ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หายากมาก! “ไม้เช็ดตูดพระร่วง” ในตำนาน จนท.บุกป่าพิสูจน์เจอแค่ต้นเดียว (ชมคลิป)  (อ่าน 1130 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



หายากมาก! “ไม้เช็ดตูดพระร่วง” ในตำนาน จนท.บุกป่าพิสูจน์เจอแค่ต้นเดียว (ชมคลิป)

สุโขทัย - นักวิชาการ พร้อมปราชญ์ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ บุกป่าตามพิสูจน์ “แก้งขี้พระร่วง” หรือไม้เช็ดตูดพระร่วงในตำนาน บอกหาดูยากมาก ในอุทยานฯ รามคำแหง เจอต้นเดียว เผยสรรพคุณปรุงยาขับพยาธิไส้เดือนดีนักแล แถมเป็นยาดีเคล็ดลับซุ้มไก่ชนแต่โบราณด้วย
                   
       วันนี้ (5 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพงศ์เลิศ ศิริบูรณ์ นักวิชาการสวนพฤกษศาสตร์พระแม่ย่าสุโขทัย พร้อมด้วยนายณรงค์ชัย โตอินทร์ ปราชญ์ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้ร่วมกันลงพื้นที่พิสูจน์ “แก้งขี้พระร่วง” ต้นไม้ในตำนานซึ่งหาดูได้ยาก บริเวณป่าสวนลุ่มเชิงเขาหลวงภายในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
       
       จากการเดินเท้าค้นหาตามเส้นทางข้างลำห้วยที่มีสภาพเป็นทางราบเรียบสลับเนินเขาในผืนป่าดิบสมบูรณ์ ระยะทาง 1 กิโลเมตร จึงได้พบต้นแก้งขี้พระร่วง หรือตามภาษาท้องถิ่นสุโขทัยเรียกว่า “ไม้เช็ดตูดพระร่วง” ที่เป็นไม้กลิ่นเหม็น จำนวน 1 ต้น

       

       นายพงศ์เลิศกล่าวว่า ไม้แก้งขี้พระร่วง อยู่ในวงศ์ ULMACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Celtis timorensis Span ภาคกลางเรียกว่า ตะคาย มะหาดน้ำ เยื้อง หมอนดง ส่วนภาคใต้เรียกว่า ตายไม่ทันเฒ่า โคราชเรียกขี้พระร่วง หรือมันปลาไหล น่านเรียกเช็ดก้นพระเจ้า เชียงใหม่เรียกเช็ดขี้พระเจ้า ลำปางเรียกแก้งขี้พระร่วง แต่สุโขทัยเรียกไม้เช็ดตูดพระร่วง
       
       “แก้งขี้พระร่วง” เป็นไม้ต้นสูง 5-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม เปลือกสีเทา เรียบ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลคล้ำ กิ่งอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนนุ่มสั้นคลุม ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว มน ขอบใบเรียบถึงหยัก ดอกเล็กออกเป็นช่อสั้นๆตามง่ามใบ ผลรูปไข่ ปลายผลเป็นติ่งคล้ายง่ามหนังสติ๊ก ซึ่งเจริญมาจากปลายก้านเกสรเพศเมีย เมื่อสุกสีแดง
       
       โดยมีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150-600 เมตร ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
       
       “เนื้อไม้แก้งขี้พระร่วงมีกลิ่นเหม็น ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง แต่มักนำมาปรุงเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก”

       

       นายนิต พลบุญ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหง กล่าวว่า แก้งขี้พระร่วง เป็นต้นไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และปลูกขยายพันธุ์ได้ยาก มีเฉพาะในป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร เป็นไม้เปลือกบาง รากแข็ง ดูแลยาก ไม่ควรขุดเอาไปปลูกตามบ้านเด็ดขาด เพราะยังไงก็ไม่รอด แต่ก็ยังพอมีให้เห็นที่ป่าเขาหลวงสุโขทัย
       
       นายณรงค์ชัย ปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่า ตามตำนานพระร่วงผู้มีวาจาสิทธิ์แห่งกรุงสุโขทัย เล่าว่าเมื่อครั้งพระร่วงประพาสป่าเสด็จไปลงพระบังคน เสร็จแล้วทรงหยิบไม้ใกล้ๆมาชำระแล้วโยนทิ้งไป ไม้นั้นก็เกิดเป็นต้นมีพันธุ์แพร่หลายมาจนทุกวันนี้ ชาวบ้านสุโขทัยเรียกว่า “ไม้เช็ดตูดพระร่วง” เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หากนำพกติดตัวจะสามารถป้องกันสิ่งชั่วร้าย และภูตผีปีศาจได้
       
       “สมัยโบราณนิยมใช้ใบฝนคั้นน้ำเป็นยาแก้โรคอหิวาต์ และขับพยาธิในไก่ได้ดีมาก อีกทั้งยังเป็นเคล็ดลับยาดีของซุ้มไก่ชนมีชื่อมาตั้งแต่โบราณด้วย”
       
       นอกจากนี้ยังถือเป็นไม้แปลก หายากมากๆ มักถูกลักลอบขุดออกไปปลูกกันที่บ้าน แต่เนื่องจากเป็นไม้พุ่มเล็ก เปลือกบาง มีรากน้อย ชอบอยู่ในที่เย็นข้างลำธาร เมื่อถูกขุดย้ายจะไม่มีโอกาสรอดตาย จึงขอฝากทุกภาคส่วนช่วยกันอนุรักษ์เพราะหาได้ยากขึ้นทุกที





ชมคลิปได้ที่
https://youtu.be/C1QQE26l0PQ
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000088966
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

feel-sad

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า