ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การฝึกหายใจ จากหนังสือคู่มือ ล้างพิษทางอารมณด้วย ชี่กง โดย นพ. เทอดศักดิ์  (อ่าน 6467 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การฝึกหายใจ
จากหนังสือคู่มือ ล้างพิษทางอารมณด้วย ชี่กง
โดย นพ. เทอดศักดิ์ เดชคง


การฝึกหายใจ : เน้นการหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทผ่อนคลาย ผ่านการขยับกระบังลม

คน ปกติทั่วๆไป มักจะหายใจโดยอาศัยการยกตัวของกระบังลมประมาณ  30%  และมีการขยับหน้าท้องประมาณ  70%  แต่หากเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะกดดัน หรือเผชิญความเครียดทางกายหรือทางใจก็ตาม สัดส่วนนี้จะเปลี่ยนไป
คือ บริเวณทรวงอกจะทำงานมากกว่าส่วนท้อง  บางรายอาจเห็นทรวงอกยกตัวขึ้นขณะหายใจเข้าพร้อมๆกับผนังหน้าท้องยุบตัวลง  รูปแบบเช่นนี้เป็นการปรับตัวเพื่อต่อสู้กับภาวะกดดัน  แต่หากเป็นอยู่นานเกินไป กลับจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล  จนอาจเจ็บป่วยด้วยความผิดปกติต่างๆ


ลองสังเกตเด็กเล็กๆ ดูเถิดว่า เขาหายใจเช่นไร  เด็กเล็กยังไม่ได้พัฒนากล้ามเนื้อซี่โครงเหมือนผู้ใหญ่  พวกเขาจะหายใจเข้าท้องพอง  หายใจออกท้องยุบตลอดเวลา 


ท่าทางกับการฝึกหายใจ 

สำหรับ บางท่าน  การฝึกหายใจให้ลึกถึงท้องอาจเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก  เนื่องจากเคยชินกับลักษณะการหายใจแบบเสียสมดุลมานาน   อย่างไรก็ตามเราพบว่า   ในท่านอนราบเป็นท่าฝึกที่ง่ายที่สุด    รองลงมาคือท่านั่งและยืน   ตามลำดับ
เมื่อฝึกติดต่อกันนานพอสมควรแล้วก็จะเกิดความชำนาญ  สามารถปรับปรุงแบบการหายใจได้ตามใจปรารถนา



ท่านอน
นอนราบกับพื้น หรือบนเตียงนอน  นำสิ่งของน้ำหนักเบา  เช่น  กล่องกระดาษเล็กๆ มาวางไว้บริเวณสะดือ
เพื่อเป็นจุดสังเกต  สายตาของผู้ฝึกควรมองที่วัตถุนั้นว่า  ขณะที่หายใจเข้านั้น  กล่องได้ลอยตัวสูงขื้น หรือยุบตัวลงไป
การหายใจที่ลึกถึงท้อง  คือ  ต้องหายใจเข้าให้ท้องพองออก หายใจออกท้องยุบแฟบลง  ขณะเดียวกันให้ทรวงอกนั้น
ขยับตัวให้น้อยที่สุด 
เป้าหมายการฝึกอยู่ที่ให้ท้องขยับตัวให้มากกว่า 80%
ผู้ฝึกต้องสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของระบบสรีระในร่างกาย  ว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ผ่อนคลายมากขึ้นหรือไม่
ได้แก่   ความรู้สึกโล่งสบาย  ฝ่ามือฝ่าเท้าอุ่นขึ้น  หายใจได้ช้าลง   ชีพจรหรือหัวใจเต้นช้าลง  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว   เป็นตัวบอกความสำเร็จของการฝึกหายใจนี้

ท่านั่ง
นั่งสบายๆบนเก้าอี้  เอามือประสานกันหลวมๆ  วางเบาๆ  บนหน้าท้อง  ไหล่ปล่อยตามสบายไม่เกร็ง
เมื่อหายใจเข้าก็จินตนาการว่า  ลมหายใจเข้านั้นลงลึกไปจนถึงช่องท้อง  ทำให้ท้องพองขึ้นคล้ายกับการเป่าลูกโป่ง
เมือหายใจออก  ว่า  ลมหายใจนั้นก็ออกจากช่องท้องมาจนถึงรูจมูก 




ท่ายืน
เอามือประสานกันวางบนหน้าท้องเช่นเดียวกับท่านั่ง  แล้วหายใจเข้า-ออกใช้จินตนาการเช่นเดียวกัน
สำหรับบางคนอาจโน้มตัวลงมาข้างหน้าเล็กน้อย   ขณะหายใจออก     และเหยียดลำตัวตรงขณะหายใจเข้า
จะช่วยกระตุ้นให้กระบังลมและหน้าท้องขยับตัวได้ดีขึ้น 


ระยะเวลาการฝึก
ในสัปดาห์แรก  ควรฝึกหายใจให้ได้วันละ  10-15  นาที  ก่อนนอน  ซึ่งจะมีประโยชน์ช่วยให้ผ่อนคลาย  นอนหลับได้สบายดียิ่งขึ้น    ต่อเมื่อฝึกในท่านอนได้แล้ว  ก็มาฝึกในท่านั่ง วันละ   10-15  นาที


ใน สัปดาห์ที่  2   ก็ควรฝึกในท่ายืน   หรือขณะที่มีอิริยาบถต่างๆ  ตามที่ต้องการ  อาจจะฝึกทันทีที่นึกขึ้นได้  ไม่จำเป็นต้องฝึกตามกำหนดเวลาอีก
จากคุณ    : luckycatty

บันทึกการเข้า