ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามจากเมล "อานาปานสติเกี่ยวข้องกับกรรมฐาน มัชฌิมา อย่างไร"  (อ่าน 2653 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม อานาปานสติเกี่ยวข้องกับกรรมฐาน มัชฌิมา อย่างไร

ตอบ เฉพาะในส่วนภาวนเท่านั้น ในส่วนตำนานยังไม่ขอกล่าวนะ

ความเกี่ยวเนื่องกันมีดังนี้

[๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว ตามลำดับ   ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว   ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวเหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น

ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ
ลมปัสสาสะชื่ออปานะไม่ใช่ลมอัสสาสะ
สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสะ ปัสสาสะ
ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจออกและผู้หายใจเข้า ฯ

การเข้าถึงสภาวะในพระกรรมฐาน อานาปานสติ เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมฐานในห้องที่สี่ คือผู้ฝึกภาวนามาสำเร็จ
ในส่วนพระพุทธานุสสติ แนบแน่น มีพระสุขสมาธิ เป็นอารมณ์แล้ว หมายถึงมี กายแห่งพุทธะ เข้าอยู่ในใจตลอด
จึงทำให้พระสุขสมาธิ มีกำลังเป็นอุปจาระสมาธิ แต่ อุคคหนิมิต ไม่เพียงพอในอัปปนาจิต ในพระกรรมฐาน
นั้น พระอานาปานสติ เป็นกรรมฐานมีกำลัง ถึงอัปปนาจิต เป็นบาทฐาน แห่งวิปัสสนา และกรรมฐานอื่น ๆ ด้วย

ดังนั้นผู้ฝึกจึงต้องฝึกไปตามลำดับ  อบรมไปตามลำดับ เพราะหากฝึกข้ามขั้นตอนก็ทำให้เกิดความสับสนได้
เนื่องด้วยอานาปานสตินั้น เป็น มหาสติปัฏฐาน ด้วย

สิ่งสำคัญ ก็คือ ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ เข้าเป็นชีวิต  ลมปัสสาสะชื่ออปานะ ออกไม่เป็นชีวิต

มีชีวิต กับ ไม่มีชีวิต เป็นของคู่กัน เป็นธรรมคู่กัน เป็นธรรมที่ไม่ปราศจาก จากกัน

สติเข้าไปปรากฏ ตั้งมั่นอยู่ ทั้งมีชีวิต และ ไม่มีชีวิต ลมอัสสาสะปรากฏ ลมปัสสาสะปรากฏ ย่อมปรากฏด้วยชีวิต

เพราะถ้าไม่มีชีวิต ก็ไม่มีทั้งลมอัสสาสะ และ ลมปัสสาสะ

ในมหาสติปัฏฐาน จึงกล่าวเรื่อง อานาปานบรรพะ เป็นเรื่องแรกเลย เพราะเหตุนี้

ดังนั้นกล่าวได้ว่าผู้ฝึกอานาปานสติ ไม่หลงทำกาละ ไม่ทำอัตตวินิบาตกรรม เพราะเข้าถึงแก่นแห่งชีวิตคือลม
ตราบใดที่มีลมอัสสาสะ และ ลมปัสสาสะ ตราบนั้นยังมีโอกาสในการพ้นจากสังสารวัฏ

เจริญธรรม
 ;)





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 10:20:07 am โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ