ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเราไม่เชื่อ เรื่อง ปาฏิหาริย์ แต่ เชื่อในแนววิทยาศาสตร์ อันไหนจะดีกว่ากันครับ  (อ่าน 4244 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือบางครั้งอ่านหัวข้อธรรม และ พุทธประวัติ จะหนักไปทางปาฏิหาริย์ เรื่องที่เหลือเชื่อเกินมนุษย์อย่างเรา ที่จะทำได้ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า จะมีจริงหรือไม่เรื่องเหล่านี้ อย่างเช่น พระพุทธเจ้า ประสูติแล้วเดินเจ็ดก้าว และเปล่งวาจาได้เองขณะนั้น ผมนึกไม่ออกว่า เป็นไปได้หรือ ทารกที่คลอดออกมาในวันแรก จะทำได้อย่างไร อย่างนี้ คือ ผมเอาหลักวิทยาศาตร์เทียบเคียงแล้ว ดูเหมือนผู้แต่งพุทธประวัตินั้น เจตนาให้เกิดศรัทธา หรือ ต้องการสื่อความหมาย ปริศนาธรรมอะไรลงไปหรือไม่ ครับ

   ดังนั้น ถ้าเราจะเชือแต่ในแนวปาฏิหาริย์ นั้น จะหนุนการภาวนาได้อย่างไร ?
   ถ้าเราเชือในแนววิทยาสาตร์น่าจะเป็นการง่ายกว่า นะครับ ที่จะได้พิสูจน์ธรรมไปในการภาวนา

   :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังให้คำตอบไม่ได้

      -  ตายแล้วฟื้น
      -  ก่อนตายเรามาจากไหน
      -  ตายแล้วเราไปไหน
      -  สัมพัดที่หกเกิดขึ้นได้อย่างไร
      -  คนที่มีพรสวรรค มีขึ้นมาได้อย่างไร
      -  การระลึกชาติได้ (ทำได้ไง)
      และอีกหลายๆ คำถาม

      แต่เคยสังเกตุความมหัสจรรย์ของจิตไม๊ เช่นว่า
         
       -  ตอนที่เรายังไม่ได้เห็นแผล  เราก็ยังไม่ได้รู้สึกเจ็บ
          แต่พอเราได้มองไปเห็นแผล   เราก็รู้สึกเจ็บขึ้นมาซะงั้น
          ไม่รู้ว่าไปโดนอะไรมาตอนไหน

       -  มีลางสังหร  สังหรว่ามันจะเกิดอะไรบ้างอย่างขึ้น
           ก่อนที่เหตุการนั้นจะเกิดขึ้นจริง ไม่กี่วินาที
           แล้วมันก็เกิดขึ้น เช่น สังหรว่า จะมีรถวิ่งมาตัดหน้า
           เราก็เลยยังไม่ไป หยุดชะงักอยู่แป๊ปนึง แล้วก็ค่อยๆ ไปต่อ
           แล้วทันใดนั้น  ก็เกิดรถตัดหน้า จริงๆ เกือบถูกรถชน

       -  เวลาที่เรามีสมาธิ  เราจะทำอะไรต่ออะไรได้ดี
          หรืออย่างที่เวลาที่เรานึกก็ไปถึงแหละ ไวมากๆเลย
          จรวดยังไม่ไวเท่า

ในประวัติศาสตร์ชาติไทยเราก็มีปาฏิหาริย์ มิใช่น้อย ท่านลองศึกษาดูจักรู้เอง

ในปัจจุบันเราอยู่ในลัทธิบริโภค กันมากเกินไป เมื่อสองร้อยปีที่แล้ว ไทยเรายังไม่มีไฟฟ้าใช้ คนไทยเราก็มีชีวิตอยู่ได้  แต่ตอนนี้ลองถูกตัดไฟ  หรือไม่มีไฟฟ้าใช้ดูสิ สักเดือนหนึ่ง  ตายแน่ (ลำบากแน่)  จึงถูกบดบังในอำนาจของจิต  มีเห็นแต่อำนาจของเงิน ที่จะเนรมิตสิ่งต่างๆมาให้เรา  จึงเป็นอุปสรรคในการพิสูจน์ธรรมในการภาวนา  เพราะการภาวนา  เป็นเรื่องของจิต  ก็จะเห็นว่า นั่งอยู่กับที่  ไม่ได้ไปทำอะไร  ไม่ได้ไปทำให้โลกเป็นอะไร  แต่เป็นการทำให้จิตเราแข่งแกร่งขึ้น  ทำให้จิตมีกำลังมากขึ้น  สามารถเป็นตัวของตัวเองได้จริง  ไม่เป็นไปตามสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
หนังสือ"ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ที่มาของภาพ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ไอน์สไตน์คิดอย่างไรกับศาสนาพุทธ

ผมได้อ่านพบเรื่องราวนี้ ในหนังสือสวดมนต์ชื่อ "เสบียงทิพย์" ที่ได้รับมอบจากผู้ใจดีท่านหนึ่ง ในบทความที่ชื่อว่า "ศาสนาพุทธ หนทางแห่งความสุข"  โดยเรื่องไอน์สไตน์คิดอย่างไรกับศาสนาพุทธนี้ ได้อ้างอิงมาจากหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ซึ่งเขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา

เรื่องราวเริ่มต้นมาจาก กาลามสูตร หรือหลักในการพิจารณา 10 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เป็นสิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับชาวตะวันตกมากที่สุด   ได้แก่

    อย่าเพิ่งเชื่อด้วยการได้ยินได้ฟังตามกันมา
    อย่าเพิ่งเชื่อด้วยการถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
    อย่าเพิ่งเชื่อด้วยการตื่นข่าวลือ
    อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยอ้างตำรา
    อย่าเพิ่งเชื่อถือตรรก หรือเหตุผล
    อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการคาดคะเน
    อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการคิดตรองอาการที่ปรากฏ
    อย่าเพิ่งเชื่อถือเพราะเข้ากับความเห็นของตน
    อย่าเพิ่งเชื่อถือเพราะผู้พูดมีรูปลักษณะน่าเชื่อถือ
    อย่าเพิ่งเชื่อถือเพราะเห็นว่าสมณะนี้หรือผู้นี้เป็นครูของเรา


พระพุทธเจ้า ท่านไม่ต้องการให้มีความเชื่อใดๆ โดยไม่ใช่ปัญญา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งความมีเหตุผล ไม่เน้นความเชื่อ ไม่เน้นศรัทธา ไอน์สไตน์ ได้มาศึกษาพุทธศาสนา แล้วได้อ่านกาลามสูตร นี้ ก็เกิดแปลกใจว่า มีศาสนาที่สอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ แบบนี้อยู่ด้วยหรือ ไอน์สไตน์เกิดความประทับใจ และเขียนบทความเผยแพร่แก่ชาวโลกว่า

   "ศาสนาแห่งอนาคต เป็นศาสนาแห่งจักรวาล ศาสนาซึ่งตั้งอยู่บนประสบการณ์ ซึ่งปฏิเสธความเชื่อที่ไร้ข้อพิสูจน์ หากมีศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ซึ่งพอจะรับมือกับความต้องการทางวิทยาศาสตร์ได้ละก็ ศาสนานั้น คือ ศาสนาพุทธ"





ไอน์สไตน์ยังกล่าวต่อว่า
    "ศาสนาพุทธมีคุณลักษณะที่เราคาดหวังว่า จะเป็นศาสนาแห่งจักรวาล ศาสนาพุทธไม่ยึดติดกับพระเจ้า ไม่ส่งเสริมความเชื่อที่งมงาย ไม่เกี่ยวข้องกับเทวะนิยม ศาสนาพุทธเกี่ยวพันกับธรรมชาติ และจิตวิญญาณ โดยถือว่าเป็นองค์รวมเดียวกันอย่างมีความหมาย ศาสนาที่แท้จริงต้องไม่วางอยู่บนความกลัวชีวิต ความกลัวตาย และศรัทธาอย่างไม่ลืมหูลืมตา แต่เชื่อด้วยความพากเพียรตามความรู้ที่มีเหตุผล"

นี่เป็นเพียงบางส่วนที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวถึงศาสนาพุทธเท่านั้น หากท่านใดต้องการอ่านอย่างละเอียดสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ดังรูปหนังสือตัวอย่างที่แนบมาด้านบนนี้ครับ

ขนาดไอน์สไตน์ ท่านยังเห็นว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์มีเหตุมีผล  แต่ปัจจุบันคนในสังคมไทย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  กลับไร้เหตุไร้ผลลงเรื่อยๆ  ยึดติดอัตตา ตัวกู ของกู พวกกู  ขาดความเกรงกลัวและละอายใจต่อการทำบาป  ปล่อยให้ความโลภ โกรธ หลง เข้ามาครอบงำ ผ่านทาง ลาภสักการะ ยศ สรรเสริญ และอำนาจ



ที่มา :ธรรมพุทธบริษัท. ศาสนาพุทธหนทางแห่งความสุข. เสบียงทิพย์.กรุงเทพฯ : กิตติชัยการพิมพ์.
ขอบคุณข้อมูลจาก http://chantrawong.blogspot.com/2011/09/blog-post_13.html
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://www.rmutphysics.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" หนังสือที่เผยความจริงของจักรวาล

มีหนังสือดีๆ มานำเสนอครับ   "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"เขียนโดยทันตแพทย์สม สุจีรา

ผู้เขียนนำเอาทฤษฎีของไอน์สไตน์มาชำแหละ วิเคราะห์ให้เห็นว่า ตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้เมื่อ 2500 ปีอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น

1. เรื่องจักรวาล พระพุทธเจ้าเคยตรัสมานานแล้ว ว่าจักรวาลมีมากมายหลายร้อยล้าน แต่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งมาพิสูจน์ได้เมื่อไม่นานนี้เอง

2. เหตุใดองคุลิมาลจึงวิ่งตามพระพุทธเจ้าไม่ทัน ไม่ใช่เพราะเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า แต่เพราะเรื่องระบบของเวลาที่ต่างกัน อยู่กันคนละมิติครับ

3. ทำไมอายุของมนุษย์ สัตว์ต่างๆ หรือแม้แต่เทวดา ถึงมีอายุขัยไม่เท่ากัน มนุษย์อายุขัย 100 ปี สุนัขมี 15 ปี ยุงมี 7 วัน เทวดาบางประเภทมีอายุถึง 10000 ปี เพราะอะไร หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ และมีหลักฐานพิสูจน์ที่ชัดเจนครับ


ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความตื่นเต้น และวางไม่ลงจริงๆ ลองอ่านดูนะครับ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นผู้ที่มีแนวคิดและมีการค้นพบทฤษฎีต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่ลึกลับและซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง สร้างปรากฏการณ์ใหม่ และลบล้างความเชื่อเก่าๆ ลงโดยสิ้นเชิง

การค้นพบของพระพุทธเจ้าเป็นการค้นพบทางนามธรรม ยากต่อการพิสูจน์ แต่การพบทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ ไม่ว่าจะเป็น สสาร พลังงาน จักรวาล ปรมาณู การยืดหดของเวลา เป็นต้น ของไอน์สไตน์ กลับช่วยให้การค้นพบส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้าได้รับการพิสูจน์และยืนยันทางคณิตศาสตร์อย่างไม่น่าเชื่อ

หนังสือ “ไอน์ไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” เล่มนี้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่สนใจในวิทยาศาสตร์ ปรัชญา พุทธศาสนาอย่างมาก เพราะผู้เขียนได้วิเคราะห์ให้เห็นถึงแนวความคิดและทฤษฎีของไอน์สไตน์ที่สอดรับกับความรู้ในทางพุทธศาสนา มีการยกข้อมูลและทฤษฎีต่างๆ มาอธิบายอย่างแจ่มชัด ยิ่งอ่านก็จะยิ่งเห็นว่า วิทยาศาสตร์สามารถช่วยยืนยันและพิสูจน์ความจริงหลายๆ ด้านของพุทธศาสนาที่ปุถุชนคนธรรมดาอาจจะสัมผัสได้ยาก จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปว่าไม่มีได้จริงๆ





เนื้อหาของหนังสือแบ่งเป็น ๑๐ บท มีรายละเอียดอย่างคร่าวๆ ดังนี้

บทที่ ๑ “ทำไมต้องไอน์สไตน์” ผู้เขียนปูพื้นฐานให้ผู้อ่านทราบประวัติชีวิตของไอน์สไตน์ พร้อมทั้งทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านั้น ของนักวิทยาศาสตร์หลายๆ ท่านจนมาถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพอันลือลั่นของไอน์สไตน์

บทที่ ๒ “จักรวาลกับพุทธศาสนา” แม้พุทธศาสนาจะบอกไว้ว่า เรื่องความเร้นลับของจักรวาลเป็นเรื่องอจินไตยไม่ควรคิด แต่ความรู้ทางพุทธศาสนาก็ปรากฏเรื่องราวเหล่านี้อยู่หลายแห่ง และตรงกับการค้นพบและการพิสูจน์ของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เรื่อยมา ชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ต้องพิศวงว่าพระพุทธเจ้าทราบความรู้เหล่านี้มาก่อนได้อย่างไร

บทที่ ๓ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” ทฤษฎีอันลือลั่นของไอน์สไตน์ ที่ขัดกับสามัญสำนึกของคนทั่วไป แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับการพิสูจน์ว่าทฤษฎีนี้ถูกต้อง เช่น เรื่องความเร็วของแสงที่คงที่เสมอ และไม่มีสิ่งใดไล่ทันความเร็วของแสงนี้ได้ แต่แสงก็ตกอยู่ภายใต้กฏของแรงโน้มถ่วง ดังนั้นจึงเดินทางเป็นเส้นโค้งได้ ตามแรงโน้มถ่วงของดวงดาว หรือไอน์สไตน์พิสูจน์ให้เห็นว่า เวลาสามารถยืดหด และเดินช้า เดินเร็วได้ ขึ้นอยู่กับสถานที่แต่ละแห่ง เช่นเวลาของคนที่อยู่บนยานในอวกาศที่เดินทางด้วยความเร็วสูงจะเดินช้ากว่าเวลาของคนอาศัยอยู่บนโลก

บทที่ ๔ “ความว่างภายในอะตอม” นอกจากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์แล้วยังมีทฤษฎีควอนตัมซึ่งทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายส่วนที่เล็กที่สุดที่บรรจุอยู่ภายในอะตอม อันเป็นการช่วยยืนยันว่า ไม่มีสิ่งใดคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

บทที่ ๕ “พุทธกับวิทยาศาสตร์” วิทยาศาสตร์เน้นในเรื่องของเหตุผล หลังจากการพิสูจน์ข้อเท็จจริงหลายๆ อย่าง พบว่าตรงกับความรู้และคำสอนทางพุทธศาสนา ต่างกันเพียงวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าและพิสูจน์ในทางวัตถุหรือรูปธรรมแต่พุทธศาสนาได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งรวมไปถึงเรื่องทางนามธรรมหรือเรื่องราวของจิตด้วย


บทที่ ๖ “ปัญญาญาณ” ความรู้ ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นจากการค้นคว้าเสมอไป แต่การรวมจิตให้เป็นหนึ่งก็สามารถทำให้เกิดความรู้ในเรื่องราวที่ลึกซึ้งได้เหมือนกัน และเป็นความรู้ที่แม้แต่ผู้รู้ก็ไม่สามารถบอกได้ว่ารู้ได้อย่างไร เกิดจากจินตนาการ การหยั่งรู้ หรือการ “ปิ๊งแวบ” ได้ทั้งสิ้น

บทที่ ๗ “ความมหัศจรรย์ของจิต” นักวิทยาศาสตร์ยังมีความรู้เพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับความลึกลับซับซ้อนของจิต แต่พระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องของจิตนี้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว และเป็นความจริงที่จริงแท้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และจิตเป็นสิ่งที่เร็วกว่าแสงมาก

บทที่ ๘ “เกิด-ดับ” ทุกสิ่งมีการเกิดดับ ไม่เว้นแม้แต่จักรวาล รวมไปถึงทฤษฎีความรู้ต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเมื่อความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น ทฤษฎีเก่าก็ล้าสมัยไป ต่างจากสัจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ยังคงจริงแท้ตลอดมา

บทที่ ๙ “มิติที่ ๔ มิติของเวลา” นอกจากเวลาจะยืดหดได้แล้ว ไอน์สไตน์ยังยืนยันอีกว่า เวลายังย้อนกลับได้ด้วย ตรงกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทางพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อรวมอารมณ์ให้เป็นหนึ่งเดียว มีสมาธิแน่วแน่แล้ว สามารถย้อนเวลาไปหาอดีต หรือล่วงรู้เรื่องราวในอนาคตได้ หรืออีกนัยหนึ่ง มิติที่ ๔ เรื่องเวลานี้สามารถเปรียบได้กับนิพพานซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก ทั้งที่มีอยู่จริง แต่เราสัมผัสไม่ได้ สัมผัสได้เพียง ๓ มิติ ยกเว้นแต่ต้องได้รับการอบรม และปฏิบัติอย่างดี ก็อาจจะได้เข้าถึงมิติที่ ๔ หรือนิพพานได้

บทที่ ๑๐ “ความสุขและความจริงแท้” ท้ายที่สุดบทพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ของไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ความจริงของจักรวาล และความลึกลับต่างๆ ได้ทั้งหมด แต่เมื่อหันกลับมามองความรู้ทางพุทธศาสนากลับสามารถตอบโจทย์ทั้งหมดได้ พุทธศาสนาจึงมีความรู้ที่ครอบคลุมมากกว่าวิทยาศาสตร์ และนอกจากจะรู้เพียงอย่างเดียว ยังนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตให้มุ่งไปสู่ความสุขที่สมบูรณ์แบบได้อีกด้วย

หนังสือเล่มนี้ นอกจากจะอัดแน่นไปด้วยสาระทางวิทยาศาสตร์ และการร้อยเรียงร่วมกันไปกับการพิสูจน์ความจริงทางพุทธศาสนาแล้ว ยังมีภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ที่สวยงาม สำนวนภาษาของผู้เขียนร้อยเรียงอย่างเป็นเหตุเป็นผล สอดรับกันและกัน แม้ว่าวิทยาศาสตร์อาจจะเป็นเรื่องที่ดูยุ่งยากสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นความรู้ทางด้านนี้มาก่อน แต่ผู้เขียนสามารถอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย โดยมีตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน อาจทำให้อ่านจบแต่ละบทไปโดยไม่รู้ตัว



ที่มา http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5292666/K5292666.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.pantip.com/,http://gotoknow.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


หลวงปู่ดูลย์พูดถึงไอสไตน์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช สวนสันติธรรม ชลบุรีเล่าถึงเรื่องที่หลวงปู่ดูลย์เคยพูดถึงไอสไตน์ไว้ว่า...
   “...หลวงปู่ดูลย์เคยบอกเรื่องประหลาดนะ...หลวงปู่ดูลย์เนี่ย อยู่บ้านนอกอยู่ป่าอยู่เขามาตลอดชีวิต...ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์อะไร... ท่านวิจารณ์ไอสไตน์ได้นะ...ท่านคงพิจารณาของท่านเอง...
    ท่านบอกไอสไตน์น่ะมันเก่งนะ...มันเก่ง... มันสามารถพิจารณาไปถึงนิพพานได้
    แต่เค้าไม่เห็นประโยชน์...เค้าไม่รู้ว่าจะ ใช้ประโยชน์อะไร เค้าเลยไม่เอา...


    ท่านวิจารณ์อย่างนี้....
    "อย่างสิ่งที่ปิดบังนิพพานไว้ก็มี รูปนาม ขันธ์ 5 กับสมมติบัญญัติ...
    ไอสไตน์เก่งนะ ถึงขนาดมองว่าสิ่งที่ตัวเราที่แท้จริงนี่เป็นแค่เศษธุลีในจักรวาล...เล็กนิดเดียวไม่มีนัยยะอะไร...
    แต่ความสำคัญตัว สำคัญมั่นหมายขึ้นมา ว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ...
    มนุษย์ก็เลยแยกตัวเองออกจากสิ่งที่แวดล้อมอยู่...เกิดเรา เกิดเขา เกิดสิ่งแวดล้อมขึ้นมา...

    ไอสไตน์มองไปเห็นได้อย่างนี้ว่า จริงๆตัวตนที่แท้จริงเราไม่มีหรอก เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลนี้ชั่วขณะเท่านั้น... สัมพัทธ์..ชั่วขณะ แล้วก็ดับสลาย...

    นี่หลวงปู่ดูลย์ท่านวิจารณ์นะ ประหลาด เรายังไม่เคยอ่านเลย..
    อีกองค์นะ วิจารณ์เรื่องเบอร์มิวด้า..ประหลาดนะ พระอยู่ในป่า ไม่เคยรู้หนังสือ...





    ทีนี้หลวงปู่ดูลย์บอกว่า
    "ไอสไตน์ไม่รู้มรรค...และก็ไม่รู้จะใช้ประโยชน์อะไร รู้จักแต่ประโยชน์ที่จะเอาออกมาทำงานทางโลก...
    เพราะฉะนั้น มรรคที่ไอสไตน์เสนอขึ้นมามันกลายเป็นมรรคของคริสต์...
    บอกว่ามนุษย์เป็นเศษธุลีของจักรวาล...ไม่มีความสำคัญอะไร
    มีแต่ความสำคัญตัวว่าใหญ่เหลือเกิน มีอัตตามาก สร้างปัญหาขึ้นมาเยอะแยะ...

    เพราะฉะนั้นให้มนุษย์นี้รักเพื่อนบ้านรักคนอื่นซะ...ใช้มรรคของคริสต์...คือใช้ความรัก...
    แต่มรรคของพุทธใช้ความ “รู้”...คนละวิถีกัน วิถีแห่งทางพ้นทุกข์ก็ไม่เหมือนกัน ตามสติปัญญาตามสภาพแวดล้อมแต่ละสังคม...”



อ้างอิง
http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-080727221229360
โดย : "เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT)  [webmaster]
ขอบคุณภาพจาก http://golfreeze.packetlove.com/,http://www.gmwebsite.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คือบางครั้งอ่านหัวข้อธรรม และ พุทธประวัติ จะหนักไปทางปาฏิหาริย์ เรื่องที่เหลือเชื่อเกินมนุษย์อย่างเรา ที่จะทำได้ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า จะมีจริงหรือไม่เรื่องเหล่านี้ อย่างเช่น พระพุทธเจ้า ประสูติแล้วเดินเจ็ดก้าว และเปล่งวาจาได้เองขณะนั้น ผมนึกไม่ออกว่า เป็นไปได้หรือ ทารกที่คลอดออกมาในวันแรก จะทำได้อย่างไร อย่างนี้ คือ ผมเอาหลักวิทยาศาตร์เทียบเคียงแล้ว ดูเหมือนผู้แต่งพุทธประวัตินั้น เจตนาให้เกิดศรัทธา หรือ ต้องการสื่อความหมาย ปริศนาธรรมอะไรลงไปหรือไม่ ครับ

   ดังนั้น ถ้าเราจะเชือแต่ในแนวปาฏิหาริย์ นั้น จะหนุนการภาวนาได้อย่างไร ?
   ถ้าเราเชือในแนววิทยาสาตร์น่าจะเป็นการง่ายกว่า นะครับ ที่จะได้พิสูจน์ธรรมไปในการภาวนา

   :s_hi: :c017:

      จุดประสงค์ของพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่่อง "อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์" แต่อยู่ที่นิพพาน
      การสงสัยลังเล เป็นเรื่องปรกติของปุถุชน เหตุที่หลายคนยังไม่เชื่อเพราะไม่เคยประสบด้วยด้วยเอง


      เรื่องในพุทธประวัตินั้น จริงๆหรือไม่จริงอย่างไร เบื้องต้นขอให้ละไว้ก่อน
      จากประสบการณ์ของผม เมื่อปฏิบัติธรรมถึงระดับหนึ่่ง ผมได้เจอสิ่งที่เหนือธรรมชาติเหนือวิทยาศาสตร์
      ทำให้ผมรู้สึกทึ่ง อยากได้ฤทธิ์อยากแสดงปาฏิหารย์ได้ จากที่เมื่อก่อนไม่เคยไหว้พระองค์ไหนเลย

      แต่พอปฏิบัติธรรมมาเรื่อยๆ ได้เห็นกิเลสตัวเองเยอะแยะมากมาย ทำให้รู้สึกหงุดหงิดทรมานรำคาญตัวเองว่าทำไมต้องคิดแต่เรื่องอกุศลอยู่เรื่อย ต่อมาก็เข้าใจว่า จิตเป็นอนัตตา ควบคุมได้ยาก ที่เป็นอย่างนี้เพราะการปฏิบัติของเรายังไปไม่ถึงไหน ยังควบคุมหรือละกิเลสยังไม่ได้
      ถึงจุดนี้ผมคิดได้ว่า เบื้องต้นควรมุ่งละกิเลสก่อนดีกว่า ส่วนเรื่องอิทธิฤทธิ์ต่างๆ เอาไว้ฝึกทีหลังก็ได้


      สิ่งที่ผมอยากบอกเพื่อนๆ ก็คือ ความสงสัยลังเลในเรื่องต่างๆนั้น หากเรามุ่งไปที่การปฏิบัติธรรมให้มากๆ เราจะพบเองว่า มันไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย อีกอย่างในขณะที่เราปฏิบัตินั้น เราจะพบเองว่า ปาฏิหารย์มีจริง

      ส่วนเรื่องราวในพุทธประวัติ มันจะจริงหรือไม่จริงอย่างไร ปล่อยมันไปเถอะ อย่าให้ความสำคัญเลย
      ขอให้ถามตัวเองว่า "ขณะที่เราอยู่กับกิเลสของตัวเราเองนั้น เรามีความสุขแค่ไหนอย่างไร"


      สรุปก็คือ ขอให้ปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ความสงสัยลังเลต่างๆ มันจะค่อยๆละลายหายไปเอง
      เมื่อก่อนผมเชื่อแต่่วิทยาศาสตร์ ปัจจุบันความสงสัยในพุทธศาสนาของผมหายไปเป็นส่วนใหญ่
      ความสงสัยลังเลจะหมดไปอย่างสิ้นเชิง ก็ต่อเมื่อเราเป็น "โสดาปัตติผล"

       :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ