ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส  (อ่าน 128100 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ถ้าไม่ใช่พระโสดาบันขึ้นไป วัตถุเหล่านี้ ยังมีประโยชน์ แก่ท่าน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15436.0

"วันนี้ฉันได้ขึ้นเขามาจาก สนส.แหลมสอ เห็นญาตโยมพากันขึ้นมาเพื่อมาสร้างพระพุทธรูป กันมาก มาช่วยกันเทปูน ผสมปูนและปั้นกัน เรากับคณะที่ไปเยี่ยมเห็นแล้วชื่นชม ก็เลยไปร่วมสวดมนต์ ให้พรแก่ญาตโยม ถึงแม้ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยคนของ สนส. แต่ก็เกี่ยวเนื่องด้วย ญาติธรรม ชาวพุทธ ที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เริ่มจากศรัทธา และก็แล้วแต่บุคคลจะภาวนา จนเข้าถึงและรู้จักพระพุทธเจ้า ที่เป็นคุณ กันได้ ตามสติปัญญาของตนเอง ตามวาสนา บารมี แต่เชื่ออย่างหนึ่ง วัตถุเหล่านี้เป็นสักขีพยาน ของ ศรัทธา แห่งชน ผู้ยังเคารพในพระพุทธเจ้าแน่นอน"

ข้อความส่วนหนึ่ง ในหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของธัมมะวังโส ภิกขุ


เมื่อรวมจิต ประจักษ์แจ้ง พุทโธ ที่หทัยแล้ว นามกายเกิด อัตตาก็หายไป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15306.0

"ศรัทธา เป็นเหตุ ให้เกิดปีติ ปีติเป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์ ปราโมทย์เป็นเหตุให้เกิด ในสุข สุขเป็นเหตุให้เกิดในสมาธิ สมาธิเป็นเหตุให้เกิด ยถาภูตญาณทัศศนะ ยถาภูตญาณทัศศนะเป็นเหตุให้เกิด นิพพิทา นิพพิทาเป็นเหตุให้เกิดวิราคะ วิราคะเป็นเหตุให้เกิดใน วิมุตติ และ วิมุตติเป็นเหตุให้เกิด นิพพพาน ท่านทั้งหลายที่ภาวนา ถ้านึกลำดับธรรม กรรมฐาน ภาวนา จิตก็จักก้าวย่างสู่ ตามลำดับภูมิจิต และ ภูมิธรรม อริยะมรรค แล อริยะัผล ก็ย่อมเกิดขึ้นตามลำดับเช่นเดียวกัน ดังนั้นท่านทั้งหลาย โปรดอย่าลืม ลำดับพระกรรมฐาน เพราะพระกรรมฐาน เป็นลำดับอย่างนี้ เราจึงเรียกการภาวนาเช่นนี้ ตามครู ตามพระอาจารย์ ของ พระอาจารย์ว่า พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เหตเพราะภาวนา ทางสายกลาง อย่างเป็นขั้น เป็นตอน ไม่โดดไป โดดมา ไปตามลำดับ เหมือนกับการบรรลุธรรม ที่เป็นไปตามลำดับ นั่นเอง"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดแห่งพระธรรม
ธัมมะวังโส ภิกขุ

  รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15243.0
 เมื่อจิตไม่ใส่ใจในปีติ คงใส่ใจในการวางจิตให้นิ่ง ใน บริกรรม และ ฐานจิต ปีติ ย่อมค่อย ๆ ดับไป เมื่อปีติดับไป ก็จักทำให้ สุข ปรากฏเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอาการครอบคลุม ทั้งกาย และ จิต คือ รู้สึกสบาย เย็น นิ่ง สุข ยินดี ในปีติที่ดับไป แต่ อุคคหนิมิต ก็จะหายไปอีกเช่นกัน เพราะจิต ยินดี ใน ความสบายนั้น ๆ ดังนั้น แม้อย่างนี้ ก็ต้องวางใจให้เป็นอุเบกขา คือ นิ่งเฉย อยู่ บริกรรม และ ฐานจิต เช่นเดิม อุคคหนิมิต จึงจักปรากฏชัด เจน แจ่มแจ้ง เป็นรางวัล แก่ผู้ภาวนา แท้ที่จริง อุปจาระสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ อาศัย อุคคหนิมิต ( คือนิมิตรวมศูนย์จิต ) ที่เกิดขึ้นเป็น องค์กำหนดใน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน อีก ปัญจมฌาน ก็อาศัย ด้วยเช่นกัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 28, 2015, 12:37:29 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


มารบังตา อย่าท้อถอย แผ่เมตตาให้มาร หรือ รำลึกถึงพระพุทธคุณเถิด
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14968.0

"วันนี้ตั้งใจศึกษาพระไตรปิฏก เรื่อง สติปัฏฐาน แต่พอหยิบหนังสือมาเตรียมที่จะอ่านสายตาฉันมันกับมองไม่เห็นพล่าขึ้นมา เป็นเพราะอายุมากขึ้น สายตาเริ่มไม่ดี จึงควานหาแว่นตา ก็ไม่เจอ ฉันจึงเดินหาแว่นตา ตามที่คิดว่าจะอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ ค้นอยู่อย่างนี้ ไปทั่ว กว่าชั่วโมงก็ไม่พบ จนใจทำไม ? เราจะอ่านพระธรรม ก็มีมารมาขวางเสียแล้ว พลันฉุกคิดได้ว่า หรือว่ามารมาบังตาจริง ๆ จึงหาแว่นตาไม่เจอ ตอนนั้นนึกได้อย่างนี้ก็เลยยกมือพนม จรดที่หน้าอก กล่าวคำอธิษฐานถึง พระพุทธเจ้า ว่าข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งอยู่ในความประมาท ต้องการศึกษาหลักธรรมเพื่อการภาวนา ขออย่าให้มีอะไรมาบังตาเลย และปัญญาของข้าพเจ้าด้วยเถิด จากนั้นก็สวดบทพุทธคุณแล้วหลับตาลง สวดคาถาพญาไก่เถื่อนอีก 9 จบ พอลืมตาขึ้นมา เหมือนปาฏิหาริย์ แว่นตาฉันที่เดินหากว่าชั่วโมง มันอยู่ตรงหน้า บนโต๊ะตรงที่หนังสือพระไตรปิฏก ที่วางอยู่ เออ แล้วทำไม ? ฉันจึงมองไม่เห็นนะ ทั้ง ๆ ที่มันก็อยู่ตรงหน้า แต่พอได้อธิษฐาน สวดบทพระพุทธคุณแว่นตาก็ปรากฏให้เห็น ฉันจึงบางอ้อ ... ว่า นี่มารมาบังตาจริง ๆ นะนี่ ทำให้มองไม่เห็นเสียตั้่งชั่วโมง แต่เพราะความตั้งใจ ไม่ท้อถอย ไม่ถอยหนี และรำลึก ถึงพระพุทธคุณ สิ่งบังตาจึงหมดไป เหมือนเส้นผมบังภูเขาจริง ๆ"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
จากบันทึกการภาวนาของ ธัมมะวังโส ภิกขุ



อยากเรียนธรรม แต่ไม่ต้องการเป็นศิษย์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14711.0
"ผู้ติดตามฉัน มักถามฉันเสมอว่า เวลาไปในที่ต่าง ทำไมฉันจึงไม่สอนกรรมฐาน หรือบอกกรรมฐาน กับผู้ที่สนทนาด้วย บางคนสนทนากับฉันไม่ต่ำกว่า 5 ชม. ก็มี แต่คนเหล่านั้นไม่เคยได้ยินเอ่ยเรื่องกรรมฐาน หรือแสดงยกตนว่า ฉันสอนกรรมฐานนะ

ฉันตอบผู้ติดตามเหล่านั้นว่า ก็ไม่เราไม่เป็นอะไรทั้งนั้นเป็น เพียงแต่ผู้ที่ชราและความตายรออยู่ เท่านั้น การสอนกรรมฐาน ต้องมีวาสนา ต้องถูกชะตา ทั้งผู้เรียน และผู้สอน การสอนและมัวแต่อยากสอน เป็นความฟุ้งซ่าน อย่างหนึ่ง สำหรับผู้มีความสงบแล้ว ก็อยู่เฉย ๆ นั่นแหละดี"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
จากบันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ

ขั้นตอนของพระกรรมฐาน โปรดอย่าลืม อย่าหลง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14577.0
 "ในขณะที่ฉันนั่งด้วยความต้องการภาวนาอยู่นั้น ความรู้สึกของกรรมฐาน บรรดาสรรพวิชาที่ร่ำเรียนมาตั้งแต่เล็ก วิธีการของพระกรรมฐานต่าง ๆ ก็ผุดขึ้นมามากมาย ทำให้ฉันลังเล ไม่รู้ว่าจะฝึกฝนด้วยกรรมฐานใด ฉันเสียเวลาอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาเนิ่นนาน จนรู้สึกท้อแท้ และเหตุการณ์อย่างนี้ก็เกิดกับฉันบ่อยเสียเหลือเกิน หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ทั้ง ๆ ที่ฉันก็นั่งนอนอยู่ที่ถ้ำ แต่ฉันกับฝึกกรรมฐานไม่ได้ จนกระทั่ง วันนี้ฉันได้สวด บทพุทธคุณ หลายรอบสวดเป็น สิบๆ จบ แบบไม่ได้นับ สวดประชดตัวเองอย่างนั้น และฉันก็นึกถึงคำสอนของครูขึ้นมาได้ ด้วยวิธีการสำรวมจิตลงกรรมฐาน ด้วยการสัมปยุตธรรม ก่อน ฉันจึงทำตามขั้นตอนนั้น วันนั้นฉันฝึกกรรมฐาน เพียงกรรมฐานเดียว และเป็นกรรมฐานพื้น ๆ ที่ไม่ซับซ้อนใด ๆ แต่ผลของการฝึกวันนั้น ก็ล้างข้อผิดพลาด หนึ่งสัปดาห์ของฉันได้อย่างรวดเร็ว"

ข้อความบางส่วน จากบันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม


 ใดใด ในโลก นี้ ล้วนแล้ว อนิจจัง อะไร คือ อนิจจัง
( สำหรับตอนนี้ เกี่ยวกับตอนที่ พระอาจารย์ เข้าป่า ลับแล นะครับ )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14699.0

"เมื่อฉันเดินเข้าไปสุดในถ้ำ ได้มองเห็นร่างอันไร้วิญญาณ ทีเป็นกระดูกท่านั่ง อันมีผ้าจีวรผุ ๆ หลุดร่วงอยู่ตรงนั้น ฉันจึงรู้ได้ว่า นี่คือร่างของพระผู้ที่ใฝ่ในการภาวนา มาเสียชีวิตในท่านั่ง ที่สุดถ้ำกลางป่าเขาที่ไม่มีใครจะมาเยี่ยม มีแต่เพียงพระธุดงค์ ที่แสวงหาที่สงัดเข้ามาเยี่ยมกัน หากเราไม่ได้เข้ามาดูโดยบังเอิญ ก็จักไม่เห็นร่างนี้เลย อนุโมทนา แด่ท่านที่เป็นผู้ใฝ่ในการภาวนา จนวินาที สุดท้าย

 เมื่อฉันก้มตัวลงกราบ ภาพโครงกระดูกที่เห็นกลับเป็นเพียงกองกระดูก ที่มีเศษผ้าจีวรเท่านั้น ฉันได้ขุดหลุมในถ้ำนั้นด้วยมือและฝังกองกระดูกนั้นในถ้ำนั้นนั่นเอง ขอบคุณอาจารย์ใหญ่ที่ชี้แนะให้ข้าพเจ้า มิต้องวุ่นวายกับการมุดถ้ำต่อไป เพราะจะนั่งนอกถ้ำ ในถ้ำ มันก็เหมือนกันเสียแล้ว คือมีความตายเป็นที่สุดเช่นเดียวกัน"

(๕๒๗)  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้วสิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว  และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆได้  บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ  ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ  ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


"วันนี้ฉันมานั่งอยู่ที่ชายฝั่ง ณ วัดหลวงพ่อแดง เกาะสมุย ฉันนั่งมองดวงอาทิตย์ในยามเย็น ที่ตกลงอย่างรวดเร็ว เพียงห้านาทีกว่า ๆ พระอาทิตย์ก็ลับตา ความสลัวก็เข้ามาเยี่ยมเยียนเรา ลมชายฝั่งพัดเบา ๆ ไม่มียุงอย่างที่คิด ฉันนั่งตรงพื้นทราย และมองออกไปที่ทะเล ซึ่งมีแต่ความมืดมิด และเสียงน้ำซัดชายฝั่ง ซ่า ซ่า ฉันยังไม่สามารถสะกดใจให้ ทำสมาธิได้ เพราะความระแวง ด้วยความหวาดกลัว ต่อความมืด ผ่านไปเนิ่นนานน่าจะเป็นชั่วโมง ฉันจึงตัดใจ อธิษฐาน กรรมฐาน เพื่อภาวนากรรมฐาน ฉันนั่งภาวนาอยู่ตรงนั้น ใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์หลวงพ่อแดง นึกถึงท่านอย่างมีกำลังใจ จึงภาวนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง พลันแสงสว่างก็ปรากฏรอบตัว เป็นเพียงแสงนวล ๆ เหมือนแสงจันทร์วันเพ็ญ ไม่ได้สว่างอะไรมากมายแต่พอจะทำให้ฉันเห็นตัวเองที่นั่งอยู่เท่านั้น เบื้องหน้ามีเพียงแสงสว่างที่ปรากฏอย่างชัดเจน ที่ฐานจิตที่ภาวนาฉันมองเห็นสีต่าง ๆ ที่ฐานนั้น ด้วยความเพลิดเพลิน มองดู จดจำลักษณะของแสงนั้น ครั้นพอฉันออกจากกรรมฐาน ก็เห็นพระที่ติดตามมาด้วยกันสองรูป ยืนอยู่ที่เจดีย์ ความสว่างของยามเช้าที่ปรากฏ ช่างเป็นภาพที่แจ่มใส เป็นอย่างมาก จากเวลาที่ฉันนั่งกรรมฐานที่ชายหาดนี้ตั้งแต่ ห้าโมงเย็น เมื่อออกจากกรรมฐาน กลายเป็นเวลา หกโมงเช้า เสียแล้ว วันนี้จึงเข้าใจคำว่า ฉันทะในสมาธิ จริง ๆ ก็วันนี้ นี่เอง"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
จากบันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2014, 07:29:21 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ถ้าเห็นธรรมอันเกิดขึ้นในที่เฉพาะหน้านั้นอย่างแจ่มแจ้ง พึงพอกพูนธรรมนั้นไว้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14706.0

"ฉันมาเข้าใจคำว่า กายในภายใน เมื่อฉันประจักษ์ในกายในภายใน ซึ่งการเข้าไปประจักษ์ในครั้งนั้น ทำให้มองเห็นธรรม อย่างรวดเร็ว มีสภาวะที่สงบระงับ สภาวะเบา สภาวะอ่อนโยน สภาวะที่รู้ตัว สภาวะที่ตื่นอยู่ สภาวะที่เด็ดเดี่ยว ธรรมสภาวะทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ฉัน มีความสบายในภายในเป็นอย่างมาก อยากจะบอกว่า มันสุขจนไม่อยากออกจากกายนั้น มันสุขอย่างยิ่ง เพราะไม่มีความทุรนทุรายใด ๆ ให้ฉันไม่สบายใจเลย ในที่นั้นมีแต่คำว่า สบาย สบาย สบาย เท่านั้นเอง"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


ในยามที่ฉันอาพาธ และ เมื่อทุเลาจากอาพาธ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14640.0

พุทธัง วันทามิ
ธัมมัง วันทามิ
สังฆัง วันทามิ
อุปัชฌาครุอาจิยคุณัง วันทามิ
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ

สินนิ้วนอบ น้อมเศียร กราบไตรรัตน์
คณานับ กอร์ปด้วยครู อาจารย์ฉัน
ทั้งคุณแม่ และคุณพ่อ คุณอนันต์
ทุกคืนวัน ด้วยสำนึก ในพระคุณ
บวชมาแล้ว ด้วยตั้งใจ หลายพรรษา
ดั้นด้นมา เพียรอยู่ เป็นนิสัย
ทั้งเรียนธรรม กรรมฐาน และวินัย
ด้วยตั้งใจ พ้นจาก สงสารพลัน
ทุกค่ำคืน ฉันเพียรเพ่ง ปฏิบัติ
เพื่อจะตัด ตัณหา พิศมัย
จึงเดินนั่ง ยืนนอน ภาวนาไป
เพื่อเสือกไส ตนรอด จากวังวน
ห้าพรรษา ที่ฉัน หลีกเร้นอยู่
ขรัวตาปู่ สอนธรรม ให้แก่ฉัน
สุญญตา อนัตตา เชื่อมต่อกัน
ทุกสิ่งสรร มีเหตุ เชื่อมกันมา
สว่างโพล่ง มาก่อน ประจักษ์เห็น
ทั้งกลายเป็น เกิดดับ นับไม่ไหว
จิตเชื่อมเห็น อยู่อย่างนี้ คืนวันไป
ใจผ่องใส่ วางลง ไม่เก็บมา
สรรพสิ่ง เป็นเหมือน มายาหมอก
เป็นตัวหลอก ให้จม ด้วยตัณหา
ทั้งกายนี้ จิตนี้ กรรมบังตา
ทั้งชรา ทั้งอาพาธ มากมายจริง
อันหัวโขน อันชน สมมุติขึ้น
เหมือนประหนึ่ง ยิ่งใหญ่ ทุกทิศา
ล้วนเหมือนควัน เกิดดับ ไร้ราคา
อันเวลา กัดกิน ชนยินดี
เมื่อเจริญ กรรมฐาน ยิ่งประจักษ์
ทั้งกองรูป กองนาม อันฉงน
ที่สงสัย ทำไมฉัน ยังงวยงง
ก็จบลง ตรงคำว่า อนัตตา
ธัมมะวังโส ภิกขุ
28 มิ.ย.57
ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งรูปมากระทบตา เป็นอนัตตา
หู เป็นอนัตตา  เสียง เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งเสียงมากระทบหู เป็นอนัตตา
จมูก เป็นอนัตตา กลิ่น เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งกลิ่นมากระทบจมูก เป็นอนัตตา
ลิ้น เป็นอนัตตา รส เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งรสมากระทบลิ้น เป็นอนัตตา
กาย เป็นอนัตตา สัมผัส เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งสัมผัสต่างๆมากระทบกาย เป็นอนัตตา
ใจ เป็นอนัตตา อารมณ์ เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์มากระทบใจ เป็นอนัตตา

   "ดูก่อน โมฆราช เธอจงมองโลกนี้ โดยความเป็นของว่างเถิด" ( พุทธภาษิต )
    เพราะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ ล้วนแล้วอยู่ภายใต้ กฏแห่งพระไตรลักษณ์ หาได้มีสิ่งใด เป็นสิ่งที่ยึดมั่น ถือมั่นได้ เพราะว่างเปล่าแล้ว จากความหมายแห่งคำว่า เรา ว่าของเรา ว่า ตัว ว่า ตน ของเรา เป็นเพียงความว่างเปล่า

   กาย ก็เป็นของว่างเปล่า จิต ก็เป็นของว่างเปล่า
   งาน ก็เป็นของว่างเปล่า  แม้ธรรม ก็เป็นของว่างเปล่า
   ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง เป็น อนัตตา

   รูปที่หยาบ กลาง หรือ ประณีต ก็เป็นเพียงสักว่า รูป ว่างเปล่า จากความหมาย แห่งความเป็นตัว เป็นตน
   ตาที่มองเห็น ใจที่รับทราบ ก็เป็นเพียงสิ่งที่เกิดมากระทบ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะแล้ว ก็ดับไป หาใช่ตัว หาใช่ตน หาใช่ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา

   รูปนี้ มีชราเป็นผู้นำไป มีอาพาธเป็นรางวัล มีความตายเป็นที่สุด แม้นี้ก็ประจักษ์ ว่างจากเรา ว่างของเรา ว่างจากตัว ว่างจากตนของเรา

   เสียงธรรม และสื่อนี้ ก็เป็นเพียงความว่าง แม้ใครใคร่อ่านเข้าใจ ก็อนุโมทนา ไม่เข้าใจก็อนุโมทนา ขอให้ท่านทั้งหลายจงเจริญ สุญญตา นี้เป็นที่พึ่งเถิด เพราะท่านจักละ อัสมิมานะ ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ไม่ตกเป็นทาสแห่งตัณหา ประจักษ์แจ้ง ในลักษณะ ของ อนัตตา อย่างแท้จริง


แสงสว่าง เป็นต้นทาง รัศมี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14607.0

โปรดอย่าลืม ว่า การกำหนด ปีติ เป็นคุณธรรม หนึ่ง ใน ขั้นตอน พระอานาปานสติ
พระยุคลธรรม เป็นส่วนหนึ่ง ของการกำหนด จิต คือ จิตตะสังขาร ระงับลง เป็นปัสสัทธิ ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งใน พระอานาปานสติ ซึ่งเป็นส่วนที่ พระพุทธเจ้า แนะนำว่า ควรเข้าไปศึกษา สำเหนียก เมื่อหายใจเข้า หายใจออก กำหนดรู้ สำเหนียก ในสภาวะ จิต นี้ การกำหนดได้ ส่งเสริม วิชชา คือ การรู้แจ้ง ถ้าไม่กำหนด ธรรมสภาวะ ก็ไม่มีการรู้แจ้ง ถ้ามีการเข้าไปกำหนด ธรรมสภาวะ จึงจักมีการรู้แจ้ง

   พระพุทธเจ้า สำเร็จธรรม แล้ว พระองค์ ทรงทำความรู้แจ้ง อย่างชัดเจน 7 สัปดาห์ หรือ 49 วัน หลังจาก ตรัสรู้ การตรัสรู้ ก็ธรรมสภาวะปรากฏ บรรลุธรรม 3 ระดับ ของ พระพุทธเจ้า มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น มีอาสวักขยญาณเป็นที่สุด แต่ถึงกระนั้น พระพุทธเจ้า ก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงทำกำหนด รู้ธรรมสภาวะเป็นเวลา 49 วันหลังจากตรัสรู้ เมื่อพ้น 49 วัน พระองค์จึงได้ปฏิญาณพระองค์ ว่า เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง

   ท่านทั้งหลาย อย่าประมาท ในวิชากรรมฐาน อย่าคิดว่าเสียเวลา เมื่อภาวนากรรมฐาน ตามลำดับขั้นตอน แต่จงคิดและตำหนิตนเอง ว่าเสียเวลา ถ้าไม่ปฏิบัตในองค์กรรมฐานใดกรรมฐานหนึ่ง เสียมากกว่า

   ดังนั้นบางท่านอาจจะต้องฝึก พระธรรมปีติ เป็นปี สองปี พระยุคลธรรม เป็นปี สองปี หรือ น้อยวัน น้อยปี ตามบุญวาสนา บารมีที่สั่งสมมาด้วยเช่นกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2014, 07:33:39 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
กระทู้นี้ รวบรวมไว้เป็นตัวอย่างเพื่อ อ้างอิงกับโพลล์ ดังนั้นไม่อนุญาต การเพิ่มข้อความต่อไป ปิดกระทู้ไว้แต่เพียงแค่นี้ไว้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น


 ทีมงาน มัชฌิมา สระบุรี

ติดตามโพลล์ ได้ที่ลิงก์นี้ ครับ


หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่ง พระธรรม อาจจะเปิดดาวน์โหลด เป็น PDF
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15516
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



"หากวันหนึ่ง ที่ท่านทั้งหลาย จะต้องเข้าไปยุ่งกับเรื่องของชาวโลก แล้วละก็ ต้องระวังใจเป็นอย่างมาก เพราะชาวโลก ยึดถือความชอบความชัง เป็นหลักใหญ่ เหมือนของในตลาดนั่นแหละ ชอบก็เอา ไม่ชอบก็ทิ้ง ชอบแพงก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่ชอบถูกอย่างไรก็ไม่เอา นี่เป็นความคิดของชาวโลก และชาวโลกก็มีความคิดเป็นเช่นนี้ ดังนั้น หากจะอยู่กับชาวโลก ก็ต้องระวังใจ นึกถึงคำสอนหลวงปู่ ที่เป็น สโลแกน เรื่องการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ที่ปรากฏข้อความในหนังสือประวัติหลวงปู่ โดยหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ท่านเรียบเรียงไว้ ทำให้เห็นธรรม แบบง่าย ๆ ทันที เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก เวลาที่เราต้องยุ่งกับชาวโลก และสิ่งที่ต้องระวัง ก็คือ ใจของเราเอง เพราะชาวโลก ไม่มีอะไรแน่นอน เพราะชาวโลก ยึดความชอบและชัง ดังนั้นอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้องยึดหลักธรรม คือ การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไว้เป็นหลักแรก กล่าวคือการมีศีล เพราะอยู่กับชาวโลก สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกัน ก็คือ ศีล ดังนั้น ศีลธรรม จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลก ใช้อยู่คู่กัน ส่วนธรรมขั้นสูง เป็นธรรมภายใน อันนั้น ส่วนใจของเรา ดังนั้น ถ้าอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้อง อาศัยศีลเป็นเครื่องกั้น กาย วาจา ไว้ นั่นเอง"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ชีวิต คนเรา เลือกไม่ได้ ที่จะต้องเกิด มาด้วยวาสนา ของตัวและคน แต่ครั้นเกิดมาแล้ว ก็จงดีใจ อย่างน้อยที่มีกายสมบูรณ์ แม้จะฐานะต่ำต้อย ก็ควรดีใจ ที่ยังได้รู้จักพุทธศาสนา เพราะอย่างน้อยตรงนี้ก็นับว่ามีบุญมาก อยู่แล้ว ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มีการหายใจเข้าและออกในการดำเนินชีวิต ด้วยการระลึกนึกถึง พุทโธ ๆ บ้าง เยี่ยงนี้ นับว่าประเสิรฐ กว่าการที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่รู้จัก หนทางแห่งการสิ้นทุกข์ สิ้นกิเลส ปิดภพ ปิดชาติ เสียเลย คนเราวาสนา ย่อมต่างกันด้วยบุญบารมีที่ได้สั่งสมไว้ จะลำบาก ยากจน แร้นแค้น ก็เพราะว่ากรรมที่ได้เคยทำไว้ นั่นเอง เพราะเรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน อย่างนี้ หากฟุ้งซ่าน น้อยใจว่าชีวิตของเราต่ำต้อย เหลือเกิน โอกาส มีน้อยเหลือเกิน ก็จงรีบหายใจเข้า และ ออกด้วยการนึกถึง พระพุทธเจ้าให้มากเถิด เมื่อความฟุงซ่าน เข้ามา ก็เป็นเวลาสมควรทีจะได้ เจริญ ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ แล้ว จะมัวรออะไร จงเรียน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ และพึง เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ให้ถึงพร้อมเถิด..."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



"อันที่จริง เวลาฉันจะไปเทศน์ ธรรมะ ที่ไหน ฉันต้องอ่านกัณฑ์เทศน์หลายรอบ นะการทำอย่างนี้ ก็เพื่อตั้งอยู่ในความไม่ประมาท คือจะได้คล่อง เวลาอ่าน ผู้ฟังก็ประทับเวลาที่ได้ฟัง อันนี้ตอนที่ฉัน ยังเป็นสามเณรพระใหม่ ขึ้นเทศน์ ครั้งแรก ใจมันสั่น ตุ๊บ ๆ ตื่นเต้น จริง ๆ แต่พอได้ออกไปเทศน์บ่อย ๆ ขึ้น ๆ ความประหม่า ก็หายไป มานึกถึงปัจจุบัน เดี๋ยวนี้เวลาเทศน์ ไม่มีจุดประสงค์ ให้ใครฟังเลย นอกจากตัวเองฟังเอง เวลาเทศน์ครั้งใดก็ตาม ฉันจะอธิษฐาน ว่าขอให้ปัญญาของข้าพเจ้าจงเกิด ขอให้ธรรม จงปรากฏขึ้นในใจของข้าพเจ้า พออธิษฐานเสร็จ ก็นั่งพูดอัดรายการไป คือ พูดไปนี้ ก็พูดให้ตัวเองฟัง นะ ไม่ได้พูดให้คนอื่นฟังเลย เพราะฉันไม่รู้หรอกว่า ใครจะได้ฟัง เสียงของฉันจริง ๆ ในรายการ บางครั้งสอบถามลูกศิษย์ ที่ดูเป็นศิษย์เอก กลับไม่มีตอบคำถามฉันได้ ทำให้ฉันรู้ว่า เขาไม่ได้ฟัง กันเลย ดังนั้นทุกวันนี้ ที่ฉันพูด ก็พูดสอนตัวเอง พอยิ่งพูดสอนตัวเอง ก็เลยแสดงธรรมในแบบที่ตนเอง ควรจะต้องฟัง เดี๋ยวนี้เวลา ฉัน พูด ไม่มี สคริปต์ จริงๆ ไม่มี คือ นึกตรงไหนจะพูดก็พูด แต่การพูดทุกครั้ง ต้องมีการภาวนา ด้วยอย่างน้อย ต้องมีการเจริญสติ อย่างมาก ก็มีการเจริญสมาธิ อย่างสูงสุด ก็คือการเดินมรรคกรรมฐาน ...."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ธรรมะในห้องน้ำ ก็มีได้ .....
ไม่สบายใจ ไม่สบายใจ ไม่สบายใจ ฉันบ่นของฉันอย่างนี้ มันมีมากหลายเรื่อง ที่ไม่สบายใจ ความเจ็บ ที่ทรมาน ความอดอยาก ที่หิวโหย ความทุกข์ที่ไม่มี ปัจจัยติดตัว ความไม่สบายใจจากการดูถูกเหยียดหยาม แหม มันสาระพัด เรื่อง ของความไม่สบายใจเลยนะ ฉันเดินบ่นไป อย่างนี้ ก็เลยเข้าไปที่ห้องน้ำ ฉันไม่มีธุระอะไรทางกายในห้องน้ำหรอก วันนี้ แต่ฉันมีธุระทางใจ ในห้องน้ำ ก็ห้องน้ำ เขาเรียกว่า ห้องสุขา ไม่ใช่หรือ ก็วันนี้ฉันไม่สบายใจ ก็เลยต้องไปห้อง สุขา เพื่อให้ได้สบายใจ เสียหน่อย พอเข้าไปฉันก็ไปยืนอยู่หน้ากระจกในห้องน้ำ แล้ว ก็พูดกับตัวเองในกระจก ( มันบ้าแล้วตอนนี้ ) ไหนแก ไม่สบายใจเรื่องอะไร บอกข้ามาสิ พอถามออกไป เงาที่สะท้อนก็บอกเรื่องทุกข์ เรื่องนั้น เรื่องนี้ เข้ามามากมายเลย มันช่างขยันพูด เสียจริง ไอ้เจ้าเงา นี่นะ มันบอกว่า วันนี้เจ็บท้องมากมาย ทรมานเหลือเกิน โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อย่างนี้แย่แล้ว จะทำอย่างไร ? เราก็ตอบลงไปว่า มันเป็นธรรมดา ความเจ็บมันเป็นธรรมดา การมีอัตภาพร่างกาย มันก็เป็นต้องมีความแก่ ความเจ็บ และ ความตาย มันเป็นธรรมดา ที่มันต้องมี ต้องเป็น ของมันอย่างนั้น แล้วหิวละ ไม่มีกิน ไม่มีฉัน มันทำให้กายลำบากนะ เราก็ตอบลงไปว่า อันการกินการฉัน ของ ผู้ภาวนาต้องถือว่าเป็นเรื่องรอง เมื่อไม่มีก็ต้องแสวง เมื่อแสวงไม่ได้ ก็ต้องรู้จักวางใจ ให้เห็นว่า บญมีน้อย ดื่มน้ำไปก่อน ให้เสริมบารมี ......"

ข้อความบางส่วน จาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 


"เป็นครูอาจารย์ กัน ไม่ได้เป็นกันเพียงแค่วันเดียว วันนี้เรียนกรรมฐานไป ก็ไม่รู้ว่าท่านจะนำไปปฏิบัติกันหรือไม่ ? แต่ถึงจะอย่างนั้น อะไรที่เสริมกำลังใจในการภาวนา พอได้ระลึก นึกถึงกัน ก็ขอให้หมั่นภาวนา พุทโธ นึกถึง คาถา พระนามย่อพระพุทธเจ้า ทั้ง 28 พระองค์ และแม้แต่ ระลึก ถึงกรรมฐาน ให้มากขึ้น ขอเพียงท่านยังมีความเคารพในพระรัตนตรัย นั่นก็หมายถึง ความเป็น ศิษย์ ครู อาจารย์ กับ ฉัน ก็ยังไม่ขาดกัน หากท่านขาดความเคารพในพระรัตนตรัย แล้ว ความเป็นครู เป็น ศิษย์ ก็ขาดกัน เราก็ได้แต่เป็น เพียงแต่ เพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันเท่านั้น ....."

ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"บางทีเราก็ทำอะไร ไปเรื่อยเฉื่อย เพราะตัวเราเองก็ไม่ได้สนใจอะไร เมื่อก่อนฉันเวลาปฏิบัติไม่เคยกำหนดเป้าหมาย อะไรเลย เพราะฉันทำตามเขาไป เรื่อย ๆ บางครั้งก็เดินธุดงค์ ไปกับเขาแต่ก็ไม่เคยกำหนดอะไรเลย เพียงแต่ไปกับเขา สนุกไปกับเขา มาวันนี้ฉันจึงเข้าใจ คำว่า "สะเปะสะปะ " มากขึ้นจริง เพราะการทำอะไรไป โดยไม่ได้กำหนดเป้าหมาย เมื่อก่อนฉันคิดว่า ไม่ต้องไปคาดหวังอะไรให้เป็นอุปาทาน แต่ในที่สุดกับได้คำตอบกับมาว่า มันไม่มีสัญญลักษณ์ อะไรเป็นที่พึ่งเลย แม้สิ่งที่เกิดทางใจที่เรียกว่า ทุกข์ นั้นก็ไม่สามารถไปขจัดขัดเกลา ลงไปได้ ครั้นครูของฉันมาแนะนำ ข้อมรรคตามอริยะทั้ง 8 ประการ กับการที่ฉันควรต้องกำหนดเป้าหมายปลายทาง ให้ชัดเจน แน่นอนในการกระทำทุกครั้ง ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจา หรือ ใจ ฉันจึงอธิษฐานความเป็นผู้หมดชาติ หมดเชือ้ ไม่ต้องการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด ในโลกนี้ต่อไป เสียในชาตินี้ พอฉันอธิษฐานกำหนด อย่างนี้ เมื่อก่อนเห็นเพื่อนเราเพลิดเพลิน ในกามสุข เอาแต่หลับ แต่นอน ฉันก็เลย นอนหลับเป็นเพีื่อน ทุกวันนี้กลายเป็นว่าฉันยินยอม ออกมาโดดเดี่ยว ยอมเดิน ยืน นั่ง นอน ด้วยกรรมฐาน ไม่เป็นเพื่อนใคร ดังนั้นเพือนในสายการภาวนานั้น ฉันจึงไม่มี เวลาเดิน ยืน นั่ง นอน ฉันจึงทำของฉันคนเดียว เพื่อไปสู่เป้าหมาย ของฉันเอง ที่ตั้งใจ....."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ตั้งแต่เช้านี้ มาจนถึงค่ำ ฉันเดินอยู่คนเดียวท่ามกลาง เขาบนเส้นทางที่ฉันเดินไปนี้ มันเริ่มสูงชันเพิ่มขึ้น ความวังเว ความเหนื่อยล้า ที่เกิดขึ้นมีเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ในตอนนั้น ฉันก็นึกว่า แล้วเราทำไมต้องมาเดินอยู่อย่างเดียวดาย ที่นี่นะ ทั้ง ๆ ที่ ฉันเอง มีรถผ่านขึ้นมาประปราย ระหว่างที่ฉันเดิน แต่เพราะความตั้งใจที่จะเดิน เพ่ื่อบูชา พระพุทธเจ้า วันนี้ฉันจึงตั้งใจด้วยศรัทธา ว่าจะไม่พึ่งพาหนะใด ๆ นอกจาก กายของฉันเอง แรงฉันเอง ฉันก้าวเดินขึ้นไปด้วยศรัทธา ความเหน็ดเหนื่อยที่ครอบคลุมใจเริ่มสูงขึ้น เพราะยิ่งเดินขึ้นไป ก็ยิ่งก้าวเท้าไปไม่ออก เนื่องจากสถานที่ฉันไปนั้นเป็นเส้นทางที่ขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างเดียว ฉันเดินอย่างนี้จนถึง บ่ายสามโมงเย็น โดยเริ่มตั้งแต่ เจ็ดนาฬิกา เป็นระยะทางทั้งหมด 22 กม. จึงถึงที่หมาย ตอนนั้น ฉันรีบไปที่จุดหมายปลายทาง คือ พระธาตุดอยตุง เมื่อฉันไปถึง และได้กราบ น้ำตาก็พลันไหลออกมาเป็นสาย ความปลื้มปีติ จุกแน่น อยู่ที่ใจ และ คอของฉัน ฉันนั่งอยู่ตรงนั้นเป็นเวลานาน พร้อมสวดมนต์ คือ พุทธคุณ ไปเรื่อย ๆ ......"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"บางครั้งรับนิมนต์ไปฉันภัตร์ บ้านโยม แต่ ละท่านก็บรรจงบรรจุอาหารอย่างดี ภาชนะอย่างงาม มาให้ตามฐานะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัวฉันเองก็เรียบง่าย เมื่อก่อนก็ฉันในบาตร แต่ต่อมาบาตรมันใหญ่ไป ฉันไม่สะดวกมือจ้วงไม่ถนัด ( เปิปมือ ) ก็เลยเก็บกระทะอลูมีเนียมที่ชำรุดเขาโยนทิ้งกันแล้วใบนี้ มาใช้ประจำอธิษฐาน เป็นภาชนะสำรอง ในการฉัน ในภาพนี้เป็นอาหารสุดหรูของวันนี้แล้ว นะ เท่านี้แหละสำหรับการภาวนา และการใช้ชีวิตของพระ น้ำชาสักถ้วย นมสักกล่อง(ถ้ามี) เท่านี้ก็หรูหรามากแล้วสำหรับตัวเองฉันนะ"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เมื่อถึงทางแห่ง การภาวนาพุทโธ คืนนั้นมืดมาก เป็น คืนแรม 2 ค่ำ เดือน 8 มองไปทางไหน ก็มีแต่ความมืด ป่าที่มืดอยู่แล้ว ก็ยิ่งดูมืดครึ้ม เข้าไปอีก เสียงสัตว์ ในคืนนี้เงียบจนผิดปกติ เหมือนมีอะไรจะเกิด คิดอยู่ไม่นาน ก็เห็นช้างเดินเข้ามา 4 ตัว เป็นช้างป่า เห็นช้างป่าเป็นครั้งแรก ช้างทั้ง 4 ตัว เดินตรงดุ่ยเข้ามา ดูเหมือนเขาจะเพ่งที่แสงตะเกียง ของเราตอนนั้น ก็นึกอยู่ว่า ตอนนี้มันเป็นเวลา ทุ่มกว่า ๆ ปกติแล้ว ช้างจะไม่เดินกลางคืน และ ไม่ออกมาให้คนเห็นถ้าไม่จำเป็น เราจึงเดินออกไปจากกระต๊อบที่พัก ไปแอบหลบอยู่หลังต้นไม้ ตอนนี้เอา รุกขเทวดา เป็นที่พึ่ง ช้างทั้ง 4 ตัวเดินวนอยู่รอบกระต๊อบ สักพักก็จากไป สิ่งที่รู้ ที่เห็น ขณะนั้น มันมีหลายอย่าง คือ ความตื่นเต้น ( มันเป็นครั้งแรกที่พบ ) สงสัยว่าเขาต้องการอะไร และนึกหาเหตุผล ความกลัว อันจะถูกช้างทำร้าย เพราะทราบว่า เขตปราณบุรี นี้ ช้างมักทำร้ายพระประจำ ครั้งนี้เรามาถึงที่ปราณบุรี ก็หลายวันอยู่ ธรรมสภาวะ ครั้งนี้นำไปสู่วิถีแห่งการเผชิญความจริงมากขึ้น วันต่อมา ช้างมาตอนกลางวัน แต่ครั้งนี้ ทำลายกระต๊อบเรา บริขา่รบางชิ้นเสียหาย เช่นกลดหัก บาตรบุบ กระติกน้ำแตก ผ้าจีวรขาด มุ้งขาด และอีกหลายชิ้น เรียกว่าครั้งนี้ ช้างทำลายทั้งกระต๊อบ และบริขาร ที่สำคัญเขาเดินไล่เรา วันนี้ต้องอาศัย รุกขเทวดา ต้นเดิม พร้อมทั้งวิชา ที่ครูถ่ายทอดไว้ให้ เป็นการใช้อย่างกระทันหันครั้งแรก ช้าง สี่ตัว วนหาเรารอบต้นไม้ เราได้แต่ยืนนิ่ง เพราะเชื่อมั่นในวิชาของครู แต่ขณะเดียวกัน ก็ทำใจไว้ว่า หากเราเคยทำร้ายเขาไว้ ถ้าจะทำร้ายเราคืน เราก็จะไม่ผูกเวรกับพวกเขา ถ้าจะตาย ก็ยินยอม จะไม่ผูกโกรธกับช้าง ทั้ง 4 ตัวนี้ต่อไป ......."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2015, 12:07:42 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"วันนี้ได้พิจารณา หลากเรื่อง ที่เหล่าสมาชิกโพสต์กันไว้ ในเฟคบุ๊ค โดยเฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับศรัทธา บางครั้งการนำภาพที่แต่ง ขึ้นมา เพื่อสร้างศรัทธาปาฏิหาริย์ นั้น อาจจะไม่เหมาะสมนะ เพราะว่า ถึงแม้ มีไลค์ เยอะมาก ถ้าเจ้าตัว ที่ตัดต่อตกแต่ง ออกมาบอกความจริงขึ้นมาว่า ภาพนี้ผมใช้ เอฟเฟกต์แต่ง ขึ้นมานะครับมันไม่ได้เป็นอยางนี้ในตอนแรก ผลเสียหายจะตามมาเยอะนะ ฉันเห็นแล้ว เพราะมันแสดงถึงสิ่งที่ในใจของคนกดไลค์ อยากให้เป็น ถึงแม้ว่า มันจะดูเหลือเชื่อไปหน่อย และหลายคน ก็รู้ว่าเป็นภาพที่ ใช้ เอฟเฟ็ก คนที่ใช้งานโปรแกรม Adobe อยู่เขารู้ทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่ฉันคนเดียว ที่รู้ แต่ฉันไม่กดไลค์ เพราะไม่เห็นด้วย คนไทยอ่านแล้ว พุ่งยอดศรัทธา แต่ไปอ่านของฝรั่ง แล้ว เขาบอกว่า คนไทยโง่ ภาพนี้เป็นภาพอะไร ( ฉันไม่พูดนะ เอาแค่นี้พอแลว)
เจริญธรรม / เจริญพร"
(ข้อความบันทึกใหม่ เดือนนี้ 18 ธ.ค.58 )
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ตอนที่ทำงานอยู่ มีงาน มีหน้าที่ ก็มีความรู้สึกว่า เราเป็นส่วนสำคัญในงาน ในหน้าที่ มีความรู้สึกว่า ถ้าขาดเรา งานไม่เดิน งานนี้ต้องมีเราถึงจะทำได้เสร็จสิ้น พระอาจารย์เฒ่า บอกว่าให้สละงาน เสีย แล้วจะเข้าใจ ก็เลยสละงาน ปรากฏว่า ก็ได้เห็นความจริง ความยึดมั่นถือมั่นว่า เราสำคัญ เราจำเป็นกับงาน นั้น มันถูกทำลาย ด้วยการมองเห็นความเป็นจริง แท้ที่จริงไม่มีเรา งานก็ไปได้ ก็ทำได้ แต่เป็นเพราะเราสำคัญมั่นหมายว่า เราสำคัญ และ ให้ค่าความสำคัญ จนกระทั่งกิเลสมันพองตัว มานะ ออกไปว่า เราเก่งกว่าเขา ไม่มีเก่งเหมือนเรา เราดีกว่าเขา ไม่มีใครดีเหมือนเรา เราเยี่ยมกว่าเขา ไม่มีใครเยี่ยมกว่า เรา ทั้ง ๆ ที่สัจจธรรม เหนือฟ้า ก็ยัง มีฟ้า เหนือพสุธา ก็ยังมีต้นหญ้า กิเลสหนอกิเลส มันช่างน่าอาย เสียจริง ๆ เมื่อรู้ควาจริง หน้าก็แดง รู้สักอับอาย ในความเป็นเรา ของเรา นี่เป็นตัวตนของเรา เสียจริง ท่านทั้งหลาย พระอนาคามี สละกามคุณได้ สละความโกรธได้ แต่ยังสละ มานะ และ ความฟุ้งซ่านในความดีไม่ได ้ยังสละอวิชชาก็ยังไม่ได้ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัส พระอนาคามี ก็ยังไม่ถึงการสิ้นสุดแห่ง พรมหจรรย์ ยังต้องพิจารณาธรรมบางส่วนอีกประมาณอึดหนึ่ง ในสุทธาวาส ทั้ง 5 "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส



ขอบคุณภาพจาก http://th.jobsdb.com
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ครูอาจารย์กรรมฐาน ยุคนี้ เหนื่อยกว่าสมัยก่อนเป็นอย่างมาก เพราะต้องมีความฉลาดในการสอน ด้วย เนื่องด้วยคนในสมัยปัจจุบัน เป็นคนเชื่อยาก ขาดความเคารพในครูอาจารย์ ที่สำคัญสำนักการสอน พุทธ เราเอง ก็ขัดกันก็มี คนในปัจจุบัน ชอบทำแบบง่าย รวมถึงการไปสู่พระนิพพาน แบบง่าย ๆ ภาพที่นำมาโชว์ นี้เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง ที่ได้รับมาบ้าง ซื้อมาบ้าง แต่ หนังสือแต่ละเล่มนั้น ก็คือ หนังสือผลงานของ อาจารย์ใหญ่กรรมฐาน องค์ปัจจุบัน นั่นก็คือ พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5 ท่านได้ทุ่มเทนำความรู้ ตลอดถึงพระประวัติ / ประวัติ ในสายกรรมฐาน ออกมาเผยแผ่ ตลอดถึงจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์ พระกรรมฐาน ไว้ที่ คณะ 5 เพื่อหวังให้คนที่มีบุญร่วมกันในพระกรรมฐาน ได้มาศึกษาพระกรรมฐาน นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ บางยุคก็เฟื่องฟู บางยุคก็ถอยหลัง แต่ สิ่งที่มีสืบเนื่องถึง มา ก็คือ การส่งต่อพระกรรมฐาน ยังมีอยู่ได้ เพราะครูอาจารย์กรรมฐาน ท่านยังทำหน้าที่ เผยแผ่พระกรรมฐาน อยู่
ฉันเอง ก็ต้องขอบคุณ ในครูอาจารย์ ที่ท่านชี้แนะทั้งทางตรง และทางอ้อม ในเรื่องกรรมฐาน ตลอดถึงให้กำลังใจ ยามที่หวั่นไหว เพราะกิเลสเข้าแทรก ก็ได้ครูกรรมฐาน นี่แหละเป็นผู้ชี้นำ
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ชื่อนั้น สำคัญ ไฉน ?
มีคนถามพระอาจารย์ หลายครั้ง ว่า ชื่อพระอาจารย์ อย่างกับผู้หญิง พระอาจารย์ไม่คิดจะเปลี่ยนชื่อ แบบคนอื่น บ้างหรือ ส่วนตัว ก็ขอตอบว่า เมื่อก่อนเคยคิดที่จะเปลี่ยนอยู่ แต่ไม่รู้เป็นอย่างไร ก็ไม่ทราบ รู้สึกว่า ถ้าเราเปลี่ยนชื่อ ที่พ่อแม่ ตั้งให้ รู้สึกว่า เราไม่เคารพพ่อแม่ ในเมื่อ พ่อแม่ กำหนดชื่อนี้ให้เรา ๆ ก็ควรพอใจ ด้วยชื่อนี้ ไม่ว่ามันจะเป็นอย่างไร ? จะมีความรู้สึก แปลก ๆ อย่างเพื่อน ๆ ล้อ ก็ช่างเขาเหอะ ฉันก็พอใจ กับ ชื่อ ที่พ่อแม่ ตั้งให้
สนธยา เป็นชื่อ ของฉัน เมื่ออยู่ในสภาวะ ที่ฉันรู้ ความจริง ฉันถึงกับต้องร้องไห้ หลั่งน้ำตา อยู่เป็นเวลานาน เพราะชื่อนี้ สำหรับ แม่ฉัน ตั้งไว้ ระลึก ถึงพ่อ คือ นายสน แต่สิ่งที่ฉันระลึกได้ นั้นไม่ใช่เหตุนี้ แต่ชื่อนี้ กับเกิดจากความปรารถนา ของฉันเอง ที่ต้องการให้เป็นอย่างนี้
สนธยา แปลว่า ยามเย็น อัสดง พระอาทิตย์ตกแล้ว กำลังหมดความสว่าง จวนเจียน นั่นคือความปรารถนา ส่วนหนึ่ง ที่อยากเตือนตนเองอีกสักครั้งว่า อย่าได้ประมาท คิดว่า เวลามันยังเหลือ อยู่ พอจะมาสำนึกคิดว่าต้องทำมันก็สายไป แล้ว อายุ 121 ปี มันสายไปแล้ว ไม่ทันการที่จะใช้ สังขารที่ร่วงโรย ทำกิจที่จำเป็นของจิตได้ ตอนที่ฉันรู้ความจริงอย่างนี้ ฉันหลั่งตาอยู่นานมาก และนั่นก็เป็นการตัดสินใจ ที่ออกไปวิเวกส่วนหนึ่ง อย่าลังเล .. ถ้าคิดจะทำ ก็ควรจะทำ กิจที่สำคัญที่สุด ก็คือ กิจแห่งพรมหจรรย์ ไม่มีกิจอื่นยิ่งกว่า
การละยศ การละสรรเสริญ เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อกิจแห่งพรหมจรรย์ เมื่อก่อนเรามีคติว่า เรามีความสำคัญต่อโลก ต่อสังคม ต่อชุมชน ต่อใคร ๆ แต่เมื่อความจริงปรากฏ เรากับรู้ว่า การเป็นอยู่เรา มีตัวตนของเรา ไม่มีความหมายอะไรเลย เป็นเพียงดั่งความว่างเปล่า ไม่มีตัว ไม่มีตน ว่างจากเรา ว่างจากของเรา โลกไม่มีเราก็ได้ สังคมไม่มีเราก็ได้ ชุมชนไม่มีเราก็ได้ ใครต่อใคร ๆ ไม่มีเราก็ได้ เมื่อรู้ความจริง ในกิจเพียงสิ่งเดียว นั่นก็คือ กิจแห่งพรหมจรรย์ อันเป็นกิจอื่น ที่ยิ่งกว่า กิจไหน ๆ นั่นเอง
กิจนี้ไม่จำเป็นต้องมีใคร มีเพียงแต่เรา เท่านั้นที่รู้ และเราเท่านั้นที่ทำ เพราะว่า มันว่างจากเราในโลก ในสังคม ในชุมชน ในหมู่คณะ ในใครต่อใคร
ขอบคุณที่คำอธิษฐาน ก่อนจิตดับ มีจริง การละการเกิด การดับ มีจริง การเวียนว่ายตายเกิด มีจริง ฉันจึงไปสู่ความจริง ที่ฉันต้องการ

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระอรหันต์เอตทัคคะ 40 อนุพุทธ 80 ่ที่พระพุทธเจ้ารับรองว่า เป็นพระขีณาสพแล้ว เป็นอรหันต์ แล้ว ท่านทั้งหลาย อย่าร่วมการกล่าววาจาตำหนิติเตียน ท่านเลยเป็นการปรามาสตรง เลยนะ นี่ฉันไม่ยกพระในปัจจุบัน เอาแค่ยุคพระพุทธเจ้าอยู่ ฉันฟังมามากแล้วตอนนี้ พระบางรูป กล่าวติเตียน พระสารีบุตร บ่อยครั้งมาก ว่าสอนผิดบ้าง ไม่ถูกบ้าง ( ตัวเองดีกว่า พระสารีบุตร หรือไม่ ใครรับรองให้ ) ดังนั้นเตือนท่านทั้งหลาย อีกครั้งที่เป็นศิษย์ อย่าได้ร่วมวงกับพวกติเตียนพระอริยะเจ้า
พระอรหันต์ ท่านบริสุทธิ์ ด้วยกาย วาจา และ ใจแล้ว แม้วินัยก็ไม่ปรับอาบัติ ยกฐานะแห่งอาบัติออก อย่าหาเรื่องปรามาสสังฆรัตนะ อันพระพุทธเจ้า ทรงแต่งตั้งแล้ว
กรรมอันติเตียนพระอริยะเจ้า ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่อย่างนี้ ยิ่งกว่าการปรามาส อาจนำไปนำสู่ สังฆเภท ( เป็นอนันตริยกรรม )

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



"ความอดทน และปณิธาน ศรัทธา และผลการปฏิบัติมีความสำคัญต่อการเผยแผ่ธรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเผยแผ่ธรรมแบบปิดทองหลังพระนั้น มักถึงทางตันเสมอ ๆ เพราะการปิดทองหลังพระไม่สามารถเรียกร้องอะไร ๆ จากใครได้ นอกจากแสดงถึงความเสียสละว่า เป็นการทำการทำงานแบบไม่มีหวังกำไร แต่ยังหวังผลอยู่ หลายครั้งฉันเอง ก็ลำบาก เศรษฐกิจก็บีบคั้น การเดินทางก็ยังลำบาก เนื่องด้วยเป็นพระสงฆ์ จะเที่ยวไปขออย่างขอทานไม่ได้ ไม่มีก็เดินเอา ไม่มีใครช่วยก็ทำเอง ไม่มี ต่อ ไม่มี ก็จะมีเยอะ จนบางคร้้งตอนที่ปฏิบัตได้ต่ำ ๆ คราแรก มันก็ยังแอบร้องไห้ อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมเราต้องทำด้วย ทำไมเราไม่ไปอยู่เสพสุข ในโลกธรรม อย่างเพื่อน ๆ มาเลือกหนทางอัคคัตขัดสนนี้ทำไม ? เมื่อสติมันได้คำตอบว่า ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ บูชาครูเท่านั้น ใจมันก็สบาย สิ่งที่หนักมันก็ไม่หนัก ถึงแม้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรภายนอก แต่มันเปลี่ยนแปลงในใจฉัน ให้รู้จักคำว่า ปฏิบัติบูชา ดังนั้นในการภาวนา จึงมีการอธิษฐานปฏิบัติบุชาเสมอ ๆ การปิดทองหลังพระไม่จำเป็นต้องมีใครช่วย หรือ มาสรรเสริญ หรือแม้แต่เขาจะรังเกียจว่า เราทำอยู่ แล้วก็ตาม จิตของเราก็จะไม่ตกไปอีก เพราะรู้ว่า ที่ทำเป็นการปฏิบัติบูชา "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทางของธัมมะวังโส


"เมื่อถึงทางตัน ที่มีแต่ความทุกข์ รอรับทางใจ และทางกายอย่างสุด ๆ  แต่ทุกขณะที่มีลมหายใจอยู่นั้น ก็คือรางวัล ในการพิจารณาธรรมเพื่อธรรมอันสูงสุด ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ การปฏิบัติบูชา ก็ยังทำได้อยู่ การภาวนา ก็ยังมีโอกาสอยู่ ไม่ควรจะหยุดทอดอาลัย หรือ ปล่อยตัวปล่อยกายใจ ให้มันมัวหมอง จงตั้งสติเถิดว่า ทุกข์ แห่งสังสารวัฏ นั้น มันรอเราอยู่มากมาย ถ้ายังต้องเกิดต่อไป จะมีเวลาไหนที่จะได้ความสุข ที่ได้อยู่กับพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์แล้ว ดังนั้นจงใช้ขณะที่มีอยู่ แม้เพียงเสี้ยวนาทีนั้น เพื่อการภาวนาให้เห็นตามความเป็นจริง เสียเถิด อย่ามัวแต่นอนเจ็บและทุกข์ ไม่มีอะไรให้จิตฟุ้งซ่านไปเปล่า ๆ "

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทางของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"อาหารที่รสชาด ธรรมดา มีเพียงให้ปริมาณบริโภค มีกำลัง อันบุรุษผู้บริโภคอาหารนั้นด้วย การสำนึกในการมีชีิวิต อาหารนั้นแม้ไม่ประณึิต อันหารสชาดที่ประทับใจได้น้อย แต่ให้ชีวิตรอดแก่ผู้บริโภค ฉันใด
เปรียบเหมือนบุรุษที่ มีปัญญา มีแรง รับธรรมเพียงส่วนหนึ่ง เพียงพอแก่จริต เขาย่อมกระทำความเพียรอย่างนั้น ตามธรรมอันให้ผล คือชีวิตอมตะแก่เขา เมื่อจิตของเขาพ้นแล้วจากสภาพที่ไม่มีการปรุงแต่ง ย่อมถึงแก่ความเป็นรอดจากโอฆะ ฉันนั้น
"
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2016, 08:47:18 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"อาหารจะดี ประณีต มีค่าหายาก คนครัวมีชื่อเสียง ปีหนึ่งทำได้สักครั้ง มีเพียงนิดหน่อย จัดเป็นอาหารที่เลิศ ครั้นมีผู้เดินทางไกล ผ่านมาจำนวนมาก เรานำอาหารแบ่งเล็ก แบ่งน้อย กระจายแจกแก่ผู้เดินทางจำนวนมาก รสแห่งอาหารย่อมถึงเขาบ้าง ไม่ถึงบ้าง ความประณีตของอาหารแลอารมณ์ นั้นย่อมไม่บังเกิด จะมีเพียงไม่กี่คนที่ลิ้มรสแล้ว ก็ปรารถนา จะเสพรสนั้นอีก ฉันใด
พระธรรมอันงาม อันละเอียด อันมีประมาณที่ยากจะได้รับ จากพระอริยะ อันมีกาลแห่งมรรคและผล ที่เกิดขึ้นแล้ว จัดเป็นธรรมอันละเอียดสุขุม ครั้นมีผู้เข้าภาวนามิได้ปรารถนา ในความสิ้นกิเลส พระธรรมที่กระจายลงไปสู่คนเหล่านั้น ย่อมมีเพียงรสนิดหน่อย พอให้เขาระลึกได้ถึงผลแห่งอันระลึกได้เล็กน้อย มีเพียงผู้มีปัญญา ไม่กี่คน ที่ได้รับฟังแล้วภาวนาตามได้น้อย ฉันนั้น "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส



บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เมื่อจิตเข้าสู่ลหุตา วางลหุสัญญา ธรรมปัญญาที่เกิดมองเห็น ความเป็นจริงว่า ไม่มี ว่าง เพราะคลายความยึดถือได้เสียแล้ว เบื้องต้นและ ละความยึดมั่นถือมั่นว่า นั่นเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา เข้าสู่รอบแห่ง ญาณทวนไปกลับมา 16 ครั้ง จึงเข้าใจได้ดีว่า โลกนี้เป็นเพียงความว่างเปล่า ที่มีก็เป็นเพียงสักว่าธาตุ ที่อยู่ก็เพียงธาตุ ว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ว่างจากสัญลักษณ์ใด ๆ มีแต่เพียง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เป็นไปอย่างไม่สิ้นสุด ความสำคัญว่าเราเลิศกว่าเขา ก็เป็นเรื่องตลก เบา ๆ ความสำคัญว่าเราด้อยกว่าเขา ก็เหมือนของขบขัน แม้ความคิดว่าเราเทียบเคียงเสมอใคร ๆ ก็เหมือนสายลม และควัน ความสำคัญที่มีอยู่ก็เหมือนเพียงดั่งพยัพแดด จับต้องไม่ได้ ท้ายที่สุด มันถึงสิ่งที่รู้วา ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาจำเรา หรือรู้จักเรา เข้าใจเรา และนับถือเรา เพราะมันมีแต่เพียง ธาตุเท่านั้นที่เกิดขึ้น ธาตุเท่านั้นที่ตั้งอยู่ ธาตุเท่านั้นที่ดับไป นอกจากนี้ไม่มีอะไรเลย ความจริงก็เป็นเพียงเช่นนั้น ไม่มีอะไรสักสิ่งที่จะยึดได้ว่าเป็นอะไร สุขก็เป็นเพียงว่างเปล่า ทุกข์ก็เป็นเพียงความว่างเปล่า อุเบกขากลาง ๆ ก็เป็นเพียงความว่างเปล่า เท่านั้น นั่นเอง ...... "

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"กระบวนการของการบรรลุธรรม เกิดขึ้นหลังจากสภาวะจิต ไม่ซัดส่าย มีอารมณืเดียว นั้นคือ ความสุข มุ่งที่อารมณ์เดียวคือความสุข จนความสุขเป็นอารมณ์เดียว เมื่อจิตถึงสุขที่เป็นอารมณ์เดียวได้แล้ว จิตก็จะปรารภธรรม ว่าสุขนี้เกิดจากอะไร ในขณะนั้นเอง อย่างธรรมชาติ การปรารภธรรมนี้เรียกว่า ธัมมะวิจยะ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของผู้ที่ภาวนาธรรม ที่อาศัย พุทโธ เป็นไปเองโดยธรรมชาติ การปรารภธรรมเป็นเพราะว่าจิต ว่างจากสังขตธรรม ไม่ได้ถูกปรุงแต่ง ด้วยอารมณ์ แห่งตัณหา แต่เป็นการมองเห็นตามสภาพความเป็นจริง ด้วยการสำรวจผลที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ในขณะที่จิต มีสุขเป็นอารมณ์เดียว การปรารภจะเกิดการกระจายธรรม ด้วยที่เจ้าของผู้ภาวนาไม่ได้ปรุงแต่ง แต่มันเป็นผลที่เกิดจาการกระทบ กับความสุขอารมณ์เดียว กล่าวได้ว่า ตติยะฌานให้ผลตั้งในความสุข แต่ ความสุขที่เป็นอารมณ์เดียว นั้นกลับกลายเป็ต จตุตถฌาน การปรารภธรรม จึงเป็นไปตามสภาวะของ จิต ที่กระทบเอง กรรมฐานในพุทธศาสนา ส่งผลให้ ธรรมวิจยะ เลือกเฟ้นธรรมที่สมควรยกจิตไปสู่สมาธิ ระดับ โลกุตตระธรรมเอง เพราะการอธิษฐาน จะส่งผลไปอย่างนั้น....."

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2016, 12:17:31 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ความว่าง ความว่าง ความว่าง ที่กระทบจิต ขณะนั้นทำให้ ความรู้สึกบางอย่างที่ซ่อนลึกอย่างเงียบมาเป็นเวลานานมาก กระเทือนขณะนั้น กายที่ถูกกระทบ ใจที่ถูกกระทบอย่างนั้น มันพลุ่งพล่าน ความพลุ่งพล่าน มันกระทบกระเทือนใจจนน้ำตาทะลักทะลาย กายสั่นเทิ้ม ใจที่ราบเรียบก้กระเพื่อม เพราะความว่าง ใช่แล้ว ปีติ ที่มันพลุ่งพล่าน เพราะความว่างที่ไหลกระทบ ขณะนั้น เหมือนสายน้ำที่ตกกระทบกับร่างอย่างรุนแรง ความว่าง ความว่าง ความว่าง กายและใจ ที่ถูกความว่างไหลผ่านอย่างนั้น ก็เกิดระลอก ความต้านทานมันไม่ยอม บอกว่า ว่าง นี่ตัวเรานะ นี่บ้านเรา นี่แม่เรา นี่พ่อเรา นี่ญาติเรา นี่วัดเรา นี่เพื่อนเรา นี่แฟนเรา นี่คนรักของเรา นี่พระธรรมของเรา นี่พระพุทธของเรา นี่ครูเรา นี่ชื่อเสียงเรา นี่ยศของเรา นี่สุขของเรา ความว่างที่ไหลขึ้นมาอย่างนั้น กับความรู้สึกต้านทาน ที่ไม่ยินยอมให้ว่าง แต่ความว่างก็ยังไหลผ่านไปดุจนำ้ตกที่ไหลกระแทกพัดไปเรื่อย ทำให้กายจิตของเรา ยิ่งมีน้ำตาพรั่งพรู ออกมาเป็นสาย มันผ่านพร้อมความต้านทานเป็นเรื่องแล้ว เรื่องเล่า จิตที่มันฮึกเหิมมาตลอดว่า นี่ของเรา มันกลับกลายจิตที่มันหดหู่ พยายามจะจับ พยายามจะเกาะ พยายามจะยึด พยายามจะยื้อ แต่แล้วมันก็จับอะไรที่เป็นเราไม่ได้สักอย่าง ถูกความว่างพัดพาผ่านไปอย่างหมดสิ้น เหมือนคนสิ้นเนื้อประดาตัว ที่มองตาปริบ กับของที่ไหลไปกันน้ำที่แรงอย่างนั้นทำอะไรไม่ได้ ได้แต่หมดอาลัยตายอยากว่า จากกันแล้ว สิ้นสุดกันแล้ว ตอนนี้มันยัง เหลือเพียงแต่กายที่นั่งอยู่นี่แหละ มันก็ยังพยายามต้านทานว่า นี่เรา นี่เรา นี่่ผมของเรา นี่เนื้อหนังของเรา นี่ที่นั่งอยู่นี้เป็นของเรา ความว่างก็ยังไหลกระทบกับกายจิตนี้อยู่เหมือนเดิม ใจของฉันที่ยึดถือ และพยายามต้านทานบอกไว้ว่า เรา เรา เรา นะ ความว่างก็ยังไหลอยู่ต้านทานความความรู้สึกว่ากายนี่เป็นเรา ของเรา จนกระทั่งมันกระเทือนใจอย่างมาก มีความรู้สึกอย่างผู้พ่ายแพ้ จำนนอย่างหมดอาลัยตายยาก เลย น้ำตาที่ไหลอยู่แล้ว ยิ่งไหลพราก ๆ เพราะมันรู้สึกพ่ายแพ้ แม้กายของฉันที่บอกว่า เรา เรา เรา อยู่นี่ ท้ายที่สุด มันก็จับต้องอะไรไม่ได้ ความว่างได้พัดพาไปหมด เหมือนตนเองที่ลอยคอไปตามสายน้ำที่เชี่ยวกราก และนึกอยู่ในใจว่า ไม่รอดแล้ว แม้กายนี้ก็ไม่รอดแล้ว ความว่างได้พัดพา ความเป็นเราออกไปทีละอย่าง ที่ละอย่าง จนรู้สึกหมดสิ้นเนื้อประดาตัว แต่ทันใดใจมันก็นึกขึ้นมา  มันยังต้านทานอยู่ต่อไปว่า จิตนี้ไง ถ้งกายเป็นธาตุ แต่จิตนี่ไง ที่เป็นเครื่องยืนยัน ถึงความรู้สึก นึกคิด รับรู้ จดจำ เป็นตัวบอกอารมณ์ทุกอย่าง ความรู้สึกมันต้านทานอยู่อย่างนี้ ส่วนความว่าง ก็ยังไหลไปเรื่อย ๆ และแรงเพิ่มขึ้น ขณะนั้นจิตของฉันก็ถึงความพ่ายแพ้ ว่า แม้จิตที่ว่ามันเป็นเรา ก็หาอะไรไม่ได้ จำอะไรก็ไม่ได้ รู้สึกอะไรก็ไม่ได้ คิดอะไรก็ไม่ได้ มันถูกความว่างแย่งชิงไป จนมีความรู้สึกอย่างลึกที่สุดว่า แม้จิตจริง ๆ ก็ไม่มี ยึดถืออะไรไม่ได้เลย น้ำตาฉันที่ไหลอยู่เริ่มเหือดแห้งลง และแห้งลง และแห้งลง มีความรู้สึกว่า อะไร อะไร อะไร ในโลกนี้ ในจักรวาลนี้ ในที่ฉันรู้จักนี้ ทั้งหมด นั้น ไม่มีอะไรเลย ที่จะใช้เป็นเครื่องยึ่ดเหนี่ยวหรือรั้ง สิ่งที่เรียกว่า ความว่างได้เลย มันเวิ้งว้าง ว่างไปหมด แสงสีขาวที่สว่างจ้า เบื้องหน้า ก็ไม่รู้สึกอะไร จักรวาลที่ปรากฏอยู่ก็ไม่มีอะไร มีแต่ความว่าง ความว่าง ความว่าง ก็ยังไหลอยู่อย่างนั้น มันกลับย้อนให้ฉันเห็นความจริงที่มาของฉัน ก็เป็นเพียงความว่างอีกนั่นเอง สุดท้ายฉันก็แพ้แก่ความว่าง เพราะมองเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ทำมาทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วไม่มีสาระเลย ทั้ง ๆ ที่ว่ามีสาระ เข้าใจว่ามีสาระ และยึดถือว่ามีสาระ ท้ายที่สุด มันไม่มีอะไร เป็นสาระ เพราะกลายเป็นความว่าง เหมือนจักรวาลที่ไม่มีฉันอยู่ตั้งแต่ต้น มีแต่เพียงความรู้สึก ปรุงแต่งไปเองว่า ว่ามันมีสาระ มันมีความสำคัญ แม้ความถูก แม้ความผิด มันก็ไม่มี ความว่าง ที่ปกคลุมตัว กลายเป็น ว่า ฉันกลายเป็นความว่าง ไม่มีอะไรที่ต้องคิด อีกต่อไป ไม่มีการเดินทาง ไม่มีการเริ่มต้น......."

 ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
 บันทึกการภาวนาและ การเดินทางของ ธัมมะวังโส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2016, 11:04:51 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ตื่นเถิด ท่าน พระโยคาวจรทั้งหลาย
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: มกราคม 15, 2016, 11:07:47 pm »
0


"ไม่ใช่ใครที่จะทำให้เรา ดี หรือ ชั่ว ได้ ทุกข์ หรือ สุขได้ แต่เป็นเพราะตัวเรานั่นแหละที่สร้างกรรม ให้กับตนเอง ดี หรือ ชั่ว ทุกข์ หรือ สุข ถ้ารู้ว่า ชาตินี้มันลำบาก เพราะกรรมอดีต ก็สร้างกรรมดีให้มากขึ้นในปัจจุบัน ให้มันรูกันไปว่า กรรมในปัจจุบัน หรือ กรรมในอดีต กรรมไหน จะแน่กว่ากัน กรรมในอดีตแก้ไม่ได้ แต่กรรมในปัจจุบัน สามารถกระทำได้ทันที พูดดี คิดดี และ ทำดี ทำได้ไหม ท่านชาติอาชาไนย เหล่าเวไนยยะ ทั้งหลาย ผู้ชื่อเป็นพระโยคาวจร โดยสายธรรม เกิดแต่พระอุระ ของพระธรรม เกิดแต่พระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า มีอริยะสงฆ์เป็นพี่น้อง จงอย่ายอมแพ้ แก่หมู่มาร จงตวาดมาร ให้มารหลีกทางไปเสียเถิด กิจอื่น ยิ่งกว่า การคิดดี ทำดี พูดดี ยังมีอยู่ คือกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นกิจที่ เหมาะสมกับผู้ตื่น แลมองเห็นตามเป็นจริง เหนือเรื่องดี เรื่องชั่ว แล้ว เหนือเรื่อง ทุกข์ เรื่องสุขแล้ว ...."
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



"แค่ลำพัง แบกทุกข์ ตัวเอง และให้ตนเองภาวนา ก็ยากอยู่แล้ว นี่ยังจะไปแกว่งเท้าหาเสี้ยน เพื่อแบกทุกข์ของคนอื่นเข้าไปอีก มันก็ยิ่งหนักไปกันใหญ่ การไปสู่พระ นฤพาน นั้นเกิดจากตัวเรา กระทำความเพียรที่ตัวเรา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้นแหละ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งของเราได้ นี่เป็นเรื่องการออกแรง ต้องใช้ตนเองเป็นที่พึ่ง แต่ถ้าขาดกำลังใจแล้ว ให้ ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นที่พึ่งทางใจเพื่อไม่ให้ใจเคว้งคว้าง ดังนั้นเวลามีแรงกาย ก็ต้องตนเอง เวลาเสริมกำลังใจ ก็ต้อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ความขัดแย้ง นั้นมาจากกิเลส เนื่องด้วยกิเลส พยายามรักษาคำว่า ยศ ลาภ สุข สรรเสริญ ไว้ เมื่อ บุคคลผู้เสพมีความรู้สึกว่า จะเสีย ยศ ลาภ สุข สรรเสริญ เขาย่อมกระทำการทุจริตด้วย กายกรรมบ้าง วจีกรรมบ้าง มโนกรรม บ้าง เพื่อจะรักษา ยศ ลาภ สุข สรรเสริญ ส่วนนั้นไว้ แต่ในทางธรรม พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยะสงฆ์เจ้า ผู้วางแล้วต่อกิเลส ย่อมให้กำลังใจแกผู้ที่เสียกำลังใจเพราะการถูกเบียดเบียนทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเกิดจาก การภาวนา และการเป็นผู้ถือ พระรัตนตรัย เป็นสรณะ แล้ว ด้วย พระดำรัสจากพระพุทธเจ้าว่า ธรรมนั้นแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ดังนั้นฉันเชื่อมั่นว่า ตราบใดที่ฉันยังภาวนาอยู่ แม้จะสิ้นสุดการภาวนาแล้ว ฉันเดินตามทางและปฏิปทาของครูอาจารย์ที่ท่านละกิเลสแล้ว เชื่อว่า ธรรมแหละย่อมรักษาฉัน ด้วยเช่นกัน ถึงแม้วันนี้อาจจะดูลำบากลำบน ด้วย ปัจจัย 4 อยู่บ้าง แต่กำลังใจฉัน ยังอยู่ดี ....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ฉันไม่ได้มีความสำคัญ ต่อโลก ต่อสังคม ต่อบ้านเมือง ต่อวัด ต่อพระศาสนา ต่อใคร หรือต่ออะไรทั้งนั้น และก็จากสามปีที่ผ่านมานี้ และต่อๆไป ฉันไม่เคยคิดว่า ฉันจะไปเปลี่ยนแปลงอะไร ในโลกนี้เลย สิ่งที่ทำด้วยกายขันธ์ในปัจจุบัน แม้มันจะสูญหายไป และไม่มีใครจดจำฉันได้ มันก็ไม่เป็นไร และไม่ได้มีความสำคัญอะไร ต่อใคร ๆ และ ต่อโลกเลย เพราะฉันรู้ดีว่า มันป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่เรียกว่า ปรากฏการ์ณแห่งธาตุ เปรียบดั่งเหมือนสายฟ้าที่แลบบนอากาส ที่เกิดขึ้นอย่างเร็ว และหายไปอย่างเร็ว เช่นนั้น เพราะหากท่านถึงความเป็น ธาตุ แล้วจริง ๆ สิ่งที่ฉันกล่าวนี้ ท่านก็จะเข้าใจกันได้เอง ว่ามันเป็นเพียงปรากฏการณ์ สักว่าธาตุ นั่นเอง...  "


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2016, 03:01:09 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ตาฉันไม่ได้บอด หูฉันไม่ได้หนวก ปัญญาฉันไม่ใช่ไม่มี สติฉันก็ไม่ได้ลืมหลง การภาวนาก็มีอยู่ทุกเวลา การเสวยผลภาวนาก็มีอยู่ทุกเวลา ดังนั้นคนที่ปฏิบัติธรรม ถึงธรรม แท้ ๆ นั้น ฉันย่อมดูออก มองออก และวินิจฉุัยได้ ผู้ปฏิบัติธรรม ได้ดี สมควรแก่ธรรมฉันย่อมอนุโมทนา แก่ผู้ปฏิบัติดี ส่วน ผู้ที่มีปณิธาน พระนิพพานชาตินี้ ฉันก็ขออนุโมทนา .... "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เติมเต็ม บุญ อิ่ม บุญ ให้พร้อม ภาวนา ก็จักสมบูรณ์
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: มกราคม 19, 2016, 01:01:33 am »
0
"รวบรวมความกล้าหาญ ในการเผชิญ กับกิเลสบ้าง อย่ายอมแพ้ ประจุศรัทธา ที่ยังไม่ตั้งมั่นให้มีความตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ทบทวนกรรมฐาน ที่เหมาะสม แก่ฐานะ อย่ามัวแต่มองคนอื่น ขาดสิ่งใดในบารมีก็ให้ทำให้เสริม ให้มั่นคง บางท่านทานไม่เคยทำ ศีลไม่เคยรักษา หรือ ทำก็ทำแต่พอไปที ศีลก็ขาดบ้าง มีบ้าง พร่องบ้าง ถ้าเป็นอย่างนี้ให้ไปเสริม ส่วนนั้นให้เต็มเสีย เต็มอย่างไร เต็มใจทำไงละ ถ้ามันมีความเต็มใจ บารมีก็จะเต็ม แต่ที่นี้ถ้ามันไม่เต็มใจ ก็ต้องขอให้ทุกคนกลับ .... ไปทบทวน เป้าหมายกันใหม่อีกสักครั้ง ว่า ทีท่านกำลังทำอย่างนี้ ต้องการอะไรกันแน่ เป้าหมายนั่นแหละจะทำให้ท่านเต็มใจทำไงละ
      คำว่า เต็ม มาจากคำว่า ปุญญะ หมายถึง ทำให้เต็ม และอิ่ม เต็มก็คือ เต็มใจ อิ่มก็คือ อิ่มใจ ....."




ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"สายธาร แห่งสายน้ำ ที่ไหลผ่าน จากบนสู่ ล่าง จากสูง สู่ ต่ำ จากภูเขาสู่ มหาสมุทร  , เวลา ที่เคลื่อนคล้อย จากวัน เป็นคืน จากคืน เป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี ก็ไม่เคยหยุดนิ่งเพื่อรอใคร ผู้ภาวนาไม่พึงประมาท ต่อชีวิตที่ มันไหลลงไปสู่ความตาย ทุกวินาที ชีวิตของผู้ภาวนา ผู้ปรารถนา พระนฤพาน ในปัจจุบันชาติ ย่อมไม่ควรตั้งนิ่ง หยุดอยู่ ด้วยความประมาท ว่า พรุ่งนี้ค่อยภาวนา มะรืนนี้ ค่อยภาวนา สัปดาห์ต่อไป ค่อยภาวนา เพราะการผลัดอย่างนี้เป็นวิสัยของคนประมาท พระพุทธองค์ ทรงตรัสกับภิกษุไว้ใน บรรพชิตปัจจเวกขณ์ ข้อแรกเลย ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ เป็นคำถาม แต่คำตอบไม่ต้องตอบ เพียงแต่ผู้ถูกถาม เรียก สติ คืนกลับมา และ ดำเนินตามมรรค ด้วยความไม่ประมาท ก็ใช้ได้แล้ว

ดังนั้นท่านทั้งหลาย ที่เห็นว่า สังสารวัฏนี้มีแต่ความทุกข์ มีเป้าหมายในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แล้ว ก็อย่ามัวหลับใหลประมาท จงกระทำความเพียร ที่สมควรโดยเริ่มจาก
    1. ทบทวนเป้าหมาย ว่า ต้องการอะไร ในการภาวนา
        ถ้าต้องการเพียงสุขไปวัน ๆ ก็ไม่ต้องภาวนาก็ได้
        ถ้าต้องการ ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระ นี้อีกต่อไป ให้มุ่งไปที่ มรรค มีองค์ 8
    2. ทบทวนความรู้ดั้งเดิม ที่มีติดตัวอยู่ว่า เข้าใจในแก่นสารธรรม ขนาดไหน
         ถ้ามียังน้อยให้รีบขวนขวาย สุตตะ และ กัลยาณมิตร
    3.ทบทวนศีลของตนเอง ว่างดงามตาม อริยะมรรค หรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้แก้ข้อบกพร่อง เสีย
    4.ทบทวนกรรมฐาน โดยเฉพาะกรรมฐาน ของพระพุทธสาวกในชาติปัจจุบัน ควรจะเริ่มจากพุทธานุสสติ
    5.หมั่นสอบกรรมฐาน จากกัลยาณมิตร อย่าทำตัวเป็นผู้ปากหนัก เพราะถ้ากัลยาณมิตร ไม่อยู่แล้ว ไปปราศแล้ว เราจะเคว้งคว้าง มากกว่า เดิม
    8. ควรสร้างบารมีให้ยิ่งขึ้น ตามบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
    9. ควรตั้งสัจจะอธิษฐาน บารมีทุกวัน
    10. ควรว่าพระคาถา ต่ออายุไว้สม่ำเสมอ ถึงแม้จะไม่มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดกรรมตัดรอนก็ไม่ควรประมาทสำหรับผู้ที่ต้องการสิ้นเชื้อ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบการเวียนว่ายตายเกิด

    10 ประการขอฝากท่านทั้้งหลายที่ ปรารถนา ในพระนฤพาน ในชาติปัจจุบัน ควรต้องรีบทบทวน ไว้อย่าประมาท

 "


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 23, 2018, 03:06:03 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
คุณพร้อมหรือยัง ?
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: มกราคม 19, 2016, 06:26:48 pm »
0



"บางคน มีความรู้ทางธรรมมาก่อน วิชากรรมฐานมีมาก่อน บางท่านก็วิปัสสนามาก่อน มีครู มีอาจารย์ มากมายสอนทั้งที่มีืชื่อเสียงระดับประเทศ และ มีชื่อเสียงระดับจังหวัด หลายท่านเหล่านี้ ต้องใช้เวลาเตรียมการในการที่จะรับการฝึก โดยให้ฝึกขึ้นพื้นฐานไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน ต้องให้ธรรมะเพื่อให้เพลาการใช้ ความคิดทางธรรมให้น้อยลง เนื่องด้วยสังขตที่ออกแนววิปัสสนานั้น เป็นความฟุ้งซ่าน เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ดับกิเลสได้จริง ไม่ต่างอะไรกับคำว่า สมาธิหินทับหญ้า ดูแล้ว พอ ๆ กัน บางท่านเป็นนักเทศน์ นักสอน มาเรียนด้วย มีการใช้โวหาร ที่หลากหลาย แต่ไม่มีสมาธิ ในขั้นอุปจาระสมาธิ เลย ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะถูกสอนในขั้นพื้นฐาน เพื่อเตรียม บางท่านถูกเตรียมไว้ ถึง 15 ปีแล้วก็มี แต่เป็นเพราะทำบ้างไม่ทำบ้าง ไม่ยอมบ้าง ก็ต้องรอ ปกติเวลาฉันสอบ ก็จะใช้โวหารสอบถามก่อน และค่อนใช้สมาธิเข้าไปสอบ โดยที่ท่านไม่รู้ว่าฉันกำลังสอบพวกท่าน พวกเขาอยู่ ถ้ายังไม่อธิบาย กรรมฐาน 3 ส่วน ให้รับทราบ ก็แสดงว่ายังสอบไม่ผ่าน แต่ถ้าผู้ใด ได้รับฟัง เรื่องกรรมฐาน 3 ส่วนแล้ว แสดงว่ามีภูมิจิตที่จะปฏิบัติต่อไปได้แล้ว นั่นเอง....."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"สี่ตีนยัง รู้ พลาด
นักปราชญ์ยัง รู้ พลั้ง
ผู้ภาวนายัง รู้ เผลอ
นักเดินทางยัง รู้ หลง
ดังนั้นคำว่า รู้ บางครั้ง มาจากข้อผิดพลาด พลั้งเผลอและประสบการณ์ ยิ่งเป็นผู้ภาวนา ปรารถนาพระนิพพานในชาตินี้ดวย ก็ต้องพิจารณา ประสบการณ์ที่ผิดพลาดพลั้งเผลอ ทั้งหมดนั้นด้วยการวิเคาระห์ อย่างแยบยล ว่าเพราะอะไร เหตุอะไร ทำไม ขาดอะไร ไม่ใช่อาศัยความถึก บุกอย่างเดียว ต้องใช้ วิจารณญาณ ลงไปด้วย ภาวนาบางครั้ง ก็กล้าเกินไป จิตแกร่งเป็น ปัคคาหะ เพียรจัด หย่อนเกินไป ก็เป็น ญาณัง รู้มาก พาลขี้เกียจ ดังนั้นอุปกิเลส คือ นิวรณ์ตัวน้อย ของผู้มีภาวนานั้น พึงต้องศึกษาให้ดี ๆ พยายามลำดับไล่กลับไป กลับมา ว่าตัวไหนมันคั่งค้างอยู่ จึงทำให้ไม่ก้าวหน้า บางคนโกรธพ่อ โกรธแม่ โกรธแฟนแล้วมานั่งภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ ไป มันไม่ก้าวหน้า เพราะว่าถูก พยาบาท และ โกธะ อุปนาหะ มักขะ สาเถยยะ มทะ อติมานะ ถัมภะ มายา ปลาสะ ปมาทะ ครอบงำไว้ เห็นไหม แค่เรื่องนิดเดียว ทำไม่ได้แล้ว ต้องไปแก้ตรงต้นเหตุก่อน ดังนั้น ต้องวิจารณญาณ ลงไปด้วย หลังจากภาวนาเสร็จสิ้นควรบันทึกไว้ว่า ทำอย่างไรที่ผ่านมา ผลเป็นอย่างไร อย่างนี้เรียกว่า ทวนกรรรมฐาน ถ้าได้ผลดีแล้ว ก็บันทึกไว้ ก็เรียกว่า ทบทวนกรรมฐาน...."




ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ที่สุดสองอย่าง อัน บรรพชิต ( ผู้ภาวนา ) ไม่ควรเสพ
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: มกราคม 22, 2016, 01:17:13 pm »
0



" ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )
เมื่อเราระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ พึงทำสติให้ตั้งมั่น และน้อมใจไปในธรรม อันเป็นธรรมที่งามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ก็ธรรมอันเป็นธรรมอันงามในเบื้องต้น เป็นอย่างไรเล่า
การที่บุคคลไม่เข้าไปใกล้ ไปเสพธรรมสองอย่างอันเป็นส่วนสุด มีการเสพการคุณเป็นที่สุดประการหนึ่ง และการทรมานกายตนเพื่อคุณธรรมอันพิเศษ บุคคลเป็นประการที่สอง เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอน ของพระพุทธองค์แล้ว พึงเว้นการกระทำอันเข้าไปใกล้เหตุสองประการ อันนี้ชื่อว่าบุคคลประกอบแล้วด้วยธรรมอันงามในเบื้องต้น
การที่บุคคคลตั้งมั่นในศีล เว้นขาดจากเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นผู้ไม่กระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้กระทำนิวรณ์ทั้งห้า ให้สงบระงับ เสวยอยู่ซึ่งสุขอันเกิดแต่กุศล ที่เว้นขาดจาก กายทุจริต วจีทุจริต มีใจผ่องใสในภายใน มีวิตก วิจาร ปีติ และ สุข เอกัคคตา อันเกิดขึ้นแล้ว เป็นขณะเป็นช่วง ถึงแม้ไม่ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ก็ชื่อว่า เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมอันงามในท่ามกลาง แล้วนั่นเอง
การที่บุคคลตั้งมั่นในจิต มีธรรมผ่องใสในภายใน มีสุขอันเกิดแต่ความสงัดขจัดแล้วซึ่งมลทินอันเป็นข้าศึก ถึงพร้อมแล้วด้วยผลแห่ง พระโสดาบัน ผลแห่ง พระสกทาคามี ผลแห่ง พระอนาคามี ผลแห่ง อรหันต์ เป็นผู้ชื่อว่าไม่กลับมาแล้ว มีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ก็ชื่อว่า เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมอันงามในที่สุด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าแล้ว นั่นเอง
ธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมเกิด เพราะอาศัย ซึ่งธรรมจักษุ ญาณเพื่อรู้ย่อมมีเหตุมาจากธรรมจักษุ การเข้าไปสงบระงับกิเลส ย่อมอาศัย ญาณเพื่อรู้ ญาณเพื่อความรู้ยิ่ง ย่อมอาศัยซึ่งการเข้าไปสงบระงับ แม้ความรู้ดีเพื่อความดับกิเลส ย่อมอาศัย ญาณเพื่อความรู้ยิ่งนั่นเอง
ธรรมสภาวะ ในทางสายกลาง ย่อมเกิดไปตามลำดับ ย่อมเป็นไปตามลำดับ ย่อมแจ้งไปตามลำดับ นั่นเอง ......"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดืนทาง ของธัมมะวังโส



ภาพจากสมุดบันทึก มีวันหนึ่ง ฉันได้เปิดน้ำใช้ และแรงดันของน้ำวันนั้น มันเบามาก ก็เลยต่อสายแล้วเอาถังไปรอง ขณะที่ต่อสายขณะนั้น ก็จำเป็นเพราะว่า อุปกรณ์ที่ต่อมันกระท่อนกระแท่น หาไม่ได้ จึงได้ต่อน้ำไปหลายระดับ และเห็นหลายระดับ ถึงกระทั่งแม้ต่อน้ำไม่ทันใช้ น้ำหมดก่อน ตามภาพ

ขณะนั้น จิตก็รับเรื่องนี้เข้ามาป้วนเปี้ยนในสมาธิ ตัวสมาธิ ก็เลยจัดการเป็นภาพนิมิตร ขึ้นมา แต่กลับเป็นว่า ไม่ได้วิธีแก้ไขให้น้าเพิ่มหรือน้ำน้อย จิตกับไปเห็นเรื่องราวที่น้ำกระเพื่อม กระเด็นตามแรงไหล จนจิตไปเห็นธรรม ฉากหนึ่ง อย่างยาวนาน ออกจากสมาธิคราวนั้นมา ประมาณ 14 ชม. เห็นอะไร คงบอกพวกท่านไม่ได้

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

( อันที่จริงบอกได้ แต่วินัยกั้นไว้ ไม่ให้บอก นับว่า ธรรมบางอย่างไม่ถูกถ่ายทอด เพราะวินัยสงฆ์ ห้ามไว้ อย่างนั้นหรือ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2016, 02:23:38 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เกศา คือ ผม เป็นเพียงดั่งธาตุดิน
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: มกราคม 23, 2016, 10:20:33 am »
0


"การปลงผม เป็นสิ่งที่บรรพชิต ในสายพุทธ นั้นได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล การปลงผม จึงเป็นการแสดงเจตนาในการละโลกีย์วิสัย ดังนั้น ธาตุกรรมฐาน แรกที่ปรากฏในการภาวนาของผู้ภาวนาบทแรกบริกรรมว่า เกศา จึงเป็นบทต้นใน ตจปัญจกะกรรมฐาน ผู้ที่สำเร็จธรรม เนื่องด้วยการกำหนดเส้นผมนั้น มีมาก ดั่งพระสีวลี ผู้เลิศด้วยลาภสักการะ นั้นเป็นต้น มีพระภิกษุ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระขีณาสพอีกหลายรูปด้วยการกำหนด กายคตาสติ บทนี้ ดังนั้นท่านทั้งหลาย อย่าได้ประมาท แม้บริกรรมสั้น ๆ เห็นว่าง่าย ๆ แต่ ถ้าท่านกำหนดได้ แม้เพียงฐานที่หนึ่ง ว่า เกศา เกศา เกศา อย่างนี้เป็นต้น การเห็นธรรมก็จักปรากฏได้ ตามการสั่งสมไว้ซึ่งบารมีของตัวท่านเอง ใครจะเห็นมาก เห็นน้อย เห็นขาดก็อยู่ที่การบ่มอบรมบารมี มาให้งาม ด้วยตนเอง ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย กำหนด เกศา เกศา เกศา ลงในฐานใจของท่านกันบ้าง จะได้เห็นความจริง และได้คลายความยึดมั่นถือมั่นต่อกายนี้กันลงบ้าง ใจจะได้ผ่องใส เพราะละความถือมั่นในกายได้...."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ตัณหา เป็นเครื่องลวง LOve story
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: มกราคม 23, 2016, 11:09:27 am »
0


"อันที่จริง ทุกคนย่อมรู้สาเหตุ จริง ๆ ว่า เป็นเพราะ ตัณหา ความอยากมี ความอยากเป็น ความไม่อยากมี ความไม่อยากเป็น เป็นเครื่องร้อยรัด ใจ ให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร ปถุชชน แต่เมื่อตัณหา เกิดขึ้นแล้ว หลาย ๆ ท่านไม่สามารถหักห้าม ตัณหานั้นไว้ได้ เพราะไม่เคยฝึกการหักห้าม สำหรับพระโยคาวจร ย่อมชินต่อการฝึกห้ามตัณหา ด้วยการรั้งสติ เพิ่มสัมปชัญญะ จึงทำให้ตํณหานั้นดับลงบ้าง คลายบ้างตามกำลังของสติ ที่หน่วงไว้ได้ สำหรับพระอริยะบุคคล คือพระอรหันต์ ย่อมประหารตัณหานั้น ตัณหาย่อมไ่ม่เกิด ขึ้นอีก ไม่กำเริบอีก อย่างไรจึงประหารตัณหาได้ การรู้เห้นตามความเป็นจริง ว่าตัณหาเป็นทุกข์ เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ เป็นมรรค และเป็นนิโรธ นั่นแหละ เป็นหนทางดับเสียซึ่งตัณหา

( ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
  เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒ 
  ความดับผัสสะเป็นส่วนท่ามกลางตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด  เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ  เหตุเกิดผัสสะ  และความดับผัสสะนั้นไว้เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า
        ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
        กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
       เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง  กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
       ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ).......

"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2016, 11:10:58 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ธรรมสองส่วน
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: มกราคม 24, 2016, 01:37:37 pm »
0


  "ไม่มีสภาวะธรรมใดไม่มีคู่ แม้สภาวะ ที่เรียกว่า นิพพาน ก็มีสองประการเช่นกัน คือ นิพพาน กับ ไม่นิพพาน มันเป็นสิ่งสมดุลย์  ดังนั้น จึงไม่มีใครมีแต่ทุกข์อยู่อย่างเดียว หรือ สุขอยู่อย่างเดียว แต่ จะมีทุกข์ หรือ สุข สลับกันไปมา อย่างนี้ บัณฑิตผู้ฉลาด ย่อมเตรียมใจและฝึกฝนใจกายของตนเอง เพื่อตั้งรับ และยอมรับในสภาวะที่แปรปรวน อย่างนั้น ไม่ว่า จะสุข หรือ จะทุกข์ ก็จะกำหนดทันได้ว่า มันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น ทุกข์ก็ตาม สุขก็ตาม ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอย ๆ มันมีเหตุปัจจัย มาจากกรรมที่เราได้กระทำไว้ ทั้งอดีต และปัจจุบัน ดังนั้นไม่ว่าผล มันจะออกมาอย่างไร ก็จงรับทราบไว้ว่า ผลนั้นเกิดจากกรรมของเรา ที่ได้กระทำไว้กอน หรือ ในปัจจุบัน บัณฑิตผู้ฉลาด จึงพยายามที่จะสร้างกรรมที่ส่งผลในปัจจุบัน เพื่อดักกรรมในส่วนอดีต ไม่ให้มีผลกระทบในปัจจุบัน เพราะเราผู้เป็นเจ้าของแห่งกรรมไม่สามารถ รู้ได้ว่า กรรมดี อันเป็นผลดี กรรมชั่ว อันเป็นผลชั่ว จะมาตอบสนองเราตอนไหนนั่นเอง ตราบใด ที่ยังมีชีวิตโลดแล่น เวียนไปในสังสัารวัฏ ธรรมส่วนสอง สภาวะสองส่วนนี้ ก็จะมีติดตามเราไปทุกที่ ทุกกำเนิด นั่นเอง.... "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ