สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ISSARAPAP ที่ ตุลาคม 30, 2012, 06:05:31 pm



หัวข้อ: ระหว่าง สติ กับ สมาธิ ธรรมอันใด ใช้มากที่สุดใน การภาวนาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ISSARAPAP ที่ ตุลาคม 30, 2012, 06:05:31 pm
ระหว่าง สติ กับ สมาธิ ธรรมอันใด ใช้มากที่สุดใน การภาวนาครับ
  คือ ไม่อยากให้สับสน กับการใช้ในการภาวนาครับ ในระหว่างที่ เดินภาวนา สติ ง่ายกว่า หรือ สมาธิ ง่ายกว่าครับ และ หรือ ระหว่าง นั่งอยู่ ใช้ สติ ง่ายกว่า หรือ สมาธิ ง่ายกว่าครับ
 
  สติ กับ สมาธิ เป็นคนละส่วน หรือ เป็นส่วนเดียวกันครับ
  การเจริญภาวนา เพื่อการไม่กลับมาเกิด ควรจะอาศัย สติ ให้มาก หรือ สมาธิ ให้มากครับ


  :c017: :49:


หัวข้อ: Re: ระหว่าง สติ กับ สมาธิ ธรรมอันใด ใช้มากที่สุดใน การภาวนาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ ตุลาคม 31, 2012, 07:34:16 am
ระหว่าง สติ กับ สมาธิ ธรรมอันใด ใช้มากที่สุดใน การภาวนาครับ

(http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K12387561/K12387561-0.jpg)

สติ นั้นกำกับสมาธิอยู่แล้วส่วนหนึ่ง หากแต่เจริญวิปัสสนาสติต้องใช้ดักจับอารมณ์ รู้ ทัน วาง (ระงับสังขาร) นี้สำคัญ

ในส่วนของสมาธิเข้าใจว่าเป็นการเจริญสมถะภาวนา สตินั้นใช้กำกับ เพ่งกด จับจดอารมณ์ ดังนั้น "พุทโธ" จึงอยู่ได้

ในทุกอากัปกิริยาไม่หลุดถ้วนทุกการนับ นี้จึงกล่าวเอาได้ว่าสติกำกับสมาธิ ซึ่งอันที่จริงแล้วสติความระลึกรู้ตัวมีทั้งสอง

ส่วนในสมถะและวิปัสสนา หากกล่าวแต่ว่าสติเป็นตัวเหตุ สมาธิเป็นตัวผล ผลเป็นได้ทั้งความสงบระงับเสียซึ่งนิวรณ์

ในส่วนของสมถะ และ รู้ ทัน วาง ในความคิดปรุงในส่วนของวิปัสสนา ง่ายๆแต่ก็เข้าใจยาก ลองทำสมาธิกันดูก่อน

คงได้กระจ่างแก่ตัว เราท่านมาทำสมาธิกันเป็นเรื่องเป็นราวกันซะทีคงดี




http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K12387561/K12387561.html


หัวข้อ: Re: ระหว่าง สติ กับ สมาธิ ธรรมอันใด ใช้มากที่สุดใน การภาวนาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 31, 2012, 10:39:54 am
การปฏิบัติภาวนา สำหรับ นักปฏิบัติเริ่มต้น

    ก็ต้องดำเนินการภาวนา โดยแยก ศีล สมาธิ และ ปัญญา ส่วนใหญ่  ก็จะเลือกเอาเป็นอย่าง ๆ เข่น อยู่อุโบสศีล ไปเจริญสมาธิ หรือ  ไปศึกษาภาวนาในแนวทาง วิปัสสนา การปฏิบัตอย่างนี้ก็ดี เพราะเป็นการเพาะบ่ม  อบรมนิสัย ธรรม สร้างบารมีในตัว แต่ข้อเสีย นาน ๆ ไป  ก็จะติดนิสัยเอาเป็นด้าน เช่น บางท่าน ก็เอาแต่สวดมนต์  ถึงเวลาฟังธรรมไม่เอา นั่งสมาธิไม่เอา เดินจงกรมก็ไม่เอา  ที่เอามีเรื่องเดียว สวดมนต์ สวดทั้งวัน ทั้งคืน ขอให้ได้สวดมนต์ ฉันเอาเท่านี้  อันนี้เห็นมาแล้วจริง ๆ สวดกันตั้งแต่ กลางคน จนปลายคน กิเลสก็ยังไม่ยุบ  แต่ก็นับว่ายังดี ดังนั้นถ้าเป็นประเภมนี้ ปริยัติ ปฏฺบัติ สลับกัน

การปฏิบัติภาวนา สำหรับ นักปฏิบัติขั้นกลาง
 
    ก็ต้องดำเนินการภาวนา ประสาน ระหว่าง สติ และ สมาธิ ส่วนมากจะเป็นกับ  บุคคลที่ประสบทุกข์อยู่เบื้องหน้า  แล้วต้องการคลายทุกข์เบื้องหน้าขณะนั้นจึงแสวงหาการภาวนา  ที่จะทำให้ทุกข์เบื้องหน้าตรงนั้นสงบลง ครั้นทุกข์เบื้องหน้า  สงบจางคลายลงไป ก็เลิกปฏิบัติ  เท่าที่เห็นจะเป็นอย่างนั้นดังนั้นพวกนี้มีความตั้งใจ  อยากจะบรรลุธรรมในชาตินี้ก็มี แต่ เวลาปฏิบัติก็มักจะสับสนกับวิธีการไปด้วย  คือ เอาเฉพาะด้าน บางท่านเจริญสติ อย่างเดียว บางท่านเจริญสมาธิ  อย่างเดียว เป็นต้น พวกนี้จัดเป็นพวกปฏิบัติ

การปฏิบัติภาวนา สำหรับนักปฏิบัติขั้นสูง

    ก็ต้องดำเนินการรวมมรรค ทั้ง 8 ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยใช้ สมาธิ  ตั้งแต่ระดับ อุปจาระสมาธิ เป็นเกลียวบิดสุดท้าย ให้การภาวนาสมบูรณ์  สำหรับพวกนี้เป็นพวกต่อยอดมาจากขั้นกลาง เมื่อปฏิบัติไปถูกทาง สัมมาทิฏฐิ  ที่มีอยู่ก็จะพัฒนาคุณธรรม ตามความตั้งใจที่จะไม่เกิดอีก ไม่อยากมาทุกข์อีก  ไม่เอาอีกแล้วในสังสารวัฏกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ นิพพิทา แล้วจริง ๆ  สำหรับประเภทนี้ อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง

 
  ดังนั้น คำตอบอยู่ที่ ว่า ท่านปฏิบัติอยู่ ระดับไหน ?[/]


(http://www.madchima.net/images/505_card_37.jpg)
   Aeva Debug: 0.0007 seconds.