ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ  (อ่าน 9120 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 10:02:36 pm »
0
                          ๗. สมาธิสูตร
         [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ  เจริญสมาธิหา
ประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง
ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉนคือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุข
ในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑ สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑ สมาธินี้อันคน
เลวเสพไม่ได้ ๑สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรม
เอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร ๑
 ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญา
รักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ
เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ฯ
                           จบสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต - หน้าที่ 23
                          ๘. อังคิกสูตร
         [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อัน
ประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
อันประเสริฐเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลง
ในภาชนะสำริดแล้ว พรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่
กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐข้อที่ ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขที่เกิด
แต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
 ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบ
เหมือนห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก
ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้วจะพึงทำ
ห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้น
ทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒
     
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ  เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกาย
ของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในกออุบล
กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ
ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยง  ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น
ตลอดยอด ตลอดเง่าไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน
ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่าน
ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๓

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข  ไม่มีทุกข์
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่ว
ทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง
คลุมตัวตลอดศรีษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่
ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่
มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๔

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญ
ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญาเปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น
 คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอนฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี
 ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดีแทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๕
 
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐอันภิกษุเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรม
ที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่โดยแน่นอน  เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนที่รอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะ
ดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลัง พึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบๆ น้ำก็พึงกระฉอกออกมาได้หรือ ฯ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ ตอนที่ 2
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 10:06:49 pm »
0

     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
      พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕
อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็น
พยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เปรียบเหมือนสระน้ำที่ภูมิภาคอันราบเรียบ กว้างสี่เหลี่ยม
กั้นด้วยทำนบเต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระนั้นทุกๆ
ด้าน น้ำก็พึงไหลออกมาได้หรือ

      ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า
 
     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕
อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอโน้มน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็น
พยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ทางใหญ่ ๔ แยก
 มีพื้นราบเรียบมีประตักวางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นขี่รถนั้นแล้ว ถือเชือก
ด้วยมือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้าง ได้ตามต้องการ
ฉันใด
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อัน
ประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้   เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน
ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ
คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ พึงใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมถึงความเป็น
ผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงกำหนด
รู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ
ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เธอย่อมถึงความเป็น
ผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ
 ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี
ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานใน
ธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อม
ถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


เมื่อบุคคลใดได้เรียน สมาธิ ขอให้คำนึงถึง สัมมาสมาธิ เป็นที่ตั้ง ด้วยเหตุ

ท่านทั้งหลายย่อมจักสมบูรณ์ ด้วย อริยมรรค ทั้ง 8 ประการ

Aeva Debug: 0.0006 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2010, 10:10:47 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 06:48:30 am »
0
พระสูตร ยาว ๆ นาน ๆ ได้อ่านที

แต่อ่านก็ยังเข้าใจยากคะ อาจจะไม่ชินสำนวน ในพระสูตร

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 12:59:21 pm »
0
อ่านแล้ว ก็ยังทราบถึง น้ำใจพระอาจารย์

ที่พยายามค้นคว้า พระไตรปิฏก นำเรื่อง สมาธิ มาให้ศิษย์ได้อ่านกัน เรื่อย ๆ

โยมยังติดตามเรื่อง อานาปานัสติ อยู่นะคะ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 02:34:04 pm »
0
ขออนุญาตพระอาจารย์ สรุปใจความสำคัญของทั้งสองสูตร

สำหรับคนที่ไม่คุ้นกับสำนวนบาลี หรือไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ

โดยขอนำย่อความ จากหนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน”

(ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม)

โดยคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ  มาแสดงตามนี้เลยครับ



ย่อมาจาก เล่มที่ ๒๒ ชื่ออังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต (เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔)

บทย่อสูตรที่ ๗. สมาธิสูตร
ทรงแสดงว่า ญาณ ๕ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน แก่ผู้เจริญสมาธิ อันไม่มีประมาณ(โลกุตตรธรรม) ผู้มีปัญญารักษาตน มีสติเฉพาะหน้า คือความรู้เกิดขึ้นเฉพาะตนว่า

๑. สมาธินี้ มีสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบาก ( ผล ) ต่อไป

๒. สมาธินี้ประเสริฐ ไม่มีอามิส ( เหยื่อล่อ )

๓. สมาธินี้คนชั่วส้องเสพไม่ได้

๔. สมาธิ นี้สงบประณีต ได้มาด้วยความสงบระงับกิเลส บรรลุความเป็นธรรมอันเอกเกิดขึ้น ไม่ต้องบรรลุด้วยใช้ความเพียรข่มธรรมอันเป็นข้าศึก ห้ามกิเลส.

๕. สมาธินี้เราเข้าออกอย่างมีสติ.


บทย่อสูตรที่ ๘. อังคิกสูตร
ทรงแสดงการเจริญสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะมีองค์ ๕ คือ

๑. ภิกษุเข้าสู่ ฌานที่ ๑ มีกายนี้เต็มไปด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ( ความสงัด )

๒. ภิกษุเข้าสู่ฌานที่ ๒ มีกายนี้เต็มไปด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ.

๓. ภิกษุเข้าสู่ฌานที่ ๓ มีกายอันนี้เต็มไปด้วยสุขที่ไม่มีปีติ

๔. ภิกษุเข้าสู่ฌานที่ ๔ แผ่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไปสู่กายนี้

๕. ภิกษุถือเอานิมิตในการพิจารณาด้วยดี ใส่ใจด้วยดี ทรงจำด้วยดี แทงทะลุด้วยดีด้วยปัญญา (ซึ่งนิมิตในการพิจารณานั้น).


เมื่อเจริญ ทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออภิญญา ๖ มีการแสดงฤทธิ์ได้ เป็นต้น.

 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2010, 02:36:04 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 11:51:16 pm »
0
อ่านได้ง่ายขึ้น จิรง ๆ ครับ

อนุโมทนา ครับ

ตอนแรกผมอ่าน ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2011, 09:06:05 pm »
0
หลังจากที่ได้ปฏิบัติ  ก็ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นครับ สาธุ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มีนาคม 21, 2016, 06:35:07 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง สัมมาสมาธิ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 21, 2016, 10:54:02 pm »
0
 :s_hi:
  สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา