาส)

ส่วนจิตของมนุษย์ขึ้นๆลงๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้เห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายกว่า

ขอคุยเท่านี้ก่อน เหนื่อยครับ

 :49: :bedtime2: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 09:46:22 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คำถาม ทำไม พรหม และ เทวดา ไม่ปรารถนาความเป็นพระอรหันต์

คำตอบ บอกไม่ได้ครับ น่าจะเป็นเรื่อง จริต นิสัย วาสนา บารมี ของแต่ละองค์ เป็นเรื่องเฉพาะตัวมากกว่า

ถ้าลองอ่านพระสูตรดีๆ จะเห็นว่า เวลาพระพุทธเจ้าเทศน์ จะมีเทวดามาฟังเป็นจำนวนอนันตจักรวาล

ลองคิดดู คำว่า "อนันตจักรวาล" มันมากขนาดไหน แล้วที่บรรลุธรรม จะมีมากขนาดไหน

จำคำนี้ได้ไหมครับ "สัตถา เทวะมะนุสสานัง" (เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย)

 :s_good: ;) :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 09:46:55 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่ต้องกลับมาบําเพ็ญยังโลกมนุษย์...ก็คง..ต้องการกลับคืนสู่ดิน...เพราะดินมีความมั่นคง..มีวิตก-วิจาร..ทําให้โอกาสที่จะสัมปยุตธรรม-สัมปยุตธาตุ.มีสูง..มีสติได้เห็นตัวจิต(การปรุงแต่งที่ทําให้ละ โมหะ(หลง)ได้ง่าย.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 09:47:13 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นันทิราคะ กับ ความตั้งใจผิดในการภาวนา แสดงว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ ใช่หรือไม่คะ

ดังนั้น ถ้าเพื่อน ๆ ของ กบแย้มกะลา ไปหลงปฏิบัติเพื่อจะเที่ยวสวรรค์ เป็นต้นอันนี้ก็เป็นความ

ตั้งใจผิด จัดเป็น นันทิราคะ ด้วยใช่หรือไม่คะ


 :smiley_confused1:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 09:48:55 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค                        
ทารุขันธสูตรที่ ๑


[๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง  พระผู้มีพระภาค
ได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา
แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้น
อันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แลท่อนไม้นั้น จักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่ากระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง
ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้


ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

[๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ฝั่งนี้ได้แก่อะไร
ฝั่งโน้นได้แก่อะไร
การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร
การเกยบนบกได้แก่อะไร
มนุษย์ผู้จับคืออะไร
อมนุษย์ผู้จับคืออะไร
เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร
ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖
คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖
คำว่าจมในท่ามกลาง  เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ
คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ


ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์
เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย
ย่อมถึงการประกอบตน ในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา
ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ

ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า
ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ  หรือด้วยพรหมจรรย์นี้
เราจักได้เป็นเทวดา หรือเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ


ดูกรภิกษุคำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕

ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ
มีการงานปกปิดไว้ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ
ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี
เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย
ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ


อายตนะ ที่ต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท คือ
อายตนะภายใน ๖ และ อายตนะภายนอก ๖


อายตนะภายนอก เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ
๑) รูป รูป
๒) สัททะ เสียง
๓) คันธะ กลิ่น
๔) รส รส
๕) โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย
๖) ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้ ;

อารมณ์ ๖ ก็เรียก
 
อายตนะภายใน เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ
๑) จักขุ ตา
๒) โสต หู
๓) ฆาน จมูก
๔) ชิวหา ลิ้น
๕) กาย กาย
๖) มโน ใจ;

อินทรีย์ ๖ ก็เรียก

สัมผัส
ความกระทบ,การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก,ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอกและวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖); ผัสสะ ก็เรียก

นันทิ น. ผู้มีความยินดี. (ส.).
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ราคะ ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉัน นี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ


อรรถกถา
บทว่า  นนฺทิราคสฺเสตํ  อธิวจนํ  ความว่า  เหมือนอย่างว่า  ทราย
ละเอียดและหยาบ  ปิดท่อนไม้ที่จมตรงกลาง  (นอกนั้น)  อยู่บนบก
ท่อนไม้นั้น  ไม่สามารถจะยกปลายขึ้นได้อีก  ฉันใด
 
บุคคลผู้อันนันทิราคะติดพันแล้วก็ฉันนั้น  ตกไปในอบาย  ๔ 
ถูกทุกข์ใหญ่บีบคั้น  เขาไม่สามารถเงยศีรษะขึ้นได้อีก  ตั้งหลายพันปี
 
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า  นนฺทิราคสฺเสตํ อธิวจนํ  ดังนี้.

อ้างอิง
“ท่อนไม้ลอยไหลสู่ทะเลได้ฉันใด จิตก็โน้มเอียงสู่นิพพานได้ฉันนั้น”
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3234.0


ตอบเรื่อง"นันทิราคา" ให้แล้วนะครับ อ่านช้าๆค่อยๆพิจารณา
 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 09:49:18 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ