ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การจุดธูปเทียน บูชา พระ มีประวัติมาอย่างไร ใครพอทราบบ้างคะ  (อ่าน 9941 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การจุดธูปเทียน บูชา พระ มีประวัติมาอย่างไร ใครพอทราบบ้างคะ

  คือตอนนี้ไปวัด แล้ว บางวัดก็บอกให้จุด   บางวีดบอกว่าไม่มีความจำเป็น  บางวัดก็บอกว่าจุดก็ได้ไม่จุดก็ได้
 
 อันที่จริงการจุดธูป บูชาพระพุทธรูป นี้จะได้บุญอย่างไรและเป็น บุญแบบไหน คะ

 วันนี้เป็นวันพระ ก็เลยเกิดความสงสัย

    แต่อย่าลืมไปทำบุญ กันบ้างนะคะ สำหรับท่านที่พอมีเวลาไปได้นะคะ

   :s_hi: :c017:                         
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่จริง แล้ว ธูป เทียน ไม่ต้องจุดก็ได้คะ

   เพราะจุดไป ก็ไม่มีประโยชน์ คะ การบูชา ที่ดีที่สุด คือ ปฏิบัติบูชา คะ

   :58:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อานิสงส์ถวายดอกไม้ธูปเทียน

......ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้กระทำมาแล้วย่อมมีผลานิสงส์อย่างอเนกประการ คือ นายสุมนมาลากรมีเรื่องอยู่ว่านายสุมนมาลาการนี้ เก็บดอกมะลิมาถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ ๘ ทะนาน และรับเงิน ๘ กหาปณะต่อวัน ขณะที่เขาเก็บดอกไม้อยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตภายในพระนคร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร

      นายสุมนมาลาการเห็นก็เกิด จิตเลื่อมใสคิดอยากจะทำบุญแก่พระตถาคต แต่ไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากดอกไม้ จึงเอาดอกไม้เหล่านั้นบูชาพระองค์ โดยไม่เกรงกลัวพระราชาจะทรงกริ้วโกรธ ถึงแม้จะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ยอมตาย

      การบูชาดอกไม้ของนายมาลาการได้กระทำซัดดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องบน ของพระตถาคต ๒ กำมือ ดอกไม้เกิดอัศจรรย์ขึ้นไปประดิษฐานเบื้องบนเป็นเพดานกั้นพระเศียรพระตถาคต แล้วก็ซัดไปทางพระหัตถ์ขวา ๒ กำด้านพระปฤษฎางค์ ๒ กำ พระหัตถ์ซ้าย ๒ กำ รวมทั้งหมด ๘ กำ

      ดอกไม้เหล่านั้นได้เกิดอัศจรรย์แวดล้อมพระตถาคตอยู่ตลอดเวลานายมาลาการเห็นดังนั้นก็ยินดียิ่งนัก ได้ถือกระเช้าเปล่าไปเรือนฝ่ายภรรยาเห็นไม่มีดอกไม้ในกระเช้านายมาลาการบอกแก่ภรรยาว่าได้เอาดอกไม้บูชาพระตถาคตแล้ว
      นางได้ตอบว่า ธรรมดาพระราชาเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็ทำความพินาศให้ถึงความตาย ดังนั้นความพินาศนี้พึงมีแก่เรา เพราะเธอได้ทำกรรมไว้ นางได้อุ้มลูกไปเฝ้าพระราชาทูลขอหย่ากับ นายมาลาการกับพระองค์

      พระราชาทรงทราบความต่ำทราม แห่งจิตของนาง แล้วก็ทำเป็นกริ้วและอนุญาตให้นางหย่ากับนายมาลาการ แล้วพระราชาได้เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมทูลอาราธนา พระศาสดาไปรับภัตตาหารในพระราชวังพระศาสดาทรงทราบพระราชหฤทัยของพระราชา

      พระองค์ทรงรับอาราธนาแล้วเสด็จไปสู่พระราชวังของพระราชา แต่พระศาสดาทรงพระประสงค์ จะประทับที่
พระลานหลวง จะประกาศคุณงามความดีของนายมาลาการพระราชาทรงอังคาส พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปสู่วิหารเสด็จกลับมา

      ตามนายมาลาการ ถวายถึงสาเหตุที่ถวายดอกไม้แก่พระศาสดา พอทราบเรื่องแล้วทรงพระราชทานรางวัลอย่าง ๘ ชนิด มีช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง และเครื่องประดับอย่าง ละ ๘ และบ้านส่วยอีก ๘ หมู่บ้านเป็นอันว่ากรรมดีได้สนองผลให้แก่นายสุมนมาลาการในวันนั้นเอง



ที่มา http://www.84000.org/anisong/21.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.trueplookpanya.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อานิสงส์ถวายสัพพทาน

...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ
    ๑. ให้ของที่สะอาด
    ๒. ให้ของประณีต
    ๓. ให้ถูกกาล
    ๔. ให้ของที่สมควร
    ๕. เลือกให้
    ๖. ให้เสมอ ๆ
    ๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส
    ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ

   สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา
   ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนายอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี

    ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอมแล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใดเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์

... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธามาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า

สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป

ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป


ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป

ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป
ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป


ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป
ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป
ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์

ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป
ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป

ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง
ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น
ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน
ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง
ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


     สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า

     อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตาไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์
 
     ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งครั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน

     พอจบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์ สามส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์



ที่มา http://www.84000.org/anisong/38.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:12:45 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธูป
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธูป เป็น สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชามาช้านาน ในอดีตธูป ทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป

ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา

ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่างๆที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม

ลักษณะของธูปบูชาพระ ปกติมีความยาว 13 นิ้วโดยประมาณ ก้านธูปชุบสีแดง ตัวธูปสีขาวนวล เวลาจุดประมาณ 40 - 45 นาที นอกจากนี้ยังมีธูปหอมที่เป็นสีประจำวัน มี 7 วัน 8 สี ตามความเชื่อของพราหม์ คือ

วันอาทิตย์ สีแดง วันจันทร์ สีเหลือง วันอังคาร สีชมพู วันพุธ(กลางวัน) สีเขียว วันพุธ(กลางคืน) สีดำ (ราหู) วันพฤหัสบดี สีส้ม วันศุกร์ สีฟ้า วันเสาร์ สีม่วง


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/ธูป




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐
ว่าด้วยบุพจริยาของพระจูฬสุคันธเถระ

         [๑๔๐]ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้ามีพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพงศ์พันธุ์พรหมทรงพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว...........
         ฯลฯ.......................................ฯลฯ

      ครั้งนั้น เรานั้นได้เอาของหอมมีชาติ ๔ ทาพื้นพระคันธกุฎีของพรมหามุนีเดือนหนึ่ง ๘ วัน โดยตั้งปณิธานให้สรีระที่ปราศจากกลิ่นหอมให้มีกลิ่นหอม ครั้งนั้น พระพิชิตมารได้ตรัสพยากรณ์เราผู้อยากได้กายมีกลิ่นหอมว่านระใด เอาของหอมทาพื้นพระคันธกุฎีคราวเดียว
      ด้วยผลของกรรมนั้น นระนี้เกิดในชาติใดๆ จักเป็นผู้มีตัวหอมทุกชาติไป จักเป็นผู้เจริญด้วยกลิ่นคือคุณ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้

                         
        เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพสุดท้ายใน บัดนี้ เราเกิดในสกุลอันมั่งคั่ง เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์มารดา มารดา เป็นหญิงมีกลิ่นตัวหอม และในเวลาที่เราคลอดจากครรภ์มารดานั้น พระนครสาวัตถีหอมฟุ้งเหมือนกับถูกอบด้วยกลิ่นหอมทุกอย่าง

        ขณะนั้นฝนดอกไม้อันหอมหวน กลิ่นทิพย์อันน่ารื่นรมย์ใจ และ ธูปมีค่ามาก หอมฟุ้งไป เราเกิดในเรือนหลังใด เรือนหลังนั้น เทวดาได้เอาธูปและดอกไม้ล้วนแต่มีกลิ่นหอม และเครื่องหอมมาอบ ก็ในเวลาที่เรายังเยาว์ ตั้งอยู่ในปฐมวัย

        พระศาสดาผู้เป็น สารถีฝึกนระ ทรงแนะนำบริษัทของพระองค์ที่เหลือแล้ว เสด็จมายังพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมด ครั้งนั้น เราได้พบพุทธานุภาพจึงออกบวช เราเจริญธรรม ๔ ประการคือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติอันยอดเยี่ยม แล้วบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะในคราวที่เราออกบวช ฯลฯ........



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  บรรทัดที่ ๓๙๖๙ - ๔๐๕๖.  หน้าที่  ๑๗๑ - ๑๗๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=3969&Z=4056&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=140
ขอบคุณภาพจาก  http://www.krujongrak.com/                       

   

    จากพระสูตรจะเห็นว่า ธูปมีมาตั้งแต่พุทธกาลแล้ว จุดประสงค์ของการจุดธูปก็เพื่อให้เกิดกลิ่นหอม
    และการถวาย ธูป เครื่องหอมหรือกำยานต่างๆ ก็น่าจะมีอานิสงส์ที่เหมือนกัน

     :welcome: :49: :25: ;)   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

      ดูกรพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ให้ทาน คือ

     ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ และถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใด

     ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก และสูงศักดิ์ ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๔๙๙๑ - ๕๘๔๔.  หน้าที่  ๒๑๔ - ๒๔๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4991&Z=5844&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=191



พระอนุรุทธเถระ
ภิกษุผู้เป็นเอตทัคคะด้านการมีทิพยจักษุ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า “ปทุมุตตระ” พระอนุรุทธเถระได้บังเกิดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ วันหนึ่งเขาไปวิหารเพื่อฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ในวันนั้นพระศาสดาทรงสถาปนาพระภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ จึงคิดว่า

พระภิกษุรูปนี้มีคุณความดีมาก จนพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศฝ่ายทิพยจักษุ แม้ตัวเราก็ควรได้เป็นผู้เลิศด้านทิพยจักษุในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลบ้าง

คิดได้ดังนั้น ก็แทรกแหวกกลุ่มชนเข้าไปกราบทูลนิมนต์พระปทุมุตตรทศพล พร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์นับแสนรูป เพื่อทูลนิมนต์ฉันภัตตาหารที่บ้านของตน เขาได้ถวายมหาทานอย่างนั้นติดต่อกัน ๗ วัน และในวันที่ ๗ ก็ถวายผ้าอย่างดี พร้อมด้วยเครื่องเย็บและเครื่องย้อมแด่พระปทุมุตตรพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์แสนรูป แล้วตั้งความปรารถนาเฉพาะพระพักตร์ว่า

“ข้าพระองค์ได้กระทำการสักการบูชาในคราวนี้ มิพึงประสงค์ทิพยสมบัติหรือมนุษยสมบัติอื่นใดเลย พระองค์ทรงตั้งภิกษุใดไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านทิพยจักษุ ๗ วันก่อนหน้านี้ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นผู้เลิศเช่นนั้นในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลเถิดพระเจ้าข้า”

พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐด้วยอนาคตังสญาณ คือความรู้เหตุการณ์ในภายหน้า ทรงเห็นว่าความปรารถนาของอนุรุทธะนั้นจักสำเร็จแน่นอน ไม่มีอุปสรรคขัดขวาง จึงทรงพยากรณ์ว่า

“เมื่อสิ้นเวลาแสนกัปในอนาคต จักมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า โคดม อนุรุทธะนี้จะได้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายทิพยจักษุและมีชื่อว่าอนุรุทธะ”

จากนั้นทรงกระทำภัตตานะโมทนาแล้วเสด็จกลับพระวิหาร เขาได้กระทำบุญกุศลตลอดพระชนมายุแห่งพระพุทธองค์

กาลต่อมาเมื่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว คนทั้งหลายได้ช่วยกันสร้างสุวรรณเจดีย์สูงถึง ๗ โยชน์ อนุรุทธะนั้นเกิดศรัทธาต้องการจะกระทำบุญกุศลเกี่ยวกับองค์พระเจดีย์ทองนั้นบ้าง จึงเข้าไปถามพระภิกษุสงฆ์ว่า

“ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ การกระทำบุญกุศลเพื่อให้เกิดผลเป็นทิพยจักษุนั้น จะต้องกระทำเช่นไรขอรับ”

เมื่อทราบวิธีการแล้ว อนุรุทธะได้จัดต้นประทีปใหญ่หนึ่งพันต้น นำไปตั้งไว้รอบๆ พระสุวรรณเจดีย์ และมีดวงประทีปเล็กๆ คั่นอยู่ในระหว่างกลางของต้นประทีปดวงใหญ่ ๆ นั้น แล้วจุดบูชาพระสุวรรณเจดีย์ ด้วยตั้งใจบูชาพระปทุมุตตรพุทธเจ้า เมื่อรวมประทีปทั้งปวงที่มีผู้อื่นนำมาจุดบูชาพระเจดีย์ในครั้งนั้นมีหลายพันดวง แสงประทีปทำให้ปริมณฑลของพระเจดีย์ทองแลดูโชติช่วงชัชวาลปานประหนึ่งเวลากลางวัน

นอกจากจะบูชาเจดีย์แล้ว อนุรุทธะยังไม่ละเลยการกระทำบุญกุศลอื่นๆ จนตลอดชีวิต เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้ท่องเที่ยวเสวยทิพยสมบัติอยู่ใน ๒ โลก คือเทวโลกและมนุษยโลกเท่านั้นตลอดกาลนาน



การบูชาพระพุทธเจ้าด้วยประทีปนั้น พระอนุรุทธเถระมิได้สร้างกุศลนี้เพียงในชาตินี้ชาติเดียว หากได้สร้างอย่างต่อเนื่อง ดังครั้งที่ท่านเกิดในสมัยของพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ครั้งนั้นท่านจุดประทีปบูชาพระสุเมธศาสดา ซึ่งทรงเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งเป็นเวลา ๗ วันด้วยกัน อานิสงส์ครั้งนั้นจะนับจะประมาณมิได้ อาทิเช่น

เมื่อละโลกแล้วได้ไปเกิดเป็นเทวดามีวิมานสว่างไสว มีรัศมีกายสว่างกว่าเทวดาทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน

ได้ถือกำเนิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๒๘ ครั้ง และมีดวงตามที่มีประสิทธิภาพในการเห็น สามารถเห็นได้ไกลถึง ๑ โยชน์

ได้กำเนิดในเทวโลก เป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่อมรินทราธิราชอยู่ ๓๐ กัป


เมื่อผ่านมาอีกหนึ่งแสนกัป ได้กลับมาเกิดเป็นอนุรุทธะอยู่ในเมือง ซึ่งตรงกับสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีโอกาสสร้างคุณความดีเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยประทีปเพิ่มขึ้นอีกเป็นบุญสนับสนุนการมีทิพยจักษุของท่านอีกครั้งหนึ่ง

ครั้งนั้น เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มหาชนได้สร้างพระเจดีย์สูงได้ ๑ โยชน์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำเร็จแล้ว จึงให้สร้างถาดสัมริดเป็นจำนวนมาก ใส่เนยใสจนเต็ม กระทำไส้ใส่แล้วจุดบูชาไว้รอบพระเจดีย์นั้น


ส่วนอนุรุทธะนั้นจะบูชาบ้าง จึงให้ทำถาดสัมริดใหญ่กว่าถาดทั้งปวง ใส่เนยใสจนเต็ม กระทำไส้พันไส้วางไว้รอบขอบปาก กระทำไส้ใหญ่ไว้ตรงกลาง จุดให้ลุกโพลง แล้วทูนถาดขึ้นบนศีรษะเดินเวียนรอบพระเจดีย์ ตั้งใจจะทำเป็นพุทธบูชา

จะสังเกตเห็นว่า ไม่ว่าในพุทธสมัยไหน การบูชาด้วยประทีปโคมไฟเป็นพุทธประเพณี ที่กระทำสืบมาด้วยความเคารพเลื่อมใสจนเป็นปกติ และมักจะทำไว้โดยรอบของพระเจดีย์ด้วย ซึ่งอานิสงส์ผลบุญครั้งนั้นของอนุรุทธะ ส่งผลให้ท่านได้ไปเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติอย่างต่อเนื่องหลายภพหลายชาติ

นั่นคือบุพกรรมทั้งหลายของพระอนุรุทธเถระ ผู้มีความปรารถนาจะเป็นภิกษุผู้เลิศด้านทิพยจักษุ และในภพชาติปัจจุบันเมื่อมาพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็ได้เป็นหนึ่งในอสีติมหาสาวกผู้เลิศกว่าภิกษุใดด้านมีทิพยจักษุ สมความปรารถนาที่ตั้งไว้ ทั้งยังได้เข้าถึงคุณวิเศษคือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ สามารถทำให้แจ้งแทงตลอดในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้

นี้คืออานิสงส์แห่งความตั้งใจจริง และบำเพ็ญกุศลอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องตามประเภทของบุญและการเกิดผลานิสงส์ ดังที่พระสงฆ์สาวกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวรับรองไว้ว่า การถวายประทีปเป็นพุทธบูชานั้น ทำให้ได้ทิพยจักษุ ดังอานิสงส์ที่พระอนุรุทธเถระได้รับในชาตินี้นั่นเอง



ที่มา http://www.dmc.tv/forum/index.php?s=1b34ab3e60dd40661106fcc95dc72654&showtopic=9770&pid=73359&mode=threaded&start=#entry73359
ขอบคุณภาพจาก http://www.santidham.com/,http://www.crpao.com/,http://news.dmc.tv/,http://www.kctv.co.th/



    จุดประสงค์ของการจุดเทียน ก็เพื่อให้เกิดเสียงสว่าง
    มีพุทธพจน์หนึ่งกล่าวไว้ใน "กินททสูตร" ว่า "การให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ"
    ดังนั้น การจุดเทียนก็ควรกล่าวได้ว่า เป็นการให้จักษุเช่นกัน
    และอานิสงส์ของการถวายเทียน ควรมีผลดุจเดียวกับการถวายประทีปโคมไฟ

     :welcome: :49: :25: ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 10:57:35 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ