ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 01:54:58 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 2 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 10:11:38 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 3 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 06:05:23 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย

"นี่ เราสวดมนต์กันอย่างไร สวดกันมา ๕๐ ปี ยังไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร"

การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่นสาระของมัน ก็คือการสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคำของพราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคำพูดของเขานั้น เราหมายถึงพุทธพจน์ คือคำตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

ที่ว่าสาธยาย ก็คือมีสติจำได้ระลึกถึงจับยกนำเอาข้อมูล ความรู้(ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรงตามลำดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทำงานของการสาธยาย




 :25:

บอกกล่าว

"สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ ครั้งที่ ๓. ,ตุลาคม ๒๕๖๓ ๕๐๐ เล่ม ,งานพระราชทานเพลิงศพ นาวาอากาศเอก บํารุง กันสิทธิ์

พิมพ์เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์
ท่านผู้ใดประสงค์จัดพิมพ์ โปรดติดต่อขออนุญาตที่...
วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
http://www.watnyanaves.net
ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682

ผู้โพสต์จะขอนำบทความบางตอนที่น่าสนใจ ในหนังสือเล่มนี้ มานำเสนอตามลำดับ ท่านใดประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลด pdf file ได้ ผู้โพสต์ได้แนบไว้ ในตอนท้ายของโพสต์นี้

หรือดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่ https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682


 4 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:33:05 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



รถยนต์สีขาว ฮิตจริงฮิตจัง เปิดที่มาของรถสีขาว ทำไมถึงมีแต่คนชอบ

ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เราจะเห็นได้ถึงรถยนต์บนถนนนั้น ที่ค่อนข้างคั่บคั่งหนาแน่นมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหลาย ๆ บ้านก็เดินทางออกจากต่างจังหวัด มีวันหยุดยาวได้ออกไปทำธุระปะปังกัน ทำให้รถยนต์เยอะมากบนถนนต่าง ๆ

ลองมาสังเกตดูจากการที่รถติด ๆ นั่งมองเพลิน ๆ จะเห็นได้ว่ารถยนต์สีขาวนั้นมากกว่าสีอื่นบนถนน นั่งนับ ๆ ดู เอ๊ะ! ทำไมเยอะจัง ที่มาที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันนะ

เรารวม ๆ คำตอบจากหลายๆ หลายแหล่งที่มา บอกว่ารถยนต์สีขาวในยุคก่อน ๆ มีราคาถูกที่สุด ผู้คนจึงมักซื้อสีนี้ พอจำนวนผู้ใช้มากขึ้น ก็เป็นเหมือนเทรนด์การใช้ ทำให้ผู้ใช้รายอื่นเห็นและซื้อตาม ๆ กันมา มองไปมองมาก็สวยดี  จนดันให้สีขาวของรถยนต์ ถูกพัฒนาสี จากสีขาวธรรมดา เป็นขาวแบบพิเศษ มีเมทัลลิก มีประกายเงางามมากกว่าเดิม เพิ่มความนิยมมากขึ้นไปกว่าเดิม จากรุ่นล่างสุดกลายมาเป็นตัว TOP ที่สุดในรุ่น และต้องเพิ่มเงินค่าสีกันด้วยซ้ำ

    - ข้อดีของรถยนต์สีขาวถึงจะเลอะจากคราบสกปรกต่าง ๆ ได้ง่ายมาก แต่ก็สามารถมองเห็นและทำความสะอาดได้ง่ายเช่นเดียวกัน

    - รถยนต์สีขาวสามารถเห็นตัวรถได้ง่าย ในเวลาที่ขับใช้งานในช่วงกลางคืน และดูหรูหรา ไม่แก่จนเกินไป ดูไม่ตกยุคสมัย และสามารถจับมาแต่งองค์ทรงเครื่องได้ง่ายกว่าสีอื่น จับสีไหนมาคู่ก็ดูเข้ากัน

    - รวมไปถึงอาจจะเป็นสีที่ถูกโฉลกกับวันเกิดของผู้ใช้รถบางคนอีกด้วย





Thank to : https://www.amarintv.com/article/detail/63929
Powered by อมรินทร์ นิวส์ - ยานยนต์ | 21 เม.ย. 67

 5 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:26:48 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



มท.-วัดระฆังโฆสิตาราม พร้อมเครือข่าย เอ็มโอยู โครงการพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตร

มท. วัดระฆังโฆสิตาราม จ.นครนายก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เอ็มโอยู โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตร

เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย(มท.) เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างกระทรวงมหาดไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจังหวัดนครนายก โดยได้รับเมตตาจากพระมหาปรีชา ปสนฺโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เลขานุการวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เป็นผู้แทนพระเทพประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ร่วมลงนาม

โดยมี รศ.สุพจน์ ศรีนิล รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนายสุภกิณห์ แวงชิน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ร่วมลงนาม โอกาสนี้ พระพิพัฒน์วชิโรภาส เจ้าอาวาสวัดป่ามหาธีราจารย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต พระครูพิพิธวรกิจจาทร พระครูสังฆรักษ์อำพล จตฺตมโล พระครูวินัยธรสมชาย ปุปฺผโก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระเถรานุเถระ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก นายเปลี่ยน แก้วฤทธิ์ รกน.ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ กรมที่ดิน นายสุรพล เจริญภูมิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นางสาวชัชดาพร บุญพีระณัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง นายบูรณิศ ยุกตะนันทน์ ผู้อำนวยการองค์การตลาด ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่าย ร่วมในพิธี




นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างกระทรวงมหาดไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจังหวัดนครนายก เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะออกแบบ พัฒนา วางแผนและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์พื้นที่ ในที่ดินของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร โฉนดที่ดินที่ 2623 จำนวน 100 ไร่ และโฉนดที่ดินที่ 2624 จำนวน 50 ไร่ รวมจำนวน 150 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

โดยจัดตั้งเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” อันจะเป็นพื้นที่ตัวอย่างแห่งความยั่งยืนให้กับกระทรวง กรม และจังหวัดต่าง ๆ ในการน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่อารยเกษตร หรือโคก หนอง นา โดยได้รับเมตตาจากพระเทพประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร มอบหมายให้พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต (พระครูต้น) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ได้บริหารจัดการที่ดินแปลงนี้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามความร่วมมือในครั้งนี้




“พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงคิดค้นทฤษฎีใหม่เป็นจำนวนมากเพื่อยังคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับพสกนิกรของพระองค์ ทั้งนี้ เกษตรทฤษฎีใหม่เป็น 1 ใน 40 ทฤษฎี ธรรมชาติมีแหล่งน้ำ มีนา ปลูกข้าวกินเอง เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร มีไม้ยืนต้น พืชผักสวนครัว โดยทรงใช้วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่ทดลอง เพราะพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูน โดยทรงใช้องค์ความรู้มาคิดค้นคว้า แบ่งพื้นที่ว่าชีวิตจะอยู่ได้ “น้ำคือชีวิต” จึงทรงหาวิธีการที่ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยทำให้พื้นที่ทำมาหากินต้องมีน้ำ เกษตรทฤษฎีใหม่ 30% ของพื้นที่ทำแหล่งน้ำ 30% เป็นพื้นที่เกษตรผสมผสาน 30% เป็นพื้นที่สร้างความร่มเย็น ไม้เป็นอาหาร ไม้ใช้สอย ด้วยไม้ยืนต้น และแหล่งมรดกสร้างที่อยู่อาศัย และอีก 10% ทำที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และต่อมา ทรงคิดทฤษฎีใหม่อื่น ๆ อาทิ เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช ป่าเปียก หลุมขนมครก อธรรมปราบอธรรม

โดยต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอด จึงพระราชทานโครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังให้แก่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำไปขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา” โดยทรงนิยามคำว่า “อารยเกษตร” เพราะพื้นที้ที้เราพัฒนาแล้วจะเกิดความสวยงาม ทั้งภาพลักษณ์ และอรรถประโยชน์ มองทางไหนก็เหมือนอยู่ในรีสอร์ท มีคลองไส้ไก่คดเคี้ยวเลี้ยวลด มีผืนแผ่นดินทำมาหากิน อยู่อาศัย ที่มีต้นไม้สูง กลาง ต่ำ เตี้ย เรี่ยดิน อันจะทำให้คนมีกิน มีใช้ และดูแลให้คนในครอบครัวมีความสุข โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มอบหมายให้ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล เป็นผู้นำภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ในการออกแบบขยายผลจนเกิดมรรคผลทั่วประเทศในขณะนี้” นายสุทธิพงษ์ กล่าว




นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการในครั้งนี้ จะทำให้พวกเราทุกคนได้มีโอกาสร่วมสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังพระปฐมบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ตามพระราชดำรัส “อารยเกษตร” เป็นแนวทางหลักในการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า คน ภูมินิเวศและภูมิวัฒนธรรม อันเป็นความสำเร็จที่ทำให้พสกนิกรชาวไทยได้มีความสุขในชีวิตอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรูปแบบการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความเป็นอารยะ พร้อมน้อมนำหลัก บวร (บ้าน วัด ราชการ) ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ให้มีรูปแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

โดยมุ่งมั่นบูรณาการความร่วมมือพร้อมด้วยสรรพกำลังตามความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ในการพัฒนาที่ดิน การสำรวจพื้นที่เพื่อนำมาพัฒนาและออกแบบ ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” ที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาพื้นที่เพื่อการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแหล่งรวมปัจจัย 4 ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และยารักษาโรค ตลอดจนการพัฒนาดินเพื่อช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและสัตว์ สร้างสภาพแวดล้อมให้ร่มเย็นเพื่อช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศและลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น

นอกจากนี้เราจะได้ส่งเสริมให้เกิดการน้อมนำหลักธรรมตามพระพุทธศาสนา ให้เกิดการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติธรรม และเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอารยเกษตรอีกด้วย ซึ่งจะทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นใบบุญในการทำให้คณะสงฆ์ ตลอดจนประชาชนคนไทยได้มีโอกาสที่ดีของชีวิตในการน้อมนำพระราชดำริสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน




“พื้นที่แห่งนี้จะเป็นต้นแบบทำให้ผู้คน ประเทศชาติ และโลกใบเดียวนี้อยู่รอด จะทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ว่า “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ได้ทำให้คนแค่พอมี พอกิน แต่จะทำให้คนเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อ มีจิตอาสา ดูแลสังคม และสามารถทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยได้ ตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้นของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ขั้นแรกทำให้พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ขั้นต่อไปเมื่อมีเหลือใช้ก็แบ่งทำบุญ กับพระสงฆ์ ทำทานกับผู้ยากไร้ และขั้นต่อมา คือ การแปรรูป ถนอมอาหาร และรวมผลผลิต และรวมตัวกันทำการตลาด อันจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่อย่างยั่งยืน โดยการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย คือ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ขับเคลื่อนพื้นที่แห่งบุญกุศลไปสู่ต้นแบบแห่งการอยู่ดีมีสุขตามพระราชดำริต่อไป”นายสุทธิพงษ์ กล่าว

พระมหาปรีชา ปสนฺโน กล่าวว่า วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหารในฐานะเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นที่ดินที่วัดได้ซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนปี 2500 แปลงหนึ่ง และเป็นแปลงที่ทายาทอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ถวายให้กับวัดแปลงหนึ่ง โดยเมื่อวัดได้รับทราบว่ากระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นร่วมพัฒนาที่ดินตามหลักพุทธอารยเกษตร ซึ่งเป็นความตั้งใจที่ดีงาม โดยเฉพาะชื่อโครงการที่ถือเป็นไปตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ อันเป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์อย่างไพบูลย์กับประเทศชาติ พระศาสนา และประชาชน จึงขออนุโมทนากับการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ในวันนี้ และขออำนวยพรให้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งมั่นตั้งใจทุกประการ

รศ.สุพจน์ กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับเกียรติในการสนับสนุนให้ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ตามหลักอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริมาต่อเนื่องกว่า 10 ปีในลักษณะ “นักวิชาการจิตอาสา” ซึ่งสถาบันฯ มีความภูมิใจและชื่นชมยินดีกับอาจารย์ทั้ง 2 ท่านที่มีส่วนในการพัฒนาความยั่งยืนให้กับประเทศชาติและประชาชน โดยพิธีการในวันนี้ พวกเราผู้มีจิตใจที่ดีงาม จะได้ร่วมกันทำให้ประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสถาบันฯ จะมุ่งมั่นถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างมากที่สุดและดีที่สุดเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณตลอดไป




นายสุภกิณห์ กล่าวว่า จังหวัดนครนายก ในฐานะพื้นที่มีความมุ่งมั่นในการร่วมกับภาคีเครือข่ายน้อมนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย เจตนารมณ์ของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตลอดจนถึงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และความมุ่งมั่นตั้งใจของภาคีเครือข่ายอย่างเต็มกำลังความสามารถ

การพัฒนาที่ดินของวัดระฆังโฆสิตาราม ขนาด 150 ไร่ ที่คลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้ จะนำไปสู่การจัดทำแบบแนวความคิดในการพัฒนาพื้นที่สู่การเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” ซึ่งถือเป็น 1 ใน 6 พื้นที่ทั่วประเทศที่กระทรวงมหาดไทยได้คัดเลือกดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ทำให้ประชาชนคนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน





ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/politics/news_4537767
วันที่ 22 เมษายน 2567 - 17:15 น.   

 6 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:19:41 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



คณะสงฆ์กทม.ติวเข้มทักษะไอทีพระภิกษุสามเณร เผยแผ่พุทธศาสนาออนไลน์

คณะสงฆ์กรุงเทพฯ จัดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากร เพิ่มพูนทักษะทางไอที หนึ่งวัดหนึ่งเว็บไซต์ รุ่นที่ 2

พระธรรมวชิรมุนี วิ. กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากรเพิ่มพูนทักษะทางไอที หนึ่งวัดหนึ่งเว็บไซต์ ของคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร (รุ่นที่ 2) เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า โครงการดังกล่าว เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจด้านไอทีที่จำเป็นให้กับพระภิกษุสามเณรของวัดในเขตกรุงเทพฯ ต่อจากรุ่นแรกที่ได้ดำเนินการไปเมื่อปี 2566 ทั้งยังเป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567

“มีผู้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีก้าวไกล พระสงฆ์ไทยควรก้าวให้ทัน ใจความสำคัญคือ พระภิกษุสามเณร จะดึงศักยภาพด้านเทคโนโลยีมาใช้ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์อย่างไร เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เป็นของใหม่ และทันสมัย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นอุปกรณ์ในการประชาสัมพันธ์ผลงาน ศาสนกิจ ของแต่ละวัดได้ และช่วยให้ผู้สนใจ พุทธศาสนิกชน ได้เข้าถึงข้อมูลที่สำคัญของวัดได้ตลอดเวลา ด้วยแต่ละวัดมีงานต้องดำเนินการตามนโยบายคณะสงฆ์ การอบรมครั้งนี้ เพื่อให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาศักยภาพของพระภิกษุสามเณร อีกทางหนึ่ง ซึ่งละเลยไม่ได้ เพราะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางเว็บไซต์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถทำให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้” เจ้าคณะกรุงเทพฯ กล่าว






ด้านพระครูภาวนาวิธาน วิ. หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานเจ้าคณะกรุงเทพฯ ประธานโครงการฯ กล่าวว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการประกอบธุรกรรมทางสังคม และการดำเนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีแนวโน้มว่าจะก้าวหน้า รวดเร็ว และก้าวไกลมากยิ่งขึ้น องค์กรที่พึ่งพาเทคโนโลยี จำเป็นต้องทำการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจ ใช้ประโยชน์ให้ตรงกับภาระงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนเจ้าคณะกรุงเทพฯ และคณะสงฆ์กรุงเทพฯ จึงเห็นควรให้มีการอบรมดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 20-24 เม.ย. ที่ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ชั้น 1 วัดมหาธาตุฯ

โดยกำหนดขอบเขตเนื้อหาในการอบรมเกี่ยวเนื่องกับการเผยแพร่ศาสนาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ด้วยการจัดทำเว็บไซต์ประจำวัดในเขตปกครอง เพิ่มความรู้เบื้องต้นงานสิ่งพิมพ์ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมวัด การถ่ายภาพเพื่อการทำรายงานศาสนกิจ รวมทั้งเพื่อขับเคลื่อนกิจการและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์กรุงเทพฯ ให้ก้าวหน้า รวดเร็วและทันสมัย อีกทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3364547/
22 เมษายน 2567 ,13:03 น. ,การศึกษา-ศาสนา

 7 
 เมื่อ: เมษายน 22, 2024, 09:37:43 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 8 
 เมื่อ: เมษายน 22, 2024, 01:13:12 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 9 
 เมื่อ: เมษายน 22, 2024, 09:46:20 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 10 
 เมื่อ: เมษายน 22, 2024, 07:00:50 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



กรุยทางสร้างบุญบารมีด้วยการสวดมนต์

การสวดมนต์เริ่มต้นตั้งแต่พุทธกาล แต่ในครั้งนั้นยังไม่มีการบันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นตัวหนังสืออย่างพระไตรปิฎกในปัจจุบัน ใช้วิธีการท่องจำที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนอะไรไว้ พระภิกษุก็จะท่องจำแล้วจึงบอกต่อๆ กันจนกระจายไปทั่วทั้งแผ่นดิน
         
การสวดมนต์คือ การสาธยายธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนเอาไว้ ถือเป็นการทบทวนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการลืมเลือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นหัวข้อธรรมที่สำคัญๆ ก็ยิ่งต้องท่องจำจนขึ้นใจ ส่วนหัวข้อธรรมที่นานๆ ใช้ครั้ง ก็ต้องแบ่งหน้าที่กันว่า พระภิกษุรูปใดจะท่องจำหัวข้อธรรมเรื่องอะไร

ธรรมเรื่องหลักๆ เช่น คุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หรือเรื่องการพิจารณาขันธ์ 5 ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นเรื่องธรรมดาต่างๆนั้น จะต้องทบทวนเป็นประจำ จึงรวบรวมมาเป็นบทสวดมนต์ทำวัตรที่เราใช้สวดกันในปัจจุบัน ถ้ายังเป็นเด็กก็ให้ท่องบทสวดสั้นๆ ว่า “อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา ....” คือ ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ชาวพุทธโดยทั่วไปส่วนใหญ่ สวดมนต์เป็นตั้งแต่ยังเด็กๆ แล้ว

การสวดมนต์ทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นนั้น เป็นการสวดเพื่อรำลึกนึกถึงพระรัตนตรัย ซึ่งผู้สวดจะได้รับประโยชน์นานัปการเลยทีเดียว เราพบว่าหลายคนที่เรียนดี เรียนเก่งนั้นมีเคล็ดลับโดยการนั่งสมาธิ การสวดมนต์ ถือว่าเป็นการเตรียมใจให้พร้อมเบื้องต้น สำหรับการทำสมาธิก็ว่าได้ หากพิเคราะห์วิถีชาวพุทธที่ประกอบด้วยทาน ศีล ภาวนา คำว่า “ภาวนา” ครอบคลุมทั้งการสวดมนต์ นั่งสมาธิ

เพราะฉะนั้นการสวดมนต์ถือเป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง อานิสงส์ประการแรกคือ ทำให้ใจสงบ เป็นสมาธิ พอใจสงบเป็นสมาธิแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ได้ผลดี และประสบความสำเร็จ ประการต่อมา ทำให้เป็นทางมาแห่งบุญ หมายความว่า การสวดมนต์นี้ได้บุญ ท่านเรียกว่า “ภาวนามัย” คือ บุญที่เกิดจากการทำภาวนา


@@@@@@@

สวดมนต์ทำให้เทวดาลงรักษา

ใครก็ตามที่สวดมนต์บ่อยๆ หากต้องพบเหตุการณ์ร้ายๆ ก็แคล้วคลาดไป แล้วสิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้น ท่านว่าเทวดาจะลงรักษา เพราะเทวดาและนางฟ้าล้วนอยากได้บุญ แต่ท่านเหล่านั้นอยู่ในภาวะเป็นกายละเอียด อยู่ในช่วงเสวยบุญ ทำบุญด้วยตัวเองไม่สะดวก

ดังนั้น เมื่ออยากได้บุญ เหล่าเทวดานางฟ้า จะดูว่าในโลกนี้มีใครที่เป็นคนดีแล้วทำความดีบ้างเขาก็จะลงรักษา เมื่อคนนั้นไปทำความดี เทวดา นางฟ้า ก็จะได้ส่วนบุญนั้นด้วย ในฐานะเป็นผู้สนับสนุน ลองทบทวนดูก็ได้ว่า ตอนที่เราเป็นเด็ก มีหลายครั้งหลายหนที่ดูเหมือนว่า เราไม่น่าจะรอดชีวิตมาได้ จนถึงปัจจุบัน เช่น อาจจะเคยมีเหตุการณ์ ที่ทำให้เรารู้สึกได้ว่า เราน่าจะโดนรถชนไปแล้ว เราน่าจะตกต้นไม้ไปแล้ว เราน่าจะตกบันไดไปแล้ว แต่เราก็รอดมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ ความจริงไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็นเพราะบุญในตัวเราที่มีอยู่ ทำให้เทวดานางฟ้าลงรักษา เราจึงอยู่รอดปลอดภัยมาถึงปัจจุบัน

อาตมภาพเคยเจอเหตุการณ์ที่เด็กกลิ้งตกบันได ท่าทางหัวจะปักพื้นแน่แล้วจู่ๆ คอเสื้อก็ไปเกี่ยวกับตะปู ตัวเลยห้อยต่องแต่ง แล้วก็รอดมาได้ หรือเด็กบางคนที่ปีนต้นไม้ จะไปเก็บผลสุกที่ปลายสุดกิ่งไม้ ซึ่งกิ่งไม้นั้นเล็กนิดเดียว พอลมพัดก็เอนไปเอียงมา ทำท่าจะหัก แต่สุดท้ายเขาก็รอดมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างนี้เรียกว่า “แคล้วคลาด”

@@@@@@@

สวดมนต์สั้นหรือยาว ได้บุญมากน้อยต่างกันหรือไม่.?

ในการสวดมนต์นั้น เราไม่ถึงต้องขนาดกำหนดว่าควรสวดมนต์สั้นยาวแค่ไหน ได้ผลเท่าไร แต่ให้นึกถึงว่า ควรสวดอย่างสม่ำเสมอด้วยใจที่สงบ คือระหว่างสวดมนต์ก็ทำใจนิ่งๆ เป็นสมาธิ ระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าไปด้วย อาจระลึกนึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เราเคารพเป็นพิเศษ นึกภาพท่านได้ง่าย ก็นึกให้เห็นองค์ท่านใสๆ อยู่ที่กลางท้องของเรา ถ้าสวดมนต์บ่อยๆ แล้วเราจะรู้หลัก เมื่อสวดแล้วใจจะสงบ พอสงบแล้วผลดีเกิด บุญเกิด ยิ่งใจสงบมากเท่าไร บุญก็ยิ่งเกิดมาเป็นตามส่วน

ยกตัวอย่างเด็กๆ สวดบูชาพระรัตนตรัยบทสั้นๆ ว่า “อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา ....” อย่างนี้ถือเป็นบันไดขั้นแรกของการทำใจให้สงบ เมื่อโตขึ้นอีกหน่อยก็ให้สวด “นะโม ตัสสะ ....” แถมเข้าไปด้วย แล้วถ้าโตขึ้นอีกนิดก็แถมบทสวด “อิติปิโส ภะคะวา ....” ไม่นานก็จะท่องได้คล่องไปโดยปริยาย

การสวดมนต์ถือเป็นบันไดขั้นแรกในการทำจิตใจให้สงบ เมื่อสวดแล้วได้บุญและแคล้วคลาด อีกทั้งยังเป็นการทบทวนคำสอนที่สำคัญๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ต้องถึงขนาดที่ว่าระหว่างสวดมนต์ ต้องคิดคำสอนไปด้วย แต่ให้เน้นหลักทำใจให้สงบ ระหว่างสวดมนต์เป็นสมาธิ ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ในระดับที่ลึกกว่า คือ ด้วยใจที่นิ่งและมีความซาบซึ้ง เพราะการที่ใจนิ่งแล้วสวดมนต์นั่นเอง ความเคารพบูชา ซาบซึ้งในพระรัตนตรัย จะเกิดได้อย่างเต็มที่

หลังจากนั้น ระหว่างที่เรามีเวลาว่าง ก็ให้หยิบหนังสือสวดมนต์ พร้อมบทแปลมาพลิกดูบ้าง จะได้รู้ว่าบทสวดมนต์ ที่เราสวดไปนั้นมีเนื้อหาความหมายว่าอย่างไร ถือเป็นการทบทวนธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกทางหนึ่งด้วย


@@@@@@@

สวดมนต์โดยไม่รู้ความหมาย ได้ประโยชน์หรือไม่.?

ในระหว่างที่เราสวดมนต์ แม้ว่าเราจะไม่ทราบความหมาย ของบทสวดนั้น ก็อย่าไปคิดว่าสวดอะไรไปก็ไม่รู้ หรือคิดไปว่าการที่เราไปฟังพระสวดทั้งที่ไม่รู้ความหมายนั้นไม่ได้ประโยชน์ ความจริงแล้วการฟังพระท่านสวดมนต์ ไม่ว่าจะในงานสวดพระอภิธรรมก็ตาม ถวายภัตตาหารพระภิกษุก็ตาม แม้เราไม่รู้ความหมาย แต่เราก็รู้ว่า ที่ท่านสวดคือการบูชาพระรัตนตรัย แล้วมีนัยความหมายที่ดี ให้เราตั้งใจฟังคำสวดโดยทำใจนิ่งๆ สงบๆ เพียงเท่านี้บุญก็เกิดขึ้นอย่างมหาศาลแล้ว

พระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านเปรียบไว้ว่า การทำใจให้สงบแม้เพียงช่วงสั้นๆ เพียงแค่ “ช้างกระพือหู งูแลบลิ้น” อานิสงส์มหาศาลยิ่งกว่าสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร ลองคิดดูว่าช้างกระพือหูนั้นแป๊บเดียว ยิ่งถ้างูแลบลิ้นนั้นใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ใจสงบแค่นั้นบุญยังเกิดมหาศาล เพราะฉะนั้นในขณะที่พระท่านกำลังสวดมนต์ใช้เวลาเป็นสิบๆนาที หากเราทำสมาธิแล้วฟังด้วยใจที่สงบ ตั้งใจฟัง ไม่พูดคุยกัน เราย่อมได้บุญมหาศาล

ดังนั้น เมื่อมีพระมาเจริญพุทธมนต์ที่บ้านก็ตาม เข้าไปร่วมงานศพฟังพระท่านสวดพระอภิธรรมก็ตาม ไม่ว่าจะมีการสวดมนต์ในงานใดก็ตาม ขอให้ตั้งใจฟัง พนมมือแล้วหลับตา ทำใจนิ่งๆ อยู่ที่กลางท้องของเรา ที่จุดศูย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ให้สบายๆ สงบๆ แล้วฟังเสียงพระเจริญพระพุทธมนต์ ระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ปฏิบัติอย่างถูกหลักวิชา บุญกุศลจะเกิดขึ้นกับเราอย่างมหาศาล

เคยมีเหตุเกิดมาแล้วในอดีต มีพระภิกษุท่านสาธยายธรรมขณะนั้นเองมีค้างคาวอยู่ท้ายวัดได้ฟังธรรม ทั้งๆที่ค้างคาวฟังไม่รู้เรื่องแต่เมื่อฟังแล้วใจเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ฟังแล้วรู้สึกสบาย ฟังแล้วมีความสุข อานิสงส์ของการฟังพระภิกษุสาธยายธรรมนั้น หนุนนำให้เมื่อตายจากค้างคาวไปเกิดเป็นเทวดา แค่ฟังแล้วส่งใจไปตามกระแสเสียงสวดมนต์ของพระท่าน บุญยังส่งให้เป็นเทพบุตร เพราะฉะนั้นอย่าดูเบาเรื่องการสวดมนต์ ยิ่งถ้าเราสวดเองด้วยแล้ว ยิ่งได้บุญทับทวีคูณ

@@@@@@@

เหตุใด.? เราจึงสวดมนต์เป็นภาษาบาลี

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่คงไว้ซึ่งพุทธพจน์ เป็นภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ในการสั่งสอนธรรม แล้วภาษาบาลีเวลาสวดแล้วจังหวะจะเชื่อมต่อกันอย่างราบรื่น ทำให้ใจเป็นสมาธิกว่าภาษาอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราจึงเน้นสวดมนต์ด้วยภาษาบาลีเป็นหลัก บางท่านถามว่าสวดบทแปลสลับกับภาษาบาลีดีหรือไม่ ตอบว่าถ้าบทสวดสั้นๆ ก็ได้ แต่ถ้าเป็นบทสวดยาวๆ สวดบาลียาวไปเลยจะดีกว่า เพราะพอสวดคำแปลด้วย บางบทมีการเอื้อนจะทำให้จังหวะไม่เหมือนกัน เกิดอาการติดขัดได้

ดังนั้น เราควรเน้นสวดภาษาบาลีเป็นหลัก ยกเว้นบางบทที่อยากจะให้รู้จริงถึงความหมายสั้นๆ ไม่กี่นาที ก็ให้แถมบทแปลไปด้วยก็ได้ แต่โดยภาพรวมทั้งหมด ถ้าสวดเป็นภาษาบาลีจะดีกว่า ซึ่งไม่เกี่ยวกับความขลัง แต่เกี่ยวกับความราบรื่นของใจ ที่สงบและเป็นสมาธิ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะสวดบทแปลหรือไม่แปล “สวดก็ย่อมดีกว่าไม่สวด”




ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
บทความ : เพราะไม่รู้สินะ ตัวเราไม่ธรรมดา - กรุยทางสร้างบุญบารมีด้วยการสวดมนต์ โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ
URL : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=8630
วันที่ 14 กค. พ.ศ.2558






สวดมนต์รักษาสุขภาพ

ปัจจุบันมีผลการวิจัยของนักวิจัยชาวตะวันตกเรื่องการสวดมนต์ สามารถรักษาสุขภาพได้ โดยสามารถอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ได้ว่า มนุษย์ประกอบด้วยกายกับใจ ทั้งสองส่วนส่งผลสืบเนื่องกัน ให้ลองสังเกตว่า ถ้าตอนไหนเรามีเรื่องเครียด ไม่สบายใจกลัดกลุ้มใจ พอหลายๆวันเข้า ร่างกายของเราอาจจะป่วยได้ ไม่สบายเป็นโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ นอนไม่หลับ ความดันสูง สารพัดโรคเกิดขึ้นได้มากมาย แต่ถ้าตอนไหนเรารู้สึกสบายใจ อารมณ์ดี รู้สึกว่ากำลังมีสิ่งดีๆเกิดขึ้น ในชีวิต หน้าตาผิวพรรณของเราก็จะสดใส

ในทำนองเดียวกัน ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง เกิดอาการป่วยไข้ นานวันเข้าใจย่อมหดหู่ตามไปด้วย แต่ถ้าร่างกายแข็งแรง ใจเราก็จะมีโอกาสสดชื่นได้มากกว่า กายกับใจส่งผลซึ่งกันและกันอย่างนี้

การสวดมนต์ทำให้ใจเรานิ่งสงบ แล้วเกิดความสบายใจ พอสบายใจใจได้สมดุล ย่อมนำไปสู่ภาวะร่างกายที่สมดุลด้วย เพราะฉะนั้นร่างกายป่วย อาการไม่สบายก็จะทุเลาลง แล้วค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ ถ้าสุขภาพดีอยู่แล้วก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก

ผลึกน้ำกับกระแสใจ

คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันมักจะชื่นชอบอะไรที่เป็นรูปธรรม มองเห็นได้ จับต้องได้ ถ้ามีคนมาบอกเราว่าสวดมนต์แล้วดี เราฟังแล้วอาจจะคิดตามเพียงเห็นดีด้วย แต่ยังไม่เห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรม
   
มีผู้เชี่ยวชาญในญี่ปุ่นท่านหนึ่งทำการทดลองเรื่อง “ น้ำ ” อย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา เขาทำการทดลองโดยนำน้ำมาทำให้แข็งตัว คือ เย็นจนกระทั่งจับผลึก พอได้ผลึกน้ำแล้วก็มาส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูว่าลักษณะของผลึกน้ำนั้นเป็นอย่างไร

จากนั้นก็ทดลองโดยใช้น้ำที่มาจากแหล่งน้ำเดียวกัน นำมาแยกเป็น 2 ขวด โดยน้ำขวดหนึ่งเราพูดจาไพเราะกับมัน ส่วนอีกขวดหนึ่งเราพูดด้วยถ้อยคำร้ายๆ เช่น แย่ เลว ผลปรากฎว่าผลึกน้ำนั้นมีลักษณะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง น้ำในขวดที่เราพูดไพเราะด้วยนั้น มีลักษณะของผลึกที่เป็นรูปหกเหลี่ยมสวยงาม แต่น้ำในขวดที่เราพูดไม่ดีด้วยนั้น กลับมีลักษณะของผลึกที่ไม่เป็นรูปเป็นร่าง อย่างกับคนหัวใจสลาย

มีตัวอย่างผลึกของน้ำจากเขื่อนฟูจิวาร่า ก่อนได้ฟังสียงสวดมนต์ลักษณะของผลึกไม่เป็นรูปทรง แต่พอสวดมนต์ให้ฟังทุกวันๆระยะหนึ่ง ผลปรากฎว่าผลึกน้ำกลายเป็นรูปหกเหลี่ยม คล้ายอัญมณีที่มีความงดงาม นี่คือการทดลองวิทยาศาสตร์ที่สามารถทำซ้ำได้ ไม่ว่าจะทดลองซ้ำอีกกี่ครั้ง ก็ปรากฎผลลัพธ์ที่เหมือนเดิม

แม้แต่การทดลองที่นำข้าวสุกที่หุงเสร็จเรียบร้อยแล้วมาใส่ขวดโหลแยกออกเป็น 2 ขวด แล้วปิดฝาไว้ ขวดหนึ่งพูดด้วยคำพูดที่ไพเราะ อ่อนโยน อีกขวดหนึ่งพูดด้วยถ้อยคำที่ไม่ดี ผ่านไปเพียงไม่กี่วันช้าวในขวดโหลที่เราพูดจาไพเราะด้วยนั้นมีสีเหลืองนวลสวย แต่ข้าวอีกขวดหนึ่งที่เราพูดไม่ดีด้วยทุกๆวันนั้นกลับมีสีดำ

จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ข้าวก็ตาม น้ำก็ตามไม่ได้เข้าใจภาษาแต่อย่างใด ยกตัวอย่างในการทดลองนี้โดยใช้ภาษาญี่ปุ่นพูดกับข้าวกระปุกหนึ่งว่า “ อาริงาโตะ ” แปลว่า “ ขอบคุณ ” ส่วนข้าวอีกกระปุกหนึ่งพูดว่า “ บากะ ” ซึ่งแปลว่า “ ไอ้โง่ ” ถามว่าข้าวเข้าใจภาษาญี่ปุ่นด้วยหรือ แล้วถ้าเราเปลี่ยนมาพูดภาษาไทยว่า “ ขอบคุณ ” กับ “ ไอ้โง่ ” หรือพูดภาษาต่างประเทศล่ะ ข้าวจะรู้เรื่องหรือไม่

ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องของภาษา แต่เป็นเรื่องของกระแสใจ คือ ในขณะที่เราพูดว่า “ ขอบคุณ ” โดยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม กระแสใจที่ออกมาในขณะที่พูดนั้นจะเป็นกระแสของความรู้สึกดี เป็นกระแสทางบวก แต่ถ้าเราพูดว่า “ ไอ้โง่ ” ถึงแม้ว่าเราจะแกล้งพูดก็ตาม ภาพที่เกิดขึ้นมาในใจเราขณะที่พูดคำไม่ไพเราะนั้น กระแสใจเราจะเริ่มเปลี่ยนแล้ว ยิ่งถ้าเกิดเรารู้สึกอย่างที่พูดจริงๆ กระแสใจในแง่ลบก็จะยิ่งแรงขึ้น ยิ่งถ้าเราพูดซ้ำๆ ทุกวันก็ยิ่งส่งผลรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก

ข้าวเอย น้ำเอย ไม่มีชีวิต ไม่รู้ภาษามนุษย์ แต่มันสัมผัสถึงกระแสใจเราที่ส่งออกไปได้ โดยกระแสที่ออกไปนั้น ส่งผลต่อลำดับโครงสร้างโมเลกุลของน้ำ ส่งปลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในข้าว
   
เพราะฉะนั้นคลื่นเสียงเป็นสื่อของคลื่นใจ เริ่มต้นมาจากใจ แล้วส่งออกไปเป็นคลื่นเสียง ถ้าคลื่นใจดี คลื่นเสียงที่ส่งออกไปจะมีจังหวะที่ดีด้วย ถ้าคลื่นใจเสียก็จะส่งผลไม่ดีออกไปด้วยเช่นกัน แล้วส่งผลไปถึงทุกสรรพสิ่ง

ดังนั้น หากเราสวดมนต์ทุกวันหมั่นสร้างคลื่นใจที่ดีให้กับตัวเองจากภายในด้วยความดื่มด่ำซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัย กระแสดีๆ ก็จะออกมาจากใจเรา สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นในชีวิต ทั้งเลือดและน้ำในตัวเราทั้งหมดจะเกิดเป็นผลึกที่สวยงาม ผิวพรรณวรรณะก็จะผ่องใส เพราะฉะนั้นถ้าปรารถนาให้ตัวเรามีสุขภาพแข็งแรง มีความเบิกบานผ่องใส ก็ให้หมั่นสวดมนต์เป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่ว่าเครื่องสำอางค์ราคาแพงยี่ห้อไหนก็สู้การสวดมนต์ไม่ได้
   
ที่สำคัญการสวดมนต์เป็นการทบทวนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตของเราก็จะดำเนินไปในทางบวก สุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจเบิกบาน ผ่องใสทั้งการเรียนและหน้าที่การงาน ดำเนินไปอย่างได้ผลดี

@@@@@@@

เรื่องราวที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์

ณ กรุงพาราณสี มีเด็กสองคนเป็นเพื่อนกัน คนหนึ่งอยู่ในครอบครัวสัมมาทิฐิ มีความเห็นชอบ ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งอยู่ในครอบครัวมิจฉาทิฐิ มักเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

เมื่อถึงเวลาแข่งกีฬาตีคลี เด็กที่มาจากครอบครัวสัมมาทิฐิมักจะสวดมนต์บทสวดสั้นๆก่อนลงแข่งเสมอว่า “นะโมพุทธายะ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ส่วนเด็กที่มาจากครอบครัวมิจฉาทิฐิ มักจะกล่าวบูชาพระพรหมว่า “ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพรหม” เพียงเท่านั้นไม่กล่าวบูชาพระรัตนตรัย

ครั้นผลการแข่งออกมา ปรากฎว่าเด็กคนแรกมักจะกุมชัยชนะเสมอ จนเด็กคนที่สองเกิดความสงสัย จึงเอ่ยถามเพื่อนว่า “เธอมีเคล็ดลับอะไรถึงได้ชนะฉันทุกครั้งไป”
   
เด็กคนแรกได้ยินดังนั้น จึงสอนให้เพื่อนสวดมนต์เหมือนกับตนเองว่า “ นะโมพุทธายะ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เด็กคนที่สองก็ทำตามทั้งที่ไม่รู้เรื่อง เพียงเห็นว่าท่องสั้นดี และหวังจะให้ทุกอย่างออกมาราบรื่นบ้าง

เวลาต่อมา เด็กชายในครอบครัวมิจฉาทิฐิได้ตามพ่อของเขา เข้าไปตัดต้นไม้ในป่าใหญ่ ครั้นเมื่อผู้เป็นพ่อตัดต้นไม้เสร็จ ปรากฎว่าโคที่เทียมเกวียนหนีเตลิดหายเข้าไปในป่า พ่อจึงออกไปตามหาโคจนมืดค่ำ

เด็กน้อยนี่งรอพ่ออยู่ก็เกิดความหวาดกลัว จึงหลบไปนอนรอพ่ออยู่ใต้เกวียน โดยหารู้ไม่ว่าในป่าใหญ่นี้มียักษ์อยู่ 2 ตน ยักษ์ตนหนึ่งเป็นสัมมาทิฐิ ไม่รังแกคน แต่ยักษ์อีกตนหนึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ ชอบรังแกคนบ้าง จับกินเป็นอาหารบ้าง

เมื่อยักษ์ทั้งสองเดินทางผ่านมาพบกับเกวียนที่จอดนิ่งอยู่กลางป่าเข้าก็เกิดความรู้สึกสงสัย ยืนด้อมๆมองๆอยู่ครู่หนึ่ง ไม่นานนักเจ้ายักษ์มิจฉาทิฐิก็เหลือบไปเห็นเท้าของเด็กน้อยโผล่มาจากใต้เกวียน จึงเกิดความดีใจพร้อมกับเอ่ยขึ้นว่า “วันนี้ข้าโชคดีมีลาภลอย ได้เจ้าเด็กนี่เป็นอาหารแล้ว”

ยักษ์สัมมาทิฐิได้ยินดังนั้นจึงพูดแย้งขึ้นว่า “อย่าไปยุ่งเลย เราไปหาผลไม้กินกันก็ได้” เจ้ายักษ์มิจฉาทิฐิไม่ฟังเสียง คว้าขาเด็กน้อยได้ก็ลากออกมาทันที เด็กตกใจจึงรีบท่องคำที่เพื่อนเคยสอน “นะโมพุทธายะ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

ทันใดนั้นเจ้ายักษ์มิจฉาทิฐิก็รู้สึกร้อนเหมือนจับโดนเหล็กเผาไฟ มันสะดุ้งแล้วรีบคลายมือที่จับขาเด็กน้อยออกทันที ด้วยอานิสงส์ของการกล่าววาจานอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า เจ้ายักษ์ มิจฉาทิฐิรู้ได้ในทันทีว่าเด็กน้อยเป็นผู้มีบุญ จะไปทำอันตรายเขาไม่ได้ มันจึงหันไปปรึกษายักษ์อีกตนหนึ่ง ยักษ์ผู้มีความประพฤติดีจึงตอบเพื่อนกลับไปว่า “เจ้าทำบาปกับผู้มีบารมีแล้ว เพราะฉะนั้นเจ้าต้องกล่าวขอโทษเขา”

เจ้ายักษ์มิจฉาทิฐิเกรงกลัวบาปกรรม จึงรีบเร่งไปเก็บผลไม้มาเลี้ยงเด็กแล้วขอขมาลาโทษ ไม่นานเด็กน้อยกับพ่อก็ได้พบกัน แล้วกลับบ้านอย่างปลอดภัยในที่สุด

เรื่องราวเหล่านี้ชี้ให้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนต์ แม้จะสวดเพียงสั้นๆ โดยไม่รู้ความหมายบุญก็เกิดได้ คนโบราณรู้หลักข้อนี้ดี เวลาเกิดเหตุให้ตกใจก็มักอุทานว่า “คุณพระช่วย” แต่ถ้าเป็นในสมัยพุทธกาลเขาอุทานกันว่า “นะโมตัสสะ ภะคะวะโต....” ตกใจแต่ละทีจะต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน นึกถึงพระรัตนตรัยก่อน แล้วเอาใจผูกไว้อย่างนั้น เพราะรู้ว่าผูกไว้กับพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้วจะดีขึ้น ถ้าเราเองจับหลักนี้ได้เหมือนกับปู่ย่าตายยาย ชีวิตของเราก็จะดีตาม ผลดีจะเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว






ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
บทความ : เพราะไม่รู้สินะ ตัวเราไม่ธรรมดา - สวดมนต์รักษาสุขภาพ โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ
URL : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=8631
วันที่ 14 กค. พ.ศ.2558






หนังสือเล่ม "เพราะไม่รู้สินะ" โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ
"จะทนทุกข์ไปทำไม ในเมื่อคุณสามารถลิขิตชีวิตตนเองได้ เพียงเปลี่ยนวิธีคิด ลองมองโลกในอีกมุมที่ต่างไป ลองเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิต คุณอาจได้คำตอบว่า ความสุขนั้นหาได้ง่ายๆ ถ้าคุณคิดได้และคิดเป็น"

วางแผงจำหน่ายแล้วที่ :-
- ซีเอ็ดบุ๊ค
https://www.se-ed.com/product-search/เพราะไม่รู้สินะ.aspx?keyword=เพราะไม่รู้สินะ&search=name
- ร้านนายอินทร์
https://www.naiin.com/product/detail/141416/เพราะไม่รู้สินะ
- Book Smile
http://www.booksmile.co.th/ศาสนา-ปรัชญา/เพราะไม่รู้สินะ.html

หน้า: [1] 2 3 ... 10