ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครพอเข้าใจ อธิบาย เรื่อง โยคะ ทั้ง 8 บ้างคะ  (อ่าน 4333 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไปฟังมาว่า

 ยมะ นิยมะ อาสนะ ปราณายามะ ปริตรยาหาระ ธารณา ธยานะ และสมาธิ เป็นเหมือนซี่ล้อ
ไม่ว่าจะฝึกวิธีไหนก็เข้าถึงโยคะได้

 แต่ละอย่างคืออะไร เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หรือ ไม่ เพราะเห็นมาพูดสอนกันในวัด นะคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครพอเข้าใจ อธิบาย เรื่อง โยคะ ทั้ง 8 บ้างคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 06:06:34 am »
0


หัวใจแห่งโยคะ

การฝึกโยคะของแต่ละคนก็คงจะมีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป แต่เราเคยทราบถึงเป้าหมายที่แท้จริงของโยคะกันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หากทุกท่านได้อ่านบทความในหัวข้อโยคะ คืออะไรไปแล้ว ก็คงจะพอทราบถึงที่มาที่ไปของโยคะประมาณหนึ่ง ในบทความนี้ผมต้องการที่จะนำผู้อ่านเข้าไป ให้ลึกซึ้งมากขึ้นกว่าเดิมอีกสักนิดหนึ่ง
     หนังสือที่มีบทบาทสำคัญที่สุดของการฝึกโยคะมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้
     คงต้องยกให้ "โยคะสูตร ของท่าน ปตัญจลี" ท่านได้เรียบเรียง นิยามต่างๆของการฝึกโยคะ
     ทิ้งไว้ให้พวกเรารุ่นหลังได้ตีความโยคะสูตรของท่านไปในแนวทางต่างๆมากมาย


จริงๆแล้ว ปตัญจลีโยคะสูตร เป็นเพียงตำรา เล่มเล็กๆบางๆ เป็นการบันทึกนิยามสั้นๆเกี่ยวกับการฝึกโยคะด้วยภาษาสันสกฤต ซึ่งได้ถูกเรียบเรียงโดยท่านปตัญจลี เราสามารหาอ่านปตัญชลีโยคะสูตรภาคภาษาไทยได้จากหนังสือ หัวใจแห่งโยคะ ท่วงท่าและมรรคาแห่งโยคะ ที่แปลโดย อาจารย์ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์ กูรูทางด้านโยคะและอยุรเวทอีกท่านหนึ่งของเมืองไทย ที่ผมก็คอยติดตามผลงานของท่านเป็นประจำ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา ในนิตยสารโยคะเจอร์นอลภาคภาษาไทย

จากการที่ผมได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่ากับผู้เรียนและผู้ฝึกโยคะมากๆเล่มดังกล่าว เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ตอนวางจำหน่ายครั้งแรกๆ ประกอบกับการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองบ้าง ก็พอจะสรุปใจความสำคัญหลักๆได้ว่า ทุกคนที่เรียนเกี่ยวกับโยคะหรือกำลังฝึกโยคะอยู่ในขณะนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องทราบถึง มรรค 8 แห่งโยคะ ในมรรค 8 แห่งโยคะคือสาระสำคัญทั้งหลายทั้งปวงของการฝึกโยคะ จึงคิดว่าควรจะนำเรื่องของมรรค 8 แห่งโยคะมาเผยแพร่ให้ทุกๆท่านได้ทราบโดยทั่วกัน

อัษฎางค์โยคะ หรือพอจะแปลเป็นภาษาเป็นทางการแบบบ้านเราได้ว่า มรรค 8 ของโยคะ
(ซึ่งชื่อนี้อาจจะไปตรงกับชื่อสไตล์การฝึกโยคะแบบ อัษฎางค วินยาสะโยคะ ที่สอนโดยท่า ศรี เค ปฐภี โชอิส)

    ผู้สนใจโยคะเบื้องต้น มักเข้าใจว่า การฝึกทำอาสนะ คือ ทั้งหมดของการฝึกทำโยคะ!
    ในความเป็นจริง โยคะประกอบด้วยขั้นตอน 8 ประการ ที่เอื้อซึ่งกันและกัน

    ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโยคะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เรียนรู้ ทำความเข้าใจ
    และฝึกองค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ ควบคู่กันไป
    เราสามารถเปรียบอัษฎางค์โยคะกับกงล้อ 8 ซี่ของวงล้อ
    ล้อที่ประกอบด้วยกงที่สมบูรณ์เท่านั้น ที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายได้


ภาพสัญลักษณ์แทน ท่านมหาโยคี ปตัญชลี

1. ยะมะ หรือ Moral discipline (Yama)
คือ ศีลธรรมและจริยธรรม ที่จะช่วยให้คนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข เป็นสังคมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกันซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
  - การไม่ฆ่าฟันหรือทำร้ายผู้อื่น ต้องให้ความรักผู้อื่น
  - ต้องรักษาความสัตย์ คิดและพูดสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์
  - ไม่โลภ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้ หรืออยากมีเกินความเป็นจริง
  - ทำงาน หรือทำหน้าที่ของตัวเอง ให้เต็มความสามารถ ฝึกจิตของตัวเอง ให้ควบคุมตัวเองในเรื่องของการคิด การพูดและการทำ
  - ไม่สะสมสิ่งที่มีเกินความจำเป็น ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น


2. นิยะมะ Self-restraint (Niyama) หรือความมีวิถีแห่งตนได้แก่
  - การรักษาร่างกายให้สะอาดด้วยการอาบน้ำ การรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกโยคะ และฝึกลมปราณ
  - ฝึกตนเองให้พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ จิตใจที่ไม่รู้จักพอจะขาดพลังจิต ขาดทิศทางและยากที่จะสงบลงได้
  - ความเพียรพยายามในการควบคุมกาย วาจาและใจให้ทำในสิ่งที่ดีๆ
  - ศึกษาเกี่ยวกับธรรมและตนเอง เพื่อที่จะหาทางแกไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม
  - ฝึกปฏิบัติให้ลดความโลภ โกรธ หลง


3. อาสนะ Posture (Asana)
หมายถึง ท่าในการฝึกโยคะ เป็นท่าสำหรับการบริหารร่างกาย ฝึกยืดกล้ามเนื้อกระตุ้นให้การทำงานประสาทและต่อมต่างๆ


4. ปราณายะมะ Breath control (Pranayama)
เป็นการฝึกกำหนดลมหายใจโดยเป็นการฝึกการหายใจเข้า การหายใจออก และการกลั้นหายใจ


5. ปรายาหาระ Sensory inhibition (Pratyahara)
หมายถึงการควบคุมความรู้สึกต่าง รู้สึกอยากได้ รู้สึกโกรธ เมื่อจิตใจไม่ติดยึดกับวัตถุหรืออารมณ์ ก็ทำให้จิตใจผู้นั้นบริสุทธิ์และมีพลังงานในการคิดหรือทำดี


6. ธารนะ Concentration (Dharana)
คือความมีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กระทำอยู่ เมื่อกายอยู่ในท่าโยคะ ให้จิตใจสนใจแต่เรื่องลมหายใจ ไม่คิดเรื่องอื่น


7. ธยานะ Meditation (Dhyana)
คือการที่จิตใจที่เพ่งอย่างต่อเนื่องจนเกิดสมาธิ ไม่ว่าจะเปลี่ยนท่าโยคะไปท่าใดผู้ฝึกก็ยังมีจิตใจไม่วอกแวก หากฝึกถึงขั้นนี้ร่างกายจะรู้สึกเบาสบาย มั่นคง จิตใจแจ่มใส

8. สมาธิหรือฌาณ Ecstasy (Samadhi)
เป็นเป้าหมายสูงสุดของการฝึกโยคะ ทางพุทธเรียกฌาณ ร่างกายจิตใจอยู่ในสภาวะพัก มีความสงบนิ่งสมดุล ผู้ฝึกจะมีสติและรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายของการฝึกโยคะ Raja-Yoga คือการปลดปล่อยตัวเองจากโลภ โกรธ หลงและมีสมาธิ


ขอบคุณภาพจาก http://www.doctor.or.th/article/detail/4596

ผมคิดว่าอันนี้คงช่วยให้เราหายสงสัย ว่าที่แท้จริงแล้วทำไมหลายๆคนจึงหันมาฝึกโยคะกัน แล้วก็จะได้เข้าใจว่าการฝึกโยคะไม่ใช่แค่การทำตัวอ่อนท่าสวยแบบไร้สติ เราหลายๆคนรวมทั้งผมด้วย คงยังไปไม่ถึงข้อที่7-8 ของมรรค 8 แห่งโยคะหรอก (หากไปถึงขั้นนั้นได้  ป่านนี้คงไปบวชกันหมดแล้วครับ...พี่...น้อง...)

อย่างไรก็ตามแต่ หากเราฝึกโยคะอย่างมีสติตามแนวทางแห่งโยคะที่แท้จริง เราจะรู้จักกับตัวเราเองมากยิ่งขึ้น เราก็คงจะได้พบกับสมดุลย์ของชีวิตเราเอง ไม่นำพาเราไปสู่การบาดเจ็บจากการฝึกโยคะ และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างกลมกลืนและมีความสุข

ขอมรรค 8 แห่งโยคะจงอยู่ในใจของผู้ฝึกโยคะทุกๆคนตลอดไป เทอญ
นมัสเต, จิมมี่โยคะ

อ้างอิง
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก สถาบันโยคะวิชาการ http://www.thaiyogainstitute.com/
http://jimmyhathavinyasayoga.blogspot.com/2009/12/blog-post_31.html
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 06:08:16 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครพอเข้าใจ อธิบาย เรื่อง โยคะ ทั้ง 8 บ้างคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 06:54:31 am »
0
ไปฟังมาว่า

 ยมะ นิยมะ อาสนะ ปราณายามะ ปริตรยาหาระ ธารณา ธยานะ และสมาธิ เป็นเหมือนซี่ล้อ
ไม่ว่าจะฝึกวิธีไหนก็เข้าถึงโยคะได้

 แต่ละอย่างคืออะไร เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หรือ ไม่ เพราะเห็นมาพูดสอนกันในวัด นะคะ

  :c017:

      ans1 ans1 ans1

     ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะบำเพ็ญทุกรกิริยา ขณะนั้นยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆรวม ๑๘ วิชา หนึ่งในแปดนั้น คือ สมาธิศาสตร์ และถ้าผมจำไม่ผิด ในนิทรรศการพระไตรปิฎกจากนอรเวย์ที่พุทธมณฑล ได้ระบุว่า ท่านเรียนวิชาโยคะด้วย แต่ที่แน่ๆท่านเรียนสมาบัติ ๘ จากอาฬารดาบสและอุทกดาบส

     ลองคิดดู ขณะที่ท่านบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านใช้วิชาอะไร
     หากเป็นคนธรรมดา ทรมานตัวเองอยู่ตั้ง ๖ ปีแบบนั้น ต้องตายแน่นอน
     ผู้รู้กล่าวว่า ท่านต้องใช้วิชาโยคะ กับสมาบัติ ๘

     
     อย่างไรก็ตาม พุทธฝ่ายมหายานจะนิยมฝึกปราณ ส่วนเถรวาทนิยมฝึกพลังจิต
     รายละเอียดเรื่องนี้ ขอไม่นำเสนอ ด้วยปัญญายังไปไม่ถึง
     ขอให้คุณรัชนี อ่านบทความเอาเองนะครับ ผมจะไม่อธิบายอะไร

      :25:
     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ