ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณัง ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ  (อ่าน 94376 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



คาถาป้องกันภัย/คาถากันขโมย

ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณัง ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ
บางตำราใช้คำว่า...ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงการะณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ
ในอรรถกถาเรื่องพระจูฬปันถกเถระ ใช้คำว่า...ฆเฏสิ ฆเฏสิ, กึการณา ฆเฏสิ อหํปิ ตํ ชานามิ ชานามิ


 ask1 ans1 ask1 ans1

คาถากันขโมย

ถาม : ..............................
ตอบ : ตัวคาถาฆะเฏสิ นี่ จริงๆแล้ว ป้องกันอันตรายได้ทุกอย่าง แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วครูบาอาจารย์ยุคหลัง ๆ ท่านถือเป็นคาถากันขโมย

เริ่มจากว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่ง หัวทื่อมากเลย ทำอะไรก็ไม่เอาไหน อาจารย์ท่านเลยให้คาถานี้ไปท่อง ตัวคาถาว่า
     ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ
     ความหมาย ก็คือว่า "ทำอะไรกันนั่น ท่านทำอะไรอยู่ ทำอะไรใครก็รู้ เราเห็นอยู่ว่าทำอะไร"
     เจ้านั่นประเภทคนซื่อคนขยัน อาจารย์ให้ท่อง ก็ท่องตะบันราดเลย

วันหนึ่งพระราชาเสด็จออกตรวจราชกิจตอนกลางคืน คล้ายๆกับว่า ตรวจดูความสงบเรียบร้อย โจรกำลังจะย่องเบาอยู่ กำลังตั้งท่าจะปีนบ้าน เจ้านี่ละเมอก็ตะโกนออกมา ตะโกนคาถาบทนี้ ที่แปลว่า ทำอะไรกันนั่น ท่านทำอะไรอยู่ ทำอะไรใครก็รู้ เราเห็นอยู่ว่าทำอะไร โจรก็เลยเผ่นแน่บ เพราะนึกว่าเจ้าของบ้านตื่น

พระราชาท่านก็แปลกใจ โผล่เข้าไปเห็น เลยปลุกขึ้นมาถามว่าเรื่องอะไรกัน เขาก็บอกว่าคาถาวิเศษบทนี้อาจารย์ให้มา บอกว่าป้องกันอันตรายได้ทุกอย่าง พระราชาจึงขอเรียน เขาบอกว่าถ้าจะขอเรียน ต้องยอมตนเป็นลูกศิษย์ถึงจะสอนให้ พระราชาก็เลยต้องไหว้คนเข็ญใจ ตัวนี้ก็คือว่า ถ้าหากว่าคุณต้องการวิชา คุณจะถือตัวถือตนไม่ได้

พอให้ไป พระราชาก็ท่องบ่นเป็นประจำอยู่เหมือนกัน ท่องไปท่องมา มีอยู่วันหนึ่งบรรดาพวกเชื้อพระวงศ์ ต้องการจะปฏิวัติรัฐประหารชิงราชสมบัติ ก็จ้างให้กัลบกคือช่างตัดผม บอกว่าเวลาที่โกนพระมัสสุ (หนวด) ให้พระราชานี่ จงปาดคอเสียเราจะให้รางวัล พระราชาท่านหลับเพลินๆ ก็ละเมอคาถาบทนี้ออกมาบ้าง ช่างก็ตัวสั่นตกใจ นึกว่าพระราชารู้แล้ว เลยสารภาพหมด พระราชารอดไปได้ ในเมื่อท่านรอดมาได้ก็คิดว่า เพราะอาจารย์ที่เป็นคนเข็ญใจ จึงรับตัวมาเลี้ยงไว้ในวังเป็นอย่างดี

จริงๆแล้ว อุปเท่ห์การใช้ของคาถานี้ ใช้ป้องกันอันตรายทุกชนิด แต่ว่าในระยะหลังท่านบอกว่าให้ใช้กันขโมย ก่อน นอนก็ตั้งใจว่าคาถานี้สักเจ็ดจบ อธิษฐานว่าถ้าหากจะมีขโมยหรือมีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้นกับเรา ขอให้เรารู้ตัวก่อน ให้ตื่นมาพร้อมกับสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ เพื่อได้แก้ไขเหตุการณ์ให้ลุล่วงไปด้วยดี



สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
board.palungjit.org/f8/คาถากันขโมย-ฆะเฏสิ-ฆะเฏสิ-กิงกะระณา-ฆะเฏสิ-อะหังปิตัง-ชานามิ-ชานามิ-547752.html


ans1 ans1 ans1 ans1

ที่มาของคาถานี้อยู่ในอรรถกถาเรื่องพระจูฬปันถกเถระ จึงขอยกเอาอรรกถามาแสดงดังนี้

ทรงรำพึงถึงอาการของภิกษุบริษัท
               
พระศาสดาทรงพิจารณาดูบริษัท ด้วยพระหฤทัยอันอ่อนโยน ทรงรำพึงว่า “บริษัทนี้ งามยิ่งนัก, การคะนองมือก็ดี คะนองเท้าก็ดี เสียงไอก็ดี เสียงจามก็ดี แม้ของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมไม่มี, ภิกษุเหล่านี้แม้ทั้งหมด มีความเคารพด้วยพุทธคารวะ อันเดชแห่งพระพุทธเจ้าคุกคามแล้ว. เมื่อเรานั่ง, (เฉยเสีย) ไม่พูดแม้ตลอดชั่วอายุ ก็รูปไหนๆ จักหายกเรื่องขึ้นพูดก่อนไม่, ชื่อว่าธรรมเนียมของการยกเรื่องขึ้น เราควรรู้, เราเองจักพูดขึ้นก่อน” ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงพรหม ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรเล่า? ก็แลเรื่องอะไรที่พวกเธอหยุดค้างไว้ในระหว่าง?”

     เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ด้วยเรื่องชื่อนี้”,
     จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จูฬปันถกหาได้เป็นผู้โง่แต่ในบัดนี้เท่านั้นไม่, แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้โง่แล้วเหมือนกัน; อนึ่ง เราเป็นที่พำนักอาศัยของเธอเฉพาะในบัดนี้อย่างเดียวหามิได้, ถึงในกาลก่อน ก็ได้เป็นที่พำนักอาศัยแล้วเหมือนกัน, และในกาลก่อน เราได้ทำจูฬปันถกนี้ให้เป็นเจ้าของแห่งโลกิยทรัพย์แล้ว, บัดนี้ ได้ทำให้เป็นเจ้าของแห่งโลกุตรทรัพย์” อันภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่จะสดับเนื้อความนั้นโดยพิสดาร ทูลอัญเชิญแล้ว
     ทรงนำอดีตนิทานมา (เล่าว่า)

     
ask1 ans1 ask1 ans1
         
เรื่องมาณพเรียนศิลปะในกรุงตักกสิลา
             
ในอดีตกาล มาณพชาวพระนครพาราณสีคนหนึ่ง ไปยังกรุงตักกสิลาแล้ว เป็นธัมมันเตวาสิกของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เพื่อประสงค์เรียนศิลปะ ได้เป็นผู้อุปการะอาจารย์อย่างยิ่ง ในระหว่างมาณพ ๕๐๐, ทำกิจทุกอย่าง มีนวดเท้าเป็นต้น, แต่เพราะเป็นคนโง่ จึงไม่สามารถจะเรียนอะไรๆ ได้,
      อาจารย์แม้พยายามด้วยคิดเห็นว่า
     “ศิษย์คนนี้มีอุปการะแก่เรามาก, จักให้เขาศึกษาให้ได้” ก็ไม่สามารถให้ศึกษาอะไรๆ ได้.

เขาอยู่สิ้นกาลนาน แม้คาถาเดียวก็ไม่สามารถจะเรียน (ให้จำ) ได้ นึกระอา เลยลาอาจารย์ว่า “จักไปละ” อาจารย์คิดว่า “ศิษย์คนนี้อุปการะเรา, เราก็หวังความเป็นบัณฑิตแก่เขาอยู่, แต่ไม่สามารถจะทำความเป็นบัณฑิตนั้นได้, จำเป็นที่เราจะต้องทำอุปการะตอบแก่ศิษย์คนนี้ให้ได้, จักผูกมนต์ให้เขาสักบทหนึ่ง”,

       ท่านนำเขาไปสู่ป่า ผูกมนต์นี้ว่า
       “ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึการณา ฆเฏสิ.? อหํปิ ตํ ชานามิ ชานามิ.”
       (ท่านเพียรไปเถิด เพียรไปเถิด, เพราะเหตุไร.? ท่านจึงเพียร, แม้เราก็รู้เหตุนั้นอยู่ รู้อยู่)


ดังนี้แล้ว ให้เขาเรียนทบทวนกลับไปกลับมาหลายร้อยครั้ง แล้วถามว่า “เธอจำได้หรือ?”(๑-) เมื่อเขาตอบว่า “ผมจำได้ขอรับ” ชี้แจงว่า “ธรรมดาศิลปะที่คนโง่ทำความพยายามทำให้คล่องแล้ว ย่อมไม่เลือน” แล้วให้เสบียงทาง สั่งว่า “เธอจงไป, อาศัยมนต์นี้เลี้ยงชีพเถิด, แต่เพื่อประโยชน์จะไม่ให้มนต์เลือนไป เธอพึงทำการสาธยายมนต์นั้นเป็นนิตย์” ดังนี้แล้ว ก็ส่งเขาไป.

_____________________________________
(๑-) ปญฺญายติ เต แปลว่า มนต์นั้นย่อมปรากฏแก่เธอ?

ครั้นในเวลาเขาถึงพระนครพาราณสี มารดาได้ทำสักการะสัมมานะใหญ่ ด้วยดีใจว่า “บุตรของเราศึกษาศิลปะกลับมาแล้ว.”
               
พระเจ้าแผ่นดินตรวจความเป็นไปของราษฎร ในกาลนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงพิจารณาว่า “โทษบางประการ ในเพราะกรรมทั้งหลาย มีกายกรรมเป็นต้นของเรา มีอยู่หรือหนอ?” ไม่ทรงเห็นกรรมอะไรๆ อันไม่เป็นที่พอพระทัยของพระองค์ ก็ทรงดำริว่า “ธรรมดาโทษของตนหาปรากฏแก่ตนไม่, ย่อมปรากฏแก่คนเหล่าอื่น, เราจักกำหนด (ความเป็นไป) ของพวกชาวเมือง”

ดังนี้แล้ว จึงทรงปลอมเพศ เสด็จออกไปในเวลาเย็น ทรงดำริว่า “ธรรมดาการสนทนาปราศรัยของพวกมนุษย์ผู้นั่งบริโภคอาหารในเวลาเย็น ย่อมมีประการต่างๆ กัน,
      ถ้าเราครองราชย์โดยอธรรม, ชนทั้งหลายคงจะพูดกันว่า
     ‘พวกเราถูกพระเจ้าแผ่นดินผู้ไม่ตั้งอยู่โดยธรรม ผู้ชั่วช้า เบียดเบียนด้วยสินไหม(๑-) และพลีเป็นต้น’
      ถ้าเราครองราชย์โดยธรรม, ชนทั้งหลายก็จักกล่าวคำเป็นต้นว่า
     ‘ขอพระเจ้าอยู่หัวของเราทั้งหลาย จงทรงพระชนมายุยืนเถิด’ แล้วก็สรรเสริญคุณของเรา”
      ดังนี้แล้ว จึงเสด็จเที่ยวไปตามลำดับฝาเรือนนั้นๆ.

______________________
(๑-) ทณฺฑ แปลว่า อาชญาก็ได้.

ในขณะนั้น พวกโจรผู้หากินทางขุดอุโมงค์ กำลังขุดอุโมงค์ในระหว่างเรือน ๒ หลัง เพื่อต้องการเข้าเรือนทั้งสอง โดยอุโมงค์เดียวกัน. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพวกมันแล้ว ได้ทรงแอบซุ่มอยู่ในเงาเรือน. ในเวลาที่พวกมันขุดอุโมงค์เข้าเรือนได้แล้วตรวจดูสิ่งของ มาณพตื่นขึ้นแล้ว ก็สาธยายมนต์นั้น กล่าวว่า
      “ฆเฏสิ ฆเฏสิ, กึการณา ฆเฏสิ.? อหํปิ ตํ ชานามิ ชานามิ.”

โจรเหล่านั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ตกใจกลัวทิ้งแม้ผ้าที่ตนนุ่งเสีย หนีไปโดยซึ่งๆ หน้าทีเดียว ด้วยบอกกันว่า
       “นัยว่าเจ้าคนนี้รู้จักพวกเรา, มันจักให้พวกเราฉิบหายเสียบัดนี้.”





ทรงเห็นโจรหนีเพราะมนต์ของมาณพ 
             
พระราชาทอดพระเนตรเห็นโจรเหล่านั้นกำลังหนีไป และได้ทรงสดับเสียงมาณพนอกนี้สาธยายมนต์อยู่ ทรงกำหนด (ความเป็นไป) ของพวกชาวเมืองได้แล้ว จึงเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์, แลเมื่อราตรีสว่างแล้ว พอเช้าตรู่ ก็รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่ง (มาเฝ้า) ตรัสว่า “พนาย เธอจงไป พวกโจรขุดอุโมงค์ในเรือนชื่อโน้น ในถนนโน้น, ในเรือนหลังนั้น มีมาณพเรียนศิลปะมาแต่เมืองตักกศิลา (คนหนึ่ง) เธอจงนำเขามา.”

       เขาไปบอกว่า “พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งหาท่าน” แล้วนำมาณพมา.
       ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะเขาว่า “พ่อ เธอเป็นมาณพผู้เรียนศิลปะมาจากเมืองตักกสิลาหรือ?”
       มาณพ. พระเจ้าข้า พระอาชญาไม่พ้นเกล้า.
       พระราชา. ให้ศิลปะแก่ฉันบ้างเถิด.
       มาณพ. ดีละ พระเจ้าข้า ขอพระองค์ประทับบนอาสนะที่เสมอกันแล้วเรียนเถิด.
       ลำดับนั้น พระราชาทรงทำอย่างนั้น ทรงเรียนมนต์นั้นกะเขาแล้ว ได้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง ด้วยพระดำรัสว่า “นี้ เป็นส่วนบูชาอาจารย์ของท่าน.”

       ในกาลนั้น เสนาบดีพูดกับภูษามาลาของพระเจ้าแผ่นดินว่า “แกจักแต่งพระมัสสุของในหลวง เมื่อไร?”
       ภูษามาลา. พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้แหละ.
       เสนาบดีนั้นให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขาแล้ว พูดว่า “ข้ามีกิจอยู่ (อย่างหนึ่ง)” เมื่อเขาถามว่า “กิจอะไร นาย?” บอกว่า “แกต้องทำเป็นเหมือนจะทำการแต่งพระมัสสุของในหลวง สะบัดมีดโกนให้คมกริบ, ตัดก้านพระศอเสีย จัก (ได้) เป็นเสนาบดี, ข้าจักเป็นพระเจ้าแผ่นดิน.” เขารับว่า “ได้”

       ในวันแต่งมัสสุถวายในหลวง เอาน้ำหอมสระสรงพระมัสสุให้เปียก สะบัดมีดโกน จับที่ชายพระนลาตคิดว่า “มีดโกนมีคมร่อยไปเสียหน่อย, เราควรตัดก้านพระศอโดยฉับเดียวเท่านั้น”
       ดังนี้แล้ว จึงยืนส่วนข้างหนึ่ง สะบัดมีดโกนอีก.
       ในขณะนั้น พระราชาทรงระลึกถึงมนต์ของพระองค์ได้ เมื่อจะทรงทำการสาธยาย ตรัสว่า
       “ฆเฏสิ ฆเฏสิ, กึการณา ฆเฏสิ.? อหํปิ ตํ ชานามิ ชานามิ.”
       เหงื่อไหลโซมจากหน้าผากของนายภูษามาลาแล้ว. เขาเข้าใจว่า “ในหลวงทรงทราบเรา” กลัวแล้ว จึงโยนมีดโกนเสียที่แผ่นดินแล้ว หมอบกราบลงแทบพระบาท.


st12 st12 st12 st12

กุสโลบายของพระราชา     
         
ธรรมดาพระราชาทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาด, เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสกะเขาอย่างนี้ว่า
     “เฮ้ย! อ้ายภูษามาลาใจร้าย มึงเข้าใจว่า ‘พระเจ้าแผ่นดินไม่รู้มึงหรือ?”
      ภูษามาลา. ขอพระองค์ โปรดพระราชทานอภัยแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า.
      พระราชา. ช่างเถอะ, อย่ากลัวเลย, บอกมาเถิด.
      ภูษามาลา. พระเจ้าข้า เสนาบดีให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์ บอกว่า “แกจงทำทีเป็นแต่งพระมัสสุของในหลวง ตัดก้านพระศอเสีย, เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว, ข้าจักเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตั้งแกให้เป็นเสนาบดี.”

      พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า “เราได้ชีวิตเพราะอาศัยอาจารย์” ดังนี้แล้ว จึงดำรัสสั่งให้หาเสนาบดีมา (เฝ้า) ตรัสว่า “เสนาบดีผู้เจริญ ชื่อว่าอะไรที่เธอไม่ได้แล้วจากสำนักของฉัน. บัดนี้ ฉันไม่อาจจะดูเธอได้, เธอจงออกไปจากแคว้นของฉัน” รับสั่งให้เนรเทศเขาออกจากแว่นแคว้นแล้ว ก็รับสั่งให้มาณพผู้อาจารย์มาเฝ้า ตรัสว่า
     “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ชีวิตเพราะอาศัยท่าน”
      ดังนี้แล้ว ทรงทำสักการะใหญ่ ได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่อาจารย์นั้นแล้ว.     
      มาณพในครั้งนั้นได้เป็นจูฬปันถก, พระศาสดาเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.

      พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน จูฬปันถกก็โง่อย่างนี้เหมือนกัน. แม้ในกาลนั้น เราก็ได้เป็นที่พึ่งพำนักของเธอ ยังเธอให้ตั้งอยู่ในโลกิยทรัพย์แล้ว,
      ในวันรุ่งขึ้น เมื่อกถา (สนทนากัน) ตั้งขึ้นว่า “น่าสรรเสริญ พระศาสดาทรงเป็นที่พึ่งพำนักของพระจูฬปันถกแล้ว” ตรัสเล่าเรื่องอดีตในจูฬเสฏฐิชาดก(๑-) แล้ว ตรัสคาถาว่า
      “ผู้มีปรีชาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทุนทรัพย์แม้น้อย เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้ลุกเป็นกองใหญ่ได้ฉะนั้น.”

_______________________________________________________
(๑-) ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๔. อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๔ จุลลกเสฏฐีชาดก.

      แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นที่พึ่งพำนักของจูฬปันถกนี้ เฉพาะแต่ในบัดนี้หามิได้. ถึงในกาลก่อน ก็ได้เป็นที่พึ่งพำนักแล้วเหมือนกัน; แต่ว่า ในกาลก่อน เราได้ทำจูฬปันถกนี้ให้เป็นเจ้าของโลกิยทรัพย์, บัดนี้ ทำให้เป็นเจ้าของโลกุตรทรัพย์” ดังนี้แล้ว
      ทรงประชุมชาดกว่า “จูฬกันเตวาสิก แม้ในครั้งนั้น ได้เป็นจูฬปันถก (ในบัดนี้), ส่วนจูฬกเศรษฐีผู้ฉลาดเฉียบแหลม เข้าใจพยากรณ์ นักษัตร (ในครั้งนั้น) คือเรานั่นเอง.”



ยกเอาเรื่องพระจูฬปันถกเถระมาแสดงบางส่วน
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2016, 12:00:20 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

kingman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 27
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า