ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เมตตา"เพราะรัก "เจโต"เพราะคิดถึงธรรม "วิมุติ"เพราะหลุดพ้น : เมตตาเจโตวิมุติ  (อ่าน 6443 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


      เมตตากถา ว่าด้วยเมตตา

     [๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
     ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้วพึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
     อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
     ๑. หลับเป็นสุข 
     ๒. ตื่นเป็นสุข
     ๓. ไม่ฝันร้าย   
     ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
     ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย 
     ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
     ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ 
     ๘. จิตตั้งมั่นเร็ว
     ๙. สีหน้าสดใส 
     ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย
     ๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก

     ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้วพึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้
   

      :96: :96: :96: :96:

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงก็มี
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร คือ
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
     ๑. ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด
     ๒. ขอปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ
     ๓. ขอภูตทั้งปวง ฯลฯ
     ๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ
     ๕. ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกันไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

     @@@@@@

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ
     ๑. ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด
     ๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ
     ๓. ขออารยชนทั้งปวง ฯลฯ
     ๔. ขออนารยชนทั้งปวง ฯลฯ
     ๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ
     ๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
     ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์มีสุข รักษาตนเถิด
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
     ๑. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     ๒. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
     ๓. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
     ๔. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
     ๕. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
     ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
     ๗. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
     ๘. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
     ๙. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
     ๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด

      :25: :25: :25: :25:

     ขอปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูตทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ อารยชนทั้งปวง ฯลฯ อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
     ๑. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     ๒. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
     ๓. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
     ๔. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
     ๕. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
     ๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
     ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
     ๘. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
     ๙. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
     ๑๐. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้


     st12 st12 st12 st12

     ๑. อินทริยวาร วาระว่าด้วยอินทรีย์

     [๒๓] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
            ๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง
            ๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง
            ๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
            ๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง
            ๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
            ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
            ๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
            ๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์

     เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เมตตา
     จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เจโต
     จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิมุตติ
     เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า "เมตตาเจโตวิมุตติ"



อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
จากโปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๐-๔๖๓
ที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=73
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2020, 10:32:31 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



     คาถามหาเมตตาใหญ่
     (แบบฉบับของพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ และของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน)
       
     เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระโข  ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ

     (๕๗๔) เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา


     @@@@@

     กะตะเม เอกาทะสะ ฯ
     1.) สุขัง สุปะติ,
     2.) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ
     3.)  นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ,
     4.) มนุสสานัง ปิโย โหติ,
     5.) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ,
     6.) เทวะตา รักขันติ,
     7.) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ,
     8.) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ,
     9.) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ,
     10.) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ,
     11.) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
     เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ

     @@@@@

     (๕๗๕) อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตา เจโตวิมุตติ ฯ
     อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตา เจโตวิมุตติ ฯ
     สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ


     @@@@@

     (๕๗๕.๑) กะตะเหมิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตาเจโตวิมุตติ ฯ
     1.)  สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     2.)  สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     3.)  สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     4.)  สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     5.)  สัพเพ อัตตะภาวปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
           อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตาเจโตวิมุตติ ฯ

     @@@@@

     (๕๗๕.๒) กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     1.)  สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     2.)  สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     3.)  สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     4.)  สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     5.)  สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     6.)  สัพเพ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     7.)  สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
           อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ


     @@@@@

     (๕๗๖) กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
     1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

     @@@@@

     1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


     @@@@@

     (๕๗๖.๑)
     1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

     @@@@@

     1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
     9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


    @@@@@

1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)  สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    @@@@@

1.)  สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


      @@@@@

1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

      @@@@@

1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


      @@@@@

1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

     @@@@@

1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ


      @@@@@

1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)  สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

      @@@@@

1.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)  สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)  สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)  สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)  สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)  สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)  สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
       อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

       @@@@@

สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ, อุปะฆาตัง วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ, สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ, ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ, วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ, สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มาเวริโน, สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน, สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ อัฏฐหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตาฯ

ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโตฯ สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ วิมุตติ ฯ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ



หมายเหตุ : ตัวเลขไทยที่ใส่ไว้เพื่อเทียบกับภาษาไทยในพระสูตรของเว็บ84000.org/
ที่มา : http://centerdhammathai.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2017, 12:29:28 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




ต้นกำเนิดของคาถามหาเมตตาใหญ่

คาถามหาเมตตาใหญ่นี้เป็นบทบันทึกเรื่องราวและบทพระธรรมเทศนาที่สำคัญตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 หน้า 341 ชื่อ “เมตตากถา” มีเนื้อความโดยย่อว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ครั้งนั้นได้ตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายให้ประชุมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนาโปรด พระธรรมเทศนาที่ยกขึ้นแสดงในครั้งนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญเมตตากรรมฐาน

โดยในเบื้องต้นทรงแสดงอานิสงส์ของการแผ่เมตตาว่า ผู้เจริญเมตตาจะได้รับอานิสงส์มากมายถึง 11 ประการ จากนั้นจึงทรงจำแนกการแผ่เมตตาออกเป็น 3 ประเภท

    1. อโนธิสผรณา คือ การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงผู้รับ แผ่ไปโดยไม่ระบุลักษณะผู้รับว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน เพศอะไรหรือมีลักษณะเป็นอย่างไร คือแผ่ไปโดยใช้คำกลางๆ ที่ครอบคลุมสัตว์ทุกประเภท เช่นคำว่า สัตตา (สัตว์ทั้งหลาย) ปาณา (สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ภูตา (สัตว์ที่เกิดมีแล้วทั้งหลาย)
    2.  โอธิสผรณา คือ การแผ่ไปโดยเจาะจงผู้รับ แผ่ไปโดยระบุประเภท หรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้รับ เช่น ระบุว่าแผ่เมตตาให้มนุษย์ เทวดา เปรต อสุรกาย หรือสัตว์นรก เป็นชายหรือหญิง เป็นต้น
    3. การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง 10

จากนั้นจึงทรงแสดงคำแผ่เมตตาแต่ละประเภทโดยละเอียด และทรงเน้นย้ำให้พระภิกษุจดจำนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ความพิเศษของคาถาเมตตาใหญ่นี้ ก็คือ เป็นธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีเหตุต้องให้แสดง เช่น ไม่มีการพูดคุยหรือการสนทนาเกี่ยวกับการแผ่เมตตา ไม่มีผู้ทูลถาม เป็นต้น เพราะโดยส่วนมากการแสดงธรรมของพระพุทธองค์จะต้องมีเหตุการณ์ให้ต้องแสดง การที่ทรงยกขึ้นแสดงเองเช่นนี้ ย่อมเป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง บทแผ่เมตตานี้เป็นบทแผ่เมตตาที่ยาวที่สุดในบรรดาบทแผ่เมตตาอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า มหาเมตตาใหญ่


@@@@@

เมตตาใหญ่ มีหลายแบบ หลายชื่อเรียก

อาจารย์บางท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับบาลี ก็จะแต่งเติมเสริมคำ หรือตัดทอนเนื้อหาบางส่วนตามความเห็น จึงทำให้บทสวดเมตตาหลวงของครูบาอาจารย์บางท่านแตกต่างจากเนื้อความในพระไตรปิฎกบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ยังได้ตั้งชื่อบทสวดที่ท่านดัดแปลงขึ้นมาใหม่นี้แตกต่างกันออกไป เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ เป็นเหตุให้บทสวดนี้มีชื่อเรียกว่าแตกต่างกันไป เช่น

สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺโส) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ พระองค์ทรง นิพนธ์บทเมตตานี้ขึ้น เพื่อใช้ในงานพุทธาภิเษก ท่านเรียกบทนี้ว่า เมตตาพรหมวิหาร คาถา หรือ เมตตาพรหมวิหารภาวนาคาถา แปลว่า บทสวดว่าด้วยการเจริญพรหมวิหาร ธรรม คือ เมตตา มีเนื้อความตรงตามพระไตรปิฎกเกือบ 100%

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ซึ่งท่าน ได้มาจากเทวดาสอนแม่ชี แม่ชีนำมาบอกหลวงพ่ออีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อความตรงกับ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺโส) แต่ท่านมักเรียกว่า เมตตาใหญ่, มหาเมตตาใหญ่ หรือ เมตตาครอบจักรวาล หมายถึง บทสวดที่แผ่เมตตาไปถึงสัตว์ทุกชีวิตทุกตัวตน ทั่วทั้งจักรวาลไม่มีจำกัด

พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่ขาว อาลโน แห่งวัดถ้ำกองเพลง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งหลวงปู่ขาวเองได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกต่อหนึ่ง ฉบับนี้เรียกว่า เมตตาหลวง หรือ มหาเมตตาหลวง คำว่าหลวง แปลว่า ใหญ่

บทสวดตามแบบฉบับของหลวงปู่มั่นนี้ จะมีความโดดเด่นแตกต่างจากพระไตรปิฎกค่อนข้างเยอะ เพราะท่านจะตัดคำบริบทต่าง ๆ เช่น ถ้อยคำที่เล่าถึงความเป็นมาของพระสูตร วิธีการเจริญเมตตา เหลือไว้แต่เฉพาะคำแผ่เมตตาที่เป็นคำบริกรรมเท่านั้น และเพิ่มบทสวดแผ่กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เข้ามาอีก ซึ่งผู้สวดจะต้องสวดทั้งหมด 528 จบ คือ
          ส่วนแผ่เมตตา ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
          ส่วนแผ่กรุณา ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
          ส่วนแผ่มุทิตา ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
          ส่วนแผ่อุเบกขา ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
ซึ่งผู้สวดจะต้องใช้ความพยายามและความอดทนในการสวดอย่างมาก


@@@@@

อานิสงส์ของการเจริญคาถามหาเมตตาใหญ่

อานิสงส์ของการแผ่เมตตา พระพุทธเจ้าแสดงไว้ 11 ประการ คือ
     1. หลับเป็นสุข : คือ การนอนหลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน พลิกตัวไปมา
     2. ตื่นเป็นสุข : คือ ตื่นมาจิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ไม่เซื่องซึมมึนหัว
     3. ไม่ฝันร้าย : คือ ฝันดี ฝันเห็นแต่สิ่งที่เป็นมงคล สิ่งที่ดีงาม
     4. เป็นที่รักของมนุษย์ : คือ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี จิตใจเบิกบาน ไม่โกรธง่าย มีเสน่ห์น่าเข้าใกล้
     5. เป็นที่รักของอมนุษย์ : คือ เป็นที่รักของสัตว์ดิรัจฉาน ภูตผีปีศาจ
     6. เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา : เทวดาช่วยเหลือบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขั้นให้ถอยห่าง
     7. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่อาจทำร้ายได้
     8. เมื่อทำสมาธิ จิตจะสงบเร็ว
     9. ใบหน้าผ่องใส
     10. ไม่หลงตาย : คือ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็ตายด้วยอาการสงบ มีสติ ไม่บ่นเพ้อ คร่ำครวญ ดิ้นทุรนทุราย
     11. ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก

ธรรมเบื้องสูงในที่นี้ได้แก่ โลกุตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ผู้ที่เจริญเมตตาถ้ายังไม่บรรลุธรรม 9 อย่างนี้ และสามารถเจริญเมตตากรรมฐานนี้จนจิตเป็นสมาธิเข้าถึงฌานขั้นใดขั้นหนึ่งและเสียชีวิตลงขณะเข้าฌานก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันที



ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ สวดมนต์พุทธฤทธิ์ ชีวิตมงคล
โดยสำนักพิมพ์ เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ (WWW.LC2U.COM)
ที่มา : http://centerdhammathai.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คาถานี้..สมัย 10ปีก่อน

ผมสวดบ่อยๆ ที่โรงเรือนท้ายสวน

ก่อนเข้าสมาธิสวดมนต์เยอะมาก

มนต์พิธีนี้ปิดบ้านประตูหน้าต่างขังตัวเองสวดมนต์
 สวดจำสำเนียง  ตอน สวดร้อน แต่ได้ปีติ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่