ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อุบัติเกิด โรคโควิด ถึงเวลา "วัดช่วยวัด"  (อ่าน 383 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อุบัติเกิด โรคโควิด ถึงเวลา "วัดช่วยวัด"

ในขณะที่ทุกมุมโลก กำลังประสบกับเภทภัย “โรคล้างโลก”  หลายประเทศประมุขและผู้นำประเทศออกมาเตือนและเร่งมาตรการต่าง ๆ ช่วยเหลือพลเมืองของตนเอง ประเภท “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน”

ทำให้ผมนึกถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้นึกถึงเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ และทำให้นึกถึงวิถีชีวิตแบบพึ่งตาตนเอง แบบชุมชนพึ่งพาชุมชนแลกเปลี่ยนของกินซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันวิถีชีวิตแบบนี้เหลือน้อยเต็มที แม้ภาครัฐพยายามกระตุ้น ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองในลักษณะนี้ แต่ก็ไม่สามารถสู้กระแสของระบบทุนนิยมที่มุ่งแสวงหาแต่กำไร การค้าเกินควร ประเภทส่งเสริมให้คนมีความโลภ อยากมี อยากได้ อยากเป็นได้

หลังเกิดกระแสโรคโควิด  มีนักเศรษฐศาสตร์หลายรายทำนายว่า “อาจหมดยุคระบอบทุนนิยม”  แต่อาจมีระบอบเศรษฐกิจแนวใหม่ ที่มีแนวทางให้ประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเองมากยิ่งขึ้น มิใช่ตื่นเช้าขึ้นมา วิ่งหาแต่เงิน สุดท้าย เงินก็ไม่เหลือ วิถีชีวิตดั่งเดิมก็สูญสลาย



แนวคิด “โคก หนอง นา” ที่มุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ของอธิบดีกรมพัฒนาชุมชนหรือพี่เก่งของผม หากได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง หากได้รับการขับเคลื่อนอย่างเต็มพลัง จากกระทรวงต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่ดิน น้ำ และตลาด ผมว่า ประเทศไทย น่าจะไปรอดและประชาชนไม่เครียดแบบทุกวันนี้

วิกฤติการณ์โควิดหลังจากนี้ไปอีก 3 เดือนน่าจะเป็นการ “เผาจริง” ทั้งจากการสูญเสียชีวิตและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะตามมา รวมทั้งปัญหาสังคมเรื่องโจรผู้ร้าย

สำหรับพระสงฆ์ ตอนนี้ได้รับผลกระทบไม่มาก แต่ก็ไม่น้อย ทั้งเรื่องกิจวัตรประจำวัน เช่นการบิณฑบาต รัฐเริ่มห้ามบางอย่างแล้ว จากน้อยไปหาเบา



วัดที่มีกำลังทรัพย์มาก มีเงินออมมาก คงต้องออกมาจากกำแพงวัดมาช่วยเหลือประชาชนมากยิ่งขึ้น เช่น ตั้งโรงทานดังพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช

ปัจจุบันมีวัดหลายวัด เริ่มงดบิณฑบาตแล้ว  ให้แม่ครัวทำอาหารเลี้ยงพระภิกษุ-สามเณรในวัด ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่ดี

ประชาชนลำบากในยามนี้  ตลาดหลายแห่งก็ต้องปิดลง พระภิกษุสามเณรเอง บิณฑบาตก็คงไม่พอฉัน พยายามต้องลด “ความเคร่ง” ลงบ้าง อย่าบิณฑบาต เพราะหากโปรดญาติโยมในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในช่วงนี้ “อาจนำโรคจากข้างนอกไปเผยแพร่ในวัด”ได้



บางวัดเป็นสำนักเรียนที่มีจำนวนพระภิกษุ-สามเณร จำนวนเป็นร้อย แบบนี้ยิ่งต้องระวัง เพราะแออัดทั้งที่จำวัดและที่เรียน เวลานั่นฉันก็นั่งติดกัน สำนักเรียนแบบนี้คงต้อง “อาศัยทรัพย์เงินเก็บ” ของวัดออกมาใช้ หากไม่มีก็อาจจะต้องพึ่ง “เงินทุนวัดช่วยวัด” ของมหาเถรสมาคม ซึ่งตอนนี้ทราบว่าไปกองอยู่วัดใหญ่แห่งหนึ่งฝั่งธนบุรี มีอยู่จำนวนนับร้อยล้านบาท  ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม คงต้องไปขอนำมาใช้บ้าง เพราะเงินนี้เป็นเงินส่วนรวมของคณะสงฆ์ที่เก็บจากนิตยภัต

หรือทางออก “ฉุกเฉิน” วัดช่วยวัดหรือพระช่วยพระอีกทางคือ เงินทุนศาสนสมบัติกลาง ตอนนี้มีหลายพันล้านบาท หากจำเป็นมหาเถรสมาคมต้องนำออกมาใช้บ้าง ภายใต้เงื่อนไข เช่น ให้ยืม ให้กู้ ช่วยเหลือเยียวยา ทางใดทางหนึ่ง อย่าคิดแต่เอาเงินก้อนนี้ไปลงทุน...สุขแต่เห็นตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างเดียว



นับต่อจากนี้ไป ชาวพุทธในสังคมไทยคงต้องประสบกับความทุกข์สาหัสไม่น้อย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องสังคม คณะสงฆ์ต้องร่วมกันออกมาเยียวยากันบ้าง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง

อย่าปฎิเสธจนเสียภาพลักษณ์ของผู้ทรงไว้ซึ่งความเมตตาแม้ศพก็ไม่ให้เผาในวัด  แบบนี้ชาวบ้านมีสิทธิพูดได้ว่า...ไม่น่าเลี้ยงให้เสียข้าวสุก



คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com.
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/766102
พุธที่ 1 เมษายน 2563 เวลา 10.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ