ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดูกร หรือ ดูก่อน อ่านออกเสียงอย่างไรถูกต้อง  (อ่าน 3621 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

 ดูกร  หรือ ดูก่อน อ่านออกเสียงอย่างไรถูกต้อง

 เรียนท่านบัณฑิตผู้รู้ทุกท่าน ฟังเขาอ่านกันมา บางท่านก็อ่านว่า ดู กะ ระ  บางท่านก็อ่านว่า ดูก่อน

 ที่จริงอ่านแบบไหนถูกต้อง

 และ คำนี้ มีความหมายอย่างไร


  thk56
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28440
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ดูกร หรือ ดูก่อน อ่านออกเสียงอย่างไรถูกต้อง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2013, 12:13:21 pm »
0
ask1

 ดูกร  หรือ ดูก่อน อ่านออกเสียงอย่างไรถูกต้อง

 เรียนท่านบัณฑิตผู้รู้ทุกท่าน ฟังเขาอ่านกันมา บางท่านก็อ่านว่า ดู กะ ระ  บางท่านก็อ่านว่า ดูก่อน

 ที่จริงอ่านแบบไหนถูกต้อง

 และ คำนี้ มีความหมายอย่างไร


  thk56


 ans1 ans1 ans1

ดูกร[ดูกะระ, ดูกอน], ดูก่อน, ดูรา  คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วย ให้สนใจฟัง.
_______________________________
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
dict.longdo.com/search/-ดูกร-

     
    ภิกฺขโว อรรถกถาจารย์แปลและบัญญัติว่า "ดูกรภิกษุ"  หรือ
     ภิกขเว แปลว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2013, 01:26:59 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28440
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ดูกร หรือ ดูก่อน อ่านออกเสียงอย่างไรถูกต้อง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2013, 12:25:23 pm »
0

อรรถกถาสูตรที่ ๑               
มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต 
             
     บทว่า ภิกฺขโว(ดูกรภิกษุ) แสดงอาการเรียก. ก็บทนั้น ตรัสเพราะสำเร็จด้วยการประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้ขอโดยปกติ.
     ผู้รู้สัททศาสตร์ย่อมสำคัญว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณคือความเป็นผู้ขอเป็นปกติก็มี ประกอบด้วยคุณคือความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดาก็มี ประกอบด้วยคุณคือความเป็นผู้มีปกติกระทำดีในการขอก็มี.

     พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงประกาศความประพฤติที่ชนเลวและชนดีเสพแล้ว จึงทรงทำการข่มความเป็นคนยากไร้ที่ยกขึ้น ด้วยพระดำรัสนั้น ที่สำเร็จด้วยการประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นปกติเป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภิกษุเหล่านั้น ให้หันหน้าตรงพระพักตร์ของพระองค์
    ด้วยพระดำรัสที่ทรงทอดพระนัยนาลง ด้วยพระหฤทัยที่แช่มชื่น
    แผ่ไปด้วยพระกรุณาเป็นเบื้องหน้าว่า ภิกฺขโว(ดูกรภิกษุ) นี้
    ทรงทำให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความอยากจะฟัง ด้วยพระดำรัสอันแสดงพุทธประสงค์จะตรัสนั้นนั่นแหละ
    และทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้นไว้ แม้ในการใส่ใจฟังด้วยดี
    ด้วยพระดำรัสนั้นอันมีอรรถว่า ปลุกให้ตื่นนั้นนั่นเอง.
    จริงอยู่ พระศาสนาจะสมบูรณ์ได้ ก็เพราะการใส่ใจในการฟังด้วยดี.



     หากมีคำถามว่า เมื่อเทวดาและมนุษย์แม้เหล่าอื่นก็มีอยู่ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกเฉพาะภิกษุเหล่านั้น.
     แก้ว่า เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ชิดและเป็นผู้อยู่ประจำ.

     จริงอยู่ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทั่วไปแก่คนทั้งปวง แต่ภิกษุทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดของบริษัท ก็เพราะเป็นผู้เกิดก่อน และชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ก็เพราะเป็นผู้ดำเนินตามพระจรรยาของพระศาสดา ตั้งต้นแต่เป็นผู้ไม่ครองเรือน และเพราะเป็นผู้รับพระศาสนาทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด เพราะเมื่อเธอนั่งในที่นั้นๆ ก็ใกล้พระศาสดาทั้งนั้น ชื่อว่าอยู่ประจำ ก็เพราะขลุกง่วนอยู่แต่ในสำนักพระศาสดา.

     อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา เพราะเกิดด้วยการปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.



     ถามว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรม จึงตรัสเรียกภิกษุเสียก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมเลยทีเดียว
     แก้ว่า เพื่อให้เกิดสติ

     ความจริง ภิกษุทั้งหลายคิดเรื่องอื่นอยู่ก็มี มีจิตฟุ้งซ่านก็มี พิจารณาธรรมอยู่ก็มี นั่งมนสิการกรรมฐานอยู่ก็มี ภิกษุเหล่านั้น เมื่อไม่ตรัสเรียกให้รู้ (ตัว) ทรงแสดงธรรมไปเลย ก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ว่า เทศนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดง เพราะอัตถุปปัตติ (เหตุเกิดเรื่อง) อย่างไหน? จะพึงรับเอาได้ยากหรือไม่พึงรับเอาเลย. เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดสติด้วยพระดำรัสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกเสียก่อน แล้วจึงทรงแสดงธรรมภายหลัง.

     บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการถวายคำตอบ (คือขานรับ) แด่พระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ภิกฺขโว ชื่อว่าเรียกภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุทั้งหลายเมื่อทูลว่า ภทนฺเต ชื่อว่าขานรับพระผู้มีพระภาคเจ้าในภายหลัง.



    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ภิกฺขโว.(ดูกรภิกษุ)
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลในภายหลังว่า ภทนฺเต.
    พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ภิกษุตอบพระดำรัสที่ว่า ภิกฺขโว.(ดูกรภิกษุ)
    ภิกษุถวายคำตอบว่า ภทนฺเต.

    บทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่ เหล่าภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก.
    บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายได้ฟังเฉพาะพระดำรัสตรัสเรียกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบายว่า หันหน้ามาฟัง คือรับ ได้แก่ประคองรับ.
    บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนั้น คือพระสูตรทั้งสิ้นที่จะพึงกล่าวในบัดนี้.

    ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ คำเริ่มต้นอันใด อันประกอบด้วยกาล, ผู้แสดง, เทสะ, บริษัทและประเทศ ท่านพระอานนท์กล่าวแล้วเพื่อกำหนดเอาพระสูตรนี้ได้โดยสะดวก.
    การพรรณนาเนื้อความแห่งคำเริ่มต้นนั้นจบบริบูรณ์แล้วแล.   


ที่มา www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20.0&i=1&p=2
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com/ , http://download.buddha-thushaveiheard.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2013, 01:28:22 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ