ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ความคิดถึง 101" ว่าด้วยความคิดถึงที่ใครๆ ต่างก็เคยเป็น  (อ่าน 666 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



"ความคิดถึง 101" ว่าด้วยความคิดถึงที่ใครๆ ต่างก็เคยเป็น

ในชีวิตคนเรา เป็นเรื่องปกติที่เราจะนึกถึงคน ช่วงเวลา สถานที่ สิ่งของ หรือ อะไรก็ตามแต่ที่มีผลต่อความรู้สึกของเรา แล้วคุณเคยนึกถึงอะไร จนยิ้ม หรือ ร้องไห้ออกมาบ้างรึปล่าว ? ความรู้สึกเหล่านี้ คือ ความคิดถึง ที่มีอาณุภาพรุนแรงต่อความรู้สึกของเรา มันสั่งให้เราทำอะไรก็ได้ รู้สึกดี หรือ รู้สึกแย่ ความคิดถึงมันมีผลต่อเรามากขนาดนั้นเลยหรอ แล้วจริงๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ ?

@@@@@@

ความคิดถึงคืออะไร.?

ความคิดถึง ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง การนึกถึง , นึกถึงด้วยใจผูกพัน ในภาษาอังกฤษ Miss (v.) to discover or feel the absence of คือ การรู้สึกถึงการไม่มีอยู่ การไม่มีตัวตน ในตามหลักภาษาจะแปลความหมายได้ในเชิงนี้

แต่ในด้านอารมณ์ความคิดถึง คือ การนึกถึงเวลาเก่าๆ นึกถึงความสัมพันธ์หรือช่วงเวลาที่มีความผูกพันระหว่างกัน มีความใกล้ชิด มีเรื่องราวดีๆ ด้วยกัน หรือ เป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด

แต่เอาเข้าจริงๆ คนเรามักจะเลือกจำแต่ช่วงเวลาดีๆ แม้ความคิดถึงนั้นอาจจะเต็มไปด้วยความเจ็บช้ำบ้าง แต่การได้หวนนึกถึงบางคน หรือ บางสิ่งก็เป็นความทรงจำที่ดี ที่ถ้าไม่มีเรื่องราวที่ดี เราคงไม่คิดถึงสิ่งนั้น


@@@@@@

ประวัติศาสตร์ความคิดถึง

ความคิดถึง เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนรู้จักกันดี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน ไม่ใช่ในเชิงความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิต แต่รวมถึง สิ่งไม่มีชีวิต สถานที่ ช่วงเวลา หรืออะไรต่างๆ ที่เราพอจะนึกถึงได้ ซึ่งนั้นเป็น “สิ่งที่มีผลต่อความรู้สึกของเราอย่างจริงแท้แน่นอน”

ช่วงคริสศตวรรษที่ 17 เริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับความคิดถึง แต่ศึกษาในเชิงผลเสียที่เกิดขึ้นต่อความคิดถึงมากกว่า โดยในทางจิตวิทยา เราเรียกความคิดถึงว่า “Nostalgia” มีรากศัพท์จากภาษากรีซ โดยเกิดจากการผสมคำระหว่าง “Nosto” แปลว่า “Homecoming” ซึ่งแปลว่า “การกลับบ้าน” กับคำว่า “Algos” ที่แปลว่า “Pain” ความเจ็บปวด

@@@@

โดยคำนี้เกิดขึ้นจากนักศึกษาแพทย์ที่ใช้เรียกอาการวิตกกังวลและความกลัวของมิชชันนารีชาวสวิสคนหนึ่ง ที่ต้องจากบ้านมาไกลเพื่อเผยแพร่ศาสนา หรือ อาการ “Homesick”

แต่เธอเกิดระดับที่รุนแรงจนเป็นความผิดปกติทางจิตใจ ผลกระทบทำให้เกิด การนอนไม่หลับ (Insomnis) , ความวิตกกังวล (Anxiety) , ความผิดหวัง (Depression) และนักวิจัยหลายคนบอกว่า “Nostalgia” เป็นอาการของโรคประเภทหนึ่ง

จนปลายคริสศตวรรษที่ 19 มีการศึกษาเกี่ยวกับ Nostalgia หรือความคิดถึงในเชิงบวก และ โรแมนติกมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักจิตวิทยาได้นิยามว่า เป็นการรำลึกหรือนึกถึงสิ่งตางๆ ในอดีตซึ่งปัจจุบันไม่มีอยู่ จากหลายงานวิจัยพบว่า เราจะนึกถึงสิ่งต่างๆ ในอดีตในช่วงเวลาที่เรามีความสุข และส่งผลให้เรารู้สึกอบอุ่น และ เป็นความคิดเชิงบวกเมื่อเวลาเราคิดถึง

@@@@@@

อะไรทำให้เราคิดถึง.?

ตามหลักวิทยาศาสตร์ร่างกายเราผลิตสารเคมี ฮอร์โมนธรรมชาติที่ผลิตโดยต่อมและตัวรับส่งสัญญาณระบบประสาทส่วนกลาง วิวัฒนาการของสารเคมีเหล่านี้มีผลต่อการสร้างพันธะทางอารมณ์ ทำให้รักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ทำให้เรารู้สึกถึงการมีชีวิตชีวา

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง คือ ฮอร์โมน Estrogen หรือ Testosterone และ ฮอร์โมน Oxytocin (ฮอร์โมนแห่งความรัก ที่มีความสามารถการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและพฤติกรรม เพิ่มความรู้สึกเชิงบวก) ซึ่งทั้งสองฮอร์โมนมีความข้องเกี่ยวกับ สาร Serotonin (การควบคุมอารมณ์) และ Dopamine (การเคลื่อนไหว ความสุข การรับรู้ เรียนรู้ และ การจดจำ)

ยิ่งถ้าเราอยู่ หรือ นึกถึงคนที่เรารัก ร่างกายจะผลิตสารเคมีนั้นขึ้นมามากมาย ซึ่งเป็นเคมีแห่งความสุข เช่นเดียวกับเวลาเราเสพสารเสพติด ร่างกายของเราจะได้รับพลังแห่งความสุขนั้น และ ต้องการมันมากขึ้นในครั้งต่อๆ ไป

แต่ถ้าหากความคิดถึงทำให้เราเจ็บ อาจจะต้องใช้เครื่องมือ ที่เรียกว่า เวลา รักษาให้กลับมาในภาวะปกติ อย่างคำที่มีคนเคยบอกว่า “ให้เวลาเป็นสิ่งรักษา” “เวลาเป็นยาที่รักษาความเจ็บปวด” อะไรแบบนั้น

@@@@@@

เราคิดถึงอะไรบ้าง.?

“อะไรก็ตามที่มีผลต่อความรู้สึกเรา เราก็จะคิดถึงมัน” ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อน แฟน แฟนเก่า คนที่แอบชอบ คนที่เดินสวนกัน ครอบครัว สัตว์เลี้ยงที่รัก หรือ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ช่วงเวลานั้นๆ , สิ่งของที่เต็มไปด้วยความทรงจำ , สถานที่ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงคนและความรู้สึกในขณะนั้นของเรา , เพลงที่เคยฟัง หรือ เพลงที่ทำให้เราหวนนึกถึงเวลาเก่าๆ และอะไรอีกมากที่เราจะเชื่อมโยงได้

ข้อดีของการคิดถึง ทำให้เราอบอุ่นใจเวลานึกถึง ได้ทบทวนช่วงเวลาแห่งความสุข ทำให้เรายิ้มได้ มีความสุข ช่วยลดความเบื่อได้ และ สามารถได้ระลึกถึงความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคม (socail support) คือ เราจะนึกถึงบุคคลที่คอยสนับสนุนเรา ส่งผลให้เราคลายความเครียดและวิตกกังวลได้ หรือ แม้แต่ความคิดถึงช่วยให้เรามีกำลังใจสู้กับปัญหาต่อไป

ในทางการตลาด นำเอา ความคิดถึง มาเป็นกลยุทธ์ในการขายสินค้าและบริการ ที่เรียกว่า “Nostalgic Marketing” ที่เอาความรู้สึกคิดถึงของคนเรามาแปรเปลี่ยน เป็นความรู้สึกผูกพันต่อสิ่งนั้น เช่น เห็นสิ่งนี้เมื่อตอนเป็นเด็ก ก็นำมาปัดฝุ่น สร้างสินค้านั้นใหม่ หรือ จัดคอนเสิร์ตศิลปินยุคเก่า ให้คนช่วงเวลานั้นได้หายคิดถึง เป็นต้น

แต่ข้อเสียของมันก็มีเหมือนกัน อาจจะทำให้เราเศร้า เสียใจ วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือ ผิดหวัง อาจเพราะ เราเสียดายช่วงเวลาดีๆ ที่มีต่อกันก็เป็นได้

@@@@@@

ความคิดถึง คือ ความเจ็บปวดที่งดงาม

ทำไมเราถึงต้องนิยามแบบนั้น เพราะ เมื่อเวลาเราได้คิดถึงอะไรบางอย่าง แม้ว่าเรากำลังเศร้า หรือ เรากำลังร้องไห้ สมองของเรามักเลือกจำในช่วงเวลา ความทรงจำที่ดี ความทรงจำกลับมาหาเราตลอดในเวลาที่เราคิดถึง ความคิดถึงจึงอาจเป็น “ความเจ็บปวดที่งดงาม” (ในกรณีที่เราเศร้า)

แต่เชื่อเถอะว่า ความคิดถึงที่วันนี้อาจจะรู้สึกเจ็บปวด เวลาผ่านไปมันจะกลายเป็น ความทรงจำที่ดีให้กลับไปนึกถึงแล้วเราไม่เจ็บอีกต่อไป ให้ได้นึกถึง ไม่ใช่ได้มาครอบครอง


@@@@@@

วิธีจัดการกับความคิดถึง

เพราะ “ความคิดถึงมีอิทธิพลต่อตัวเรา”  วิธีจัดการกับความคิดถึง อาจไม่มีวิธีที่ตายตัว เป็นความสามารถเฉพาะทางของบุคคลที่จะจัดการความรู้สึกตรงนั้น อาจจะหากิจกรรมทำที่สร้างความผ่อนคลายให้เรา ดูหนัง ฟังเพลง ดูรูปถ่าย ส่งข้อความ โทรไป (ถ้าคิดถึงก็บอกไปเลย) หรือ ถ้า Loser หน่อยๆ อาจทำได้แค่คิดถึง ก็แค่นั้น

ถ้าความคิดถึงของเรา มันไม่ทำให้เราเดือดร้อน หรือ มีผลกระทบต่อเรามาก ก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไรที่เราจะต้องจัดการมันออกไป ให้ทุกครั้งที่เราคิดถึง ยิ้มได้ รู้สึกดี มันก็โอเคนะ ส่วนใครที่ “ทำได้แค่คิดถึง แต่ไม่ถึง” ก็ไม่เป็นไร ให้การคิดถึง เป็นความทรงจำดีๆ  ที่เราเก็บไว้ในใจ และ ได้รู้สึกดีทุกครั้งที่นึกถึง

@@@@@@

ระหว่างที่อ่านบทความ เปิดฟังเพลงนี้ไปด้วย ให้จมลึกสุดใจกันไปเลย
https://youtu.be/Ef_Mmevd8dg


ขอบคุณที่มา : https://www.mangozero.com/missyou101-subject/
Mango Zero , Writer : nardpradabt : 11 กันยายน 2561
อ้างอิง :-
https://nedawriterblog.wordpress.com/2015/12/23/จิตวิทยาแห่งความคิดถึง/
https://www.thairath.co.th/content/456077
https://www.theodysseyonline.com/the-science-missing-someone
https://www.letstalkrelations.com/why-do-we-miss-someone.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ