ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ  (อ่าน 5445 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

keyspirit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
 คือไม่ค่อยจะเข้าใจ เห็นหลายท่านกล่าวว่า มีความสัมพันธ์กับเรื่องกรรมฐาน ครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2012, 10:31:54 pm »
0
เป็นเรื่องเดียวกับ ชวนะจิต 7 สลับ หรือเปล่า
      ต้องรบกวนท่าน natthaponson หามาให้อ่านกัน อยู่ในหนังสือวันอุปสมบทของครูอาจารย์ ก็มี
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 07:31:07 am »
0
   
    เรื่องนี้คุณเท่ากับผลรวม ได้โพสต์ไว้แล้วในกระทู้
    "ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้"
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5043.0

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค 
    [๑๑.ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ ที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณฐิติ ๗ ได้แก่

   
    ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
        คือ มนุษย์ เทพ บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

    ๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน
        คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา(เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
    ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน
        คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่   ๓

    ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
        คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ(เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
    ๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้”
        เพราะล่วงรูปสัญญา  ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

    ๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
        โดยกำหนดว่า  “วิญญาณหาที่สุดมิได้”  นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
    ๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
        โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

        นี้คือธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้




   
    "วิญญาณฐิติ คือ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ"
    ขอให้ไปอ่านกระทู้นี้ก่อนนะครับ ว่างๆจะมาสรุปให้อ่านอีกครั้ง

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5043.0

     :25:
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2012, 07:37:00 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 08:26:55 am »
0
ความเกี่ยวเนื่องกับกรรมฐาน ก็น่าจะหมายถึง เรื่อง กรรมฐานที่เป็น รูป กรรมฐาน และที่ เป็นอรูปกรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ เพราะ 3 ข้อหลัง เป็น อรูปฌาน

  :coffee2:
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 08:40:15 am »
0
ตามไปอ่านตามหัวข้อ แล้ว ลงกันไว้อย่างละเอียดยิบ เลยนะคะ

   ทำให้นึกถึง พระสูตร ที่นางฟ้าองค์หนึ่ง ลงเล่นน้ำในสระแค่มือถือเกี่ยว กิ่งไม้อยู่ก็จุติเป็นมนุษย์ 80 ปีแล้วกลับไปยืนอยู่ในท่าเดิม แต่จำเนื้อเรื่องไม่ได้


  วิญญาณฐิติ ก็คือ สังสารวัฏ นั่นเอง

   :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2012, 01:45:15 pm »
0


    เรื่องวิญญาณฐิติ ๗ นี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้หลายพระสูตร ผมขอยก "มหานิทานสูตร" มาแสดงโดยย่อดังนี้
    มหานิทานสูตรว่าด้วย“ต้นเหตุใหญ่” กล่าวถึง ประวัติปฏิจจสมุปบาท หรือกฏแห่งเหตุผลที่เกี่ยวโยงกันเป็นลูกโซ่ รวมทั้งทฤฎีเรื่องอัตตา.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

๒. มหานิทานสูตร
สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่
 

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคม ชื่อกัมมาสธัมมะ ในแคว้นกุรุ.
    พระอานนท์เข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า แม้ปฏิจจสมุปบาท(ธรรมที่เกิดขึ้นอาศัยกันและกัน) เป็นของลึกซึ้งและทีเงาลึกซึ่ง แต่ปรากฏเป็นของตื้นสำหรับท่าน.
    พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าพูดอย่างนั้น. ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้ง เพราะไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ สัตว์จึงไม่ล่วงพ้นอบาย(ภูมิอันเสื่อม) ทุคคติ(ที่ไปอันชั่ว) วินิบาติ(สภาพอันตกต่ำ) สงสาร(การท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด) ยุ่งเหยิงสับสน เหมือนต้นหญ้า(ที่ตกเกลื่อนกลาดอยู่ ยากที่จะจัดระเบียบต้นปลาย).

 
     มหานิทานสูตรนี้ เป็นการแสดงเรื่องความเวียนว่ายตายเกิด โดยเเสดงเงื่อนต้น ที่วิญญาณและนามรูป ต่างเป็นปัจจัยของกันและกัน ทำให้เวียนว่ายตายเกิด และเป็นเหตุให้มีการบัญญัติอัตตาตัวตน ผู้รู้แจ้งความจริงย่อมไม่ติดในบัญญัตินั้นๆ

     ในที่สุดได้แสดงถึง วิญญาณฐิติ คือ ที่ตั้งแห่งวิญญาณ หรือประเภทแห่งสัตว์โลก ๗
     กับแสดงอายตนะ ๒ คือ พวกที่วิญญาณไม่ปรากฏ กับปรากฏ แต่ไม่ชัด ๒ พวก
     ในที่สุดได้แสดงวิโมกข์ คือ ความหลุดพ้น ๘ ประการ ที่ผู้เข้าออกได้คล่องแคล่ว จะชื่อว่าผู้พ้นด้วยสมาธิและปัญญา


____________________________________
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.html
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๒. มหานิทานสูตร (๑๕)


     [๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ-
     ๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
     ๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
     ๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
     ๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
     ๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
     ๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
     ๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗


     ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
     
     ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น
     วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มีว่า สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่
     พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก

     ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
     และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น

     เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
     ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

     ........ฯลฯ.......ฯลฯ.......

    วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
     เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น
     รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
     และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น

    เขายังจะควรเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
     ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ



     ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
     รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
     และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
     เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้นอีกหรือ ฯ
     ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ


     ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
     รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
     และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
     เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ
     ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ


    ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับ ทั้งคุณและโทษ
     และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็นจริงแล้ว
     ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗.  หน้าที่  ๖๐ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
ขอบคุณภาพจาก http://www.nkgen.com/,http://larnbuddhism.com/,http://i882.photobucket.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2012, 02:28:54 pm »
0
วิญญาณฐิติ 7 กับกรรมฐาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ครับ
 คือไม่ค่อยจะเข้าใจ เห็นหลายท่านกล่าวว่า มีความสัมพันธ์กับเรื่องกรรมฐาน ครับ

  :c017: :25:


       
       วิญญาณฐิติ เป็นส่วนหนึ่งของสังสารวัฏ หากเราเห็นภัยของวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ก็เหมือนกับการเห็นภัยของสังสารวัฏ การจะเห็นภัยและเบื่อหน่ายการเวียนว่ายตายเกิดอย่างแท้จริง ต้องเข้าใจวงจรปฏิจจสมุปบาทอย่างแทงทะลุ หรือรู้แจ้งอริยสัจนั่นเอง

       ในอรรถกถาของมหานิทานสูตร ได้กล่าวไว้ว่า
       อนึ่ง แม้เทพเวหัปผลาก็รวมเข้ากับวิญญาณฐิติที่ ๔ เหมือนกัน. สัตว์ไม่มีสัญญา เพราะไม่มีวิญญาณ ไม่สงเคราะห์เข้าในวิญญาณฐิตินี้ แต่สงเคราะห์เข้าในสัตตาวาส.
       แม้เทพสุทธาวาสดำรงอยู่ในฝ่ายวิวัฏฏะ ไม่กำหนดกาลทั้งปวง
       ก็ไม่เกิดในโลกที่ว่างพระพุทธเจ้าแสนกัปบ้าง หนึ่งอสงไขยบ้าง
       เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติในระหว่าง ๑๖,๐๐๐ กัปนั้นแลจึงเกิด ย่อมเป็นเช่นเดียวกับที่ตั้งค่ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว
       เพราะฉะนั้น เทพสุทธาวาสจึงไม่รวมเข้ากับวิญญาณฐิติ ไม่รวมเข้ากับสัตตาวาส.


      แต่พระมหาสิวเถระกล่าวว่า แม้เทพสุทธาวาสก็ยังรวมเข้ากับวิญญาณฐิติที่ ๔ สัตตาวาสที่ ๔ นั้นแล
      ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูกรสารีบุตร ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไป โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนักดังนี้. เห็นด้วยกับพระสูตรนั้น เพราะพระสูตรท่านไม่ห้ามไว้.


_____________________________
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหานิทานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=57&p=2

     
      ผมอ่านอรรถกถาแล้วไม่เข้าใจ ยังงงๆ อยู่ว่า
      ตกลงสุทธาวาสซึ่งมีอยู่ ๕ ชั้นนั้น รวมอยู่ในวิญญาณฐิติหรือเปล่า
      แต่ที่พอจะเข้าใจอยู่บ้างก็คือ สุทธาวาส(ที่อยู่ของอนาคามีและอรหันต์ที่สำเร็จในชั้นนี้) จะมีเฉพาะเมื่อมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเท่านั้น
      ดังนั้นในช่วงพุทธันดรจะไม่มีพรหมชั้นสุทธาวาส
      แล้วเพื่อนๆล่ะครับ เข้าใจอย่างไร ช่วยแถลงมาหน่อย

       :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 24, 2012, 02:36:54 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ