ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะนำมูลกรรมฐาน มาถ่ายทอด ต้องนึก ต้องท่อง ต้องจำได้  (อ่าน 6395 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
บทเกริ่นนำ




"สำนวน ในโยชนา มูลกัจจาย ฉบับไวยากรณ์ ( ที่หลายคนรู้จัก ) จะแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง แต่อันนี้ไม่ใช่ฉบับ มูลกรรมฐาน ฉบับ มูลกรรมฐาน หายาก อันคัมภีร์ มูลกัจจายนะ ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน คือฉบับไวยากรณ์ เท่าที่เรียนมา มี มูลกัจจายนะ มีอยู่ ประมาณ 10 ชุด
เท่าที่จำได้ คือ 1.ชุดไวยากรณ์ 2.ชุดมูลกรรมฐาน 3.ชุดพยากรณ์ 4.ชุดประมวลธรรม และ อีก 6 ชุด จำชื่อไม่ได้ นะ เพราะไม่สนใจ สนใจเพียงชุดเดียว คือ ชุดมูลกรรมฐาน ไม่ใช่ ชุดไวยากรณ์
นี่เป็นตัวอย่างสำนวณ ใน มูลกัจจายนะ ฉบับ โยชนา อุณาทิ และ กิพพิธาน

ว่าด้วยเรื่อง สมาธิ และ สมถ
"กิเลเส สเมตีติ สมโถ, สมาธิ. สมุ อุปสเม , ธาตุสญฺญาทิ, กฺวจิสทสฺสานุวตฺตนโต น ธาตุวนฺตสฺส โลโป, อิมินา ถปจฺจโย ทมนํ ทมโถ......

สภาวะใด ยังกิเลส ให้สงบ เหตุนั้น สภาวะนั้น ชื่อว่า สมถ ได้แก่ สมาธิ สม ธาตุ ในตวามสงบ ตั้งขื่อธาตุ เป็นต้น เพราะการตามมา ของ กฺวจิ ศัพท์ ลง ถ ปัจจัย ด้วยสูตรนี้ การฝึก ชื่อว่า ทมถ......"


มันก็ยากอยู่เหมือนกัน ที่จะนำมาแสดงให้ท่านทั้งหลาย ได้เข้าใจ โขคของฉันได้ พระอาจารย์ที่ดี สั่งสอนมูลกรรมฐาน กัจจายนะ จึงอยู่กับฉันส่วนหนึ่ง และ มูลกัจจายนะ ฉบับไวายากรณ์ นั้น ฉันก็จดจำไว้ได้ส่วนหนึ่ง แต่จำไว้ได้เฉพาะ ที่เกี่ยวกับกรรมฐาน ถ้าไม่เกี่ยวก็จะไม่จำ เพราะตอนเรียนกันปากเปล่า ไม่มีกระดาษปากกาจด ท่านท่องเราฟัง ท่าานอธิบาย เราจำ และก็แปล ......
ฉันก็มีความสุข ที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้ แต่เสียดาย ปัญญาฉันมีไม่มาก ไม่สามารถจดจำได้อย่างที่ต้องการ ก็เอาเท่าที่พอจำได้ นะ
."
ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

ฉบับโยชนา เป็น ฉบับประพันธ์ โดยพระญาณกิตติ สมัยล้านนา ไม่ใช่ ฉบับแท้ที่เป็น ของ พระกัจจยานะ รจนาไว้ คราครั้งพุทธกาล ทำให้เข้าใจผิด แต่ฉบับ โยชนา ก็อ้างอิง มาจากฉบับคัดลอกเก่า เช่นกัน สำนวณบางครั้ง ก็ผิด บางครั้ง ไปตามการคัดลอก และบันทึก แค่ ฉบับ บาลีมูลกัจจายน์ นี้ ในประเทศไทย มีฉบับที่ชัดเจน 7 ฉบับ มีชื่อเสียง อันดับเจ็ดก็อยู่ทีวัด สังกัจจายน์ เป็นฉบับใบาลาน ขอมบาลี ถูกคัดลอกในสมัย ร4 ไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ แต่ฉบับที่พระนิยมใช้เรียน กันในสมัย ร3 มา จนมาเปลี่ยนชื่อว่า หลักสูตรใหม่ นั้นเดิมที นิยมใช้ฉบับ ทองน้อย เพราะฉบับนี้ถูกคัดลอกเป็นจำนวนมาก เป็นทางการ 3 ชุด คือ ฉบับทองทึบ ฉบับล่องชาด ฉบับวัดสังข์กระจาย

ส่วนฉบับรดน้ำดำโท ( ต้น ) ฉบับเทพชุมนุม นั้น ( ไม่มีการคัดลอก )

ส่วนฉบับทองน้อย นั้น คัดลอกมาจาก ฉบับรดน้ำดำโท ( ต้น ) ดังนั้นสรุปก็คือ โยชนามูลกัจจายน์ นั้น ถูกคัดลอกมาจริงจังในสมัย ร3 เรียบเรียงเป็นใบลาน ฉบับค่อนข้างจะสมบูรณ์ ชื่อว่า ฉบับรดน้ำดำโท และ ฉบับถูกคัดลอกมาอีก ยุค ร3 อีก สองสายคือ ฉบับทองน้อย และฉบับเทพชุมนุม พอมาในสมัย ร4 ฉบับทองน้อยก็ถูกคัดลอก ออกมาเป็นสามสาย คือ ฉบัยทองทึบ ฉบับวัดสังข์กระจาย ฉบับล่องชาด

นี่เป็นคำตอบ ว่า ทำไม ฉันจึงไม่ค่อยอยากจะถ่ายทอด เรื่องมูลกรรมฐาน กัจจายนะ ที่ครูท่านสอนไว้ ซึ่งมันเป็นการจดจำ และท่องไว้ กับท่าน ซึ่งไม่ใช่ฉับ โยชนา คือ ไวยากรณ์ แต่เป็นฉบับ มูลกรรมฐาน ดังนั้นข้อความที่จะถ่ายทอดไว้เผื่อฉันต้องจากท่านตลอดกาล ก็ไม่อยากให้สูญไปกับฉัน ก็จะพยายามถ่ายทอดส่วนสำคัญไว้ เท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 01:59:53 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1178.0
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12 st12

เรื่องเริ่มเข้มข้น ลึกซึ้งขึ้นแล้ว เรือ่ง มูลกรรมฐาน กัจจายนะ แต่เป็นที่น่าแปลกใจ พระอาจารย์ไม่ใส่ไว้ในห้องศิษย์สายตรง หรือว่า ตั้งใจเปิดเผยวิชชา กันเลย

   หรือว่า พระอาจารย์ กำลังจะจากไปแล้ว

   :41: :41: :41:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ส่วนการเทียบ ฉบับ ก็คล้าย ๆ กับพระไตรปิฏก คือ พระไตรปิฏก ก็มีหลายฉบับ เช่นกัน แต่ฉบับต้น ก็คือ สยารรัฐ ทั้งบาลี และ ไทย ต่อมาก็มี ฉบับ มหามกุฏ ฉบับ มหาจุฬา ฉบับ ย่อ ฉบับ ชาวบ้าน ฉบับ กัณฑ์ ใบลาน และอีก ๆ หลายฉบับ

แต่ทกฉบับ เนื้อหาจะตรงตามบาลี ตามหัวข้อ แตกต่างกันที่สำนวนการแปล ส่วนตัวยอมรับสำนวนของมหาจุฬามากที่สุด แต่เล่มที่อ่านครั้งแรก คือ ฉบับมหามกุฏ แต่ที่อ่านไม่ค่อยกระดิกเลย วางไว้นาน และ นาน ๆ จะอ่าน คือ สยามรัฐ แต่ที่อ่านประจำคือ ฉบับบาลี เพราะเอาไว้เทียบกับการแปล ซึ่งบางคำสงสัยทำไมแปลอย่างนี้ ก็ต้องเทียบกับไปที่ต้นศัพท์ คือ ฉบับบาลี ดังนั้น ฉบับบาลี ใช้ สยามรัฐ

คัมภีร์ มูลกัจจายน์ นั้น ดั้งเดิม มี 16 ชุด แบ่งเป็น บท ต่าง ๆ แต่ก็จำชื่อไม่ได้ทั้งหมดจากครูอาจารย์ ที่คนรู้จักกันทั่วไป และมีสอนกันบ้างแล้วตอนนี้ คือ โยชนามูลกัจจายน์ หรือ บาลีมุลกัจจายน์ มี 683 บท ( ถ้าจำผิดขออภัย แต่น่าจะ 600 ขึ้น ) แต่ละบทก็มีการขยาย บทอีกกันเป็น 10 หน้าเรียกว่า การวุตติปกรณ์ ภาษา ด้วยการกระจายต้นศัพท์ ต้นแบบ และก็มีการถอดออกมาเป็น ไวยากรณ์ สมัยใหม่ ชุดหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด

ส่วนมูลกรรมฐาน นั้น เค้าโครงมาจาก ลังกา ภาษสิงหล ผู้ที่รจนา ใหม่ คือ พระพุทธโฆษาจารย์ เรียกชื่อว่า วิมุตติมรรค ปัจจุบันคือ วิสุทธิมรรค สำหรับมูลกรรมฐานนั้น เป้นการเรียนของ พระเปรียญบั้นปลาย ( คือชั้นเอก เทียบเท่ากับ ปธ. 8 - 9 ในสมัยปัจจุบัน ) การสืบมูลกรรมฐาน กัจจายนะก็ยังมีการสืบทอดในรูปแบบของ วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นระดับการแปล มูลกรรมฐานบางส่วน ประโยค ปธ.8 โดยตรงที่จะได้เรียนตรงนี้ ซึ่งระบบการสอนปัจจุบันยังรักษาไว้อยู่ ดังนั้น กล่าวได้ว่า โยชนามูลกัจจายน์ มีสอน ในเปรีญญบั้นต้น และ บั้นกลาง คือ ปธ 1 - 7 ส่วน มูลกรรมฐานกัจจายน์ นั้น อยู่ที่ ปธ 8 ส่วน ปธ.9 ก็เป็น มูลกรรมฐานบางส่วน แต่ เป็นส่วนพยากรณ์ ก็มี ปัจจุบันไปเน้นเรื่องการแต่งฉันท์ ด้านภาษาไป ดังนั้นกล่าวได้ว่า มูลกรรมฐานแบบกัจจายน์ บางส่วนยังคงมีเรียนอยู่ที่ ปธ.8 ตั้งแต่ ปรมัตถสาลิณี จนถึง วิสุทธิมรรค

แสดง ว่า ปธ.8 เก่งเรื่องกรรมฐาน ใช่หรือไม่
คำตอบคือไม่ใช่ เพราะ วิสุทธิมรรค เป็นคำบรรยายแบบปริยัติ ยังไม่จัดเป็นการภาวนา แม้ พระพุทธโฆษาจารย์ จะกล่าวเป็นภาวนา แต่เป็นรูปแบบภาษา ซึ่งเป็นต้นบท วิธีการปฏิบัติอยุ่ที่การอธิบาย ซึ่งแตกต่างจากกรรมฐาน อย่าง มัชฌิมา แบบลำดับ คือ ภาวนา ไปเลย แต่ มูลกรรมฐานกัจจายน์ นั้นมีคำอธิบายขั้นตอนเช่นเดียวกับกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ดังนั้นครูอาจารย์ อย่างสมเด็จสุก ( หลวงปู่สุก ) ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ บาลีกัจจายน์ และ เรียนถึงขั้นบั้นปลาย ท่านจึงเข้าใจ มูลกรรมฐานกัจจายนะ ด้วย ดังนั้นรูปแบบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงสอดคล้องกับ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ซึ่งแม้อาตมาเรียนมาก็ยังไม่มีที่ขัดกัน มีแต่ส่งเสริมเกิดความเข้าใจมากขึ้น นี่เรียกว่า ยังเป็นดั้งเดิมนั่นเอง ดังนั้น ใน ปธ. 8 ไม่มีขั้นตอนการเดินจิต อย่างมูลกรรมฐานกัจจายน์ ฉบับแท้ นั่นเอง จึงกล่าวได้ว่า แม่ ปธ.8 - 9 ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติ เป็น อัปปนาจิต จึงไม่แปลกใจ เพราะเป็นเพียงภาษา ที่สื่อธรรมเท่านั้น มูลกรรมฐานต้องอาศัยการเรียนด้วยวาจา และ วิธีการปฏิบัติแจ้งกรรมฐาน ก็เป็นวาจาดังนั้นส่วนนี้ จึงเป็นการสืบทอดด้วยวาจา และ ท่องหัวข้อไว้

ส่วนคัมภีร์ วิสุทธิมรรค มีปริจเฉท อยู่ 23 ปริจเฉท แต่ มูลกรรมฐานกัจจายนะ มีหัวข้อ คล้ายคลึงแบบโยชนามูลกัจจาย์ คือตั้งบทท่อง และกระจาย มีอยู่ ส่วน สมถะ มี 120 หัวข้อบทตั้ง ส่วนวิปัสสนา 96 หัวข้อบทตั้ง ซึ่งฉันจะพยายามถ่ายทอด ก่อนจะละสังขาร ติดตามกันต่อไป บทสุดท้าย ก็คือ ออกบัวบานพรหมวิหารสี่ วิสุทธิ ซึ่งไล่ใกล้เคียงกับกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ สมดั่งที่ครูอาจารย์ท่านถ่ายทอดไว้ตรงกันเป็นส่วนใหญ่ นั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 11:42:26 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อ่านต่อ ตอนที่ 1
ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20895

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 06:07:53 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณครับ ที่พระอาจารย์ ช่วยเรียงตอนเชื่อมโยงไว้ให้ด้วย ผมกังวลอยู่เหมือนกัน ว่าจะตามอ่านไม่ครบ อย่างนี้สบายใจขึ้นมากครับ

  :25: :25: :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ

       คงต้องขยันอ่านอีกมาครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

 เป็นการเปิดเผย สายกรรมฐาน ของพระอาจารย์สนธยา ครั้งแรก

บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :welcome: thk56 st12 st11
         นี้คือ กรรมฐานเดิม มูลกรรมฐานกัจจายนะ

     
                นั้น เกิดตั้งแต่ ครั้งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนชีพ ครับ

                      พระสังกัจจายนะ เป็นผู้ รจนา


              แสดงว่าเกิดก่อน พระไตรปิฏก  (โปรดให้ความสำคัญ)


               เพราะ ว่า หากเกิดแต่สมัยนั้น คือต้องผ่าน พระพุทธองค์ด้วย จริงใหม


                        พระไตรปิฏก เกิดหลัง พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์พระปรินิพพาน




                       แสดงว่า ....มูลกรรมฐานกัจจายนะ    รจนาขึ้นก่อน

                  และพระมหากัจจายนะ ท่านเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทาญาณ อย่างเลิศอยู่แล้ว

    ใจความในมูลกรรมฐาน  ก็ต้องไม่ธรรมดา ครับ



                                                 จากครูบาอาจารย์เล่าไว้
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st11
           ครูบาอาจารย์ท่านเกริ่นนำเท่านั้น สำหรับตอนต่อๆไป

            ล๊อคไว้ในห้องศิษ์สายตรงแล้วครับ


             นี้เป็นเพิงบทนำเท่านั้น  ยังไม่ถึงตัวบทนะครับ

 
                      เท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา