ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนอดีต พาทุกคนมารู้จัก 'แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์' ของไทย  (อ่าน 792 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ย้อนอดีต พาทุกคนมารู้จัก 'แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์' ของไทย


สัปดาห์นี้พาย้อนอดีต มารู้จักแม่น้ำศักดิ์สทธิ์สายสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงคนไทยจนถึงปัจจุบัน

ที่อินเดียแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของเขา คือ...แม่คงคา หรือ “เทวนาครี” เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ที่ไหลมาคู่ขนานกันกับแม่น้ำยมุนา ต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัย

ส่วนแม่น้ำเสียมราฐ เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของกัมพูชาที่มีต้นกำเนิดจากเขาลิ้นจี่ หรือ “พนมกุเลน” เป็นเทือกเขาสูง 800 ม. ทอดตัวยาว 37 กม. อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมราฐ 60 กม. โดยในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางเมืองหลวง

ทั้งยังเป็นสถานที่ใช้ประกอบศาสนพิธีไศวนิกาย รดน้ำลงบนปลายศิวลึงค์ “สัญญลักษณ์ของศิวเทพ” เคลื่อนผ่านฐานโยนี “สัญลักษณ์ขององค์อุมาเทวีมเหศวร” ไหลรวมสู่ผืนน้ำใหญ่แม่น้ำเสียมราฐ ทำให้ชาวกัมพูชาเชื่อว่า แม่น้ำสายนี้ที่มีต้นกำเนิดจากเขาพนมกุเลน เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยได้



ขณะที่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากแหล่งเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา และนำน้ำจากแม่น้ำ 5 สายสำคัญ เรียกว่า...เบญจสุทธิคงคา

ประกอบด้วย
    1. น้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ต.ท่าไชย จ.เพชรบุรี
    2. น้ำในแม่น้ำราชบุรี ตักที่ต.ดาวดึงส์ จ.สมุทรสงคราม
    3. น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ต.บางแก้ว จ.อ่างทอง
    4. น้ำในแม่น้ำป่าสัก ตักที่ต.ท่างาม จ.สระบุรี และ
    5. น้ำในแม่น้ำบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์ จ.นครนายก

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี 2411 ได้เพิ่มน้ำในสระ 4 สระ เมืองสุพรรณบุรีเป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เพิ่มน้ำจากพระมหาเจดีย์สถานหลัก 7 แห่ง



1. น้ำจากแม่น้ำป่าสัก ทำพิธีเสกน้ำที่รอยพระพุทธบาทสระบุรี ด้วยว่าเคยเป็นที่ตั้งของเมืองละโว้ และกรุงศรีอยุธยา

2. น้ำขากทะเลแก้วและสระแก้ว เมืองพิษณุโลก และน้ำจากสระสองห้อง ทำพิธีเสกน้ำที่วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เพราะที่นี่เป็นสถานที่สำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนือ

3. น้ำที่กระพังทอง กระพังเงิน กระพังช้างเผือก กระพังโพยสี โชกชมพู น้ำบ่อแก้ว น้ำบ่อทอง จากเมืองสวรรคโลก ที่นี่มีความสำคัญในสมัยพระร่วงเจ้า สุโขทัย

4. น้ำจากบ่อวัดหน้าพระลาน บ่อวัดเสมาชัย บ่อวัดเสมาเมือง บ่อวัดประตูขาว ห้วยเขามหาชัย และน้ำปากบ่อนาคราช ทำพิธีเสกน้ำที่วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช

5. น้ำบ่อทิพย์ นครลำพูน ทำพิธีเสกน้ำวัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญ ในหัวเมืองฝ่ายเหนือที่ประกอบไปด้วย นครหริภุญไชย นครเขลางค์ นครเชียงแสน นครเชียงราย นครพะเยาและนครเชียงใหม่

6. น้ำจากบ่อวัดพระธาตุพนม ทำพิธีเสกน้ำวัดพระธาตุพนมมณฑลอุดร ที่นี่มีความสำคัญเคยเป็นเมืองโคตรบูรณ์ในภาคอีสาน

7. น้ำจากแม่น้ำในนครชัยศรี ต.บางแก้ว น้ำกลางหาว บนองค์พระปฐมเจดีย์ น้ำสระพระเจดีย์ น้ำสระน้ำจันทร์ ทั้งหมดทำพิธีที่พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญ สมัยทวารวดี



“น้ำ” จึงมีความสำคัญและเกี่ยวกับกับวิถีชีวิตของไทยไม่น้อย ในอดีตกรุงเทพฯ หรือบางกอก เคยถูกเรียกว่า “เวนิสตะวันออก” เพราะเต็มไปด้วยคูคลอง เชื่อกันว่ามีเรือนแพนับหมื่นเลยทีเดียว

ปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังคงชมชอบท่องเที่ยวไปตามลำน้ำ ซึ่งแม่น้ำหลายสายในไทยนอกจากสวยแล้ว ยังถูกนำมาใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เพราะว่า...น้ำไม่ได้หมายถึงความร่มเย็นและความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการชำระล้างและอำนาจอีกด้วย แหล่งน้ำที่มาจากทั่วทุกภาคของไทยยังหมายถึง การถวายพระราชอำนาจแด่องค์พระมหากษัตริย์.


คอลัมน์ : ชำเลืองเมือง โดย “แรมทาง”
ขอบคุณภาพจาก : sites.google, hiveminer, วิกิพีเดีย
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/665293
อังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา 11.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ