ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มูลเหตุ ที่แท้จริงที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช  (อ่าน 125807 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วันก่อนได้ฟัง พระอาจารย์บรรยายทางสถานี

ถึงตอนที่ท่านกล่าวถึง พระพุทธองค์ ทรงออกผนวช เพราะมีมูลเหตุมาจาก

พระพุทธองค์ทรงเสด็จเที่ยวพระนคร และได้พบ เทวฑูต 3 และ สมณะ 1

แต่ตอนที่ นีย์ เรียนนั้นพวกอาจารย์ในคณะจะสอนว่า เทวฑูต 4


เทวฑูต 1 คนแก่
เทวฑูต 2 คนเจ็บ
เทวฑูต 3 คนตาย มีเทวดาจำแลงมา 4 องค์เป็น คนตาย เป็นภรรยา เป็นบุตร และเป็น บิดา
เทวฑูต 4 สมณะ ( แต่พระอาจารย์ไม่นับเป็น เทวฑูต )

แต่ที่ได้ความรู้คือ มูลเหตุ ที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงผนวช เพราะต้องการ พิชิต ความแก่ ความเจ็บ และความตาย
โดยเลือก การแสวงหา แบบ สมณะ


ดังนั้น นีย์ ขอสรุป ว่า ธรรมะ ที่พระพุทธองค์ ทรงค้นพบนั้น เพื่อการไม่ แก่ ไม่เจ็บ และ ไม่ตาย

แต่ในความเป็นจริง พระพุทธองค์ ก็ ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตาย

อย่างนี้แสดงว่า พระพุทธองค์ ประสพความสำเร็จในเรื่องนี้ หรือป่าวคะ

( ไม่ได้ต้องการปรามาส พระพุทธองค์ แต่อยากให้สมาชิก วิจารณ์เพิ่มหน่อยคะ )

 :25: :25::25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มูลเหตุ ที่แท้จริงที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2010, 06:19:11 pm »
0
:015:การเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ขององค์พระบรมโพธิสัตว์สิทธัตถะนั้น ทรงเล็งแลเห็นทุกข์จากสภาวะไม่เที่ยงแท้ของสังขาร 
              :043:มีทุกข์-เพราะแก่ชราหย่อนยานไร้เรี่ยวแรง
              :043:มีทุกข์-เพราะป่วยเจ็บทรมานต้องเยียวยา
              :043:มีทุกข์-เพราะชีวิตนั้นต้องเดินไปสู่ความตายเสมอกัน
:015:แม้กับด้วยพระองค์เองก็คงมิเว้นมิต่างไปจากชนทั้งหลายเหล่านั้นเลย ชีวิตนี้เป็นทุกข์จากความไม่เที่ยงแห่งรูปกาย สิ่งที่พิจารณาได้ก็นิมิตทั้ง ๔ นั้นเป็นเหตุ และแล้วทรงแลเห็นบุรุษหนึ่งสงบนิ่งมีกิริยาสำรวมชื่อว่าสมณะ ทรงพิจารณาเห็นว่า เมื่อไม่สามารถหาทางออกให้กับชีวิตแล้ว สิ่งที่แลเห็นเพื่อความหลีกเร้นคงมีเพียงความเป็นสมณะนี้เท่านั้นเป็นทางออก ความลุ่มลึกแห่งสติปัญญาทำให้พระโพธิสัตว์ทรงเบื่อหน่ายในกามสุขเห็นทุกข์โทษของกามคุณที่ร้อยรัดให้เพลินหลงจมปลักอยู่อย่างมืดบอดไร้ที่พึ่ง
:015:ด้วยเหตุดังกล่าวทรงมุ่งออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ที่จะแสวงหาหนทางเยียวยาจิตใจที่ว้าวุ่นในขณะนั้นด้วยพระองค์เอง
:015:และแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงค้นพบว่าความไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย นั้นไม่มี การทำให้สิ้นทุกข์คือทำอาสวะให้สิ้นไปกล่าวคือ การสิ้นเชื้อแห่งวัฏฏะ ชื่อว่านิพพาน นั้นเป็นสุข เป็นมรรควิถีเดียวที่ควรเจริญแก่เวไนยชน....ดังนี้ครับ สวัสดี
                                                                                                                           :coffee2:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2010, 07:10:10 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

chusri sakunwong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 19
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลเหตุ ที่แท้จริงที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2010, 09:31:25 pm »
0
อ้างถึง
มีทุกข์-เพราะป่วยเจ็บทรมานต้องเยียวยา


อันนี้ชัดเจน คะ ถึงจะมีเงิน มากมายเพียงใด ก็ไม่มีประโยชน์ เมื่อความเจ็บมาถึง

มีแต่ความทุกข์...ทรมาน คะ

ทางสายกลาง อันประเสริฐ หนทางนี่แล เป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ สิ้นความเจ็บอย่างแท้จริง

:25:

 
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลเหตุ ที่แท้จริงที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2010, 11:13:20 am »
0
ผมอ่าน และ พิจารณา ดูแล้ว เจ้าชาย สิทธัตถะ เหมือนไม่ประสพความสำเร็จในการ ชนะ  ความแก่  ความเจ็บ และความตาย  ในปัจจุบัน

เพราะเมื่อพระองค์ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ ก็ ชรา อาพาธ และ สวรรคต เหมือนเดิม

ส่วนเรื่อง โลกหน้า ไม่มีใครพิสูจน์ได้ ว่าพ้นไ้ด้ หรือ ไม่

มีวิธี ให้ผมเข้าใจตาม ง่าย ๆ หรือป่าวครับ

ผมศรัทธา เคารพ พระพุทธเจ้า แต่ผมก็ไม่ค่อยรู้อะไรจาก พระพุทธเจ้า เท่าใดครับ
พุทธประวัติ ผมอ่านมาก็หลายเที่ยว ทั้งที่เพื่อนผมว่าเป็นหนังสือ ที่น่าเบื่อมากตอนเรียน

แต่ผมก็ชอบอ่าน แต่ก็ไม่เข้าใจ กับคำถามนี้ เพราะดูเหมือน เจ้าชายสิทธัตถะ ไม่ชนะตามที่ตั้งพระทัยไว้ ก่อนออกผนวช

 :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลเหตุ ที่แท้จริงที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2010, 03:44:15 pm »
0
เสด็จประพาส สวน ทรงเห็นเทวฑูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต


   พระเจ้าสุทโธทนะผู้มีพระราชบิดา   และ  พระญาติวงศ์ทั้งปวงปรารถนาที่จะให้เจ้าชาย
สิทธัตถะเสด็จอยู่ครองราชสมบัติ  มากกว่าที่จะให้เสด็จออกบรรพชาอย่างที่คำทำนายของพราหมณ์บาง
ท่านว่าไว้  จึงพยายามหาวิธีผูกมัดพระโอรสให้เพลิดเพลินในกามสุขทุกอย่าง  แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระอัธยาศัยเป็นนักคิดสมกับที่ทรงเกิดมาเป็นพระศาสดาโปรดชาวโลก    จึงทรงยินดีในความสุขนั้นไม่นาน  พอพระชนมายุมากขึ้นจนถึง  ๒๙  ก็ทรงเกิดนิพพิทา  คือ  ความเบื่อหน่าย

   ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความรู้สึกในพระทัยเช่นนั้น   อยู่ที่ทรงเห็นสิ่งที่เรียกว่า   เทวฑูต
ทั้ง  ๔   ระหว่างทางในวันเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถม้าพระที่นั่ง   พร้อมด้วยสารถี
คนขับ  เทวฑูตทั้ง  ๔  คือ  คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และนักบวช  ทรงเห็นคนแก่ก่อน


   ปฐมสมโพธิบรรยายลักษณะของคนแก่ไว้ว่า   "มีเกศาอันหงอก   แลสีข้างก็คดค้อม  กายนั้น
ง้อมเงื้อมไปในเบื้องหน้า    มือถือไม้เท้าเดินมาในระหว่างมรรควิถี    มีอาการอันไหวหวั่นสั่นไปทั่วทั้งกายควรจะสังเวช..."

   ก็ทรงสังเวชสลดพระทัย  เช่นเดียวกับเมื่อทรงเห็นคนเจ็บและคนตายในครั้งที่สอง  และที่สาม   เมื่อเสด็จประพาสพระราชอุทยาน  ทรงปรารภถึงพระองค์ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น  ทรงพระดำริว่า  สภาพธรรมดาในโลกนี้ย่อมมีสิ่งตรงกันข้ามคู่กัน   คือ   มีมืดแล้ว  มีสว่าง   มีร้อน  แล้วมีเย็น    เมื่อมีทุกข์  ทางแก้ทุกข์ก็น่าจะมี

   ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานครั้งที่  ๔ ทรงเห็นนักบวช  "นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
กอปรด้วยอากัปกิริยาสำรวม..."

   เมื่อทรงเห็นนักบวชก็ทรงเกิดพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา  ทรงรำพึงในพระทัยที่เรียกอีกอย่างหนึ่ง  ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า  "สาธุ  ปัพพชา"  สองคำนี้เป็นภาษาบาลี   แปลให้ตรงกับสำนวนไทยว่า  "บวชท่าจะดีแน่"  แล้วก็ตัดสินพระทัยว่า  จะเสด็จออกบวชตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/picture/f09.html
--------------------------------------------------------------


ตื่นบรรทม กลางดึกเห็นสาวสนมกรมในนอนระเกะระกะ ระอาพระทัยใคร่ผนวช


   ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวฑูตทั้งสี่แล้ว    ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่าจะ
เสด็จออกบรรพชาเป็นต้นมา  แม้ว่าภายหลังจากนั้นจะทรงเกิดบ่วงขึ้นในพระทัย  คือทรงมีพระโอรสและมีความรัก  แต่ความที่ตั้งพระทัยไว้ว่าจะเสด็จออกบวชก็ไม่เปลี่ยนแปลง

   ในคืนวันเสด็จกลับจากพระราชอุทยาน  ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ตอนหนึ่งว่า "...วันนั้น  สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์มีพระทัยยินดียิ่งนักในบรรพชา  กอปรด้วยพระปัญญาเป็นปราชญ์อันประเสริฐ  ปราศจากอาลัยในเบญจกามคุณ  มิได้ยินดีในฟ้อนขับแห่งนางทั้งหลาย  อันเป็นที่เจริญหฤทัยเห็นปานดังนั้น  ก็หยั่งลงสู่นิทรารมณ์ประมาณมุหุตหนึ่ง.."  มุหุตหนึ่งคือครู่หนึ่ง

   ภายในปราสาทที่เจ้าชายประทับอยู่ สว่างรุ่งเรืองด้วยประทีปโคมไฟที่  "ตามด้วยน้ำมันหอม
ส่งสว่างขจ่างจับแสงแก้วแสงทอง..."    บรรดานางบำเรอฟ้อนรำขับร้องที่อยู่เฝ้า     เมื่อเห็นเจ้าชายบรรทมหลับแล้วต่างก็เอนกายลงนอนทับเครื่องดนตรี

   มุหุตหนึ่งคือครู่หนึ่ง  เจ้าชายตื่นบรรทมแล้วก็ทรงเห็นอาการวิปลาสของนางบำเรอ  ที่นอนหลับไม่สำรวม   ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ว่า  "แลนางบางจำพวกก็นอนกลิ้งเกลือก  มีเขฬะ (น้ำลาย)  อันหลั่งไหล   นางบางเหล่าก็นอนกรนสำเนียงดังเสียงกา   นางบางหมู่ก็นอนเคี้ยวทนต์   นางบางพวกก็นอนละเมอเพ้อฝันจำนรรจาต่างๆ บางหมู่ก็นอนโอษฐ์อ้าอาการวิปลาส  บางเหล่านางก็นอนมีกายเปลือยปราศจากวัตถาสำแดงที่สัมพาธฐานให้ปรากฏ..."

   เจ้าชายเสด็จจากพระแท่นที่บรรทม    เสด็จลุกขึ้นทอดพระเนตรภายในปราสาทที่ประทับ 
แม้จะสว่างรุ่งเรืองด้วยดวงประทีป  และงามตระการด้วยเครื่องประดับ   แต่ทรงเห็นเป็นที่มืด  และทรง
เห็นเป็นดุจป่าช้าผีดิบ   สิ่งที่มีชีวิตที่ยังหายใจได้ที่กำลังนอนระเนระนาดปราศจากอาการสำรวมคือ  นางบำเรอปรากฏแก่พระองค์เป็นซากศพผีดิบในสุสาน   จึงออกพระโอษฐ์ลำพังพระองค์ว่า  "อาตมาจะออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ในสมัยราตรีนี้"    แล้วเสด็จไปยังพระทวารปราสาท      และตรัสเรียกมหาดเล็กเฝ้าพระทวารว่า  "ใครอยู่ที่นั่น"

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/picture/f12.html

อธิบายศัพท์
มหาภิเนษกรมณ์ [มะหาพิเนดสะกฺรม] น. การเสด็จออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า. (ส. มหาภินิษฺกฺรมณ; ป. มหาภินิกฺขมน).
ที่มา  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
----------------------------------------------------------------- 

(กรุณาอ่านบทความข้างบนให้เข้าใจก่อนนะครับ)

น้องนีย์ครับ  ถ้าตีกรอบไปที่ “เจ้าชายสัทธัตถะ” ก็หมายถึง ช่วงหลังการประสูติ จนถึงก่อนที่จะปลงผมบวชของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ผมคิดถูกไหมครับ

ถ้าเห็นด้วย ผมขอให้คำอธิบายว่า
การที่พระองค์ออกบวช เป็นเพราะเกิด ความเบื่อหน่ายในกามคุณ  และต้องการหลุดพ้นจากกามคุณ
ความเบื่อหน่ายทำให้พระองค์ทรงดำริว่า


“สภาพธรรมดาในโลกนี้ย่อมมีสิ่งตรงกันข้ามคู่กัน คือ มีมืดแล้ว มีสว่าง มีร้อน แล้วมีเย็น เมื่อมีทุกข์  ทางแก้ทุกข์ก็น่าจะมี”

สรุปก็คือ ความเบื่อหน่ายในกามคุณ ทำให้พระองค์ทุกข์(ใจ) เมื่อทุกข์  จึงต้องหาทางพ้นทุกข์
ทำให้อกบวชในที่สุด พระองค์ไม่ได้ปรารถนาที่จะเอาชนะความเจ็บ ความแก่ ความตาย
ที่จะเกิดขึ้นกับกายเลย
(ขณะนั้นพระองค์มีร่างกายที่แข็งแรง ไม่ได้เจ็บป่วย อายุเพียง ๒๙ ปีเท่านั้น)

นั่นเป็นสาเหตุที่ผมเข้าใจ
ไม่ใช่เพื่อพิชิต ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตามที่น้องนีย์เข้าใจ



คราวนี้มาวิเคราะห์ธรรมของพระพุทธเจ้า
ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ คือ อริยสัจจ์ ๔ ครับ  ธรรมนี้ทุกคนรู้ว่า
เอาไว้ดับทุกข์ทางใจของมนุษย์และเทวดาหรือพรหม
ไม่ได้มีไว้เพื่อไม่ให้กาย แก่ เจ็บ หรือ ตาย

ธรรมชาติของมนุษย์ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่ทุกคนทราบดี
พระองค์ทรงใช้สภาวะของ  ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้
 เป็นเสมือนเครื่องมือสำคัญ ทำให้พระองค์ตรัสรู้ธรรมได้
(หมายถึง การเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง)
และที่สำคัญสาวกของพระองค์ทุกคน ก็ใช้ธรรมชาติของการเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้
นำไปสู่การดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงเช่นกัน


หากทำตามคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว ถึงที่สุด ก็จะเป็นพระอรหันต์
พระอรหันต์ เมื่อยังดำรงขันธ์อยู่  ก็ยังต้องเจ็บ ยังต้องแก่ ยังต้องตาย อยู่ดี
แต่หลังจากดับขันธ์แล้ว จิตจะเข้าสู่นิพพาน
หรือจะเรียกให้ถูกก็คือ ปรินิพพาน คือ นิพพานทั้งกายและใจนั่นเอง
การที่จิตเข้าสู่สภาวะแห่งนิพพานนี้ต่างหาก ที่จะไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีกต่อไป

ฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้า ต้องเจ็บ ต้องแก่ ต้องตายนั้น เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
ที่กำหนดให้มนุษย์ต้องเป็นไปแบบนี้ ไม่สามารถนำมาวัดความสำเร็จของพระพุทธเจ้าได้
การอุบัติของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์  มีจุดประสงค์เดียว คือ
อุบัติมาเพื่อนำสรรพสัตว์ข้ามสังสารวัฏนี้เท่านั้น
(จะไม่มีการนำสรรพสัตว์เวียนว่ายตามเกิดอยู่ใน ๓๑ ภพภูมินี้)

ขอสรุปให้น้องนีย์สักนิด
สภาวะของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ได้มีไว้เพื่อทำลาย
และไม่มีใครทำลายธรรมชาตินี้ได้
แต่เราสามารถนำสภาวะนี้ มาเป็นพาหนะพาเราไปสู่นิพพานได้


 :49: :58: :bedtime2: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2010, 04:03:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kavato

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มูลเหตุ ที่แท้จริงที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2010, 07:23:07 pm »
0
แน่นอน พระพุทธองค์ประสบความสำเร็จแน่นอน
     
     เพราะเหตุไรน่ะฤา   ก็เพราะว่าทรงเอาชนะความแก่เจ็บตายได้ด้วยพระองค์เองนะสิครับ(อย่าเพิ่งเถียง อ่านให้จบก่อนนะจ๊ะ ;) )
   
     ทางที่สามารถเอาชนะความแก่ เจ็บ ตาย ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบก็คือ...พระนิพพานไง :)
     
     เพราะ เมื่อถึงนิพพานแล้วก็ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก  เมื่อไม่เกิด ก็ไม่แก่  เมื่อไม่เกิด  ก็ไม่เจ็บ   เมื่อไม่เกิด  ก็ไม่ตาย   :25:

     สภาวะนิพพานนั้น ไม่ได้เป็นสภาวะในอุดมคติ มีอยู่จริง

      อย่าหนีสิ บอกแล้วอ่านให้จบก่อน   ...ที่ตอบมานี้ไม่ได้หมายความว่า ผมถึงนิพพานแล้วหรอกนะ(ถ้าถึงแล้คงไม่มานั่งเล่นคอมฯจ้า :03:)

     คือ เท่าที่ผมศึกษา เรียนรู้มา ทั้งวิชา จาก โรงเรียน จาก มหาลัย จากทางโลก พบว่าไม่สามารถให้ความสุขที่แท้จริงได้(เพราะความอยากในตัวคน ไม่เคยอิ่ม ไมเคยพอ)  อ้อ ผมจบวิทยาศาสตร์บัณฑิต(ทางโลก)ครับ  เรียนวิทยาศาสตร์ก็เพราะว่าอยากรู้อยากเห็น  อยากพิสูจน์ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่เชื่อคำที่เขาพูดต่อๆกันมา  ซึ่ง ณ ตอนนั่น(เมื่อครั้งยังละอ่อน ตอนนี้ก็ยังอ่อน...อ่อนเหลือน้อย >:() วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สอนให้ต้องพิสูจน์ จึงอยากเรียนรู้

     แต่แล้วเมื่อเรียนจบออกมา...ก็ยังรู้สึกโหวงข้างใน...ชีวิตมันน่าจะมีอะไรมากกว่านี้สิ...(เห็นด้วยมั้ยครับ)
    คงไม่ใช้แค่เกิดมา แล้วก็เล่น ...เรียน ...ทำงาน...แต่งงาน...มีลูก...เลี้ยงลูก...แก่...เลี้ยงหลาน...แก่งอม...เลี้ยงเหลน...(พอได้แล้วนะ  อยู่มานานแล้ว)...ตาย...
    มันน่าจะมากกว่านี้สิ...จึงเริ่มค้นหา...แล้วก็เจอธรรมะของพระพุทธะนี่แหละที่ตอบโจทย์เราได้

     นี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ...ต้องไปก่อนแล้วครับ

     
บันทึกการเข้า

kavato

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มูลเหตุ ที่แท้จริงที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2010, 11:19:32 am »
0
ขอเสริมต่อจากเมื่อวานนะครับ
นิพพานมีจริงหรือไม่ อันนี้ต้องพิสูจน์เอาเองนะครับ เป็นปัจจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตัว(ผมเองก็ยังไม่รู้ ก็ต้องพิสูจน์กันไป) ;)

ถ้านิพพานมีจริง พระพุทธองค์ก็ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่เอาชนะความแก่ ความเจ็บ ความตาย ด้วยการไม่เกิดอีก :25:
 
      พระพุทธองค์ไม่ได้บอกให้เราต้องเชื่อ(กาลามสูตร) แต่ให้พิสูจน์ด้วยตัวเอง ถ้าปฏิบัติถูกตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนก็จะทราบได้ด้วยตนเอง :97:

กาลามสูตร* แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล(เรียก เกสปุตสูตร ก็มี)
กาลามาสูตรเป็นหลักความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทะศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษ หรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ สิบประการ คือ
1.   อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆกันมา
2.   อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆกันมา
3.   อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
4.   อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
5.   อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
6.   อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะแนเอา
7.   อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
8.   อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
9.   อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
      เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
    ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
    ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
    เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

     ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อนได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว
 *ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

   เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ที่คนเราเพิ่งค้นพบ แล้วนำมาสอนมาเรียนกัน เช่น ทางชีววิทยา เกี่ยวกับการเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ กี่เดือน มีขนาดเท่าไหร่
ถ้าสืบค้นอ่านในพระไตรปิฎก จะพบว่าพระพุทธองค์ก็ได้ตรัสเอาไว้(แต่อาจจะใช้คำเรียกต่างกัน)
     พระพุทธเจ้าจำแนกขั้นตอนการเกิดของมนุษย์ เมื่อเปรียบเทียบกับการเจริญของเชลล์ไข่ที่ผสมอสุจิมนุษย์แล้วมีดังนี้
เมื่อเชลล์ไข่ผสมกับอสุจิ ภายใน 10-12 ชั่วโมง นิวเคลียสของทั้งสองก็จะรวมตัวอย่างสมบูรณ์ เรียกว่า การปฏิสนธิ (หมายถึง กลละ ในพระสูตร)
หลังจากนั้นจะมีการแบ่งเชลล์ 30-37 ชั่วโมง เรียกกว่า ไชโกด แล้วก็จะกลายเป็นกลุ่มเชลล์ เรียกว่า เอ็มบริโอ (หมายถึง อัพพุทะ ในพระสูตร)
หลังจากนั้นเจ็ดวัน เอ็มบริโอ ก็จะเคลื่อนที่ฝังในผนังมดลูก (หมายถึง เปสิ ในพระสูตร)
หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ เริ่มมี หัวใจ สมอง และไข่สันหลัง (หมายถึง ฆานะ ในพระสูตร)
หลังจากนั้น 4 สัปดาห์ เริ่มมีปุ่มแขนขา จนถึงสัปดาห์ที่ 7 (เป็นช่วง ปรากฏ 5 ปุ่ม ในพระสูตร จนปรากฏ ศีรษะ แขนขา ชัดเจน)
หลังจากนั้นก็จะพัฒนา อวัยวะ ต่างๆ จนครบสมบูรณ์ ด้วยอาศัยอาหารจากมารดา (ซึ่งตรงตามพระสูตรทุกอย่าง)


   พระพุทธเจ้ารู้การเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่เมื่อ2,500ปีมาแล้ว ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะเครื่องอุล ตร้าซาวนด์ (The ultrasound scan) พระพุทธเจ้าก็ได้ตอบไว้หมดแล้ว
   
แต่ที่พระพุทธองค์ไม่ตรัสสอนทั้งหมด เพราะไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความหนาย ไม่เป็นไปเพื่อคลาบกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อหลุดพ้น

  พระองค์จึงได้ตรัสแก่พระสาวกในป่าประดู่ลาย กำใบประดู่ในกำพระหัตถ์และถามบรรดาภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใบประดู่ในมือตถาคต กับใบประดู่ในป่านี่ ใครจะมากกว่ากัน พระสงฆ์ก็ทูลบอกว่า ใบประดู่ในป่ามากกว่าพระเจ้าข้า ตรัสว่า ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ตถาคตไม่ได้นำมาสอนเธอมามากมายเหลือเกิน แต่สิ่งที่ตถาคตสอนเธอมีจำนวนน้อย ข้อนี้เพราะเหตุเป็นไฉน ก็เพราะว่าสิ่งที่ตถาคตไม่เอามาสอนกับพวกเธอ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความสำรอกออกจากกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพิทา เพื่อ วิราคะ เพื่อ นิโรธะ เพื่อ นิพานะแต่สิ่งที่ตถาคตนำมาสอนเธอจะต้องเป็นไปเบื้องต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อสำรอกกิเลส เป็นไปเพื่อ นิพพิทา วิราคะ นิโรธะ นิพานะ ถึงจะสอนสิ่งนั้น คือ อริยสัจ 4 ตรัสอย่างนี้   

ผมว่า ถ้าเราศึกษาคำสอนของพุทธองค์อย่างจริงจัง เพื่อให้เห็นจริงได้ด้วยตัวเอง  ก็เป็นประโยชน์กับตัวเราเอง
 เพราะเท่าที่ผมเรียนรู้มา(ตัวผมเองนะ)ทั้งแต่เกิด จนบัดnow พุทธวัจนะของพระพุทธะเป็นจริงที่สุด

   
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวที่ได้จากการศึกษาธรรมะนะครับ ใครอยากรู้ว่าจริงหรือไม่ก็ต้องปฏิบัติเอง อย่าเพิ่งเชื่อ สมมติว่า มีขนมอยู่ชิ้นนึง ผมบอกว่า "ผมกินแล้ว หวาน ไม่เปรี้ยวไม่เค็ม" คนฟังก็ไม่ควรเชื่อทันทีว่าขนมนั้นหวาน จนกว่าจะได้ลองกินเองว่าหวานจริงหรือไม่... ;)
บันทึกการเข้า