ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: QA "ในกรรมฐาน มีการกำหนด ธาตุ อย่างไร และจะปฏิบัติอย่างไร ครับ"  (อ่าน 3424 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ


ปุจฉา
     ??  QA "ได้ยินมาว่า การภาวนากรรมฐานให้ได้ผล ต้องมีการกำหนดธาตุให้เป็น เวลาพระเข้าบวชก็ต้องเรียนกรรมฐาน กำนดธาตุให้ได้เป็นพื้นฐาน จึงอยากรู้ว่าในกรรมฐาน มีการกำหนด ธาตุ อย่างไร และจะปฏิบัติอย่างไร กับ ธาตุ ครับ" 


วิสัชชนา

    <?<?<? ยังไม่ได้ตอบ รอให้ สมาชิกธรรม ร่วมตอบกันก่อน


 ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ขอให้พึงพิจารณา ในมหาราหุโลวาทสูตรกันก่อนนะ

ส่วนบุคคลทั่วไป ก็ให้ตามพิจารณาธาตุ ดังนี้

  1.สัณฐาน
  2.ที่ตั้ง
  3.วรรณะ
  4.ความเป็นปฏิกูล
  5.ความเป็นสักว่าธาตุ

 เจริญธรรม
  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากได้คำอธิบาย มากกว่านี้ ครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไปหาอ่านใน "มหาราหุโลวาทสูตร"เป็น เรื่องพุทธโอวาท แก่พระราหุล พุทธชิโนรส อยู่ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์-หน้า ๑๑๑-๑๑๖
          พระราหุล เป็นองค์ต้นกําเนิด กรรมฐานมัชฌิมา แบบลําดับ ท่านเป็นผู้ไฝ่ในการศึกษา  ท่านมีไม้เท้าอยู่อัน1 ที่สืบทอด มากับ ครูบาอาจารย์กรรมฐาน มัชฌิมา รุ่นต่อรุ่นๆ
         ปัจจุบัน อยู่ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ถ้าไปก็ได้กราบ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ท่านเป็นต้นปรมาจารย์ ยุครัตนโกสินทร์ ใครจะไปอธิฐาน ก็นับว่าเป็นมงคลยิ่ง
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีการกำหนดธาตุ ที่ห้องพระธรรมปีติ ห้อพระยุคลธรรม ห้องพระสุขสมาธิ

เข้าธาตุ พระพุทธคุณ ซึ่งแบ่งตาม ธาตุนั้น

  เมื่อเข้าถึงธาตุ ได้ ก็จะเข้าถึง พระลักษณะ และ พระรัศมี

 ----------------------------------------------------------------

การเข้าถึงธาต แบบทำใจ ส่วนวิปัสสนา

เจริญตาม แนวที่พระพุทธเจ้า ถ่ายทอดให้แก่ พุทธชิโนรส คือ พระมหาเถรเจ้าอริยะราหุลพุทธชิโนรส

สาระเบื้องต้น ในมหาราหุโรวาทสูตรhttp://www.madchima.org/forum/index.php?topic=708.0
ธาตุ ๕
      [๑๓๕] ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตนเป็นของหยาบ
 มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
 เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
 อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ
 มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าปฐวีธาตุเป็นภายใน. ก็ปฐวีธาตุ
 เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน. ปฐวีธาตุนั้น
 เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
 ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ.
      [๑๓๖] ดูกรราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? อาโปธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
 น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป
 มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน. ก็อาโปธาตุ
 เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุเหมือนกัน. อาโปธาตุนั้น
 เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
 ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
      [๑๓๗] ดูกรราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? เตโชธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกาย
 ให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือ
 สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายในอาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้า
 ไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
 อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน. เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
 จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็น
 เตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ จิตย่อม
 คลายกำหนัดในเตโชธาตุ.
      [๑๓๘] ดูกรราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน? วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้
 ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าวาโยธาตุเป็นภายใน. ก็
 วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุเหมือนกัน. วาโยธาตุ
 นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
 ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
      [๑๓๙] ดูกรราหุล ก็อากาสธาตุเป็นไฉน? อากาสธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก
 ก็มี. อากาสธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตนเป็นอากาศ มีลักษณะว่าง
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน
 ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง
 หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
 ไม่ทึบเป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน อันกรรมและกิเลส
 เข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาสธาตุ เป็นภายใน. ก็อากาสธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
 อันใด อากาสธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุเหมือนกัน. อากาสธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
 ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคล
 เห็นอากาสธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ จิต
 ย่อมคลายกำหนัดในอากาสธาตุ.

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕
      [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อ
 เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จัก
 ไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
 มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือ
 เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอ
 เจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
 ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอ
 ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล
 เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
 น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด
 เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะ
 อันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
 ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลาย
 บ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอ
 จงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็น
 ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอ
 ได้ ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
 มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้น
 ก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วย
 ลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
 ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ
 ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
 ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.



http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=290.0


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ