ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - Program
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก เมื่อ: มีนาคม 22, 2010, 02:22:57 pm
ขอเรียนท่าน sangtham   ว่า หนังสือนี้มีที่มาและมีผู้เรียบเรียงชัดเจนครับ
( ขอออกตัว ว่า ผมเพียงยกมาบางส่วนเท่านั้นเพราะยาวเหมือนกันครับ)
พร้อมกันนี้ผมก็แนบไฟล์ PDF มาที่ด่านล่างนี้ด้วยครับ
 
 คำนำ
     สมถกัมมัฏฐาน เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก พิมพ์ครั้งนี้ได้
จัดวรรคตอนให้เรียบร้อยดียิ่งขึ้น และแก้ไขอักษรให้ถูกต้องตามความนิยมของชนหมู่มาก ส่วนข้อความคงไว้ตามเดิม มิได้แก้ไขเปลี่ยน แปลงอย่างไร         
                              กองตำรา
มหามกุฎราชวิทยาลัย
๑๕ กรกฎาคม ๑๔๘๓

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

อาตมภาพสมเด็จพระวันรัต ได้เรียบเรียงวินัยและพระปรมัตถ์
โดยย่อ สมองพระเดชพระคุณตามสติกำลังปัญญา  ยุติแต่เท่านี้ ขอถวายพระพร.
                    จบ สมถภานาโดยสังเขป.
2  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อานาปานสติ เมื่อ: มีนาคม 22, 2010, 12:00:05 am

เรียน คุณ Program

======================================
ขอทราบ อานิสงค์การฝึก อานาปานสติ ด้วยคะ

 :25:
ผลฉับพลันของอานาปานสติ
........“การบำเพ็ญอานาปานสติ ย่อมก่อให้เกิดผลในทันทีทันใดแก่ท่านได้ กล่าวคือ การเจริญอานาปานสตินี้ เป็นผลดีต่อสุขภาพกาย ต่อการผ่อนคลาย(คลายเครียด) ทำให้หลับสนิท และต่อประสิทธิภาพในการทำงานในชีวิตประจำวันของท่าน ทำให้ท่านมีความสงบและมีความสุขใจขึ้น
........แม้ในขณะที่ท่านมีความเครียด หรือความกังวล หากได้เจริญอานาปานสติ(จนใจสงบ) แม้พียง ๒ นาทีเท่านั้น ท่านก็จะเห็นได้ด้วยตัวท่านเองว่า ตัวท่านเองมีความสงบและความเยือกเย็นขึ้นมาอย่างทันทีทันใด ท่านจะรู้สึกเหมือนกับว่าท่านได้ตื่นขึ้นอย่างสดชื่นหลังจากที่พักผ่อนมา อย่างเต็มที่แล้ว”
-----------------------------------------------------------------------------



อานาปานสติกรรมฐาน มีอานิสงส์ 12 ประการ
1.   สามารถตัดเสียซึ่งวิตก มีกามวิตก เป็นตัน เพราะเป็นธรรมอันละเอียดและประณีต
2.   เป็นธรรมเครื่องพักอยู่ อันละมุนละไมและเป็นสุข
3.   เจริญให้มาก ทำให้มากแล้วย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ เมื่อสติปัฎฐาน 4 อันบุคคลเจริญให้มากทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชงฌ์ 7 ให้บริบูีรณ์ เมื่อบุคคบยังโพชงฌ์ 7 ให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
4.   ผู้ที่ได้สำเร็จอรหัตผล โดยอาศัยการเจริญอานาปานสติกรรมฐานเป็นบาท ย่อมกำหนดรู้ในอายุสังขารของตนว่าจะอยู่ไปได้เท่าไร และสามารถรู้กาลเวลาที่จะปรินิพพานด้วย
5.   หลับเป็นสุข ไม่ดิ้นรน
6.   ตื่นก็เป็นสุขคือมีใจเบิกบาน
7.   มีร่างกายสงบเรียบร้อย (มีกายไม่โยกโคลง)
8.   มีหิริโอตตัปปะ
9.   น่าเลื่อมใส
10.   มี อัธยาศัยประณีต
11.   เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
12.   ถ้ายังไม่ได้ สำเร็จมรรค ผล นิพพาน เมื่อธาตุขันธ์แตกดับลงก็มีสุตคิโลกสวรรค์เป้นที่ไปในเบื้องหน้า
หลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส


อานิสงส์มากมายครับดูได้จากลิงค์ตัวอย่าง
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=484.0
http://www.oknation.net/blog/pierra/2009/02/24/entry-1
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญสติ ปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้ บริบูรณ์ได้ ฯ
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ความลึกของฌาน เมื่อ: มีนาคม 19, 2010, 10:52:34 pm
ร่วมอนุโมทนากับคุณ nathaponson และ praruttanatri.com เป็นอย่างยิ่ง
4  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 08:50:04 pm
 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 5
อย่างต่ำ   มีได้แก่สามัญชน  ท่านจัดเป็นแต่กามาวจรธรรม  คือเป็น
อารมณ์ของสัตว์ผู้หน่วงกามคุณ.    สมาธิอย่างสูง  คืออัปปนาสมาธิ
เฉพาะมีแก่บางคนที่เป็นผู้วิเศษ    ท่านจัดว่ารูปาวจรธรรม  คือเป็น
อารมณ์ของท่านผู้หน่วงรูปธรรม   ยกเป็นคุณสูงขึ้นอีกชั้นหนึ่ง  เรียก
ว่าฌานโดยมากกว่าอย่างอื่น   แจกเป็น  ๔  ตามที่นิยมมากในพระ
พุทธศาสนา  เรียกว่ารูปฌาน  เพราะมีรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น
อารมณ์.  ฌาน  ๔  นั้น  เรียกชื่อตามลำดับปูรณสังขยาว่า  ที่ ๑  ที่ ๒
ที่ ๓  ที่  ๔  หรือใช้ศัพท์เช่นนั้นในภาษามคธว่า  ปฐมะ  ทุติยะ  ตติยะ
จตุตถะ  ท่านกำหนดด้วยองค์สมบัติดังนี้ :-
        ๑.  ปฐมฌาน  มีองค์  ๕  คือ  ยังมีตรึก  ซึ่งรียกว่าวิตก  และ
ยังมีตรอง  ซึ่งเรียกว่าวิจาร  เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ
แต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกามและอกุศลธรรม  ซ้ำมีปีติคือความอิ่มใจ
และสุขคืนความสบายใจเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ  กับประกอบด้วย
จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป  ซึ่งเรียกว่าเอกัคคตา.
        ๒.  ทุติยฌาน  มีองค์ ๓  ลิวิตกวิจารเสียได้  คงอยู่แต่ปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา.
        ๓.  ตติยฌาน  มีองค์  ๒  คงอยู่แต่สุขกับเอกัคคตา.
        ๔.  จุตตถฌาน  มีองค์  ๒  เหมือนกัน   ละสุขเสียได้   กลางเป็น
อุเบกขา  คือเฉย ๆ  กับเอกัคคตา.
        ฌาน  ๔  นี้  จัดเป็นอุตตริมนุสสธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธ
ศาสนา.   แต่ในเวลาทุกวันนี้  ธรรมอย่างสูงเช่นฌาน  ก็เป็นคุณที่เกิน
 
 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 6
ต้องการของคนทั้งหลาย  หรือจะเรียกว่าผลที่เอื้อมไม่ถึง  แม้เช่นนั้น
สมาธิอย่างต่ำ  ก็ยังมีประโยชน์มากดังกล่าวแล้ว  เป็นคุณที่ยังควร 
ปรารถนา  เหตุดังนั้น  จักกล่าวกัมมัฏฐานบางอย่าง  อันเป็นคู่ปรับแก่
นีวรณ์  ๕ เพื่อเป็นอุบายอบรมสมาธินั้น.
 ฯลฯ  กายคตาสติ   เมตตา   พุทธานุสสติ   กสิณ  ฯลฯ
+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ

ยาวมากประมาณ 170 กว่าหน้า เฉพาะสมถะ ผมยกมา 6 หน้า เฉพาะหัวใจสมถะ
5  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 08:48:01 pm

 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 4
ธาตุกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เพื่อกำหนดรู้สภาวธรรมที่เป็น
อยู่อย่างไร.
        ในบุคคลผู้เดียว  นีวรณ์เหล่านี้  อาจเข้าครอบงำในต่างขณะ.  ใน
สมัยใด  นีวรณ์ชนิดใดครอบงำ  ในสมัยนั้น  ควรเจริญกัมมัฏฐาน
อันเป็นเครื่องแก้นีวรณ์ชนิดนั้น  พึงข่มจิตลงในสมัยที่เป็นไปพล่าน
พึ่งยกจิตขึ้นในสมัยที่หดหู่  พึงประคองจิตไว้ในสมัยที่เป็นไปสม่ำเสมอ
พึงทำจิตให้อาจให้ควรแก่การงาน.
        อาการที่รู้จักทำจิตให้ปลอดจากนีวรณ์เป็นจิตอาจ เป็นจิตควร
แก่การงานในคราวต้องการ  ดังนี้  ชื่อว่าสมาธิ  แปลตามศัพท์ว่า
ตั้งจิตไว้มั่น.
        สมาธินี้  เป็นกำลังสำคัญในอันจะให้คิดเห็นอรรถธรรมและเหตุ
ผลอันสุขุมลึกลับ  พระศาสดาจึงตรัสไว้ในพระบาลีว่า  "สมาหิโต
ยถาภูต  ปชานาติ"   ผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว  ย่อมรู้ตามเป็นจริง  ใจดวงเดียว
นึกพล่านไปในอารมณ์ต่าง  ๆ  ย่อมคิดติดแลไม่เห็นทาง  ต่อนึกดิ่งลงไป
ในอารมณ์เดียวเป็นสมาธิ  จึงจะคิดเห็นปรุโปร่ง  ดุจดังน้ำบ่าไป
หลายทาง  จะให้กำลังพัดเครื่องจักรไม่ได้แรงเหมือนทำให้บ่าลงทาง
เดียวฉะนั้น.    สมาธิก็คือรวมความคิดของใจให้ดิ่งลงไปในทางเดียว
จึงเป็นกำลังอันใหญ่ให้แทงตลอดอรรถธรรม  และเหตุผลอันสุขุม.
        สมาธินั้น  ที่เป็นอย่างต่ำ  ไม่แน่แน่วจริง ๆ ทำได้เป็นอย่างดี
ก็เป็นแต่เฉียด  ใกล้ ๆ  เรียก  อุปจารสมาธิ  ที่เป็นอย่างสูง  เป็นสมาธิ
อย่างแน่นแฟ้น  แน่แน่วลงไปจริง ๆ  เรียก  อัปปนาสมาธิ  สมาธิ
 

+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
6  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 08:44:27 pm
 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 3
จากนีวรณ์  ย่อมเป็นธรรมอันดี  แต่นีวรณ์มีหลายอย่าง  กัมมัฏฐาน
จึงต้องมีต่างประเภทให้เป็นคู่ปรับกัน.
        อันผู้จะเจริญกัมมัฏฐาน  ต้องรู้จักเลือกประเภทอันเป็นสบายของ
ตน.  เหมือนคนใช้ยา  ต้องรู้จักชนิดอันเป็นสบายแก่โรค  ไม่ใช่ว่า
เป็นยาแล้วเป็นของสบายทุกขนาน  บางอย่างอาจเป็นของแสลงแก่โรค
บางอย่าง   เช่นยาร้อนเป็นของแสลงแก่โรคไข้  กัมมัฏฐานก็เหมือน
กัน  ไม่ใช่เป็นธรรมสบายแก่ทุกคน  ไม่ถูกเหมาะอาจให้โทษ  เช่น
คนมีมิทธะคือง่วงงุนเป็นเจ้าเรือน  กัมมัฏฐานที่ให้นึกหรือเพ่งเฉพาะ
อารมณ์อันเดียวย่อมจะชักให้ง่วงหนักเข้า.
        บุคคลผู้มีกามฉันท์เป็นเจ้าเรือน  มักรักสวยรักงาม  ควรเจริญ
อสุภกัมมัฏฐานพิจารณาซากศพ  หรือเจริญกายคตาสติพิจารณาร่างกาย
อันยังเป็นให้เห็นเป็นของน่าเกลียด.  บุคคลผู้มีพยาบาทเป็นเจ้าเรือน
มักโกรธขึ้งเกลียดชัง  ควรเจริญเมตตา  กรุณา  มุทิตา  ๓  พรหมวิหาร
หัดจิตให้กลับคิดในทางให้เกิดรัก  เกิดสงสาร  เกิดยินดี.  บุคคลมี
ถีนะก็ดี   มีมิทธะก็ดี  เป็นเจ้าเรือน  มักย่อท้อในกิจการ  ควรเจริญ
อนุสสติกัมมัฏฐาน  พิจารณาความดีของตนบ้าง  พิจารณาคุณของพระ
พุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์บ้างเพื่อให้มีแก่ใจหวนอุตสาหะ  เป็นอุบาย
แก้ถีนะ  เพื่อใช้ความนึกกว้าง ๆ เป็นทางแก้มิทธะ.  บุคคลผู้มีอุทธัจจะ
ก็ดี  มีกุกกุจจะก็ดี   เป็นเจ้าเรือน  ควรเพ่งกสิณ  เพื่อหัดผูกใจไว้ใน
อารมณ์อันเดียว  หรือเจริญกัมมัฏฐานอันจะให้ใจเหี่ยวด้วยสังเวชเช่น
มรณัสสตินึกถึงความตาย.  บุคคลผู้มีวิจิกิจฉาเป็นเจ้าเรือน  ควรเจริญ
 

+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
7  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 08:42:37 pm

นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 2
แสวงหาประโยชน์แก่ประชาชน  จึงได้ทรงชัดนำในอันบำเพ็ญสมาธิ.
        สมาธินั้นพึงรู้อย่างนี้  ใจนี้อบรมดีแล้ว  ย่อมเห็นอรรถเห็นธรรม
แจ้งชัด  ทำอะไรย่อมจะสำเร็จ.  แต่ใจนี้  โดยปกติมีอารมณ์ไม่ดีเข้า
ขัดขวางไม่ให้แน่แน่วลงได้  ซึ่งเรียกว่านีวรณ์.  นีวรณ์ท่านแจกเป็น ๕
ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม  เรียกกามฉันทะ ๑  ความงุ่นง่าน
ด้วยกำลังโทสะ   อย่างสูงถึงให้จองล้างจองผลาญผู้อื่น  เรียกชื่อ
ตามอาการถึงที่สุดว่าพยาบาท ๑  ความท้อแท้หรือคร้านและความง่วง
งุน  รวมเรียกว่าถีนมิทธะ  เพราะเป็นเหตุหดหู่แห่งจิตเหมือนกัน
นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก  ๑  ความฟุ้งซ่านหรือคิดพล่านและความจืดจากเร็ว
รวมเรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจะ   เพราะเป็นเหตุกำเริบไม่อยู่ที่แห่งจิต
เหมือนกัน  นี้จัดเป็นนีวรณ์อีก  ๑  ความลังเลไม่แน่ลงได้  เรียก
วิจิกิจฉา  ๑.  สมัยใดนีวรณ์  ๕  อย่างนี้  แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง  ครอบงำ
จิต  บุคคลย่อมไม่อาจคิดเห็นอรรถธรรม  เมื่อเป็นเช่นนี้  ย่อมไม่อาจ
ประกอบกิจให้สำเร็จประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน.  การทำจิตให้ปลอด
จากนีวรณ์เหล่านี้  รักษาให้แน่แน่ว  ชื่อว่าสมาธิ.
        พระศาสดาประทานพระธรรมเทศนา  เพื่อเป็นอุบายชำระจิตให้
ปลอดจากนีวรณ์มีประการต่าง  ๆ   พระโบราณาจารย์จัดรวบรวมเข้า
เป็นหมวด   เรียกว่ากัมมัฏฐาน  มีประเภทต่างกัน  โดยสมเป็น
อุบายสำหรับชำระนีวรณ์ชนิดหนึ่ง ๆ.  คิลานเภสัชเพ่งเฉพาะกิจคือ
แก้โรค  ย่อมเป็นของมีคุณ  แต่โรคมีต่าง ๆ ชนิด  เภสัชก็จำมีต่าง ๆ
ขนาดให้ถูกกันฉันใด  กัมมัฏฐานก็ฉันนั้น  เพ่งเฉพาะกิจคือชำระจิต
 


+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 08:39:42 pm
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 1
                                หัวใจสมถกัมมัฏฐาน
        มีพระบรมพุทโธวาทประทานไว้ว่า  " สมาธึ  ภิกฺขเว  ภาเวถ
สมาหิโต  ยถาภูต  ปชานาติ"  ดังนี้  แปลความว่า  ภิกษุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด  ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว  ย่อมรู้
ตามจริง.
        เพราะเหตุอะไร  พระศาสดาจึงทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ.
เพราะในที่ได้รับอบรมดีแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่.  คน
เราจะทำจะพูดดีหรือเสียก็เพราะใจ  ลำพังกายเหมือนรูปหุ่น  ใจเหมือน
คนชัก  รูปหุ่นจะกระดิกพลิกแพลงไปเท่าไร  ก็ส่อใจของคนชัก  ฉันใด
อาการกายและวาจาจะเป็นไปอย่างไร  ก็ส่ออาการของใจ  ฉันนั้น.  อีก
อย่างหนึ่ง  กายเหมือนเรือ  ใจเหมือนนายเรือ  ถ้านายเรือไม่ได้
รับความฝึกหัดชำนิชำนาญหรือประมาทไป  ก็จะพาเอาเรือไปเป็น
อันตรายเสีย  ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ  จึงจะสามารถพาไปถึงท่า
ฉันใด  ใจก็ฉันนั้น  ที่ชั่วและปล่อยให้และมีสติ  จึงจะสามารถพาไปถึงท่า
ฉันใด  ใจก็ฉันนั้น  ที่ชั่วและปล่อยให้ละเลิง  ก็จะชักจูงให้ประพฤติ
ชั่วทางกายทางวาจามีประการต่าง  ๆ  ล้วนแต่เป็นส่วนเสียหาย  ถ้า
ได้รับอบรมในทางดี  จึงจะชักจูงในทางดี.  ท่านกล่าวว่า ใจที่ไม่ได้
อบรม  อาจทำให้คนฉิบหายเสียได้  ยิ่งกว่าโจรหรือคนมีเวรจะทำให้
เสียอีก  ใจที่ได้รับอบรม  อาจำให้คนดี  ยิ่งกว่ามารดาบิดาและญาติ
ผู้รักใคร่จะพึงทำให้ได้  เพราะเหตุนั้น พระศาสดาผู้ทรงพระกรุณาใหญ่
 


+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
9  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: ท่านว. วชิรเมธีท่านได้ให้พร 4 ข้อ เมื่อ: มีนาคม 15, 2010, 09:12:42 am
ครับท่าน จะว่าอย่างนั้นก็ได้ ผมได้รับฟรีเมลมาจากคนรู้จักประมาณปีใหม่เห็นจะได้

เห็นว่าน่าอ่านดี  ก็เลยนำมาลงเผื่อท่านอื่นได้อ่านบ้าง
10  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ท่านว. วชิรเมธีท่านได้ให้พร 4 ข้อ เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 10:52:19 pm
การบรรยายธรรมะโดยท่านว. วชิรเมธีท่านได้ให้พร 4 ดังนี้ข้อ

> 1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่นแสดงว่าหลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่นไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง'กิเลสฟูท่วมหัวยังไม่รู้จักตัวอีก'คนที่ชอบจับผิดจิตใจจะหม่นหมองไม่มีโอกาส 'จิตประภัสสร' ฉะนั้นจงมองคนมองโลกในแง่ดี 'แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ถ้ามองเป็นก็เป็นสุข '

> 2. อย่ามัวแต่คิด ริษยา
'แข่งกันดีไม่ดีสักคนผลัดกันดีได้ดีทุกคน'
คนเราต้องมี พรหมวิหาร 4คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัวมีชื่อว่า 'เจ้ากรรมนายเวร' ถ้าเขาสุขเราจะทุกข์ฉะนั้นเราต้องถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเราเพราะไฟริษยาเป็น 'ไฟสุมขอน' (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คนเราก็มีทุกข์1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี 'แผ่เมตตา'หรือซื้อโคมลอยมาแล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยาแล้วปล่อยให้ลอยไป


> 3. อย่าเสียเวลากับความหลัง90% ของคนที่ทุกข์เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 'ปล่อยไม่ลงปลงไม่เป็น'
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออกเหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องภาระต่างๆไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วจงปล่อยมันซะ 'อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีตมากรีดปัจจุบัน '
'เป็นอยู่กับปัจจุบันให้ ' ให้กายอยู่กับจิตจิตอยู่กับกายคือมี 'สติ'เวลากำกับตลอด


> 4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
'ตัณหา'ที่มีปัญหาคือความโลภความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อคือธรรมชาติของตัณหา 'ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม'
ทุกอย่างต้องดู' คุณค่าที่แท้จริง' เทียมไม่ใช่คุณค่าเช่นคุณค่าที่แท้ของนาฬิกาคืออะไร ? คือไว้ดูเวลาไม่ใช่ใส่เพื่อความโก้หรู
คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือคืออะไร ? คือไว้สื่อสารแต่องค์ประกอบอื่นๆที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้จริงของโทรศัพท์
เราต้องถามตัวเองว่า 'ทำไมเิกิดมา'คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหนตามหา 'แก่น ' เจอของชีวิตให้
ว่าคำ 'พอดี'คือ ถ้า 'พอ' แล้วจะ'ดี'รู้จัก 'พอ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข'


กรุณาส่งข้อความดีๆนี้ให้คนที่

ท่าน 'รัก' และ 'ปรารถนาดี'

หวังว่าทุกๆท่านจะได้ประสบ

แต่ความสุขกายสบายใจ
11  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อานาปานสติ เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 10:31:01 pm
คำอาราธนากัมมัฏฐาน (อานาปาน์)

(นำ หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะเส ฯ )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

ระตะนัตตะยัง เม สะระณัง วะรัง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าอันประเสริฐ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวความจริงนี้

โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ฯ

ข้าขออธิษฐาน ต่อพระทรงญาณ ผู้ชนะมารทั้งห้า ขอจิตของข้า จงละนิวรณ์ คือ

กามฉันท์ กับทั้งพยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

อย่าได้ครอบงำ ข้าทำปฏิญญา ตั้งสัตย์อธิษฐาน ต่อคุณพระธรรม ผู้นำมรรคา ให้จิตของข้า มีภาวนา

คือบริกรรม อุปจาระ และอัปปะนา เป็นจิตสิกขา กับนิมิตต์ ๓ ประการ

กอปร์ด้วยองค์ฌาน วิตกวิจาร ปีติและสุข กับเอกัคคะตา ถึงอุเบกขา เป็นสมาธิแจ้งชัด

ข้าขอตั้งสัตย์ แด่พระสังฆรัตน์ ผู้ปฏิบัติดี ขอให้วะสี มี ๕ ประการ

คืออาวัชชะนะ สมาปัชชะนะ อธิฏฐานะ และวุฏฐานะ ปัจจะเวกขณะ จงมาชำนาญ

ด้วยการภาวนา พระพุทธรักษา พระธรรมรักษา พระสังฆรักษา

ขอพระอานาปาน์ จงมาปรากฎ ในมโนทวาร ขอรัตนะ ๓ ประการ คุ้มกันอันตราย

นำสุขมาให้ ได้วิมุตติ์เป็นผล ล่วงพ้นปวงมาร ด้วยเดชอธิษฐาน ณ กาลนี้เทอญ ฯ

( แล้วนั่งกำหนดจิตพอสมควรแก่เวลาที่ตั้งไว้ )
12  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อานาปานสติ เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 10:18:41 pm
อานาปานสติ

พระธรรมเทศนาโดย
พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)

ในกรณีปกติให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลังจรดกันสนิทเต็มหน้าตัดของมันทุกๆ ข้อ)

........๑. ศรีษะตั้งตรงตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่งจนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไร หรือไม่เห็นก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขี้ง่วงให้ทำอย่างลืมตานี้แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่มันจะต้องหลับ หรือจะหัดทำอย่างหลับตาเสียตั้งแต่ต้นก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้นจะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่าสำหรับบางคนรู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือในการหลับตา ย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตาได้เลย

........๒. มือปล่อยวางไว้บนตักซ้อนกันตามสบาย ขาขัดหรือซ้อนกันโดยวิธีที่จะช่วยยันน้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัดและล้มยาก ขาขัดอย่างซ้อนกันธรรมดาหรือจะขัดไขว้กันนั่นแล้วแต่จะชอบหรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขาไขว่กันอย่างที่เรียกว่า ขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยากและไม่จำเป็น ขอแต่ให้นั่งคู้ขาเข้ามา เพื่อรับน้ำหนักตัวให้สมดุลล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจังยากๆ แบบต่างๆ นั้นไว้สำหรับเมื่อจะเอาจริงอย่างโยคีเถิด

........๓. ในกรณีพิเศษสำหรับคนป่วยคนไม่ค่อยสบายหรือแม้แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิงหรือนั่งเก้าอี้ หรือเก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอดเล็กน้อย หรือนอนเลยสำหรับคนเจ็บไข้ก็ทำได้ ทำในที่ไม่อับอากาศ หายใจได้สบายไม่มีอะไรกวนจนเกินไป

........๔. เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงานเหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค เว้นแต่จะไปยึดถือว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง เสียงที่มีความหมายต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้น เป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

........๕. ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ก็สามารถรวมความนึกหรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนดจับ อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ คนที่ชอบหลับตาก็หลับตาแล้วตั้งแต่ตอนนี้ คนชอบลืมตาลืมไปได้เรื่อยๆ จนมันค่อยๆ หลับของมันเองเมื่อเป็นสมาธิมากขึ้นๆ

........๖. เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในขั้นแรกหัด ให้พยายามหายใจให้ยาวที่สุดที่จะยาวได้ ด้วยการฝืนทั้งเข้าและออกหลายๆ ครั้งเสียก่อนเพื่อจะได้รู้ตัวเองให้ชัดเจนว่า ลมหายใจที่มันลากเข้าออกเป็นทางอยู่ภายในนั้น มันลากถูหรือกระทบอะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่าสุดลงที่ตรงไหนที่ในท้อง โดยเอาความรู้สึกที่กระเทือนนั้นเป็นเกณฑ์ พอเป็นเครื่องกำหนดส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้

........๗. คนธรรมดาจะรู้สึกลมหายใจกระทบปลายจะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้นเป็นที่สุดข้างนอก ถ้าคนจมูกแฟบหน้าหัก ริมฝีปากบนเชิด ลมจะกระทบปลายริมฝีปากบนอย่างนี้ีก็็ให้กำหนดเอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดท้ายข้างนอก แล้วก็จะได้จุดทั้งข้างนอกและข้างใน โดยกำหนดเอาว่าที่ปลายจมูกจุดหนึ่งที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจได้ลากตัวมันเอง ไปมาอยู่ระหว่างจุดสองจุดนี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ


........๘. ทีนี้ทำใจของเราให้เป็นเหมือนอะไรที่คอยวิ่งตามลมนั้นไม่ยอมพรากทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้นและลงตลอดเวลาที่ทำสมาธินี้ จัดเป็นชั้นหนึ่งของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กล่าวมาแล้วว่าเริ่มต้นที่เดียวให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุดและให้แรงๆ และหยาบที่สุดหลายๆ ครั้งเพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลากอยู่ตรงกลางๆ ให้ชัดเจน

........๙. เมื่อจิตหรือสติจับหรือกำหนดตัวลมหายใจที่เข้าๆ ออกๆ ได้โดยทำความรู้สึกที่ๆ ลมมันกระทบลากไป แล้วไปสุดลงที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้าหรือกลับออกก็ตามดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อนให้การหายใจนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหายใจอย่างธรรมดาโดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้นคงกำหนดที่ลมได้ตลอดเวลาตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อแกล้งหายใจหยาบแรงๆ นั้นเหมือนกัน คือกำหนดได้ตลอดสายที่ลมผ่านจากจุดข้างใน คือสะดือหรือท้องส่วนล่าง ก็ตามถึงจุดข้างนอกคือปลายจมูก หรือปลายริมฝีปากบนแล้วแต่กรณี ลมหายใจจะละเอียด หรือแผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนดได้ชัดเจนอยู่เสมอไป โดยให้การกำหนดนั้นละเอียดเข้าตามส่วน

........๑๐. ถ้าเผอิญเป็นว่าเกิดกำหนดไม่ได้เพราะลมจะละเอียดเกินไป ก็ให้ตั้งต้นหายใจให้หยาบหรือแรงกันใหม่ แม้จะไม่เท่าทีแรกก็เอาพอให้กำหนดได้ชัดเจนก็แล้วกัน กำหนดกันไปใหม่จนให้มีสติรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจ ไม่มีขาดตอนให้จนได้ คือจนกระทั่งกายใจอยู่ตามธรรมดา ไม่มีฝืนอะไรก็กำหนดได้ตลอดมันยาวหรือสั้นแค่ไหนก็รู้ มันหนักหรือเบาเพียงไหนก็รู้พร้อมอยู่ในนั้น เพราะสติเพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ติดตามไปมาอยู่กับลมตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำการบริกรรมในขั้น “วิ่งตามไปกับลม” ได้สำเร็จ

........๑๑. การทำไม่สำเร็จนั้น คือสติ หรือความนึกไม่อยู่กับลมตลอดเวลา เผลอเมื่อไรก็ไม่รู้ มารู้เมื่อมันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่ามันไปเมื่อไร โดยอาการอย่างไรเป็นต้น พอรู้ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไปกว่าจะได้ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อยแล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

........๑๒. ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือขั้น “ดักดูอยู่แต่ตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นจะทำต่อเมื่อทำขั้นแรกข้างต้นได้แล้วเป็นดีที่สุด หรือใครจะสามารถข้ามมาทำขั้นที่สองนี้ได้เลย ก็ไม่ว่า ในขั้นนี้จะให้สติ หรือความนึกคอยดักกำหนดอยู่ตรงที่ใดแห่งหนึ่ง โดยเลิกการวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจเข้าไปถึงที่สุดข้างใน คือสะดือครั้งหนึ่งแล้วปล่อยวางหรือวางเฉย แล้วกำหนดรู้สึกกันเมื่อลมออกมากระทบที่สุดข้างนอกคือปลายจมูกอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่างหรือวางเฉย จนมีการกระทบส่วนสุดข้างในคือสะดืออีก ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง

........๑๓. เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยวาง หรือวางเฉยนั้นจิตก็ไม่ได้หนีไปอยู่บ้านช่องไร่นา หรือที่ไหนเลยเหมือนกัน แปลว่าสติคอยกำหนดที่ส่วนสุดข้างในหนึ่งข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้นปล่อยเงียบหรือว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนดข้างในเสีย คงกำหนดแต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูกแห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนดอยู่แต่ที่จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบเมื่อหายใจเข้าหรือเมื่อหายใจออกก็ตาม ให้กำหนดรู้ทุกครั้ง สมมติเรียกว่าเฝ้าแต่ตรงที่ปากประตู ให้มีความรู้สึกครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่านออกนั้นว่าง หรือเงียบ ระยะกลางที่ว่างหรือเงียบนั้นจิตไม่ได้หนีไปอยู่ที่บ้านช่องหรือที่ไหนอีก เหมือนกัน

........๑๔. ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำบริกรรมในชั้น “ดักอยู่แต่ในที่แห่งหนึ่ง” นั้นได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จก็ตรงที่จิตหนีไปเสียเมื่อไรก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไปในประตู หรือเข้าประตูแล้วลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่างหรือเงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้องและทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้นของขั้นนี้ เพราะฉะนั้นควรให้ดีหนักแน่น และแม่นยำมาตั้งแต่ขั้นแรก คือขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นั้นทีเดียว

........๑๕. แม้ขั้นต้นที่สุดหรือที่เรียกว่าขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่ายสำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ก็มีผลเกินคาดมาแล้วทั้งกายและใจ จึงควารทำให้ได้และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่นอย่างการปริหารกายมีเวลาสองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจให้แรงจนกระดูกลั่นก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีดหรืออซูดซาดก็ได้ แล้วค่อยผ่อนให้เบาไปๆ จนเข้าระดับปกติของมัน

........๑๖. ตามธรรมดาที่คนเราหายใจอยู่นั้นไม่ใช่ระดับปกติ แต่ว่าต่ำกว่า หรือน้อยกว่าปกติโดยไม่รู้สึกตัวโดยเฉพาะเมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เป็นอิสระนั้นลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าปกติ ที่ควรจะเป็นทั้งที่ตนเองไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นจึงให้เริ่มด้วยหายใจอย่างรุนแรงเสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อยให้เป็นไปตามปกติ อย่างนี้จะได้ลมหายใจที่เป็นสายกลางหรือพอดี และทำร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วยเหมาะสำหรับจะกำหนดเป็นนิมิตร ของอานาปานัสสติ ในขั้นต้นนี้ด้วย

........๑๗. ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการบริกรรมขั้นต้นที่สุดนี้ ขอให้ทำจนเป็นของเล่นปกติสำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ในส่วนสุขภาพทั้งทางกายและใจอย่างยิ่ง แล้วจะเป็นบันไดสำหรับขั้นสองต่อไปอีกด้วย แท้จริง ความแตกต่างกันในระหว่างขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กับ “ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ” นั้นมีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการผ่อนให้ประณีตเข้า คือมีระยะการกำหนดด้วยสติน้อยเข้าแต่คงมีผล คือจิตหนีไปไม่ได้เท่ากัน

........๑๘. เพื่อให้เข้าใจง่ายจะเปรียบกับพี่เลี้ยงไกวเปลเด็กอยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรกก็จับเด็กใส่ลงในเปลแล้วเด็กยังไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้นหรือลุกออกจากเปล ในขั้นนี้พี่เลี้ยงจะต้องคอยจับตาดูแหงนหน้าไปมาดูเปลไม่ให้วางตาได้ ซ้ายทีขวาทีอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็กมีโอกาสตกมาจากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือไม่ค่อยจะดิ้นรน แล้วพี่เลี้ยงก็หมดความจำเป็นที่จะต้องแหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาทีตามระยะที่เปลไกวไปไกวมา พี่เลี้ยงคงเพียงแต่มองเด็กเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนเท่านั้นก็พอแล้ว มองแต่เพียงครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกวไปมาตรงหน้าตนพอดี เด็กก็ไม่มีโอกาสลงจากเปลเหมือนกันเพราะเด็กชักจะยอมนอนขึ้นมา ดังกล่าวแล้ว

........๑๙. ระยะแรกของการบริกรรมกำหนดลมหายใจในขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นี้ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยงต้องคอยส่ายหน้าไปมาตามเปลที่ไกวไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูกที่เรียกว่า ขั้น “ดักอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นก็คือขั้นที่เด็กชักจะง่วงและยอมนอนจนพี่เลี้ยงจับตาดูเฉพาะเมื่อเปลไกว มา ตรงหน้าตนนั่นเอง

........๒๐. เมื่อฝึกหัดมาได้ขั้นที่สองนี้อย่างเต็มที่ก็อาจฝึกต่อไปถึงขั้นที่ผ่อนระยะ การกำหนดของสต ิให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิชนิดแน่วแน่เป็นลำดับ ไปจนถึงเป็นฌาณขั้นใดขั้นหนึ่งได้ ซึ่งพ้นไปจากสมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับคนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถนำมา กล่าวรวมกันไว้ในที่นี้เพราะ เป็นเรื่องละเอียดรัดกุม มีหลักเกณฑ์ซับซ้อน ต้องศึกษากันเฉพาะผู้สนใจถึงขั้นนั้น ในขณะนี้เพียงแต่ขอให้สนใจในขั้นมูลฐานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นของเคยชินเป็นธรรมดาอันอาจจะตะล่อมเข้าเป็นขั้นสูงขึ้นไปตาม ลำดับ ในภายหลัง
สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ ขอให้ฆารวาสทั่วไปได้มีโอกาสทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำประโยชน์ทั้งกายและใจ สมความต้องการในขั้นต้นเสียขั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่ามีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือมีความเป็นผู้ประกอบตนอยู่ในมรรคมีองค์แปดประการได้ครบถ้วน แม้ในขั้นตน ก็ยังดีกว่าไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับลงไปกว่าที่เป็นอยู่ตามปกติก็ด้วยการฝึกสมาธิสูงขั้นไปตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ “สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้ไม่เสียทีที่เกิดมา

ท่านที่สนใจฝึกสมาธิขั้นสูงขึ้นไป ขอให้อ่านหนังสือเรื่องอานาปานัสสติสมบูรณ์แบบ อันเป็นวิธีการฝึกสมาธิที่เหมาะอย่างยิ่งกับวิธีการนี้

คัดลอกจากหนังสือ สมาธิเบื้องต้น (อานาปานัสสติ)
13  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / มองเรื่องอื่นแล้วคิดว่าเป็นธรรมะ เมื่อ: มีนาคม 10, 2010, 02:53:22 am
มองเรื่องอื่นแล้วคิดว่าเป็นธรรมะ

พัชรีวางหนังสือธรรมะลงบนตักของชิดใจ ซึ่งเปิดดูอย่างไม่ค่อยเต็มใจ เธอรู้ว่าพัชรีชอบอ่านหนังสือธรรมะ แต่เธอไม่สนใจ

ชิดใจรู้สึกว่าไม่ชอบศาสนา เพราะชิดใจได้รับแต่ซองกฐินซองผ้าป่า ทำให้เธอรู้สึกว่าศาสนามีแต่การเรี่ยไรให้เธอมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ไหนจะซื้อของตักบาตรวันสำคัญทางศาสนา ไหนจะซื้อของถวายสังฆทานวันเกิด อะไรอื่นอีกจิปาถะ

เมื่อพัชรีชวนไปวัด ชิดใจเดินก้มหน้ามองพื้นไม่ไกลกว่า 3 ก้าว เพราะเมื่อก่อนชิดใจไปวัด เห็นพระยืนปรับจีวรอยู่กลางลาน มองผ่านบนกุฏิ เห็นพระเปลือยท่อนบน นั่งดูโทรทัศน์ ล้วนแต่เป็นภาพที่ชิดใจไม่คิดว่าสมควร เมื่อเข้าไปกุฏิหลวงพ่อ ก็มีตู้ประดับมุก ข้างของต่าง ๆ มากมาย มีมากกว่าบ้านชิดใจอีก

ชิดใจจึงเข้าใจว่านี่คือศาสนา เธอไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าหา

พัชรีชี้ให้ชิดใจอ่านข้อความบนปกหนังสือ “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” ของท่านพุทธทาส มีข้อความข้างล่างว่า

กราบไหว้พระพุทธ อย่าให้ไปสะดุดที่พระทองคำ
กราบไหว้พระธรรม อย่าให้ไปขย้ำเอาใบลาน
กราบไหว้พระสงฆ์ อย่าให้ไปถูกเอาลูกชาวบ้าน

ชิดใจรู้สึกถูกอกถูกใจขึ้นมาทันที เหมือนได้พบสิ่งที่เป็นคำตอบต่อคำถามของเธอมาตลอด

พัชรียิ้มให้ พลางเล่าว่า

“ธรรมะจริง ๆ นั้น เป็นเนื้อหาใจความคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เราปฏิบัติแล้วจะได้พ้นทุกข์ใจ เราปฏิบัติเองเราได้ผลเอง

เธอไม่ต้องไปสนใจส่วนประกอบอื่น ๆ ก็ได้ อย่างอื่นเป็นพิธีกรรมพิธีการ ที่มาจากวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ใครชอบใครสนใจก็ต้องไปทางนั้น บางคนชอบทำบุญวัตถุ ก็เรี่ยไรเงินสร้างโน่นสร้างนี่ บางคนชอบประเพณีก็ไปเวียนเทียน ไปถวายสังฆทาน

ส่วนเรื่องพระสงฆ์นั้นมี 2 อย่าง คนที่บวชแล้ว ยังไม่ได้ปฏิบัติมาก ยังไม่ได้ศึกษามาก ก็ยังเป็นปุถุขนเหมือนเรานี่เอง แต่ห่มผ้าเหลืองท่านเรียกว่า สมมุติสงฆ์ ส่วนพระที่ปฏิบัติดี มีคุณธรรมมาก ท่านเป็นอริยสงฆ์ อริยสงฆ์จึงจะเป็นองค์หนึ่งในพระรัตนตรัยที่เราบูชา ส่วนสมมุติสงฆ์ยังไม่ได้เป็นองค์หนึ่งในพระรัตนตรัยที่เราบูชา เป็นเพียงผู้ศึกษาธรรมเท่านั้น

พระดี ๆ มีอยู่มาก มีความสำรวมมาก มีความประพฤติดีมาก แต่บางทีชิดใจอาจจะยังไม่ได้พบ ก็อย่าไปนึกว่าไม่มี ทำให้เสียศรัทธาไป

ต้นไม้จะมีแต่แก่นอย่างเดียวก็ไม่ได้ มันต้องมีเปลือก มีกระพี้ มีใบใหม่ ใบเก่า ใบเหลือง มีดอกใหม่ ดอกโรย มีทุกอย่างนั่นแหละ สุดแต่ใครจะเลือกเป็นส่วนไหน เธอก็เลือกเอาธรรมะมาปฏิบัติเสียเถอะ อย่าให้บางอย่างที่แม้มันดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ก็มีอยู่นั้น มาทำลายโอกาสที่เธอจะได้มีธรรมะในใจ

สิ่งที่เธอติดข้องอยู่นั้น ไม่ใช่เนื้อหาของศาสนา พระธรรมต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”
http://larndham.org/index.php?/topic/23809-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F/
14  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กราบพระพุทธ อย่าสะดุดเอาทองคำ เมื่อ: มีนาคม 10, 2010, 02:21:03 am
กราบพระพุทธ อย่าสะดุดเอาทองคำ
สวัสดีเพื่อนๆที่แวะเวียนเข้ามาอ่าน space ของเราทุกคน
วันนี้ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดีที่เราจะอัพเดท space ของเรา
เหตุที่เลือกเอาวันนี้มาเป็นวันอัพเดท space ไม่ใช่เพราะว่าอัพเดทวันนี้แล้วชะตาชีวิตจะดีขึ้น
space เราจะมีคลื่นมหาชนเข้ามาอ่านกันล้นหลาม
หรือถ้าอัพเดทพรุ่งนี้ space เราจะโดนไวรัสจู่โจม ชะตาเราจะถึงฆาตแต่อย่างใด
แต่เป็นเพราะว่า เราเพิ่งเขียนเสร็จสดๆร้อนๆวันนี้นี่เอง
คำว่าฤกษ์งามยามดีจึงหมายความว่าสะดวกเมื่อไหร่ก็ทำเมื่อนั้น
เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสสอนไว้ว่า
"นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนตฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา"
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนปัญญาอ่อนที่ไปนั่งดูดาว ดูเดือนอยู่
"อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา"
ประโยชน์มันเป็นฤกษ์อยู่ในตัวแล้ว ดวงดาว ในท้องฟ้าจะช่วยอะไรได้
 
ศาสนาพุทธนี้เป็นศาสนาแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบานด้วยธรรม
เป็นศาสนาที่ดึงคนที่ยังหลงใหลโง่งมให้หลุดพ้น
ดังนั้นผู้ใดที่ยังหลงใหลกับไสยศาสตร์เรื่องงมงายเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นชาวพุทธเลย
คนที่ยังหมกมุ่นมัวเมากับสิ่งเหล่านี้ ทำได้แต่เพียงเขียนอ้างลงไปในทะเบียนบ้านว่าเป็นชาวพุทธเท่านั้น
ชาวพุทธที่แท้ต้องใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง พิจารณาก่อนที่จะเชื่อในสิ่งใดๆว่าสมควรเชื่อหรือไม่
แต่หากเราถือตนว่าเป็นชาวพุทธ เราไม่ควรเชื่อในสิ่งงมงาย
การที่เราพูดเช่นนี้ หมายความรวมถึงพระเครื่อง ตะกุด เครื่องรางของขลังที่หลวงพ่อหลวงปู่ต่างๆทำขึ้นมา
เราไม่ได้พูดว่า สิ่งเหล่านี้ไม่มีจริง ไม่ศักดิ์สิทธิ์จริง เพียงแต่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนให้ยึดเอาสิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่ง
การนับถือพระพุทธรูป ขอให้นับถือเอาเพียงว่านี่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ระลึกถึงความดีที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้
แต่อย่าได้ยึดเอา ถือเอาว่านี่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้องกราบไหว้บูชาแล้วเราจะได้ตามสิ่งที่เราปรารถนา
เพราะหากทำเช่นนั้นแล้ว เราสามารถสำเร็จสิ่งที่ต้องการ แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงได้
พระพุทธเจ้าคงไม่สอนพวกเราเช่นนี้ว่า
พาหุงเว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิจะ อารามะ รุกขะ เจตยานิ มะนุสสา ภะยะตัสชิตา
มนุษย์เมื่อมีภัยคุกคามแล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บ้าง อารามและรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ
เนตังโข สะระณัง เขมัง เนตัง สะระณะ มุตตะมัง เนตัง สะระณะ มาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ
นั่นมิใช่สรณะอันเกษมเลย นั่นมิใช่สรณะอันสูงสุด เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต จัตตาริ อริยะสัจจานิ สัมมัปปัญญายะ ปัจฉะติ
ส่วนผู้ใดถือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้วเห็นอริยสัจคือความจริงอันประเสริฐสี่ด้วยปัญญาอันชอบ
ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง อริยัญจัตถังคิกัง มักคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง
คือเห็นความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้ และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐเครื่องถือความระงับทุกข์
เอตัง โข สะระณังเขมัง เอตังสะระณะมุตตะมัง เอตังสะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ
นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

คำสอนนี้ที่ท่านให้ถือเอาพระพุทธ เป็นสรณะ ไม่ใช่ถือเอาพระพุทธรูปเป็นสรณะ
เราพึงทำความเข้าใจก่อนว่า พระพุทธรูปที่เราเห็นกันนี้ ไม่เคยมีการสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลเลย
หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไม่นาน ในยุคนั้นจะประดิษฐ์รูปต้นโพธิ์ หรือธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบ
จะไม่มีการสร้างรูปปั้นแทนพระพุทธเจ้า เพราะถือว่าเป็นการดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติพระองค์
แต่ในยุคหลังหลายร้อยปีต่อมา กองทัพของอเลกซานเดอร์ได้เข้ามารุกรานอินเดียแล้วมีนายทหารบางคนหันมาสนใจนับถือพระพุทธศาสนา
เมื่อนับถือแล้ว ก็ได้ทำการสร้างพระพุทธรูปเพื่อแทนพระพุทธเจ้าเหมือนที่พวกเขาได้สร้างรูปปั้นแทนเทพเจ้าเซอุส
ดังนั้นพระพุทธรูปในยุคแรกนั้น จะมีหน้าตาคล้ายอย่างกับเทพเจ้าในตำนานกรีก
ทุกครั้งที่เรากราบพระพุทธรูป จึงควรรู้ว่าเรากราบเพื่ออะไร
จะกราบพระพุทธ อย่าไปสะดุดเอาทองคำ
จะกราบพระธรรม อย่าไปขยำเอาใบลาน
จะกราบพระสงฆ์ อย่าไปถูกเอาลูกชาวบ้าน
นั่นคือจะกราบจะนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้กราบไปให้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
อย่าได้ไปสะดุดหยุดอยู่กับเพียงเปลือกนอก
อย่างบางคนรู้สึกเสื่อมศรัทธาในพระศาสนาเพราะสมมติสงฆ์บางรูปปฏิบัติตัวไม่ดี
เช่นนี้แปลว่ากราบพระสงฆ์แล้วไปถูกเอาลูกชาวบ้าน
เพราะพระสงฆ์เหล่านั้นเป็นเพียงสมมติสงฆ์ เป็นเพียงสถานะสมมติขึ้นมา แต่สุดท้ายก็คือคนธรรมดา
เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาที่พยายามฝึกตัวเพื่อหลุดพ้น หรือบางคนอาจบวชเข้ามาเพราะสิ่งอื่น
พระสงฆ์ที่เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยนั้นคือพระอริยสงฆ์ชั้นโสดาบันขึ้นไป
นั่นหมายความว่าสงฆ์ท่านนั้นอาจไม่ได้บวชแต่สำเร็จโสดาบันก็นับเป็นอริยสงฆ์ที่เราสมควรแก่การกราบไหว้บูชาเช่นกัน
 
คนไทยส่วนมากเมื่อคิดจะทำบุญไหว้พระก็จะต้องหาซื้อดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ
บางคนสงสัยว่า เราไหว้พระ จำเป็นต้องมีดอกไม้ธูปเทียนด้วยหรือไม่
คำตอบขออธิบายดังนี้คือ
การไหว้พระนั้นเป็นปฏิบัติบูชาที่ให้เราระลึกถึงคุณความดีของพระรัตนตรัย
หากเราเอาดอกไม้ธูปเทียนเหล่านั้นมากราบไหว้ขอพร ขอให้รวย ให้แข็งแรง เช่นนี้ไม่ใช่การไหว้พระที่ถูกต้อง
คนโบราณนั้น ที่ระบุเอาดอกไม้ธูปเทียนมาใช้กราบไหว้บูชาพระ เพราะมีอุบายให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย
การที่เราจุดธูป 3 ดอกนั้น เป็นการบูชาพระพุทธ ระลึกถึงคุณ 3 ประการของพระพุทธองค์
นั่นคือพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
ที่พระองค์ทรงตรัสรู้หลักธรรมอันบริสุทธิ์ และไม่ทรงเก็บสิ่งที่รู้ไว้เพียงผู้เดียว แต่ทรงสั่งสอนสรรพสัตว์ให้รู้ตาม
เทียน 2 เล่มที่เราใช้จุดนั้น เป็นการบูชาพระธรรมและพระวินัย
ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยเทียนที่จุดส่องสว่าง เหมือนกับพระธรรมและพระวินัยที่เป็นแสงส่องทางนำเราจากความมืดบอด
ส่วนดอกไม้นั้นใช้หมายแทนพระสงฆ์
เนื่องด้วยพระสงฆ์แต่ละรูปมาจากบ้านเรือนครอบครัวที่หลากหลาย
เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอน ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ก็สามารถบรรลุธรรมเป็นที่น่าเลื่อมใสกราบไหว้บูชา
เปรียบเหมือนดอกไม้หลายพันธุ์จากต่างที่ต่างถิ่นกัน แต่เมื่อนำมาจัดวางอย่างดีแล้ว ก็กลายเป็นช่อดอกไม้ที่สวยงาม
ดังนั้นหากเราไม่มีดอกไม้ธูปเทียน แต่เมื่อเรากราบไหว้บูชาแล้ว กาย วาจา ใจระลึกถึงคุณความดีของพระรัตนตรัย
ก็ย่อมมีผลมีประโยชน์มากกว่าการจุดธูปจุดเทียนไหว้พระเพื่อขอพรหลายเท่านัก
 
เราเป็นชาวพุทธควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าศาสนาพุทธสอนอะไร
อย่าได้หลงกับมิจฉาทิฐฐิ ต้องเดินไปสู่สัมมาทิฐฐิตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
เรื่องเครื่องลางของขลังนั้น ถ้าศักดิ์สิทธิ์จริงก็เป็นมิจฉาทิฐฐิ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ
เมื่อเดินเข้าไปแล้วก็ยากที่จะพ้นทุกข์ ได้แต่หลงมัวเมากับความมืดบอดนั้น
แต่ถ้าไม่มีจริงแล้วหลงนับถือ เราจะไม่ได้ชื่อว่าเป็นคนโง่ให้คนเค้าหลอกเอาหรอกหรือ
ตัวพระสงฆ์เองที่ทำน้ำมนต์ ปลุกของขลัง ขายพระเครื่องเองก็ไม่ใช่การปฏิบัติกิจของสงฆ์
เพราะนอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้มอมเมาศาสนิกชนอีกด้วย
จะอ้างว่าเงินปัจจัยที่ได้นั้นเอามาสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างโรงเรียน ทำแล้วเกิดประโยชน์ก็ไม่ควร
เพราะนี่หมายความว่า แม้แต่พระก็ยังหลงอยู่กับตัวเงิน ไม่สร้างคน สร้างปัญญา แต่กลับสร้างเอาวัตถุสิ่งของ
เงินที่ได้มาจากการหลอกลวง ได้มาจากความโง่ความหลงของคน จะยังประโยชน์อะไรแก่พระศาสนาได้
แม้แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงปฏิเสธที่จะรับปัจจัยที่ได้จากการกระทำนั้นเช่นกัน
เราทุกคนเมื่อได้มีโอกาสรู้จักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็อย่าได้ใกล้เกลือกินด่าง
พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนเปรียบเหมือนเพชรไม่ยอมศึกษาเรียนรู้
แต่ไปคว้าเอาสิ่งก้อนดินก้อนหินมาถือมาแบกเอาไว้ด้วยเข้าใจว่าเป็นสิ่งมีค่า

http://devilcupid.spaces.live.com/default.aspx
15  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ประสพปัญหากับพระอาจารย์ที่ผมนับถือ เมื่อ: มีนาคม 10, 2010, 01:19:27 am
อ้างถึง
ผู้ที่พูดคำ ๆ นี้ ทิ้งไว้โดยไม่ได้อธิบายนั้น ไม่ควรครับ เพราะจะทำให้เสียวัฒนธรรม ประเพณีได้ สังคมทุกวันนี้เป็นไปไม่ได้ ที่จะเสมอกันด้วยคุณธรรม เป็นไปไม่ได้ ที่จะเสมอกันด้วยฐานะ เป็นไปไม่ได้ ที่จะมีแต่คนดี ดังนั้นการใช้คำพูดนี้ ต้องเพื่อระดับของผู้ปฏิบัติธรรม ด้วยครับ

ขอบคุณ คุณจำลองมากครับ ที่อธิบายได้ละเอืยดดี ถ้าจะว่าไม่ใช่ของเก่าก็ใช่ครับ เพราะผมก็จำมาจากหนังสือสวดมนต์แปลของวัดแก่งขนุนครับ
อ้างถึง
ปริศนา 3 ข้อนี้คนเก่าๆ บอกเตือนสติ สำหรับผู้ที่จะเข้าวัด รักษาศีล ฟังธรรม ปฎิบัติธรรม
(น่าคิดดีมากเลยนะ ลองพิจารณาดูแล้วกัน)

คำว่าระวังก็คือการสำรวมไม่ประมาท
16  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ปริศนาธรรม ที่ขอให้ช่วยกันวิจารณ์หน่อยครับ เมื่อ: มีนาคม 08, 2010, 05:52:30 am
ผมว่านะครับ

แม่กบก็มีจุดประสงค์คือหาอาหาร และ

แม่งูก็มีจุดประสงค์คือหาอาหารเช่นเดียวกัน

ทั้งแม่กบและแม่งูต่างก็มีวัฎจักรเป็นของๆตน

แล้วเราคนผ่านทางมาละครับพอจะทราบจุดประสงค์ของเราบ้างมัยละครับ

ถ้าทราบแล้วก็อนุโมทนาเลยนะครับ

(ผิดถูกอย่างไรก็พิจารณาเองนะครับ)
17  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ประสพปัญหากับพระอาจารย์ที่ผมนับถือ เมื่อ: มีนาคม 08, 2010, 05:19:30 am
มาเล่าไว้ ให้ทุกคนทราบ
เหตุเกิดที่ นครสวรรค์ บ้านผมเองครับ

มีพระอาจารย์ รูปหนึ่งเป็นพระนักเทศน์ ที่เก่ง
ผมมีเพื่อน อุบาสิกา ผู้หนึ่งเป็นคนดีมีศีลธรรม ครอบครัวก็มีความสุขดี เป็นแม่บ้านที่ดี มีลูกสาวหนึ่งคน
ผมเห็นครอบครัวนี้มีความสุขดี ไปไหนก็จะเห็นไปด้วยกันเสมอ ๆๆ

จนกระทั่ง อุบาสิกา ผู้นี้ได้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมให้กับนายหลวงในวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา
หลังจากงานปฏิบัติธรรมผ่านไป ผมเองก็เข้าร่วมปฏิบัติธรรมด้วย ประมาณใกล้สิ้นปี
ก็พบลูกสาวของอุบาสิกา ผู้นี้มานั่งร้องไห้อยู่ที่หน้าบ้านผม ผมก็เชิญเธอเข้าไปคุยในบ้าน
ก็ได้ทราบสาเหตุว่า จากปากเขาเล่าว่า
แม่หนู เปลี่ยนไป เดี๋ยวนี้ไม่ไปเที่ยวที่ไหน กับครอบครัวในบ้าน สนทนากับลูกน้อยลง กับพ่อก็น้อยลง
แม่รักษาศึล 8 ตลอดเวลา ตอนเย็นก็ไม่ทานข้าวร่วมกัน พ่อหงุดหงิดมาก เดี่ยวนี้ไม่ค่อยทำอาหารให้ทานด้วย แต่พอวันพระแม่จะรีบ ทำอาหาร แต่งปิ่นโต ไปถวายพระ เป็นประจำอยู่รูปหนึ่ง ( พระที่เทศน์เก่ง ขอสงวนนามครับ )แม่ไม่ไปเที่ยวห้าง ไม่ไปดูหนัง ดูกลุ้มใจมาก เพราะว่าพ่อทำท่าจะหาแม่ใหม่ให้ พูดประชดประชันแม่ แม่ก็เฉย ๆ  ๆๆๆๆ สงบมาก ๆๆๆๆ สงบจนผิดปกติ

ทุกวันนี้ หนูไม่อยากให้แม่ไปวัดเลย เพราะแม่ไปวัดแล้วเปลี่ยนเป็นคนละคนจากเมื่อก่อน
ทำไมคนปฏิบัติธรรม แล้วครอบครัวต้องแตกแยกด้วย ทำไมปฏิบัติธรรมแล้ว ทำไมครอบครัวไม่สามัคคีกัน

ผมฟังเสร็จ แล้วก็นิ่ง
จากนั้นผมก็ลองไปสนทนากับ แม่ของเด็ก ก็คือเพื่อนของผม
อาการที่เจอกัน สงบมาก ๆๆๆ เธออยู่ในชุดขาว ถือศีล 8 จริง ๆ และคำพูดของเธอที่ฟังแล้วผมผู้ปฏิบัติฟังแล้วชื่นใจ ในการภาวนามาก แต่สำหรับชาวโลกและครอบครัวของเธอนั้นอาจจะไม่ปลื้มกับการภาวนาของเธอที่ก้าวหน้า ดูเธอจะต้องเป็นแม่ชีแน่นอน

เพื่อนสมาชิก มีความเห็นและทางออกให้กับครอบครัวนี้ไหมครับ

ระวังจะเป็นตามโบราณว่าไว้นะ

ไห้วพระพุทธระวังจะสะดุดทองคำ

ไห้วพระธรรมระวังจะสะดุดใบลาน

ไห้วพระสงฆ์ระวังจะหลงลูกชาวบ้าน

ปริศนา 3 ข้อนี้คนเก่าๆ บอกเตือนสติ สำหรับผู้ที่จะเข้าวัด รักษาศีล ฟังธรรม ปฎิบัติธรรม (น่าคิดดีมากเลยนะ ลองพิจารณาดูแล้วกัน)


18  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนวัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2010, 12:59:08 pm
เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนวัดแก่งขนุน
เกี่ยวกับวัดแก่งขนุนโดยนำประวัติความเป็นมาของการบรรพชาสามเณร
ตลอด ๑๖ ปีที่ผ่านมาครับผม
19  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนวัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2010, 09:20:03 pm
ตามที่อยู่นี้เลยครับ

http://www.watkaengkhanun.tk/


เป็นเว็บที่ทำมาใหม่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์ดีครับ
แต่ลองเข้าดูได้ครับ ของฝากข่าวด้วย
20  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระสงฆ์ที่ปฏิบัติสำเร็จ ฌาน และ วิปัสสนา ยังมีอยู่หรือป่าว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 01:11:29 am
พระสงฆ์ที่ปฏิบัติ จนบรรลุฌาน และ วิปัสสนา ปัจจุบันยังมีอยู่หรือป่าวครับ

เพราะว่า สมัยนี้พระสงฆ์ ไม่ค่อยกล่าวเรื่องนี้กัน เพราะกลัวว่าจะต้องอาบัติขาดจากความเป็นพระ

ผมเองก็อาศัยการสังเกตุ มาหลายสำนักแล้ว ก็ยังไม่พบ

มีแต่ฆราวาส ประกาศว่าเป็นผู้สำเร็จกันมากมาย

ปฎิยัติ+ปฎิบัติ=ปฎิเวช

ตราบใดที่ในโลกนี้ยังมีผู้ศึกษาพระธรรมคำสังสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่

แล้วนำไปปฎิบัติโดยไม่ย่อท้อให้เกิดมรรค เกิดผล ก็จะเป็นปฎิเวช

(เท่าที่ผมเคยคุยกับพระมา ท่านจะไม่พูดหรอกว่าสำเร็จอะไร เพราะถ้าไม่ได้ หรือไม่เป็นอย่างที่พูด แล้วผู้ฟังเชื่่อว่าท่านเป็นจริงได้จริง ก็จะเข้าข่ายอวดอุตริมนุสยธรรม คือธรรมที่ไม่มีในตัวตน
ก็จะปาราชิก)
21  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: คิดอย่างไร "กับการบริโภคเนื้อสัตว์" เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 09:55:33 pm
(มุมมองของผมนะครับ)
กินๆไปเถอะ ถ้ากินเพื่อปะทังชีวิตอันนี้ไม่เป็นไร
แต่ถ้ากินเพื่ออยากจะกิน อันนี้จะไปสนองกิเลส จะเป็นการสะสม

ดูอย่างพระท่านสิ ยังฉันเนื้อสัตว์เลย พุทธองค์ตรัสว่า "ไม่มีใน3 ส่วน"ไม่เป็นไร
3 ส่วนที่ว่าคือ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้สั่งให้ฆ่า
22  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ขณิกะ อุปจาระ และ อัปนาสมาธิ มันมีความแตกต่างกันไหมครับ เมื่อ: มกราคม 28, 2010, 11:00:13 am
อยากหาใครสักคนให้ความกระจ่างจังครับ

(เท่าที่เคยเรียนมาพอจะเข้าใจว่าดังนี้นะครับ)
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่พึ่งเริ่มจับตัวได้ชั่วขณะ หรือ ปะเีดี๋ยวปะด๋าว
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้ค่อนข้างแน่นอน แต่ยังไม่มั่นคง
อัปนาสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้มั่นคงแล้ว จนเป็นเอกคตา (คือจะเป็นองค์ฌาน-อุคคนิมิต-โอภาสหรือแสงสว่าง)
อัปนาสมาธิจะเป็นพวกที่เล่นฌานใช้กัน คือจะดำดิ่งไม่รับรู้ภายนอก อยู่ในองค์อย่างเดียว จัดเป็นสมถะร่วนๆ
ส่วนวิปัสนาสมาธิ คือจะต้องถอยร่นลงมาแค่อุปจารสมาธิเท่านั่นจึงจะพิจารณาวิปัสนาได้ คือใช้ปัญาญาพิจารณาอย่างวิเศษ ให้เห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา.
ก็พอจะอธิบายคร่าว ๆ ได้ดังนี้ ตามปัญญาที่รู้มาครับผม

ขอเพิ่มเต็มอีกหน่อยเรื่อง ฌาน
                                ฌาน  ๔
                ปฐมฌาน                ฌานที่  ๑
                ทุติยฌาน                ฌานที่  ๒
                ตติยฌาน                ฌานที่  ๓
                จตุตถฌาน              ฌานที่  ๔
                                        ม.  มู.  ๑๒/๗๓.
        อธิบาย:  การเพ่งอารมณ์จนใจแน่แน่วเป็นอัปปนาสมาธิ   เรียก
ว่าฌาน.   ฌานนั้นจัดเป็น  ๔  ชั้น  เรียกชื่อตามลำดับปูรณสังขยา 
ประณีตขึ้นไปกว่ากันโดยลำดับ.  ปฐมฌานมีองค์  ๕  คือ  ยังมีตรึก
ซึ่งเรียกว่าวิตก  และยังมีตรองซึ่งเรียกว่าวิจาร  เหมือนอารมณ์แห่ง
จิตของคนสามัญ  แต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกามและอกุศลธรรม  ซ้ำ
มีปีติคือความอิ่มใจ  และสุขคือความสบายใจเกิดแต่วิเวกคือความสงบ
กับประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป   ซึ่งเรียกว่าเอกัคคตา.
ทุติยฌานมีองค์  ๓  ละวิตกวิจารเสียได้   คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่
สมาธิกับเอกัคคตา.  ตติยฌานมีองค์  ๒  ละปีติเสียได้  คงอยู่แต่สุข
กับเอกัคคตา.  จตุตถฌานมีองค์  ๒  เหมือนกัน  ละสุขเสียได้กลายเป็น
อุเบกขา  คือเฉย ๆ กับเอกัคคตา.  ฌาน  ๔  นี้  จัดเป็นรูปฌาน  เป็น
รูปสมาบัติ   มีรูปธรรมเป็นอารมณ์   สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ.
หน้า: [1]