ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มหาสมัยสูตร บทสวดที่อยากให้ทุกท่านได้สวด ถ้ามีโอกาส  (อ่าน 3198 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

 มหา สมัยสูตรปรากฎความในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกามหาวรรค  ภายหลังการบรรลุอนุตราสัมมาสัมโพธิญาณของพระบรมศาสดา  พระองค์ได้เสด็จจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก  และเมื่อทราบทราบว่าพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาประชวรหนัก  จึงเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์อีกครั้งเพื่อเยี่ยมอาการพระพุทธบิดา  พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก ทรงถวายพยาบาลพระพุทธบิดาตามพุทธวิสัย  และโปรดให้พระพุทธบิดาได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลาย  ในกาลต่อมาพระพุทธบิดาก็ปรินิพพานบนพระแท่นบรรทมภายใต้เศวตฉัตรนั้งเอง  ภายหลังถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธบิดา พระพุทธองค์ตรัสว่า  "บุคคลใดมีจิตปรารถนาพระโพธิญาณ จงอุตสาหะภิบาลบำรุงบิดามารดา  ประพฤติกุศลสุจริตธรรม จักสมปรารถนาทุกประการ"
 
 
 รุ่ง ขึ้นอีกวัน ขณะทีพระองค์ประทับอยู่ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพันดุ์  เหล่าพระญาติข้างฝ่ายศากยะ และ  โกลิยะที่ตั้งหลักแหล่งอยู่สองฝั่งแม่น้ำโรหิณีได้วิวาทกันเรื่องแย้งน้ำทำ นา กษัตริย์ทั้งสองจึงยกกองทัพออกไปจะทำสงครามกัน เพราะไม่สามารถตกลงกันได้  พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ  ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรงแจ้งให้ใคร ๆ ทราบ  เสด็จพุทธดำเนินแต่เพียงพระองค์เดียว  ไปประทับนั่งขัดบัลลังก์ระหว่างกองทัพกษัตริย์ทั้งสองนคร
 
 
 ครั้น กองทัพชาวเมืองกบิลพัสดุ์และชาวเมืองโกลิยะเห็นพระองค์นั้น  ต่างก็คิดว่าพระศาสดาผู้เป็นพระญาติ ผู้ประเสริฐของพวกเราเสด็จมา  จึงทิ้งอาวุธเขาไปเฝ้าพระพุทธองค์ทั้งที่พระองค์ทรงทราบสถานการณ์ขณะนั้นดี แต่ก็ตรัสถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วตรัสสอนว่า มหาบพิตร  พวกพระองค์อาศัยน้ำที่มีค่าน้อยแล้วทำให้กษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ให้ฉิบหาย ทำไมกัน
 
 
 ครั้นแล้ว  พระพุทธองค์ได้ตรัส ผันทนชาดก ทุททุภายชาดก และลฏุกิกชาดก  เพื่อระงับการวิวาทของพระญาติทั้งสองฝ่าย และตรัสรุกขธรรมชาดก และวัฏฏชาดก  เพื่อให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียงกันว่า "หมู่ญาติยิ่งมากยิ่งดี ต้นไม้ที่เกิดในป่าแม้จะโตเป็นเจ้าป่า ถ้าตั้งอยู่โดดเดี่ยวย่อมถูกแรงลมพัดโค่นลงได้ และว่านกทั้งหลายมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ย่อมพาตาข่ายไปได"้ และในที่สุดก็ตรัส อัตตทัณฑสูตร
 
 
 กษัตริย์ เหล่านั้นได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว เกิดความสังเวชพากันทิ้งอาวุธกล่าวว่า  หากพระบรมศาสดา ไม่เสด็จมา  พวกเราก็จะฆ่าฟันซึ่งกันและกันเลือดไหลนองเป็นสายน้ำ  ไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเห็นหน้าลูกเมียญาติพี่น้อง  กษัตริย์ทั้งสองพระนครจึงถวายพระราชกุมาร 500 องค์ คือ ฝ่ายละ 250 องค์  ให้บรรพชา อุปสมบทกับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
 
 
 อรรถกถา มหาสมัยสูตร เล่าถึงเหตุการณ์ที่ภิกษุราชกุมารเหล่านั้นบรรลุธรรมไว้ว่า  เมื่อพระพุทธองค์นำภิกษุราชกุมารเหล่านั้นมาสู่ป่ามหาวัน  ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ภิกษูปูถวาย ในโอกาสทีสงัด ตรัสบอก  กัมมัฏฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับกัมมัฏฐานแล้ว  ต่างแยกย้ายกันไปเจริญวิปัสสนาตามเงื้อมผา และโคนไม้ในโอกาสที่เงียบสงัด  และก็ทยอยบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  จนครบทั้ง 500 รูป
 
 
 อรรถถาได้ อธิบายความคิดของพระที่ได้บรรลุพระอรหันต์ไว้ว่า  พระผู้บรรลุพระอรหัตสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลายแล้ว ย่อมมีความคิดอยู่ 2  อย่างคือ
 
 
 1. มีความคิดว่า คนทุกคนตลอดจนเทวดาทั้งหลาย ก็สามารถที่จะบรรลุธรรมตามที่เราบรรลุได้เช่นเดียวกัน
 

 
 2. พระที่บรรลุธรรมไม่ประสงค์จะบอกคุณธรรมที่ตนได้บรรลุแก่ผู้อื่น  เหมือนคนที่ฝังขุมทรัพย์ไว้ไม่ต้องการให้ใครรู้ที่ฝังขุมทรัพย์ของตน
 

 
 เมื่อ เทวดาทั้งหลายทราบว่า พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์  พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป ล้วนเป็นพระอรหัตบวชจากราชตระกูล ต่างก็กล่าวว่า  นี้เป็นสมัยแห่งการประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน  พวกเราจักไปชมความงดงามของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกผู้หมดจด  ต่างก็แต่งคาถากล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก  เทวดาที่มาประชุมกันใวนนั้นมีจำนวนมากมาย ภิกษุบางรูปก็เห็นเทวดาร้อยหนึ่ง  บางรูปก็เห็นพันหนึ่ง บางรูปก็เห็นหมื่นหนึ่ง บางรูปก็เห็นแสนหนึ่ง  บางรูปก็เห็นไม่มีที่สิ้นสุด แตกต่างกันไปตามกำลังญาณของแต่ละองค์
 
 
 ใน ยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมเทวดาจำนวนมากเช่นนี้ก็เพียง ครั้งเดียว พระพุทธองค์ ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า  เทวดาในแสนจักรวาลมาประชุมกันเพื่อชมตถาคตและหมู่ภิกษุสงฆ์  เทวดาประมาณเท่านี้แหละได้เคยประชุมกันเพื่อชมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าในอดีตกาลแล้ว  และพวกเทวดาประมาณเท่านั้นแหละจักประชุมกันเพื่อชมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ เจ้าในอนาคตกาล  แล้วพระองค์ก็ทรงแนะนำเทวดาแต่ละจำพวกให้ภิกษุทั้งหลายฟังตามลำดับ  ตั้งแต่กุมมเทวดาไปจนถึงพรหมโลก
 
 
 ขณะ ที่เทวดาจากหมื่นจักรวาลมาประชุมกันจนครบนั้น ท้องฟ้าโปร่งใส่ไม่มีเมฆหมอก  ก็กลับเกิดเมฆฝนคำรณคำรามกึกก้องฟ้าแลบแปล๊บพราย  พระพุทธองค์ทรงพิจารณาทราบว่า หมู่มารก็ได้มาด้วย  จึงทรงแนะนำให้ภิกษุรู้จักพญามารเอาไว้
 
 
 พญา มารกำลังสั่งบังคับเสนามารให้ผูกเหล่าเทวดาไว้ในอำนาจแห่งกามราคะ  แต่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไม่ให้เหล่าเทวดาเห็น  พญามารไม่ได้ดั่งใจจึงทำให้เกิดฟ้าร้องกึกก้องกัมปนาทไปทั่ว
 
 
 โดย ปกติในที่จะไม่มีการบรรลุมรรคผล  พระพุทธองค์จะไม่ทรงห้ามมารแสดงสิ่งอันน่ากลัวของมาร  แต่ในที่จะมีการบรรลุมรรคผล  พระองค์จะทรงอธิษฐานไม่ให้ใครรู้เห็นสิ่งที่พญามารกำลังทำ  เนื่องจากการประชุม ใหญ่ของเทวดาครั้งนั้น จะมีเทพบรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก  พระพุทธองค์จึงทรงอธิษฐานไม่ให้พวกเทวดา  รับรู้สิ่งอันน่ากลัวของหมู่มารนั้น พญามารนั้นจึงกลับไปด้วยความเดือดดาลฯ
 
 
 
สวดเมื่อไร ? สวดแล้วได้อะไร ?

 มหา สมัยสูตร เป็นสูตรว่าด้วยสมัยเป้นที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ  ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมใหญ่ของเหล่าเทวดาทั้งหลาย เช่นนี้เพียงครั้งเดียว เทวดาทั้งหลายจึงพากันคิดว่าพวกเราจะฟังพระสูตรนี้  เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงมหาสมัยสูตรจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฎิได้บรรลุพระอรหันตฺ
 
 
 พระ สูตรนี้จึงเป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา  เทวดาทั้งหลายต่างก็คิดว่าพระสูตรของตน  เมื่อสวดพระสูตรนี้จะทำให้เหล่เทวดาทั้งหลายประชุมกัน  เมื่อเทวดาประชุมกันก็จะทำให้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายถอยห่างออกไป  เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เข้ามาใกล้ตัวเรานั้นเอง
 
 
 พระอรรถกถาจารย์จึงแนะนำว่า "มหาสมัยสูตรนี้ เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคลกถา ควรสวดพระสูตรนี้"  หมายความว่าในสถานที่สำคัญที่จะประกอบกิจใหม่  หรือในสถานใดที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ  เมื่อจะสวดมงคลกถาในสถานที่เช่นนี้ควรสวดมหาสมัยสูตรนี้
 
 
 เนื่อง จากมหาสมัยสูตรเป็นสูตรใหญ่ จึงไม่นิยมใช้สวดในงานทำบุญทั่ว ๆ ไป  แต่จะนิยมนำไปสวดเฉพาะในพิธีที่เกี่ยวข้องกับความอยู่เย็นเป็นสุขของทางบ้าน เมืองเป็นหลัก นอกนั้นแล้ว  การเจริญพระพุทธมนต์ยังเป็นรูปแบบของการเจริญสมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง  แต่แทนที่จะใช้วิธีนั่งบริกรรมให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่กับคำใดคำหนึ่งหรือสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ  ก็ใช้วิธีจิตเกาะเกี่ยวไปกับอักขระเป็นเกาะแสเช่นนี้ ไม่ปล่อยให้ความรัก  โลภ โกรธ หลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท ได้โอกาสแทรกเข้ามาครอบงำจิต  ทำให้จิตมีความผ่องใส  เป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา  จิตเช่นนี้เป็นจิตสงบ คือสงบจากกามราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน  รำคาณ เบื่อหน่าย จึงชื่อว่า "จิตเป็นสมาธิ"
 
 
 จากหนังสือ "มหาสมัยสูตร" บทสวดมนต์เพื่อความร่มเย็นแห่งแผ่นดิน และเพื่อสันติภาพโลก
 
 
 รวบรวมโดย พระมหาเหลา ประชาษฎร์
 
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลที่มาhttp://www.dhammathai.org/indexthai.php


สามารถดาวน์โหลด เสียงสวดนี้ได้ที่

http://audio.palungjit.com/f21/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B0-688.html
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ