ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - TC9
หน้า: [1]
1  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / อยากได้ ไฟล์ที่รวมผลงาน การประพันธ์ ของพระอาจารย์ ที่ผ่านมา เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:24:37 am
 ask1

อยากได้ ไฟล์ที่รวมผลงาน การประพันธ์ ของพระอาจารย์ ที่ผ่านมา
 ไม่ทราบว่ามีใครเคย เซพเก็บไว้รวมกัน ไว้บ้างไหม นำมเป็น file zip แจกให้ดาวน์โหลด บ้างได้ไหมคะ เห็นที่ Facebook มีแต่ภาพไม่ชัดบางครั้งเซพมาแล้ว ไม่ชัดและที่สำคํญ ไม่รู้ว่า มีครบหรือไม่ ด้วยคะ

  อยากให้ทาง ทีมงาน พิจารณา แจกเป็น ไฟล์ Zip หรือ Rar ก็ได้คะ จะขอบคุณมากคะ

   thk56 thk56 thk56
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถ้าเราเข้าใจ เรื่อง อริยสัจจะ 4 ไม่ต้องทำความเข้าใจ ปฏิจจสมุปบาท ได้หรือไม่คะ เมื่อ: เมษายน 28, 2012, 12:55:20 pm
ถ้าเราเข้าใจ เรื่อง อริยสัจจะ 4 ไม่ต้องทำความเข้าใจ ปฏิจจสมุปบาท ได้หรือไม่คะ

คือเข้าใจว่าศึกษา ธรรมปฏิบัติเพียงเอาตัวรอด คิดว่าจำเป็นต้องเรียน ต้องจำ ต้องท่อง หัวข้อธรรม ทั้งหมดหรือไม่ คะ คิดว่า ถ้าเราเข้าใจเรื่องอริยสัจจะ 4 เรื่องเดียว ไม่ต้องเข้าใจ เรื่อง ปฏิจสมุปบาท เลยได้หรือไม่คะ

  :c017: :88:
3  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เปิดรับสมัครสาธุชนทั่วไปเข้าศึกษา/อบรม..ฟรี เรื่องพระอภิธรรม เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 01:29:27 pm
ต้องการเรียนรู้เรื่อง *จิต-วิญญาณ ตายแล้วไปไหน? *นรก-สวรรค์มีจริงหรือไม่? *บุญ-บาปให้ผลเมื่อไรอย่างไร? *กฏแห่งกรรมเป็นอย่างไร? *เมื่อมีความทุกข์ใจ จะแก้ได้อย่างไร? *วิปัสสนาทำอย่างไร? *นิพพานคืออะไร อยู่ที่ไหน จะเข้าถึงได้อย่างไร?
ท่านจะรู้ได้เมื่อศึกษาพระอภิธรรม
มูลนิธิพระอภิธรรมวัดศรีสุดาราม เปิดรับสมัครสาธุชนทั่วไปเข้าศึกษา/อบรม..ฟรีในเรื่องดังกล่าว
ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ -๑๖.๐๐ น. (ห้องปรับอากาศ มีเจ้าภาพบริการอาหาร-เครื่องดื่ม)
วันธรรมดา ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.
มีการฝึกการทำสมาธิ-การเจริญวิปัสสนา
จบแล้วมีวุฒิบัตรให้
เปิดรับสมัคร จัดการเรียนการสอน และฝึกสมาธิทุกวัน
สนใจสอบถามได้ที่..
มูลนิธิพระอภิธรรมวัดศรีสุดาราม (ศาลาริมน้ำ) ถนนบางขุนนนท์ ซอย ๖ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
โทร. ๐๒-๘๘๖-๐๐๘๗ และ ๐๘๑-๓๐๔-๑๖๘๒
4  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 12:32:10 pm

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dhammadelivery.com

อานนท์  การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น  ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย
     
          อานนท์  ผู้แสดง(พระธรรมกถึก)ก่อนแสดงธรรม  พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในตน  แล้วจึงแสดง  คือ

          1. จักแสดงธรรมตามลำดับ  ไม่ตัดวรรคถ้อยความ
     
          2. จักแสดงโดยปริยาย  อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ
     
          3. จักอาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม
     
          4. จักไม่เห็นแก่อามิส(หวังอยากได้ลาภผล)
     
          5. จักไม่กล่าวคำที่กระทบตนและผู้อื่น

*********************************
ขอให้พึงแสดงธรรมอนุเคราะห์ด้วยจิตอันเกื้อกูล สาธุๆๆๆ



ธรรมทาน และ อภัยทาน เป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน

ผู้ให้ธรรมเป็น ทาน จึงเลิศ กว่าให้ อามิสทาน

แต่ อามิสทาน ก็ใช่ว่าจะไม่มีผล นะครับ


5  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปฏิปทามรรคมี ๔ อย่าง เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 11:05:52 am
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ปฏิปทามรรคมี  ๔ อย่างนี้ คือ

มรรคมีธรรมุทธัจจะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรคต้น  ของพระอรหันต์รูปใดรูปหนึ่ง ๑ 
มรรคมีสมถะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรค ๑ 
มรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นแห่งอริยมรรค ๑     
มรรคมียุคนัทธธรรม    (ธรรมที่เทียมคู่)   เป็นเบื้องต้นแห่งอริยมรรค ๑


มึคำที่น่าสนใจดังนี้

 ธรรมุทธัจจะ คือ .......
 สมถะ  คือ.............
 วิปัสสนา คือ...........
 มรรค คือ .............
 ยุคนัทธธรรม คือ......

 ก็ยัวไม่ทราบความหมายอยู่ดี ครับ เป็นเมล ฉบับหนึ่ง ที่พระอาจารย์ส่งมาให้อ่าน ผมเองก็ไม่ค่อยถนัดในคำเหล่านี้ แต่ก็ขอนำพระสูตร บทนี้มาให้เพื่อน สมาชิก ได้พิจารณา ทุกท่านครับ

  :25: :smiley_confused1:
6  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คนชอบพูดธรรมะ จัดเป็นคนฟุ้งซ่าน ได้หรือไม่ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 10:16:07 am
ผมมีเพื่อนที่ไปร่วมปฏิบัตกัน เป็นประจำ หลายปี ต่อมาเขาก็เริ่มเป็นคนชอบพูดธรรมะ และ ชอบไปแสดงธรรมะ
ตามสถานที่ต่าง ๆ เวลาเจอกัน เขาจะเป็นฝ่ายพูดมากกว่า ที่จะเป็นฝ่ายฟัง จนบางครั้งผมก็รู้สึกว่า พูดมากจริงๆ
แต่ในการปฏิบัติ บางครั้งก็มีอาการฉุนเฉียวบ้าง ในตอนทำงาน จนผมรู้สึกว่า คงจะได้แต่พูด แต่เขาก็ควบคุมอารมณ์ได้เร็ว เพื่อนผมคนนี้ชอบศึกษาธรรม อ่านหนังสือ ฟังธรรมในสาย หลวงพ่อพุทธทาสเป็นหลัก ไม่ชอบการฝึกสมาธิ

 ส่วนผมชอบการฝึกสมาธิ มากกว่าการฟัง หรือพูด

 จนมาวันนี้ผมรู้สึกว่า คนที่พูดธรรมะมาก ๆ จัดเป็น ความฟุ้งซ่านได้หรือไม่ หรือ เป็น ธัมมะวิจบะ ของเขา

  :s_hi: :67:
7  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / แม้จะเป็นธรรมหัวข้อเดียวกัน แต่... เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 09:06:10 am
แม้จะเป็นธรรมหัวข้อเดียวกัน แต่...

บางบุคคลรู้ได้ด้วยการฟังความโดยย่อ
บางบุคคลรู้ได้ด้วยการฟังหัวข้อแจกแจง
บางบุคคลรู้ได้ด้วยการฟังขยายความ
บางบุคคลรู้ได้ด้วยการฟังสาธยายแบบพิสดาร (คือการขยายความโดยยกตัวอย่างประกอบเป็นต้น)
บางบุคคลใช้เวลาไม่นานในการทำความเข้าใจ
บางบุคคลใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ
บางบุคคลเข้าใจได้น้อย
บางบุคคลเข้าใจได้มาก
บางบุคคลไม่อาจเข้าใจได้เลย

ฉะนั้น แม้จะเป็นธรรมเพียงหัวข้อเดียว แต่ธรรมนั้นย่อมเป็นของลึกซึ้ง
ไม่ว่าจะการสรุป ไม่ว่าจะการแจกแจง ย่อมต้องเกิดจากความเข้าใจที่แท้จริง
ธรรมนั้น สำคัญที่ความเข้าใจ ไม่ใช่คำจำกัดความ
เพราะฉะนั้น แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน พระพุทธองค์ก็มิทรงตรัสอย่างเดียวกันกับทุกคน
แต่ตรัสตามอัธยาศัยของแต่ละคนที่จะฟังแล้วเข้าใจได้นั่นเอง



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://thaijapanmarket.com
8  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 03:55:26 pm
พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง

          เมื่อครั้งผู้เขียนเป็นนักเรียนชั้นประถมคือ เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้ว ได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่รุ่นคุณตาคุณยายกล่าวถึงสิ่งที่หมดจดงดงาม มักจะเปรียบเทียบว่า “ จะแม่นงามปานพระบท ” ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็ได้ยินคำกล่าวว่า สิ่งดีงามมีความสำคัญของเมืองอุบลฯ ได้แก่ “ พระบทวัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง ” คำกล่าวนี้มิได้เป็นคำพูดของคนอุบลฯ เท่านั้น แต่เป็นผู้มาไกลจากภาคใต้ที่ใจรักเมืองอุบลฯ แสดงให้เห็นว่าคำพังเพยนี้มีแพร่หลายมานานแล้ว เป็นเหตุให้ผู้เขียนฉุกคิดขึ้นมาว่า “ แม้แต่คนใต้ยังเข้าใจสิ่งดีงามของเมืองอุบลฯ ” เราเป็นคนอุบลฯ แท้ๆ แต่ไม่ทราบความสำคัญของโบราณวัตถุโบราณสถานในวัดทั้ง 3 แห่งนี้ ทำให้ฉุกใจในการศึกษาค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง เผยแพร่ให้เป็นที่ทราบกันทั่วไป ดังต่อไปนี้

          คำว่า “ พระบท ” อ่านออกเสียงว่า “ พระบด ” สะกดตัวอักษรเขียนได้หลายอย่าง ความหมายแตกต่างกันไป ในหนังสือ “ เล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี ” ที่พี่บำเพ็ญ ณ อุบล เขียนไว้ มีทั้งสะกดด้วย “ ฎ ” และ “ ท ” อ่านว่า “ พระบฎ ” กับ “ พระบท ” ทั้ง 2 คำ

          คำว่า “ พระบฎ ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานอธิบายความหมายว่า “ ผืนที่มีรูปพระพุทธเจ้าแขวนไว้เพื่อบูชา ” ซึ่งตรงกับความหมายใน “ สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน ” ส่วนคำว่า “ พระบท ” ปรากฏในหนังสือ, บทความ, แผ่นพับ และข้อเขียนต่างๆ โดยทั่วไปที่เขียนถึงพระบทที่ประดิษฐาน ณ วิหารวัดกลาง แต่ที่วัดกลางเขียนว่า “ พระบทม์ ” เพราะมีความหมายเป็นการเฉพาะ ดังจะกล่าวต่อไป

พระบทม์วัดกลาง

          เจ้าราชวงศ์ (ก่ำ) เป็นผู้สร้างวัดกลางในราวปีขาล จุลศักราช 1144 ตรงกับวันที่ พ.ศ. 2325 ณ ที่ดินริมฝั่งแม่น้ำมูลใกล้กับโฮงหรือคุ้มราชวงศ์ (ถนนราชวงศ์ปัจจุบัน) ตามคตินิยมแต่โบราณ ที่หาทำเลใกล้แม่น้ำสร้างเมืองแล้วสร้างวัดควบคุมกัน ชื่อวัดเรียกตามทางน้ำไหล วัดที่เจ้าราชวงศ์สร้างอยู่ระหว่าง “ วัดเหนือท่า ” (บริเวณ สนง.สาธารณสุข จังหวัดฯ ปัจจุบัน) กับ “ วัดใต้ท่า ” (สนง.การไฟฟ้าปัจจุบัน) จึงได้ชื่อว่า “ วัดกลาง ” เพราะอยู่ย่านกลางของเมืองอุบลฯ

          ประวัติพระเจ้าใหญ่วัดกลาง พระเจ้าใหญ่พระประธานเก่าแก่ประจำพระวิหารเก่าตั้งแต่สร้างวัดชาวเมืองอุบลฯ รุ่นเก่าเรียกว่า “ พระบทม์ ” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่งดงามองค์หนึ่ง เท่าที่ทราบจากคนรุ่นเก่าเล่าสืบทอดกันมาว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยอิฐดินเหนียวผสมเกสรดอกบัว และว่านจำป่าศักดิ์ป่นละเอียด อธิษฐานก่อปั้นเป็นองค์พระบทม์ ไม่มีเหล็กเสริมภายในและใช้เกสรดอกบัวป่นละเอียดคลุกเคล้ากับยางบง น้ำแช่หนังวัวเผา น้ำแช่เปลือกเม็ก น้ำข้าวจ้าวต้ม หินเผาไฟป่นให้ละเอียด น้ำอ้อยเคี่ยวให้เหนียวผสมเป็นเนื้ อเดียวกันดีแล้วใช้ฉาบทาให้ผิวขององค์พระบทม์ ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกขานกันว่า “ ปูนน้ำอ้อย ”

          พระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์ (ทองหล่อ สํวโร) ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้กรุณาอธิบายเพิ่มเติมว่า พระบทม์ ขนาดหน้าตักกว้าง 78 นิ้ว สูง 108 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ องค์หนึ่ง คำว่า “ พระบทม์ ” มาจากคำว่า (ปทุมํ-ปทม-บทม์) หมายถึง “ ดอกบัว ” ได้แก่ บัวหลวง มีสีแดง กลิ่นหอม เป็นพระพุทธรูปที่ประสาทพรเกื้อกูลให้เกิดความสำเร็จตามแรงแห่งสัจจาธิษฐาน ปรารถนา คนรุ่นเก่าเมื่อจะกล่าวถึงของสำคัญและเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ แล้วชอบกล่าวคำว่า “ พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง ” จนติดปาก

          พระบทม์วัดกลางงดงามมาก มีพุทธลักษณะอย่างเดียวกับ “ พระเหลาเทพนิมิต ” บ้านพนา เป็นฝีมือช่างรุ่นแรกของเมืองอุบลราชธานี

พระบางวัดใต้

          ตามประวัติ “ วัดใต้ท่า ” สร้างแต่ครั้งเริ่มตั้งเมืองอุบลฯ ประมาณ พ.ศ. 2322 ตามคตินิยมโบราณดังกล่าวแล้ว อยู่ริมแม่น้ำมูลใกล้กับ “ หาดวัดใต้ ” ต่อมาปี พ.ศ. 2441 ได้สร้างวัดใต้เทิง (อยู่ด้านทิศเหนือวัดใต้ท่า มีถนนพรหมราชคั่นกลาง) แล้วยุบวัดใต้ท่านารามกับวัดใต้เทิง เรียกว่า “ วัดใต้ ” จนถึงปี 2544 เปลี่ยนแปลงชื่อวัดเป็น “ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ” จนปัจจุบัน

          พระบางวัดใต้ มี 2 องค์ ประดิษฐานด้านซ้าย ขวาของพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปทองสำริด พุทธลักษณะประทับยืน สูง ประมาณ 2 ศอก ยกพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างเรียนว่า “ ปางห้ามสมุทร ” หรือ “ บางห้ามญาติ ”

          จาการสัมภาษณ์พ่อใหญ่บำเพ็ญ ณ อุบล เกี่ยวกับประวัติ “ พระบาง ” ได้ความกระจ่างโดยย่อว่าตามตำนานเมื่อประมาณ พ.ศ. 436 พระจุลนาคเถระได้สร้างพระบางที่กรุงลังกา เมื่อหล่อเสร็จแล้วได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปในพระบาง 5 แห่ง ต่อมาประมาณ พ.ศ. 1901 ได้อัญเชิญพระบางมาสถิตที่นครเชียงทองพร้อมกับการขอน้อมนำพระพุทธศาสนา มาเป็นศาสนาประจำชาติลาว ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระไตรปิฎก และหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาพร้อมกับพระบางด้วย นครเชียงทองจึงได้การขนานนามว่า “ พระนครศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มยาว หลวงพระบาง ” แต่คนทั่วไปเรียนเพียง “ นครหลวงพระบาง ” ตั้งแต่ครั้งนั้นเพราะเหตุว่าพระบางเจ้า ได้ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญแห่งพระนครนี้ตลอดมาแต่โบราณกาล จนตราบเท่าทุกวันนี้

          พระบางเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง แต่ชาวอีสานมีความเลื่อมใสมาก มักจะจำลองพระบางมาประดิษฐานไว้ที่วัดสำคัญๆ ของท้องถิ่น เช่น พระบางวัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พระบางวัดพระเหลาเทพนิมิตร อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ (ตั้งแต่สมัยอยู่ในเขตปกครองจังหวัดอุบลราชธานี) รวมทั้งพระบางวัดใต้ ดังกล่าวนี้ ด้วยชาวบ้านชาวเมืองถือว่า “ พระบางวัดใต้ ” เป็นองค์แทนของพระบางเจ้า ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของนครหลวงพระบาง

หอไตรวัดทุ่ง

          วัดทุ่งศรีเมือง สร้างในสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลคณาภิบาล สังฆปาโมก (สุ้ย) เจ้าคุณเมืองอุบลฯ สมัยนั้นเป็นผู้สร้าง

          หอไตร หรือหอพระไตรปิฎก หอไตรวัดทุ่งศรีเมืองสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2385 โดยท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลคณาภิบาล สังฆปาโมก (สุ้ย) เป็นผู้อำนวยการสร้างและญาคูช่าง (พระช่างชาวเวียงจันทร์) เป็นช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างหอไตรวัดทุ่งฯ ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลังตั้งอยู่กลางสระน้ำ แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหน้ามีสะพานไม้ทอดสู่ฝัง ตัวอาคารเป็นเรือนเครื่องสับขนาดสี่ห้อง ตกแต่งด้วยฝาไม้ประกนบานหน้าต่างและประตูเขียนลายรดน้ำเทวดา โครงสร้างอาคารยึดต่อกันด้วยการเข้าเดือย ลักษณะเด่นของหอไตรหลังนี้คือ เป็นการผสมกันระหว่างศิลปะสามสกุลช่างอย่างลงตัว คือ ไทย พม่า และลาว ได้แก่ช่อฟ้าใบระกาทำตามแบบศิลปะไทยภาคกลาง หลังคาเป็นชั้นลด มีไขราปีกและไขราจั่ว ส่วนอิทธิพลศิลปกรรมพม่า ซึ่งส่งผ่านมาทางลาวล้านช้าง ปรากฏที่ชั้นหลังคาทางจั่วซ้อนกัน หน้าบันแกะสลักลวดลายเป็นรูปพันธุ์ไม้ มีรูปลิงและนกแทรกอยู่ทางด้านตะวันออก ระหว่างชั้นลดของหน้าบันสลัดลายไทย ลายกระจังรวน และลายประจำยามก้ามปู คันถวายด้านซ้ายและวานเป็นของประตูทางเข้า สลักเป็นเทพพนม คันทวยอื่นๆ รอบอาคารสลักเป็นรูปพญานาค บริเวณกรอบล่างของฝาปะกนมีลวดลายสลักโดยรอบ เป็นรูปสัตว์ใน 12 ราศี สัตว์ในป่าหิมพานต์ และคติธรรมพื้นบ้านอีสาน เช่น “ หาบช้างซาแมว ” “ กาคาบเต่า ” เป็นต้น ภายในหอไตรตรงกลางเป็นห้องเก็บพระไตรปิฎกยกฐานสูงขึ้นอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดประตูขึ้นทางทิศตะวันออกผนังห้องด้านนอกตกแต่งลวดลายไทย ลงรักปิดทองหอไตรได้มีการบูรณะซ่อมแซมตั้งแต่สมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล โดยการเปลี่ยนหลังคากระเบื้องไม้เกล็ด เป็นสังกะสี

          พ.ศ. 2523 สมัยพระราชรัตโนบล (พิมพ์) เป็นเจ้าอาวาส กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมใหม่คือ เปลี่ยนหลังคา จากสังกะสีมาเป็นกระเบื้องเสาตอนล่างจากพื้นลงไปในสรพได้โบกซีเมนต์เสริมต้น เสา และปี พ.ศ. 2545 สำนักงานโบราณคดีที่ 8 กรมศิลปากรได้ดำเนินการซ่อมหอไตร และปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหน้าของหอไตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,710,000 บาท และหอไตรแห่งนี้เคยถูกจัดให้เป็น 1 ใน 3 ของดีเมืองอุบลฯ เมื่อสมัยก่อนจนมีคำกล่าวจนติดป่าว่า “ พระบทวัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง ” เสมือนว่าเป็นคำขวัญประจำเมืองอุบลฯ ในสมัยนั้น เช่นเดียวกับคำขวัญของจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนี้ และยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่ได้รับรางวัลผลงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นเมื่อ พ.ศ. 2527 อีกด้วย หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง กรมศิลปกรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 104 วันที่ 30 มิถุนายน 2524

ภูมิปัญญาคนโบราณ

    * ระหว่างตัวอาคารและบันได จะไม่มีรอยต่อทั้งนี้เพื่อป้องกันมด ปลวกจะเข้าตัวอาคาร ทำลายใบลานให้เสียหาย บันไดเดินเข้าหอไตร
    * พื้นอาคารจะเป็นร่อง เพื่อระบายความชื่น ทำให้ใบลานไม่กรอบและเสียหายง่าย
    * ตัวอาคารจะใช้การเข้าลิ่มแทนตะปู ตัวอาคารทั้งหลัง จะใช้ลิ่ม รอบอาคารจะแกะสลัก คติธรรมสอนใจไว้รอบอาคารอย่างสวยงามและลงตัว

          ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้อุบลราชธานี จะมีศิลปวัตถุ โบราณสถานจำนวนมาก จนมีคำกล่าวว่า “ อุบลบานหมากมูนมัง ” แม้กระนั้น “ พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง ” ก็ยังมีคุณค่าล้ำ เป็นปูชนียศิลปโบราณคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานีตลอดไป


ให้เครดิตที่นี่นะครับ
http://guideubon.com/news/view.php?t=34&s_id=57&d_id=57
9  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ใจขุ่น ไม่สามารถ ภาวนากรรมฐานได้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2010, 09:28:26 am
จะลบความขุ่นในใจอย่างไรดีครับ

เรื่องมีอยู่ว่า ผมทำงานเป็นราชการประเภทตงฉิน ไม่เคยขอความช่วยเหลือ
จากใคร ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตัวผมเอง และเรื่องของคนในครอบครัว ในชีวิตการ
ทำงานเป็นข้าราชการสายครูถึง 27 ปี

ต่อมาวันหนึ่ง น้องสาว ก็มาหาผม โดยอ้างว่าแม่ให้มาขอให้ช่วย

เรื่องที่ขอ ก็คือ การฝากหลานเข้าเรียน ในสถานศึกษาที่ดีที่สุดของจังหวัด

ซึ่งทำให้ผมอึดอัดมาก เพราะไม่เคยบากหน้าไปขอร้องใคร แม้เรื่องของลูกผมเอง
เพราะลูกผมยังเรียนโรงเรียนวัดเลยครับ

หลังจากชั่งใจ อยู่นานประกอบ กับแม่ โทรมารบเร้า ให้ไปทำ

ก็เลยพาใจที่ ชอกช้ำไปพูดกับผู้ใหญ่ ที่คิดว่าจะช่วยเหลือได้ แต่ผู้ใหญ่ท่านนั้น
ก็เรียกเงินในการดำเนินการให้ หลายบาทมาก พร้อมกับส่งสายตาเหยียดหยามผม
เหมือนทำนองว่า ได้ทีมีชัยเหนือผมแล้ว ผมรู้สึกขุ่นเคืองในใจแต่เก็บอารมณ์ยิ้มพูดตอบ
ไปว่าจะถามทางน้องสาวก่อนครับ

ผมก็เก็บอารมณ์ขุ่นไว้ในใจ ฝืนใจเป็นอย่างมาก กับการที่ต้องมาโดนดูถูกเหยียดหยาม
ซึ่งผมนำความมาบอกให้กับน้องสาว แทนที่จะได้รับความเห็นอกเห็นใจ กับพูดทำนอง
ตัดพ้อต่อว่า ผมไม่มีน้ำยาเอาเสียเลย แค่หลานคนเดียวก็ฝากไม่ได้

ผมก็มานั่งนึกดูว่า ไอ้หลานคนนี้ พ่อแม่มันก็ไม่เคยพามาไหว้ผมสักครั้ง แต่ผมกลับ
ต้องมาหมองเสียภาพพจน์ เสียความรู้สึก แทนที่จะมาเสียให้กับคนในครอบครัว

ตอนนี้ผมตัดสินใจว่า ไม่ช่วย ยืนยันปณิธาน  ซึ่งส่งผลให้ผมมีเรื่องกระทบกับ
คนในครอบครัว ตั้งแต่ เมีย ลูก แม่ น้องสาว ทุกคนมองผมต่างไปคนละแบบ

เมีย ที่ลูกตัวเองไม่ช่วย กับไปช่วยลูกน้องสาว
ลูก ก็คิดว่ารักหลาน มากกว่าลูกในไส้
แม่ เรื่องแค่นี้ก็ทำให้แม่สักครั้งไม่ได้
น้องสาว ช่วยก็ไม่ได้ ทำให้หลานหน่อยก็ไม่ได้
คนที่ไปขอร้อง ใช้สายตาเหยียดหยาม และพูดนินทาผมว่า พอถึงเรื่องตัวเองมันก็ตงฉินไม่ได้แล้ว

ผมพยายาม ข่มตา ข่มใจ ปฏิบัติ ภาวนากรรมฐาน แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติกรรมฐาน ได้อย่างเมื่อก่อน
เพราะอารมณ์ มันจะเข้าไปเกิด ภาพพวกนี้ขึ้นมาในใจ

ปรึกษา เพื่อนสมาชิกช่วยแนะนำทางให้หน่อย
หน้า: [1]