ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระเณรทำนา อันซีนที่ "วัดเชิงผา"  (อ่าน 1524 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พระเณรทำนา อันซีนที่ "วัดเชิงผา"
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2011, 08:12:18 am »
0
พระเณรทำนา อันซีนที่ "วัดเชิงผา"

 

"ภาพพระเณรขี่ม้าออกไปบิณฑบาต" ที่วัดถ้ำป่าอาชาทอง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ที่ครูบาเหนือชัย เจ้าอาวาสวัดนำพระเณรขี่ม้าบิณฑบาต ซึ่งหมู่บ้านที่ไกลที่สุดอยู่หางจากวัดประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นภาพที่คนไทยไม่ได้พบเห็นบ่อยนัก

 

นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาพอีกภาพหนึ่งที่คนไทยไม่ได้พบเห็นบ่อยนัก คือ “ภาพพระเณรดำนาเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา" ของวัดเชิงผา ต.กลางดง อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย โดยการนำของ พระปลัดปราโมช อธิปญฺโญ หรือพระอาจารย์ปราโมช เจ้าอาวาสวัด ซึ่งมีเรื่องราวน่าสนใจไม่แพ้กัน

 

พระอาจารย์ปราโมช บอกว่า แนวคิดนำพระเณรทำนาเป็นความบังเอิญที่วัดมีที่นาอยู่ 10 ไร่ โดยตั้งใจซื้อมาเพื่อสร้างเป็นศูนย์พัฒนาคุณธรรมนำชีวิต ในระหว่างที่รอการพัฒนา มองเห็นมุมหนึ่งหนึ่งว่าเป็นที่นา พร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นประโยชน์ จึงมีโครงการชวนชาวบ้านทำนาเพื่อนำผลิตผลมาเป็นของกลาง โดยเริ่มเมื่อ พ.ศ.2546 เริ่มจากที่ดิน 10 ไร่ ปัจจุบันเหลือ 6 ไร่

 

 

 

 

พระปลัดปราโมช อธิปญฺโญ

อดีตเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

ปีนี้น่าจะได้รางวัลพระทำนา เอ๊ย พระพัฒนาดีเด่น

 

ครั้งแรกของการคิดนำพระเณรทำนาก็เกรงว่าชาวบ้านไม่เห็นด้วย เพราะไม่ใช่กิจของสงฆ์ พระเณรทำนา เพราะสวนกระแสวิถีชีวิตพระเณร เพราะอย่างไรชาวบ้านอาจคิดว่าอย่างนี้ก็เลี้ยงพระเณรได้โดยไม่ปล่อยให้อดแน่ แต่เมื่อชี้แจงให้ชาวบ้านว่า ที่ดินถ้าปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามันจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ที่สำคัญ คือ สิ่งที่พระนำชาวบ้านทำนาไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ผลผลิตก็จะนำไปเป็นประโยชน์ เช่น อาหารกลางวัยเด็ก พระ เณร รวมทั้งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงคนที่เข้ามาอบรมในค่าย โดยจะได้ผลผลิตประมาณ 80 กระสอบปุ๋ย หรือ 2 ตัน ซึ่งมากพอที่จะหุงเลี้ยงพระเณรและผู้มาปฏิบัติธรรมได้ตลอดทั้งปี บางปีผลผลิตได้มากญาติโยมยืมไปขยายพันธุ์โดยไม่คิดค่าดอกผล ในขณะเดียวกันการบิณฑบาตก็เป็นกิจวัตรที่ยังคงปฏิบัติอยู่ตลอดทั้งปี”

 

การนำพระเณรทำนา ทำให้ได้รู้วิถีชีวิตของไทยแบบเดิม ทุกกระบวนการของการทำนา กิจกรรมที่พระเณรมีส่วนร่วมในการทำ คือ ไถ่นาเตรียมเพาะกล้า ดูแลวัชพืช ใส่ปุ๋ยอีเอ็ม ถอนกล้า ดำนา เกี่ยวข้าว เก็บฟางทำเชื้อเห็ด ทำปุ๋ย ทำให้พระและเณรเห็นภาพของความยากลำบากของการได้ข้าวที่จะมาฉันแต่ละเม็ด ต้องใช้แรง ใช้ทุน และระยะเวลา มีความสำนึกในการใช้ของอย่างมีคุณค่า อย่างเห็นประโยชน์ที่แท้จริง เข้าใจความทุกข์ของคนอื่นมากขึ้น

 

เมื่อถามถึงความเหมาะสมและความเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่ อาจารย์ปราโมช พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “กิจของสงฆ์ หรือ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ ต้องใช้พระธรรมวินัยเป็นข้อกำหนด มิใช่ใช้ความรู้สึกนึกคิดของพระสงฆ์และชาวบ้านเป็นข้อพิจารณา เมื่อได้อ่านพระไตรปิฎก หมวดพระวินัย ก็จะได้พบว่าโดยแท้จริงแล้วกิจของสงฆ์นั้นถูกกำหนดไว้แล้วตามนโยบายของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงส่งพระอรหันต์ 60 องค์แรกไปประกาศพระพุทธศาสนา ความตอนหนึ่งว่า จรถ  ภิกฺขเว  จริกํ  พหุชนหิตาย  พหุชน สุขาย  โลกานุกมฺปาย  มีใจความเป็นภาษาไทยว่า ภิกษุทั้งหลาย  เธอจงเที่ยวไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่มวลมนุษย์"

 

 

ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิต
 

ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วัดเชิงผาได้ก่อกำเนิดเกิดขึ้นโดย พระอาจารย์ปราโมช อธิปญฺโญ เมื่อ พ.ศ.2543 เมื่อได้กลับมาเยี่ยมเมืองไทย ความคิดที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ท่านต้องการที่จะมีสถานที่ปฏิบัติขัดเกลาใจ ศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อประกาศพระธรรมของพระองค์ให้แก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน ที่สุดท่านก็ได้เล็งเห็นสถานที่ตรงนี้ ซึ่งแต่เดิมเป็นสถานที่ทำกินของชาวบ้านเป็นที่รกร้างยากแก่การสัญจรเข้าออก ใคร่สนใจในสถานที่แห่งนี้เหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นสถานธรรมเพื่อการฝึกฝนขัดเกลาตน และเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบไป

 

ประมาณเดือนกรกฎาคม 2544 ขณะที่จำพรรษาที่สหรัฐอเมริกา ท่านได้มอบปัจจัยจำนวนหนึ่งให้แก่คณะกรรมการวัดเชิงผา เป็นธุระติดต่อขอซื้อที่ดินแห่งนี้ ต่อมาท่านจึงสละตำแหน่งเจ้าอาวาสและหน้าที่ที่รับผิดชอบในประเทศสหรัฐอเมริกา เดินทางกลับสู่เมืองไทย ทันทีที่กลับถึงยังสถานที่แห่งนี้ท่านได้ประชุมกับคณะกรรมการเพื่อขอความคิดเห็นในการพัฒนาสถานธรรมแห่งนี้ วันที่  27  ธันวาคม 2544  ต่อมาจึงตั้งชื่อสถานธรรมแห่งนี้ว่า "ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดเชิงผา”

 

ทางศูนย์ปฏิบัติธรรมได้กำหนดกิจกรรมขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวบ้าน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสุข ความสามัคคี ความร่วมมือระหว่าง วัด บ้าน โรงเรียน ในภาพจะแสดงถึงความสัมพันธ์กันได้อย่างชัดเจน ทั้งช่วงกลางเดือนสิงหาคม ทางวัดได้นำพระเณรดำนาร่วมกับชาวบ้าน จากนั้นตลอดระยะ 3 เดือน พระเณรก็จะดูแลต้นข้าวจนกว่าจะเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องต้นเดือนธันวาคม

 

 

ข่าว : คมชัดลึก
6 สิงหาคม 2554
บันทึกการเข้า