ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - TCnapa
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ความเมตตา ทำไมจึงเป็นเหตุให้พัฒนาเป็นความโกรธได้คะ เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2010, 12:10:34 pm
ดิฉัน ได้สอนหนังสือเด็กนักเรียน

ทุกครั้ง ก็จะทุ่มเทการสอนให้ ทั้งสอน และทบทวน ไม่หลบ ไม่อู้

ติดตามเอาใจใส่การเรียนของนักเรียน

เพราะสงสาร เด็กนักเรียน บางคนก็มีฐานะยากจน ส่วนใหญ่ ปานกลาง

มีอยู่บางครั้ง สอนเด็กนักเรียนลงไปแล้ว เด็กนักเรียน เกเร และดื้อ จนทำให้โมโห

หรือ โกรธ จนไม่อยากจะสอน แต่ก็ดับอารมณ์ด้วยอารมณ์ รู้ว่าเราโกรธ อยู่นะ

นั่งเงียบ เจริญสติ แล้ว ก็กลับมาสู่บทบาทครูที่ดีเหมือนเดิม

ที่สงสัยคือ เมื่อเรามีเมตตากับเด็ก อยากให้เด็กเป็นคนดี เรียนเก่ง เป็นกำลังของครอบครัวเขา และชาติ

ทำไมอารมณ์ เมตตาตัวนี้ หวังดีอันนี้ ทำไมจึงต้องโกรธด้วย

ทั้ง ๆ ที่การเจริญเมตตา กรุณา น่าจะให้ผลคือ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท

 :25: :25:
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ต้องการให้พระอาจารย์ บรรยายเรื่อง อานาปานสติ เจ้าคะ เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2010, 12:04:24 pm
อยากให้พระอาจารย์ บรรยายเรื่อง อานาปานสติ เจ้าคะ

เพราะกำลังกรรมฐาน กองนี้อยู่คะ


 :25: :25:
3  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 05:31:53 pm
สโตริกาญาณ 16

คือส่วนนี้คะ
เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว  เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.

เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น  เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต สังขาร หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความ เป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมอัน ปราศจากราคะ หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็น ที่ดับสนิท หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ สละคืน หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.
4  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เกี่ยวกับ พระศรีอริยะเมตตรัย จากพุทธองค์ เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2010, 09:39:39 am
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค - หน้าที่ 54

       
   [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง        น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ      ๑๐ ปี หญ้ากับแก้  จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุ
ทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก     ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย     ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้น
เหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไป
หมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ   ๑๐ ปี
แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ในเมื่อมนุษย์มี
อายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบใน
สมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่      ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขา
เหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ    ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบ
ในบิดา ปฏิบัติ   ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน         
ตระกูล ในบัดนี้ ฯ     
 
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า
นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา    ของท่านที่เคารพทั้งหลาย
สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ  ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความ
พยาบาท ความคิดร้าย ความ คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับ
มารดาก็ดี บิดากับ   บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิด
ความ     อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อ
เข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯ


      [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน
มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง   หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของ
พวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม    นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี           ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่า
ฆ่าเรา อย่ากระนั้น  เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา
มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้   ระหว่าง
เกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด    ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป
เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ  ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน
จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่
หรือๆ ฯ           
     
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา ถึงความ
สิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระนั้นเลยเราควร
ทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน กุศลธรรมนี้แล้ว
ประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่
สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง  จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง
เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ         
   
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา เจริญด้วยอายุบ้าง
เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่า กระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ
 ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจาก   อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้น  จากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา
ควรละพยาบาท ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม       
อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะ
ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน    ตระกูล ควรสมาทาน
กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดาปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบ
ในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ   อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทาน
กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ   เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วย
อายุบ้าง จักเจริญด้วย  วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง
บุตรของคน
         ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญ
ขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ
๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี  จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี
บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี
บุตรของคนมีอายุ ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี 
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ   
       
       [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี  อายุ ๕๐๐ ปี
จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ
๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑    ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก       มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่
บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย      ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก
จักยัดเยียดไป    ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ   
     
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก เป็นราชธานี
มีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน   คับคั่ง และมีอาหาร
สมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี    ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง
๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ     

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงพระนาม
ว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม
เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต    ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑  ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑
 คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น  ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ
มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดย
ธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ

   
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี  ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น
ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์   ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น
จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้   แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว
ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้
รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์
ให้รู้ตามอยู่
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม    ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์  บริบูรณ์สิ้นเชิง บริบูรณ์สิ้นเชิง
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ
 
 

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่  พระเจ้ามหาปนาทะ
ทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ ทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า
คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จักทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้า
กาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง   ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระ
นามว่า เมตไตรย์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่
แต่ผู้เดียว  ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์  อัน
ยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ  ต้องการ อันเป็นที่สุด
แห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ     
5  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / นมัสการพระธาตุลำปางหลวง แล้วอย่าลืมเข้าไปดูห้องสะท้อนภาพสี นะคะ เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 03:08:10 pm
อยู่ลำปาง ถ้าไม่พูดถึง พระธาตุลำปางหลวงแล้ว เดี๋ยวจะว่าตกข่าว

ถ้าใครมาลำปางแล้วกราบ สักการะพระธาตุแล้ว อย่าลืมเข้าไปดูภาพสีที่สะท้อนในห้องด้วยนะคะ
ดิฉันเป็น แม่หญิง....เสียเปรียบอีกเช่นเคย เขาไม่ให้แม่หญิงเข้าไปดูนะคะ
 :13:
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / จะหนีร้อนไปตากอากาศ ในสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่ไหนดีคะ ? เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 02:47:37 pm
ในช่วงอากาศร้อน ๆ อย่างนี้ อยากหลบไปปฏิบัติธรรมสักพักคะ โรงเรียนปิดเทอมแล้วครูอย่างดิฉัน พึ่งจะมีเวลาพักคะเอาแบบที่มีอากาศเย็น ๆ ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ
หน้า: [1]