ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ที่แสดงสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติว่าบัญญัติ ผลเสียที่ มี หรือ ไม่มี  (อ่าน 3012 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผู้ที่แสดงสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติว่าบัญญัติ พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นไว้ว่าอย่างไร   
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรม  นี้ให้อันตรธาน ฯ
[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตทรงภาษิตไว้ตรัสไว้ ฯลฯ  ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า  พระตถาคตมิได้ทรงภาษิต  มิตรัสไว้  ฯลฯ
ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ
ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมไว้ ฯลฯ
ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ฯลฯ
ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตทรงบัญญัติ  ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
    ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนัตถะใช่ประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน ฯ
 [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าอธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า ธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตมิได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ว่าพระตถาคตได้ทรง ภาษิต ได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมที่พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติว่า ตถาคตทรงบัญญัติ
       ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ
 
(ไทย) อํ. เอก. ๒๐/๑๙ -๒๐/๑๓๑–๑๓๔:คลิกดูพระสูตร
(บาลี) อํ. เอก. ๒๐/๒๕ -๒๖/๑๓๑–๑๓๔:คลิกดูพระสูตร
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ธรรมะ คือ ไม่มี ธรรมะ เป็น อนัตตา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 08, 2015, 07:41:28 pm »
0
ธรรมะ แท้ ๆ ไม่มี บัญญัติ
               ไม่มี อักขระ
               ไม่มี ภาษา
               ไม่มี อะไรต้องรู้
               ไม่มี อะไรยึดมั่น ถือมั่น
               ไม่มี ชนชาติ
               ไม่มี ศาสนา
          เพราะ ธรรมะ ไม่เป็นอะไร เลย

    มีแต่ เพียง สิ่ง หนึ่ง ๆ ที่ไม่สามารถ ระบุ อะไร ได้ นั่นแหละ เกิด ดับ เท่านั้้น

   เท่านี้ก็บรรลุธรรม แล้ว
    :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมะ คือ ไม่มี ธรรมะ เป็น อนัตตา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 08, 2015, 08:07:09 pm »
0
ธรรมะ แท้ ๆ ไม่มี บัญญัติ
               ไม่มี อักขระ
               ไม่มี ภาษา
               ไม่มี อะไรต้องรู้
               ไม่มี อะไรยึดมั่น ถือมั่น
               ไม่มี ชนชาติ
               ไม่มี ศาสนา
          เพราะ ธรรมะ ไม่เป็นอะไร เลย

    มีแต่ เพียง สิ่ง หนึ่ง ๆ ที่ไม่สามารถ ระบุ อะไร ได้ นั่นแหละ เกิด ดับ เท่านั้้น

   เท่านี้ก็บรรลุธรรม แล้ว
    :smiley_confused1:


   บรรลุ แล้ว หรือ ยัง ?
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ผู้ที่แสดงสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติว่าบัญญัติ พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นไว้ว่าอย่างไร   
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรม  นี้ให้อันตรธาน ฯ
[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตทรงภาษิตไว้ตรัสไว้ ฯลฯ  ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า  พระตถาคตมิได้ทรงภาษิต  มิตรัสไว้  ฯลฯ
ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ
ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมไว้ ฯลฯ
ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ฯลฯ
ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตทรงบัญญัติ  ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
    ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนัตถะใช่ประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน ฯ
 [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าอธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า ธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตมิได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ว่าพระตถาคตได้ทรง ภาษิต ได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมที่พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติว่า ตถาคตทรงบัญญัติ
       ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ
 
(ไทย) อํ. เอก. ๒๐/๑๙ -๒๐/๑๓๑–๑๓๔:คลิกดูพระสูตร
(บาลี) อํ. เอก. ๒๐/๒๕ -๒๖/๑๓๑–๑๓๔:คลิกดูพระสูตร




ans1 ans1 ans1 ans1

ขอขอบคุณ คุณ nirvanar55 ทีเข้ามาคุยในห้องนี้
พระสุตรนี้เป็น อธรรมวรรคที่ ๑๑ อยู่ใน "พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต" ข้อธรรมในวรรคนี้ ไม่สงสัยขอรับ เคารพในพุทธพจน์ทุกประการ


:25: :25: :25: :25:



ธรรมะ แท้ ๆ ไม่มี บัญญัติ
               ไม่มี อักขระ
               ไม่มี ภาษา
               ไม่มี อะไรต้องรู้
               ไม่มี อะไรยึดมั่น ถือมั่น
               ไม่มี ชนชาติ
               ไม่มี ศาสนา
          เพราะ ธรรมะ ไม่เป็นอะไร เลย

    มีแต่ เพียง สิ่ง หนึ่ง ๆ ที่ไม่สามารถ ระบุ อะไร ได้ นั่นแหละ เกิด ดับ เท่านั้้น

   เท่านี้ก็บรรลุธรรม แล้ว
    :smiley_confused1:


ans1 ans1 ans1 ans1

ขอให้พิจารณาประโยคนี้....

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้."

พุทธพจน์นี้อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (อลคัททูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ)


 :welcome: :welcome: :welcome: :welcome:

ถ้าจะคุยกันต่อไปก็ต้องกล่าวว่า ความเห็นของ คุณ nirvanar55 น่าจะเทียบเคียงได้กับข้อธรรมนี้

"ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น"

พุทธพจน์นี้อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา)

    "ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
    ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง
    ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง
    ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
    ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
    เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น
    เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี....."


     :96: :96: :96: :96: :96:

    ข้อธรรมนี้คนที่จะเห็นได้มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้น
    ขอให้สังเกตคำว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี"
    คนที่ไม่มีกิจจะทำ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นแหละครับ
    จะขยายต่อไป....พระอรหันต์ท่านละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว ท่านไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่น อีกต่อไป
   
    พระอาจารย์ท่านอธิบายเรื่องนี้ไว้ในกระทู้นี้
    "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" "ธรรมทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น.

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5486.0

    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

     :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ ผมเคยฟัง ท่านพูดว่า

   เริ่มชีวิตบรรพชิต ด้วยการไม่อ่าน พระไตรปิฏก และ รู้สึกว่า พระไตรปิฏก มีเรื่องสอนผิด ตามคำสอนของครูท่าน ๆ จะไปยึดถือ และอ่านหนังสือ ธรรมโฆษณ์ มาก โดยไม่เคยเข้าไปศึกษา พระไตรปิฏก

   พอมาช่วง ๆ กลาง ท่านก็ ยึดหลักธรรม ตามครู คือ หลักสูตร นักธรรมชั้นเอก เรื่อง สมถกรรมฐาน ตามแบบ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  คือ หลักสูตรพระในประเทศไทย แบบประมวลใหม่

   พอมาช่วงปัจจุบัน กับกลายเป็น พระที่ชอบอ่านพระไตรปิฏก มากขึ้น และ มีชอบสนับสนุนการอ่านพระไตรปิฏก ท่านเคยเล่าไว้ว่า พระไตรปิฏก ที่เปลี่ยนชีวิตท่าน ก็คือ เรื่อง ปุกกุสาติ ( ลองฟังเรื่อง ปุกกุสาติ ดูนะครับ ) ท่านกล่าวว่า สุ่มพระไตรปิฏก มานั่งอ่านหนึ่งเล่ม เปิดไปหน้าไหน ก็จะอ่านหน้านั้น หลังจากอ่านจบ ได้ปีติมาก ถึง ขั้นร้องห่ม ร้องไห้ ปีติมีกำลังทำให้ อ่านพระไตรปิฏก เล่มนั้นจบภายใน 1 วัน ด้วยความเพลิดเพลิน และหยิบเล่มต่อไปมาอ่านอีก อย่างเพลิดเพลิน ถึง 12 เล่มติดต่อกันเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่นั้นมา กรรมฐานทางสมาธิ ก็ก้าวหน้าเพิ่มขึ้น

   ท่านกล่าวว่า เคล็ดลับก็คือ การเดินจิต รวบปีติไว้ที่ หทัยวัตถุ ขณะอ่าน จะเหมือนการทำวิปัสสนา แต่ถ้าอ่านเฉย ๆ ก็จะได้แค่ ผลสมาบัติ เท่านั้น ความรู้สึก ดับกิเลส มีได้ เห็นได้ ในขณะนั้น

    ( อันนี้ ถ้าผมฟังผิด ก็ขออภัยนะครับ ผมคิดว่า พระอาจารย์ น่าจะเป็นบุคคลากรที่สำคัญ ในอนาคต ครับ รู้สึกอย่างนั้น )

   นี้ผมยกตัวอย่าง ผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏก ในการภาวนา นะครับ

    :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

         ขอย่อให้สั้นลง นิด........พระธรรมบางเรื่อง บางพระสูตร   พระพุทธเจ้าแสดง ให้พระอรหันต์สาวกฟังเท่านั้น พระอรหันต์ฟังก็

                     คงจะไม่มีอะไรข้องขัด เพราะหมดทุกข์แล้ว

                                             

                  พระธรรม บางเรื่อง บางพระสูตร แสดงให้พระโดาบัน ฟัง เพื่อจะได้บรรลุขั้นต่อไป

                  พระธรรม บางเรื่อง บางพระสูตร แสดงให้พระอนาคามี ฟัง เพื่อจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

                    พระพุทธเจ้า ทรงตรวจด้วยญาณแล้ว จึงแสดง เรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น

                                       ซึ่งผู้ที่ฟังธรรมนั้นๆ  คงไม่รอดพ้นข่ายพระญาณ


             ธรรมมะ บางเรื่องใช้ได้ บางที่ บางสถานที่  บางเวลา  ดูเหตุ และต้องดูประเทศ  ดูสถานะ

                          ธรรมที่พระพุทธเจ้าเเสดง  แสดงตามเหตุ   จึงได้ผล และไม่เป็นสูญ

                หากว่าเรายังไม่มีญาณ ยังมีอวิชชา ก็คือยังมีความโง่ หรือไม่รู้ นั่นแหละ  แสดงไป ไม่รู้จริง มันก็สูญ และเหนื่อยเปล่า

                     และก็ไม่ได้ทำให้หมดทุกข์หมดกรรม 

                                  ครูอาจารย์ของข้าพเจ้าแสดงธรรมนั้น  ท่านแสดงตามเหตุ และปัจจัย  ลองสังเกตดูว่าท่านจะหมายเหตุไว้

               ว่า  บางทีก็เพื่อเป็น สาธารณะ คือคนทั่วไป   

                        บางธรรมก็เฉพาะศิษย์ ก็มีเป็นต้น

                     เยอะแล้วเน๊าะ...มาแจกแจงแถลงไข เป็นเพื่อน ศิษย์พี่ท่านซะหน่อย

                         สาธุ สาธุ


                   



บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา