ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวลาไปทำบุญ เราจุดธูป บูชาพระ แต่วันหนึ่งไป พระบอกไม่ต้องจุด แล้วได้บุญหรือไม่  (อ่าน 12209 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

namtip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 54
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

เวลาไปทำบุญ เราจุดธูป บูชาพระ แต่วันหนึ่งไป พระบอกไม่ต้องจุด แล้วได้บุญหรือไม่

 ตอนนี้เลยงง ๆ มากกับเรื่องนี้ เพราะตั้งแต่เด็กจนโตมา ก็จุดธุปบูชาพระ ตลอดและก็คิดว่าได้บุญ ด้วยการถวายอามิสบูชา จนกระทั่งไปวัด ๆ หนึ่ง เขาบอกว่าไม่ต้องจุดธุป เพราะการจุดธูป ไม่ได้บุญ ได้แต่โรค ...


  เราก็เลยอึ้ง ๆ ว่า ไม่รู้ว่า บุญ นั้น อยู่ที่ จุด หรือ ไม่จุด หรือ อยู่ที่ถวาย ธุป

  และสุดท้าย เขาก็บอกว่า นำเงินที่จะซื้อธุูป เทียน หยอดใส่ตู้บริจาค นั้นจะได้บุญมากกว่า

  เอ แล้วอย่างไรกันนี่ บุญ คือการหยอดตู้บริจาค อันนี้ ก็ไม่ทราบว่า เป็นบุญอย่างไร .... เพราะเห็น เค้าบ่นว่าโดนโจรกรรมตู้ บริจาค ต้องติดกล้อง ดูอีก

   ก็เลย งง  ง ง ง ง  งง ง ง ง ง ง ง มาก ขึ้น  :41:

   thk56 ที่เพื่อน ๆ จะช่วยให้ความกระจ่าง เรื่องนี้ได้

   :58:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
   เรื่่องของบุญ ในการทำธรรมทานนะ แล้วแต่ศรัทธา แล้วแต่ว่าใคร พอใจศรัทธาจะถวายอะไร อยู่ที่เรา  ก็เรามีความศรัทธาที่จะถวายในตรงนี้ ในเรื่องนี้  สรุปส่วนตัวอาตมาเลยแล้วกันว่า ทำธรรมทานด้วยอะไรก็ได้ ก็ได้ทั้งนั้น ถวายทำบุญสิ่งใด ก็ได้อานิสิงผลบุญของสิ่งนั้น ๆ

     อาจจะเป็นเพราะว่า มีคนมาจุดธูปกันมาก และหรือสถานที่ไม่มีอากาศถ่ายเทได้มากพอ ผลหลังจากการจุด จึงเป็นเหตุให้คนที่ต้องอยู่ที่ตรงนั้นเป็นประจำ เกิดเป็นโรค  ส่วนตัวอาตมาเอง ไม่ค่อยจะจุด  จุดอยู่เหมือนกันแต่น้อย เวลาไปในสถานที่ต่าง ๆ ก็จะดูความปลอดโปร่งของสถานที่ด้วย แต่กลับ มาจุดถวายบูชาที่กุฏิ ในเวลาที่เกิดศรัทธามาก ๆ มากกว่า ก็ถึงขนาดยอมรมควันตัวเองเลย ทั้ง ๆ ที่แพ้ธูปควัน  แต่อันนี้ไม่่เดือดร้อนใคร และก็ด้วยความศรัทธา เจ็บป่วยก็ยอม

    หยอดตู้บริจาค  อันนี้ก็ได้บุญ แม้ว่าจะมีคนมาช่วยเอาไปใช้อย่างอื่นนอกเหนือจากกิจการศาสนาของวัดนั้น เพราะเราได้ทำบุญของเรา เราก็ได้บุญของเราไปแล้ว  ส่วนคนอื่นที่มาเอาไป เขาก็ได้ปาปของเขา เราไม่ได้ปาปด้วย เพราะเราไม่ได้ไปร่วมกระทำกับเขาด้วย

     เป็นบุญอย่างไร ?  การที่โยม ๆ ได้ทำบุญกับพระ หรือทางวัด ถือได้ว่า เป็นการช่วยต่ออายุพระศาสนาอย่างหนึ่ง  อย่างไร ? ก็ถ้า พระสงฆ์ ท่านอยู่ได้ พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่  ดังนี้แล้ว โยมทั้งหลายนี้แหละเป็นกำลังที่สำคัญ ไม่น้อยเลยที่เดียว

      ตอนที่พระท่านเข้าโบถสบวชเป็นพระ ในตอนนั้น มีเงินมีทองเท่าไหร่ก็ต้องถอดออกหมด ไม่มีไม่เหลือสักบาท แต่หลังจากนั้นแล้ว ที่พระท่านทั้งหลายมีมาได้ก็จากญาติโยมที่ศรัทธา ในพระสงฆ์ ในศาสนา ยกจบหัวถวายกันมา ทำให้พระเณรได้พอจะมีปัจจัย ใช้กับเขาบ้าง ทั้งเรื่องเรียน บริขาร และการเดินทาง

      สิ่งที่โยมทำ คืออมิสบูชา ก็ได้บุญ ก็ยังคงสามารถกระทำต่อไปได้ โดยไม่ผิดอะไร หรือไม่ได้บุญ จงทำธรรมทานนี้ต่อไปเถอะจ๊ะ เจริญพร


บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
                                 (๔๖. อานิสงส์ของการถวายธูป)
                    [๒๐๒]            ข้าพเจ้าได้ถวายธูปในพระสุคต
                                      และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
                                      ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า    ๑๐    ประการ
                    [๒๐๓]            คือเป็นผู้มีกลิ่นตัวหอมฟุ้ง    ๑    มียศ    ๑
                                      มีปัญญาไว    ๑    มีชื่อเสียง    ๑
                                      มีปัญญาเฉียบแหลม    ๑    มีปัญญากว้างขวาง    ๑
                                      มีปัญญาร่าเริง    ๑    มีปัญญาลึกซึ้ง    ๑
                    [๒๐๔]            มีปัญญาไพบูลย์    ๑    มีปัญญาแล่นไปเร็ว    ๑
                                      เพราะผลแห่งการถวายธูปนั้น
                                      ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
                                      ได้บรรลุนิพพานซึ่งเป็นสันติสุข    ในกาลบัดนี้
               
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

sompong

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 218
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หลวงพี่ ช่วยอธิบาย ด้วยจะดีมากครับ เพราะอ่านพระสูตรแล้ว ผมก็ยังมึน ๆ อยู่นะครับ ไม่รู้ว่า จะเกี่ยวอย่างไร

  thk56 มากครับ

 
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


มนัสวี จุรณสุคนธ์

     ธูปเทียนไหว้กลิ่นฟุ้ง          ครวญดี
ลาภยศปัญญามี                   แล่นกว้าง
ภัยควันล่วงนานปี                เคืองป่วย
เขื่องจุดตามไหว้คว้าง        ประทีปแท้ใจตน.


                                                   ธรรมธวัช.!



http://www.never-age.com/1142-1-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%20%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B9%E0%B8%9B%20%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%20%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 01:18:11 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ว่าด้วยเรื่องธูปและเทียน

ถาม : วันนี้สืบเนื่องจากเรื่องการตั้งของไหว้ ผมเลยสงสัยว่าธูปนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อการไหว้เจ้า รวมถึงเทียนด้วยนะครับ เห็นในหนังในละครเทพเจ้าจีน เช่น ไฉฉิงเอี้ย นำควันธูป กลับสวรรค์นี่มันยัง
ไงกันครับ จะได้เข้าใจอย่างท่องแท้กันสักทีครับ


ตอบ : เรื่องนำควันธูปกลับสวรรค์ เป็นยังไง อันนี้ไม่ทราบจริงๆ ครับ แต่ก็จะคุยเรื่องธูป ให้ฟังพอสังเขป
แล้วกัน (อ่านเรื่อง "คุยเรื่องกระดาษไหว้เจ้า" ประกอบด้วยนะครับ)
     ส่วนตัวเข้าใจว่าธูปน่าจะมีต้นกำเนิดในอินเดีย แต่เนื่องจากยังไม่เจอหลักฐานที่แน่นอน ก็เลยยากจะสรุป ตามหลักฐานนั้น ชาวจีนรับเอาวัฒนธรรมการใช้ธูปมาจากชาวซีอฺวี้ (ชนกลุ่มน้อยในสมัยโบราณ อยู่ทางตะวันตกของจีน) โดยหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของจีนพบว่า ชาวจีนมีการใช้ธูปอย่างน้อยที่สุดก็ในสมัยฮั่นอู่ตี้ (พ.ศ. ๓๘๗ – ๔๕๖) โดยการใช้ธูปนั้นเป็นที่แพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน


     จนถึงปัจจุบันมีการผลิตธูปขึ้นมาหลายลักษณะ โดยแบบที่เป็นแท่ง แกนกลางทำด้วยไม้ไผ่ หรือที่คนทั่ว
ไปมักเรียกลักษณะนามว่า “ดอก” จะแพร่หลายมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีแบบเป็นขดและเป็นก้อนอีกด้วย

     องค์ประกอบของธูปนั้น หลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ผงธูปและแกนธูป
    (แกนธูปบางทีก็เรียกว่า “ก้านธูป”) ซึ่งแกนธูปจะมีในเฉพาะธูปที่มีลักษณะเป็นแท่งเท่านั้น ประโยชน์หลักของแกนธูป คือ การบังคับรูปทรงของผงธูปให้ตั้งตรงเป็นแท่งได้ และด้วยเหตุนี้ ธูปที่มีลักษณะเป็นแท่ง จึงได้รับความนิยมสูงสุด เพราะง่ายต่อการเก็บรักษา ตลอดจนความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและการใช้งาน


    ผงธูปนั้น ทำจากเครื่องหอมที่ได้จากพืชและสัตว์ (โดยมากทำจากพืช)
    นำมาบดให้เป็นผง จากนั้นนำซีกไม้ไผ่มาเหลาเป็นเส้นๆ นำก้านธูปไปชุบน้ำยา เพื่อให้ประสาน แล้วนำไปฟัดในกระบะผงธูป นำธูปไปตากแดด เมื่อแห้งนำธูปบริเวณส่วนที่เป็นก้านมาชุบสีแดง แล้วนำไปตากแดดอีกครั้ง ก็ถือว่าใช้ได้ (พูดเหมือนง่าย แต่คนไม่เคยหัดรับรองว่าทำไม่ได้ ต้องมีฝีมือพอสมควร)



     ส่วนผสมที่นำมาทำผงธูป ต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ และเป็นสูตรเฉพาะทางการค้าของแต่ละร้าน
     ส่วนผสมที่ได้ เป็นวัตถุดิบธรรมชาติ ที่ได้จากพืชและสัตว์ แต่เนื่องจากปัจจุบัน วัตถุดิบธรรมชาติราคาแพง
     จึงมีการใช้น้ำหอมมสังเคราะห์เข้ามาทดแทน ซึ่งควันธูปหากสูดดมโดยตรงในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ถ้าเป็นธูปที่ผสมน้ำหอมจะเป็นอันตรายกว่า ธูป ที่ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติมาก


     แกนธูปที่ทำจากไม้ไผ่นั้น จะมีการนำไม่ไผ่มาตอกเป็นเส้น (ปัจจุบันใช้เครื่องจักรผลิตกันหมดแล้ว)
     หากก้านธูปใหญ่เกินจะทำให้ธูปดอกใหญ่คิดไฟยาก พอติดไฟแล้วจะมีควันเยอะ หากไม่ไผ่ที่นำมาก้านธูปไม่ได้ลอกผิวออกก่อน จะทำให้ธูปดับง่าย และถ้าก้านธูปดอกเรียวเล็กเกินไปจะทำให้ธูปดับง่ายและยากต่อการทรงตัว

    ธูปขดและก้อน ผลิตจากผงธูป มาขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ แต่เนื่องจากไม่มีแกน
    ส่วนผสมของผงธูปจะต้องมีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่นมากกว่า การทำธูปก้อนนั้นจะนำผงธูปมากวนแล้วนำมาใส่พิมพ์ จากนั้นนำไปอบให้แห้ง ส่วนธูปขดก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน หากแต่เข้าเครื่องรีดออกมาเป็นเส้น รีดลงใน
ถาดรองรับซึ่งถาดนั้นจะวนตลอดเวลา เส้นธูปออกมาก็จะม้วนเป็นวงกลม จากนั้นเข้าเตาอบก็เป็นอันใช้ได้


    ธูปขดราคาค่อนข้างแพง และยากต่องานใช้งานจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก
    ขนาดเล็กๆ เมื่อจุดแล้วสามารถอยู่ได้ประมาณ ๑๒ – ๒๔ ช.ม. ธูปจึงจะหมด ขนาดใหญ่ๆ อาจอยู่ได้เป็นสัปดาห์จนถึงเป็นเดือน (ขึ้นอยูปัจจัยเรื่องแรงลมด้วย เช่นถ้าอยู่ในที่กลางแจ้งลมแรง ธูปก็จะหมดเร็วขึ้น) โดย
ขนาดใหญ่ๆ จะนำไปจุดถวายที่ศาลเจ้าหรือวัดจีน โดยที่ผู้ที่ถวายจะเขียนชื่อและคำอธิษฐานของตนในกระดาษแดง ติดไว้ที่ธูป แล้วนำไปจุดแขวนไว้ในบริเวณขื่อหรือบริเวณที่ศาลเจ้าจัดไว้ให้



    ในการผลิตและเก็บรักษาธูปนั้น ความชื้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะถ้าหากความชื้นมากเกินไป จะทำให้ธูปดับง่าย แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินไป จะทำให้ธูปแตกหักและหลุดร่อนได้ง่าย ธูปแบบแท่ง (ธูปดอก) มีความยาวที่หลากหลาย ตั้งแต่ประมาณ ๑๕ ซ.ม. ซึ่งในกรณีที่ยาว สามารถยาวได้ถึง ๓ เมตร นอกจากนี้บางที่ยังมีการย้อมสีธูปทั้งดอก (โดยมากใช้สีแดง) และยังมีการทำลวดลายบนธูปอีกด้วย

    ธูป มาจากคำว่า ธุปะ ในภาษาบาลี ส่วนเทียนมาจากคำว่า ทินะ (แสงสว่าง)
    เทียนนั้นไม่มีความซับซ้อนเหมือนธูป โดยหลักทั่วๆ ไป มีตัวที่เป็นลำเทียน และไส้เทียน ในสมัยก่อนเทียนทำจากขี้ผึ้ง ขณะที่ปัจจุบันเทียนจะทำจากพาราฟิน (พาราฟินได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งถ้าน้ำมันแพง เทียนก็จะแพง) เพราะในปัจจุบันขี้ผึ้งมีราคาแพงมาก ส่วนไส้เทียนนั้นสมัยก่อนจะทำจากด้ายดิบ (โบราณเรียกด้ายดิบว่า “ด้ายสาวพรหมจารี”) ขณะที่ปัจจุบันจะทำจากเส้นใยสังเคราะห์


     นอกจากนี้ชาวจีนยังมีเทียนอีกชนิดหนึ่งที่มิลักษณะพิเศษ คือไส้เทียนทำจากไม้ไผ่ ยอดมีสำลีเล็กน้อย เพื่อให้ติดไฟง่าย ที่มีเทียนแบบนี้เพราะใช้เพื่อจุดในที่กลางแจ้ง ซึ่งแม้ว่าลมจะพัดแรงๆ เทียนก็จะไม่ดับ
     อย่างไรก็ตามเทียนชนิดนี้แม้จะคิดมาเพื่อใช้จุดในที่กลางแจ้ง แต่ถ้าจะนำมาจุดในบ้านก็ไม่ถือว่าผิด
     นอกจากนี้คนจีนมีเชิงเทียนอีกชนิดหนึ่งที่พิเศษคือ มีลักษณะเป็นเหล็กแหลม เวลาใช้ต้องเอาเทียนปักลงไปบนเหล็กแหลมนั้น




    คนไทยนำคติธูปเทียนมาจาไหนนั้นยังไม่แน่ชัด อาจรับมาจากพราหมณ์ที่มีคติมาจากอินเดีย
     หรืออาจรับมาจากชาวจีนก็ได้ ธูปของคนไทยนั้น นอกจากที่พบเห็นได้โดยทั่วไปแล้ว
     ยังมีธูปอีกแบบที่มีลักษณะพิเศษ คือ ธูประกำ ที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะว่า แกนของธูปชนิดนี้ทำจากไม้ของต้นระกำ ซึ่งมีลักษณะเบาและติดไฟง่าย การใช้ธูปชนิดนี้ปัจจุบันเหลือแต่ในงานพระราชพิธี และการจัดชุดธูปเทียนแพเท่านั้น (ธูปที่ใช้ในงานพระราชพิธีจะมีชนวนที่ยอดธูปเพื่อง่ายต่อการจุด)



      การทำเทียนสมัยก่อนไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่การหาขี้ผึ้งมาต้มมากรอง และขี้ผึ้งที่ได้ก็จะกระดำกระด่าง ไม่ขาวสะอาดแบบที่เห็นกันในปัจจุบัน การปั้นเทียนเป็นรูปเล่มนั้น ใช้คำกริยาว่า “ฟั่น(เทียน)” (บางแห่งออกเสียงว่า “ควั่น”) การฟั่นเทียนแล้วสวยงามนั้น จะต้องฝึกฝน ในสมัยก่อนไม่มีเครื่องมือ หรือแม่พิมพ์ที่จะหลอมขี้ผึ้งแล้วเทลงในแบบ หากแต่ต้องใช้ความร้อนพอให้ขี้ผึ้งอ่อนตัวแล้วแผ่ขี้ผึ้งเป็นแผ่น จากนั้นวางไส้เทียนไว้ตรงกลาง แล้วเอามือค่อยๆ ฟั่นเป็นแท่งไปจนเสร็จ

     ในด้านความเชื่อของคนไทยนั้น เทียนเข้ามามีบทบาทมากกว่าคนจีนมาก
     เช่น เทียนเงินเทียนทองในงานมงคล เทียนเงินเทียนทองคือ เทียนขี้ผึ้งแท้ปิดด้วย ทองคำเปลวและเงินเปลวทั้งเล่ม คำว่า“เทียนเงินเทียนทอง ๑ คู่” มีความหมาย ๒ นัยยะ คือ เทียนเงิน ๑ เล่ม และ และเทียนทอง ๑
เล่ม ถือเป็น ๑ คู่ อีกความหมายคือ เทียนเงิน ๑ คู่ และเทียนทอง ๑ คู่ (รวมเป็น ๔ เล่ม)
     ซึ่งหลังจากจุดเทียนแล้ว ก็จะทราบได้ว่า ทองและเงินเปลวที่ติดอยู่บนเทียนนั้น เป็นของแท้รึไม่ เพราะถ้าเป็นของแท้ ทองและเงินดังกล่าวจะไม่ไหม้ไฟ (เทียนเงินเทียนทองที่ใช้ทองและเงินจริง จะมีราคาสูงกว่า เทียนที่ใช้ทองและเงินปลอมมาก)



    ในพิธีต่อชะตานั้นต้องใช้เทียนที่มีความสูงเท่าเจ้าชะตา และใช้ไส้เทียนที่มีจำนวนเส้นเท่ากับอายุของเจ้าชะตา (หรือมากกว่าอายุเจ้าชะตา ๑ ปี) ซึ่งการฟั่นเทียนลักษณะขนาดใหญ่เช่นนี้ คนที่ทำได้ต้องมีฝีมือมาก ขณะที่เทียนที่ใช้ในพระราชพิธีจะใช้ขี้ผึ้งกวนกับน้ามันเบนซิน เพื่อจะได้เผาไหม้เหมดจดไม่มีน้ำตาเทียนหกเลอะเทอะ (ถ้าสังเกตจะพบว่า เวลาจุดเทียนควันจะเยอะ)

    ในความเชื่อเรื่องกฤตยามนต์ของคนไทย เทียนจะเข้ามามีบทบาทไม่น้อย ซึ่งนอกจากจะมีการใช้ขี้ผึ้งมาปั้นเป็นรูปคนเพื่อทำพิธีฝังรูปฝังรอยแล้ว ยังมีการตามประทีปเพื่อกระทำกฤตยาคุณด้วย เช่น อยากให้คนที่ชอบมาหา ก็ใช้กระดาษว่าวลงยันต์แล้ว แล้วเขียนชื่อหญิง (หรือชาย) ที่ต้องการลงในยันต์เสกด้วยคาถา ทำเป็นไส้เทียน แล้วตามประทีปบูชาครู ภาวนาคาถาจนสิ้นเทียน คนที่เราประสงค์นั้นก็จะมาหาเราถึงบ้าน

     นอกจากนี้ ถ้าอยากให้ใครตาย ก็ใช้ผ้าห่อศพลงยันต์แล้ว แล้วเขียนชื่อที่ประสงค์ เสกด้วยคาถา แล้วทำเป็นไส้เทียน ใช้ขี้ผึ้งปิดปากผี (ขี้ผึ้งปิดปากศพ – สมัยนี้คงไม่มีแล้ว)ฟั่นเป็นเทียน เมื่อจะฟั่น ให้ฟั่นบนโถส้วม ให้ใช้ตีนฟั่น ใช้กะโหลกผีตายวันเสาร์เผาวันอังคาร เป็นเชิงเทียน ภาวนาคาถาจนสิ้นเทียน คนที่ประสงค์ก็จะตาย
     ส่วนจะใช้ยันต์หรือคาถา อะไร หรือต้องภาวนาเทียนกี่เล่ม (บางทีก็เล่มเดียว, ๓ เล่ม, ๗ เล่ม ฯลฯ – ๓ วัน, ๗ วัน) ก็แล้วแต่ว่าบุราณจารย์ ท่านจะวางอุปเท่ห์ไว้อย่างไร (เขียนเพื่อให้อ่านไว้เป็นความรู้รอบตัว อย่าทำตาม ใครทำตาม คนนั้นตกนรก !!)

    ธูปนั้นนอกจากการนำมาบูชาพระ ด้วยถือว่าเป็นการถวายของหอมแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นกุศลอย่างหนึ่งจัดเป็นอามิสบูชา คนจีนสมัยก่อน ยังมีการจุดเครื่องหอมและกำยานในบ้าน เพื่อส่งกลิ่นหอม กำยานนั้นมีสรรพคุณในการฆ่าเชื่อในอากาศ ชาวจีนจึงนิยมจุดในบ้าน โดยเฉพาะในฤดูหนาวเพื่อฆ่าเชื้อและลดความอับชื้นในอากาศ (สังเกตดูในหนังจีนได้)



     ในความเป็นจริง “กำยาน” เป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง
     มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อบำรุงหัวใจ ขับลมในระบบทางเดินอาหาร

     กำยานเป็นยางไม้ เมื่อจุดไฟจะละลายแล้วก็ดับ ไม่สามารถจุดให้ติดไฟได้ หากแต่ต้องใช้สมุนไพรอย่างอื่นเพื่อช่วยเพิ่มสรรพคุณทางยา และช่วยเป็นเชื้อในการติดไฟ กำยานมีจำหน่ายในร้านขายสมุนไพร และเครื่องหอมที่ใช้จุด ที่มีขายในท้องตลาด แล้วใช้ชื่อว่ากำยาน แท้จริงแล้วเป็นเพียงการแอบอ้างชื่อ ซึ่งทั้งผู้ซื้อ, ผู้ขาย และผู้ผลิต ต่างก็ไม่รู้ว่าจริงๆ


     แล้ว กำยานคืออะไร
     อนึ่งในพุทธศาสนามหายานมีการนำไม้จันทร์ มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วจุดต่างธูป ซึ่งการจุดในลักษณะนี้จะประกอบด้วยกัน ๒ ส่วน คือไม้จันทร์ ชิ้นเล็กๆ และไม้จันทร์ที่บดเป็นผง
     อย่างไรก็ตาม การจุดในลักษณะนี้ต้องมีศิลปพอควร เพราะโอกาสที่จะดับนั้นง่ายมาก


     ชาวจีนเชื่อว่าควันธูปมีปราณ (ชี่) ซึ่งปราณนี้จัดเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง พระพุทธรูป หรือรูปเคารพ
ของเทพต่างๆ (กิมซื้น) หากได้รับการจุดธูปสักการะเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งทวีความศักดิ์ คนไหว้ยิ่งมากยิ่งนานเท่าใด อิทธิฤทธิ์ก็จะยิ่งมาก และหากรูปเคารพที่ยังไม่เบิกเนตร แล้วมีภูติผีมาสิงสู่
     หากได้รับปราณธูปครบ ๔๙ วัน วิญญาณนั้น ก็จะมีอิทธิฤทธิ์ สามารถทำร้ายคนได้

    ด้วยเหตุนี้ คนบางกลุ่มจึงไม่ทำความสะอาดรูปเคารพ ด้วยถือว่าจะทำให้ปราณศักดิ์สิทธิ์เสื่อมสูญ โดยเชื่อกันว่ารูปเคารพยิ่งเก่าครํ่าคร่าเท่าไหร่ยิ่งดี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความเชื่อนี้บางแห่งเริ่มเสื่อมคลาย ขณะที่บางแห่งมีการคำนึงถึงความสวยงามมากขึ้น จึงมีการทำกระจกรักษารูปเคารพ ไม่ให้โดนฝุ่นหรือควันธูป แต่ก็
ได้มีการเจาะรูกระจกบริเวณใบหน้าของรูปเคารพ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้เอง



ถาม : ธูปเทียน จุดกี่ดอก และหมายความว่าอย่างไร?
ตอบ : เรื่องนี้ไม่มีคติตายตัว แต่ที่แพร่หลายมากที่สุด คือเทียน ๒ ธูป ๓


เทียน ๒ หมายถึง จุดแสงสว่างแห่งปัญญาคือ ดวงตาทั้ง ๒ ข้าง แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและสรรพชีวิตทั้งหลาย
ธูป ๓   เต๋า   หมายถึง ซันชิงเทียนจุน
        พุทธ หมายถึงพระรัตนตรัย, พระพุทธเจ้าในตรีกาล (อดีต,ปัจจุบัน และอนาคต)
        นอกจากนี้ยังหมายถึง ความบริสุทธิ์ และการสำรวม ในไตรทวาร(กาย, วาจา และใจ) ฯลฯ


     นอกจากนี้ ชาวจีนบางกลุ่ม ยังมีการไหว้ ธูป ๕ ดอก โดยจะไหว้เจ้าที่ (เจ้าที่ทั้ง ๕ ทิศ), กองทัพสวรรค์ทั้ง ๕, เทพเจ้าโชคลาภทั้ง ๕ ฯลฯ (ตอนเด็กๆ ผมเคยได้ยินเค้าเล่าแบบนิทานว่า ตี่จู่เอี๊ยมี๕ องค์ - ๕ พี่น้อง) ในพุทธศาสนา ธูป ๕ ดอกยังหมายถึงพระคุณทั้ง ๕ (อันได้แก่ พระพุทธ ๑,พระธรรม ๑, พระสงฆ์ ๑, บิดรมารดา ๑ และครูอาจารย์ ๑)

     นอกจากนี้โดยทั่วไปถิอกันว่าการจุดธูปเพียง ๑ ดอก ถือเป็นการไหว้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และการจุดธูปเพียงดอกเดียว แล้วนำไปปักบนเครื่องเซ่น ถือเป็นการเชิญผี มากินเครื่องเซ่น

    ในประเทศไทยนั้น นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น บางพวกก็ไหว้ ๙ ดอก เพราะถือว่าเป็นเลขมงคล
     (ในบรรดาตัวเลข เลข ๙ มีค่ามากที่สุด)
     ขณะที่พวกนับถือพระพรหม จะไหว้ ๑๖ ดอก (พรหมโลกมี๑๖ ชั้น) และยังมีพวกไหว้แบบต่างๆ อีกมากมาย ในประเทศจีนและไต้หวัน บางพวกไหว้เป็นกำๆ ก็มี
     (จุดให้ไฟลูกโพลง แล้วโยนลงไปในกระถาง โดยถือว่าความโชติช่วง เป็นสัญลักษณ์ แห่งความเจริญรุ่งเรือง บางพวกเชื่อกันว่า ๑ วัน ๑ คืน หรือประมาณ ๒๔ ชั่วโมง หลังจากเปิดศาล หรือตั้งหิ้งพระใหม่ ต้องจุดธูปมากๆ และต้องไม่ขาดตอน ถือกันว่าเป็นนิมิตมงคลและความรุ่งเรือง)

 
     และนอกจากนี้ บางพวกยังมีความเชื่อในการเชิญเถ้า (ขี้ธูป) มาจากศาลอื่น เพื่อมาไว้ในศาลหรือหิ้งพระที่เปิดหรือตั้งใหม่ เพื่อเป็นการแสดงถึงว่าการมีครูบาอาจารย์สืบทอดมาอย่างไม่ขาดสายอีกด้วย
     การเคารพศรัทธาเป็นเรื่องของแต่ละท้องที่ แต่ละกลุ่มคน และแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญคือการเคารพและให้เกียรติคนที่มีความเห็น ความเชื่อ และข้อปฏิบัติที่แตกต่าง เพราะการให้เกียรติคนอื่น ก็คือ การให้เกียรติตนเอง



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.yokipedia.com/buddhism/196-2010-12-15-17-47-00
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธูป
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชามาช้านาน ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป

ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา

ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่างๆที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม


ความเชื่อ
ลักษณะของธูปบูชาพระ ปกติมีความยาว 13 นิ้วโดยประมาณ ก้านธูปชุบสีแดง ตัวธูปสีขาวนวล เวลาจุดประมาณ 40 - 45 นาที นอกจากนี้ยังมีธูปหอมที่เป็นสีประจำวัน มี 7 วัน 8 สี ตามความเชื่อของพราหม์ คือ
    วันอาทิตย์ - สีแดง
    วันจันทร์ - สีเหลือง
    วันอังคาร - สีชมพู
    วันพุธ(กลางวัน) - สีเขียว
    วันพุธ(กลางคืน) - สีดำ (ราหู)
    วันพฤหัสบดี - สีส้ม
    วันศุกร์ - สีฟ้า
    วันเสาร์ - สีม่วง


การใช้งาน
    ใช้จุดบูชาพระ จุดสามดอก
    ใช้จุดไหว้ศพ จุดหนึ่งดอก
    งานอื่นๆ ใช้ตามความเชื่อ โดยมากจะจุดเป็นเลขคี่ ได้แก่ 1,3,5,7,9,11


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก th.wikipedia.org/wiki/ธูป



พิษภัยจากควันธูป !!

    "ธูป" เป็นเครื่องหอมที่ทำมาจากขี้เลื่อย กาว น้ำมันหอมสกัดจากพืช ไม้หอม ใบไม้ เปลือกไม้ รากไม้ เมล็ดพืช เรซิน และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม พอกอยู่บนก้านไม้ มีหลายแบบหลายขนาด

    การจุดธูป เป็นพิธีกรรมที่ชาวอียิปต์ใช้สักการะเทพเจ้าด้วยควันที่มีกลิ่นหอม ต่อมาได้แพร่ขยายไปยังกรีกและโรมัน และมายังอินเดียโดยเข้ามาในศาสนาฮินดู ก่อนเข้ามายังศาสนาพุทธ ก่อนแพร่ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกไกล อาทิ ไทย เกาหลี ญี่ปุ่น จีน

     ทุกวันนี้คนมากกว่าครึ่งโลกยังคงยึดถือวัฒนธรรมการจุดธูปเพื่อสักการะเทพเจ้า เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษ คาดว่าในแต่ละปีจะมีคนจุดธูปมากถึงแสนตัน

    การเผาไหม้ของธูปจะปล่อยสารต่างๆ ออกมามากมาย มีทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอ นอกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์, มี เทน, สารก่อมะเร็ง อาทิ ฟอร์มาล ดีไฮด์ PAH, สารอินทรีย์ระเหยง่าย อาทิ เบนซีน 1,3-บิวทาไดอีน

    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และมีเทน เป็นส่วนหนึ่งของก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน จากการศึกษาพบว่า ทุก ๆ 1 ตันของธูปจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 325.1 กิโลกรัม และก๊าซมีเทน 7.2  กิโลกรัม หรือเท่ากับว่าธูปจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่ากับ 1 ใน 3 ของน้ำหนักธูป

     ลองคิดดูซิว่า ถ้าในแต่ละปีมีคนจุดธูปมากถึงแสนตัน จะมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนที่เกิดจากการจุดธูปมากมายแค่ไหน



    นอกจากนี้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นหนึ่งในคณะผู้วิจัย ที่ได้ศึกษาถึงผลกระทบต่อสุขภาพของการได้รับควันธูปที่มีสารก่อมะเร็ง อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ เบนซีน 1,3-บิวทาไดอีน และ PAH ในคนงานที่ได้รับควันธูปจากการปฏิบัติงานในวัด 3 แห่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ 40 คน เปรียบเทียบกับคนงานในหน่วยงานที่ไม่มีการจุดธูป 25 คน

     การตรวจวัดปริมาณสารก่อมะเร็งทั้ง 3 ชนิดในอากาศ พบว่า
     บริเวณที่มีการจุดธูปภายในวัดมีระดับการปนเปื้อนของเบนซีน 1,3-บิวทาไดอีน และ PAH ในอากาศ
     สูงกว่าหน่วยงานที่ไม่มีการจุดธูป ประมาณ 4,260 และ 12 เท่า ตามลำดับ


     ในการตรวจวัดดัชนีชี้วัดที่จำเพาะกับการได้รับสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีทั้งการตรวจวัดเบนซีนในเลือด และการตรวจวัดสารที่ขับออกทางปัสสาวะที่บ่งชี้ถึงการได้รับสารก่อมะเร็ง พบว่าคนงานที่ได้รับควันธูปจากการปฏิบัติงานในวัดมีปริมาณของดัชนีชี้วัดสูงขึ้นภายหลังการปฏิบัติงาน

      สำหรับการตรวจวัดความผิดปกติของสารพันธุกรรม DNA พบว่า ระดับการแตกหักของ DNA และ 8-OHdG ในเม็ดเลือดขาวของคนงานที่ได้รับควันธูปจากการปฏิบัติงานในวัดสูงกว่าคนงานในหน่วยงานที่ไม่มีการจุดธูปประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้คนงานที่ได้รับควันธูปจากการปฏิบัติงานในวัดยังมีความสามารถในการซ่อมแซมความผิดปกติของสารพันธุกรรม DNA ลดลง

     ความผิดปกติของสารพันธุกรรมดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับระดับการได้รับเบนซีน 1,3-บิวทาไดอีน และ PAH จากควันธูป ผลการวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าควันธูปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การสูดดมควันธูปเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ ของสารพันธุกรรม และศักยภาพในการซ่อมแซมความผิดปกติของ DNA ลดลง ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้เป็นกลไกส่วนหนึ่งในการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคมะเร็ง



     "การจุดธูปเป็นวัฒนธรรมที่มีรากฐานจากความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ สืบทอดกันต่อๆ มา โดยที่คนจุดทำไปโดยไม่ได้คิด ถ้าฉุกคิดสักนิด ถามตัวเองว่าเป็นไปได้หรือที่ควันธูปจะทำให้สิ่งที่เราสักการะรับทราบถึงการกระทำของเรา
      การจุดธูปไม่ได้ก่อประโยชน์อะไรต่อคน มีแต่จะให้โทษ
      ไม่เพียงปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ยังอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
      ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะปรับเปลี่ยนความเชื่อ และพฤติกรรมการจุดธูปเสียใหม่ 
      เราสามารถทำการสักการะได้ โดยพนมมือถือธูปไว้ในมือได้ แต่อย่าจุด
      หากทุกคนช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เราก็จะมีส่วนช่วยในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะวิกฤติโลกร้อน และยังช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลงได้"

      นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หนึ่งในคณะผู้วิจัย กล่าวสรุป.


ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/25927
ขอบคุณภาพจาก http://images.palungjit.com/,http://jootia.blu.livefilestore.com/,http://farm6.static.flickr.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

ธูปทายกเถราปทานที่ ๖ (๒๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธูป

  [๒๘] เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายธูปไว้ในพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ เชษฐบุรุษของโลกผู้คงที่ 
   เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ เราย่อมเป็นที่รักของชนแม้ทั้งหมด
   นี้เป็นผลแห่งการถวายธูป ในกัลปที่ ๙๔
   แต่กัลปนี้ เราได้ถวายธูปใดในเวลานั้น ด้วยผลแห่งการถวายธูปนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธูป
   คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘และอภิญญา ๖
   เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล

                          .
   ทราบว่า ท่านพระธูปทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
          จบ ธูปทายกเถราปทาน


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๑๗๘๗ - ๑๗๙๙. หน้าที่ ๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=32&A=1787&Z=1799&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=28
ขอบคุณภาพจาก http://202.29.87.80/





อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค
๖. ธูปทายกเถราปทาน (๒๖)

    ๒๖. อรรถกถาธูปทายกเถราปทาน               
     อปทานของท่านพระธูปทายกเถระมีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
     พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ทำจิตให้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ กระทำการบูชาด้วยธูปเป็นอันมาก ที่ตนกระทำด้วยไม้จันทน์ กฤษณาและกระลำพัก เป็นต้น.


    ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยสมบัติทั้ง ๒ คือในเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ควรบูชาในภพที่บังเกิดแล้วๆ.
     ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูลแห่งหนึ่ง บวชในพระศาสนา ด้วยอานุภาพแห่งกุศลสมภาร เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต โดยชื่อปรากฏในที่ทุกสถานว่า ธูปทายกเถระ เพราะได้กระทำบุญคือการบูชาด้วยธูป.

               
      ท่านได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส
      เมื่อจะแสดงปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.

      ประโยชน์ กล่าวคือ พระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด สำเร็จบริบูรณ์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้นพระนามว่าสิตธัตถะ.
      อธิบายว่า ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะพระองค์นั้น ผู้ทรงคุณมีความเป็นผู้จำแนกแจกธรรมเป็นต้น ผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ผู้สูงสุดในโลกทั้งสิ้น ผู้คงที่คือผู้คงที่ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.

               คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาธูปทายกเถราปทาน   
           

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=28
ขอบคุณภาพจาก http://www.prakeema.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 thk56 thk56 thk56

ทั้งผู้ถาม และ ผู้ตอบ ได้อ่านแล้ว เพิ่มความรู้มากเรื่องนี้

  st12
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

เวลาไปทำบุญ เราจุดธูป บูชาพระ แต่วันหนึ่งไป พระบอกไม่ต้องจุด แล้วได้บุญหรือไม่

 ตอนนี้เลยงง ๆ มากกับเรื่องนี้ เพราะตั้งแต่เด็กจนโตมา ก็จุดธุปบูชาพระ ตลอดและก็คิดว่าได้บุญ ด้วยการถวายอามิสบูชา จนกระทั่งไปวัด ๆ หนึ่ง เขาบอกว่าไม่ต้องจุดธุป เพราะการจุดธูป ไม่ได้บุญ ได้แต่โรค ...


  เราก็เลยอึ้ง ๆ ว่า ไม่รู้ว่า บุญ นั้น อยู่ที่ จุด หรือ ไม่จุด หรือ อยู่ที่ถวาย ธุป

  และสุดท้าย เขาก็บอกว่า นำเงินที่จะซื้อธุูป เทียน หยอดใส่ตู้บริจาค นั้นจะได้บุญมากกว่า

  เอ แล้วอย่างไรกันนี่ บุญ คือการหยอดตู้บริจาค อันนี้ ก็ไม่ทราบว่า เป็นบุญอย่างไร .... เพราะเห็น เค้าบ่นว่าโดนโจรกรรมตู้ บริจาค ต้องติดกล้อง ดูอีก

   ก็เลย งง  ง ง ง ง  งง ง ง ง ง ง ง มาก ขึ้น  :41:

   thk56 ที่เพื่อน ๆ จะช่วยให้ความกระจ่าง เรื่องนี้ได้

   :58:


     ans1 ans1 ans1
   
     การถวายธูปมีอานิสงส์อยู่แล้ว ตามที่ปรากฏในพระสูตร
     หากถามว่า ถวายธูปโดยไม่จุดธูปจะได้บุญไหม.?
     ตอบว่า ไม่ทราบ เป็นเรื่องอจินไตยครับ


     การจุดธูปในที่แจ้งหรือนอกอาคาร โอกาสที่จะเป็นพิษกับคนมีไม่มาก แต่จะเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม
     แต่ปัจจุบันมีธูปที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผลิตออกมาแล้ว น่าจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่ง
     ในกรณีจุดธูปในร่มหรือในอาคาร ปัจจุบันในวัดไทยไม่นิยม มีการห้ามชัดเจน
     เพราะควันธูปนอกจากจะเป็นพิษกับคนแล้ว อาจทำให้เพดานเป็นคราบได้
     แต่ถ้าเป็นวัดจีนหรือศาลเจ้าของคนจีน ห้ามไม่ได้ เพราะทำเนียมจีนถือว่า ควันธูปจะเป็นสื่อให้เทพรู้


    ส่วนตัวแล้วเคยเข้าไปในวัดจีน เจอควันธูปคลุ้งไปหมดจนรู้แสบตา ใจมันขุ่น เลยมีอคติกับการจุดธูป
     ปัจจุบันไม่ใคร่ชอบจุดธูป หลายครั้งไหว้แล้วก็ปักลงกระถางเลยโดยไม่จุด
     เรื่องนี้ขอให้ใช้ดุลพินิจส่วนตัวเอาเองนะครับ สะดวกหรือสบายใจอย่างไร ก็ทำไปเถิดครับ
     แต่ควรพยายามหลีกเลี่ยงผลกระทบในทางลบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
     ขอคุยเท่านี้

      :25:

   
     กระทู้แนะนำ
     จุดธูปกี่ดอก บอกอะไรบ้าง
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=757.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 10:54:42 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ที่หยิบยกพระสูตรขึ้นมานั้น เพื่อ แสดงให้เห็นว่า ได้บุญแน่นอน

ask1


  เราก็เลยอึ้ง ๆ ว่า ไม่รู้ว่า บุญ นั้น อยู่ที่ จุด หรือ ไม่จุด หรือ อยู่ที่ถวาย ธุป


   :58:

และจะจุดเอง  หรือจะถวายเอาไว้ให้พระจุดทำวัตร หรือผู้อื่น ที่มาทำบุญได้จุดไหว้ สักการะ  ก็ได้บุญทั้งนั้นจะ


ก็สาธุด้วยกับเจ้าของกระทู้นี้ นี้เป็นการแสดงให้เห็นได้อย่างหนึ่งว่า ทั้งพระ และโยม ก็ต้องเรียนรู้พระธรรม  พระวินัยด้วยกันทั้งนั้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 01:51:40 pm โดย ธรรมะ ปุจฉา »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม