ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ ฉายา พุทธรักขิโต  (อ่าน 6272 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ ฉายา พุทธรักขิโต เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2432 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5

ตระกูล โยมบิดาเป็นคนบ้านทึง อ.สามชุก สุพรรณบุรี โยมมารดาเป็นคนหนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี โดยโยมบิดาชื่อ นายเหมือน โยมมารดา ชื่อ นางชัง นามสกุลมีศรีไชย มีพี่น้องทั้งสิ้น 5 คน คือ

1. นางน้ำอ้อย จันทร์สุวรรณ

2. นางน้ำตาล จีนสุกแสง

3. นายช่อง มีศรีไชย

4. หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต (นามเดิมว่าเชื่อม)

5. นางสาคู มีศรีไชย

หลวงพ่ออุปสมบท 2 ครั้ง ครั้งแรก ประมาณปี พ.ศ. 2452-2453 โดยพระครูกฤษณ์เป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา กับ อาจารย์กูล วัดบ้านทึง เป็นคู่สวด บวชได้ประมาณ 10 กว่าพรรษา ก็ได้ลาสิกขาออกมาตามคำขอของญาติเพื่อเข้าพิธีแต่งงาน แต่ด้วยบุญญาธิการของหลวงพ่อ ไม่สามารถเข้าพิธีแต่งงานได้ หลวงพ่อได้ล้มป่วยลงถึงขั้น เอาซองใส่มือเลยทีเดียว หลวงพ่อได้ตั้งจิต อฐิษฐานว่า ถ้าหาย จะบวชบำเพ็ญเพียรตลอดโดยจะไม่ขอสึกอีกต่อไป น่าอัศจรรย์ หลวงพ่อก็หายวันหายคืน

กระทั่งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2465 จึงได้บวชอีกเป็นครั้งที่ 2 ฉายาว่า" พุทธรักขิโต " หลวงพ่อท่านเป็นผู้มีความจำดีเป็นเลิศ ท่านได้ตั้งใจ ปฏิบัติ บำเพ็ญเพียร ภาวนา และได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่อ อิ่ม วัดหัวเขา จนเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าสาธุชนโดยทั่วไป

และสัจะรรมแห่งชีวิตได้ดำเนินมาถึงอย่างเที่ยงตรง หลวงพ่อซึ่งดำรงสังขารมาได้ 84 ปี กับ 41 วัน ก็ถึงแก่กาลมรณภาพ ละสังขาร ด้วยอาการอันสงบ ตรงกับวันอังคารที่ 15 มกราคมพ.ศ. 2517 เวลา 07.15 นาที ช่วงเวลาพระออกบิณฑบาต

ดุจ ดังเทียนส่องสว่างดับวูบลง คงเหลือไว้แต่ความดีทั้งหลายเป็นเอนกนานัปการให้กับลูกหลาน ศิษยานุศิษยื รำลึกบูชากราบไหว้ไปอีกตราบนานเท่านาน(ปัจจุบัน สังขารของหลวงพ่อ ยังอยู่ในโลงแก้ว ไม่เน่า ไม่เปื่อย) ท่านที่เคารพศรัทธา ขอเชิญมากราบไหว้บูชาได้ที่วัดดอนไร่ได้ทุกวันครับ.

อยากชมซีดีประวัติหลวงพ่อ

คลิ๊กไปที่ www.masterpormui.com

 
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ ฉายา พุทธรักขิโต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 11:41:31 am »
0
ครูบาอาจารย์
     เนื่องด้วยหลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้คงแก่เรียน หมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอๆ  จึงทำให้ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง การเรียนรู้ในศาสตร์หลายแขนงของท่านได้พากเพียรเรียนรู้มาตั้งแต่การอุปสมบท ครั้งแรกเมื่อกลับมาอุปสมบทอีกครั้งด้วยพื้นฐานที่รอบรู้อยู่แล้วและศึกษา เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ท่านรอบรู้และแตกฉานยิ่งขึ้น ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อมุ่ยไปศึกษามานั้นมีอยู่มากมายเกิน10ท่านขึ้นไปแต่ก็ สืบเสาะได้ยากยิ่งเนื่องจากหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังแต่เท่า ที่สืบค้นได้ก็มีดังนี้

1. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวง พ่อมุ่ยสนใจในวิปัสสนากรรมฐานมากซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์วิปัสสนากรรมฐานของ เมืองสุพรรณที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ก็มี หลวงพ่อโหน่ง,วัดคลองมะดัน , หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา และหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว  จากชีวประวัติของหลวงพ่อปุย วัดเกาะ กล่าวว่าในปี พ.ศ. 2463 หลวงพ่อปุยไปฝากตัวเป็นศิษย์  หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา โดยเริ่มเข้าศึกษาวิปัสสนากรรมฐานพร้อมกันกับหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่    จึงทำให้ทราบว่าหลวงพ่อมุ่ยได้เข้าศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคมต่างๆจาก หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา    เมื่อสมัยที่ท่านบวชครั้งแรกอันอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2452-2464   โดยหลวงพ่อมุ่ยและหลวงพ่อปุยเป็นที่รักใคร่ของหลวงพ่ออิ่มมาก     ถึงกับหลวงพ่ออิ่มท่านกล่าวชมหลวงพ่อปุยกับหลวงพ่อมุ่ยว่า ?ท่านทั้งสองมีความสามารถมาก   ศึกษาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องจ้ำจี่จ้ำไชกันเท่าไรนัก เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้วพร้อมที่จะเบิกบานเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์?   หลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่ออิ่มหมดแล้ว หลวงพ่ออิ่มก็ได้แนะนำให้ไปศึกษาต่อที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท  ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลมากนัก

2. พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาทในยุคนั้น หลวงปู่ศุข ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศมีลูกศิษย์ลูกหามาขอศึกษาวิชาต่างๆกับ ท่านมากมาย หลวงพ่อมุ่ยก็เช่นกัน   ภายหลังจากที่ศึกษาวิชาต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จนหมดแล้ว  หลวงพ่ออิ่มจึงแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมอีกที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า   หลวงพ่ออิ่มเคยเล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า ตัวท่านเองแก่แล้ว จึงศึกษาเวทมนต์  คาถาอาคมต่างๆจากหลวงปู่ศุขได้ครึ่งเล่ม ส่วนหลวงพ่อมุ่ยท่านยังหนุ่มสามารถศึกษาได้ถึงเล่มครึ่ง   หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นที่รักใคร่ของหลวงปู่ศุขมาก เป็นศิษย์ชั้นแถวหน้าของหลวงปู่ศุขเลยทีเดียว
กล่าวกันว่าท่านได้รับถ่ายทอดวิชาอาคมมาจากหลวงปู่ศุขมาก รองมาจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

3. พระครูธรรมสารรักษา (หลวงปู่อ้น) วัดดอนบุบผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวง ปู่อ้นท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเดียวกันกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย   แต่ท่านมีอายุน้อยกว่าหลวงพ่อเนียม 9 ปี  ในยุคนั้นหลวงปู่อ้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี   ท่านเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีในยุคสมัยนั้น   มีลูกศิษย์ลูกหาและพระอาจารย์ต่างๆมาศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านที่ วัดมากมาย  ลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างเช่น ท่านเจ้าคุณเชียงวัดราชบูรณะ , หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ ,หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน , หลวงพ่อสม วัดดอนบุบผาราม เป็นต้น    หลวงพ่อมุ่ยก็เช่นกัน ในการอุปสมบทครั้งที่สองของท่าน เมื่อปี พ.ศ.2465   ท่านได้เดินทางมาที่วัดดอนบุบผารามเพื่อให้หลวงปู่อ้นทำการอุปสมบทให้ และหลังจากการอุปสมบทแล้ว  หลวงพ่อมุ่ยก็ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่อ้นต่ออีก

4. อาจารย์กูน วัดบ้านทึง อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 
อาจารย์ กูน วัดบ้านทึง เป็นฆราวาสที่โด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี  เดิมท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านทึง แต่ต่อมาท่านได้ลาสิกขาบท ท่านเชี่ยวชาญมากในด้านไสยศาสตร์  และแพทย์แผนโบราณ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านตลอดมา
อาจารย์ กูนเป็นผู้ที่ขึ้นชื่อเลื่องลือมากในยุคนั้น หลวงพ่อมุ่ยท่านสนใจในด้านแพทย์แผนโบราณมาก  จึงได้เดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ต่ออาจารย์กูนในสมัยที่อาจารย์กูนท่านยัง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านทึงอยู่

5. หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคาราม อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ท่านเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมมากผู้หนึ่ง หลวงพ่อมุ่ยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากท่าน

6. หลวงพ่อกฤษณ์ วัดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
หลวง พ่อกฤษณ์นี้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ในการอุปสมบทครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ยด้วย และยังเป็นเจ้าคณะอำเภอเดิมบางนางบวช ท่านขึ้นชื่อมากในเรื่องวิชาอาคม

7. หลวงพ่อแบน วัดเดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
หลวง พ่อแบนท่านนี้เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อกวย วัดโฆษิตารามด้วย ขึ้นชื่อมากในเรื่องวิชาอาคม หลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาจากหลวงพ่อแบนจนหมดสิ้น ทั้งวิชามือยาว หรือการทำผ้ายันต์หงส์ทอง

8. นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์ของท่านอีก ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัด อย่างเช่น หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว เป็นต้น

งานด้านการปกครอง
ปี พ.ศ.2475 เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนไร่
ปี พ.ศ.2476 เป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา
       
                     
สมณศักดิ์
ปี พ.ศ.2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ 1 ใน 2  รูปของอำเภอสามชุกในสมัยนั้น
ปี พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ ซึ่งเป็นพระครูสัญญาบัตร 1 ใน 2 รูปของอำเภอสามชุกในสมัยนั้น

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนไร่
หลัง จากชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดดอนไร่ขึ้นมาแล้วแล้ว  ก็ได้นิมนต์หลวงพ่อปลั่งมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกอยู่ได้1พรรษา  หลวงพ่อปลั่งก็ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น
ปี พ.ศ.2458 หลวงพ่อพลอยได้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สองอยู่ได้5พรรษาก็ลาสิกขาบท  จึงทำให้วัดดอนไร่ว่างเว้นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.2466 ภายหลังจากการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมาพำนักจำพรรษาที่วัดดอนไร่ ท่านก็ได้ริเริ่มพัฒนาวัดตั้งแต่นั้นมา

ปี พ.ศ.2476 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา ท่านจึงมีภาระมากขึ้นด้วยว่ามีเขตการปกครองขว้างขวาง วัดใดเสื่อมโทรมก็ต้องเข้าไปดูแลพัฒนาซ่อมแซม
รวมไปถึงวัดภายนอกเขต ปกครองด้วย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ ขยันหมั่นเพียรดูแลรักษาและพัฒนาจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  หลวงพ่อมุ่ยได้สร้างพระอุโบสถหลังเก่าของวัดดอนไร่ ก่อด้วยอิฐไม่ได้ฉาบปูน หลังคามุงหญ้าแฝก  ซึ่งได้ฝังลูกนิมิตไปในปี พ.ศ.2482 กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ซึ่งสร้างจากไม้เป็นหลัก  ซึ่งไม้ดังกล่าวหลวงพ่อมุ่ยท่านจะเป็นผู้นำกองเกวียนของบรรดาชาวบ้านเข้าป่า เพื่อไปตัดไม้ดังกล่าวมาสร้าง วัดเองโดยตลอด จึงเป็นภาระอันหนักยิ่งของท่านในสมัยนั้น  ปี พ.ศ.2496 ท่านได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์เป็นพระอุปัชฌาย์ มีกุลบุตรมากมายมาให้ท่านอุปสมบทให้  รวมทั้งลาสิกขาบทจากท่าน


อุปนิสัย
หลวง พ่อมุ่ยท่านเป็นพระสมถะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย  ทำสิ่งใดแต่พอเหมาะพอควร มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั่วไปทุกหมู่เหล่าท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพระ พุทธศาสนาอย่างเต็มที่ด้วยเคยตั้งมั่น อธิษฐานชีพนี้เพื่อพระพุทธศาสนา
       
อาพาธและมรณภาพ
ปี พ.ศ.2516 หลวงพ่อมุ่ยเริ่มอาพาธ
ล่วง ถึงกลางปีก่อนเข้าพรรษาอาการอาพาธด้วยโรคชรานี้ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น  แพทย์ประจำตัวหลวงพ่อเห็นอาการไม่ดีขึ้นจึงได้นำหลวงพ่อเข้ารับการรักษาทำ ให้ตลอดพรรษานี้หลวงพ่อต้องจำพรรษาอยู่ที่คลินิกของแพทย์ผู้เป็นลูกศิษย์

ก่อน หน้าฤดูเทศกาลกฐินหลวงพ่อได้กลับมาที่วัด ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาดีใจมาก จัดขบวนต้อนรับกันยิ่งใหญ่ แต่หารู้ไม่ว่าการกลับมาครั้งนี้เป็นการจากลาของหลวงพ่อ ล่วงถึงเวลา
07.15 น. ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2517 หลวงพ่อมุ่ยก็ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 85 ปี 41 วัน


ขอบคุณที่มาเนื้อหา

http://www.jk-pra.com/board/read.php?tid=73
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;