ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มาทำความรู้จัก พระพุทธศาสนา ลังกาวงศ์ กันสักหน่อย ดีไหม ?  (อ่าน 5750 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


กระจกหกด้าน ตอน ลังกาวงศ์
https://www.youtube.com/watch?v=7gADbiLVkbg

 วีดีโอนำก่อน สำหรับคนที่ยังไม่มีพื้น ฐาน เพราะเนือ้หาค่อนข้างเป็น วิชาการ อ่านแล้ว พึงสังวรระวังเพราะ เมื่ออ่านถึงประวัติศาสตร์ มาก ๆ อาจจะทำให้บรรดาศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อาจจะต้องสั่นไหว เพราะว่า เนื้อหาจะย้อนสวนทางกับที่เคยรู้มาก่อนว่า

   พระโสณะ พระอุตตระ เป็นผู้นำพระพุทธศาสนา เข้ามาสู่ แดนดินสยาม
   แต่พออ่านศึกษาไป กลับเปลี่ยนเป็น พระอุบาลี แทน และ ลังกาวงศ์ มาจากไหน ?

   ต้องอ่านด้วยการวางใจ เพราะเรื่องเล่านี้เป็นเรื่อง ประวัติศาสตร์ ที่มีการบันทึกไว้ แตกต่างกันไปตามผู้บันทึก แต่ละท่าน แต่ละคน แต่ละที่ แต่ละทาง นั้นเป็นไปตามความศรัทธา และ อยู่กันคนละที่  คนละแห่ง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ จะพิสูจน์หลักฐานกัน ก็ต้อง ดูว่า ใครมีบันทึก ที่ชี้ชัดหลักฐาน ทางรูป โบราณคดี มากกว่า ก็เป็นอันชัดเจนกว่า กัน




เชิดชูพระอุบาลี 260 ปี จารึกนาม 'สยามวงศ์'
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12807.0

   พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย

ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์

เรื่องตำนานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาสู่ประเทศสยามนั้น เดิมเมื่อ พ.ศ. 1696 พระเจ้าปรักกรมพาหุได้ครองราชสมบัติในลังกาทวีป พระเจ้าปรักรมพาหุนี้นับเป็นมหาราชองค์หนึ่งในพงศาวดารลังกาเพราะมีอานุภาพมาก สามารถปราบปรามได้เมืองทมิฬทั้งปวงไว้ในอำนาจ และเป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทรงอาราธนาให้พระมหาเถรกัสปเถรเป็นประธานทำสังคายนาพระธรรมวินัย(อันนับในตำนานทางฝ่ายใต้ว่าเป็นสังคายนาครั้งที่ 7) แล้วจัดวางระเบียบข้อวัตรปฏิบัติแห่งสงฆ์นานาสังวาสให้กลับคืนเป็นนิกายอันเดียวกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นในลังกาทวีป ครั้นกิติศัพท์นั้นเฟื่องฟุ้งมาถึงประเทศพม่า มอญ ไทย ก็มีพระภิกษุในประเทศเหล่านี้พากันไปสืบสวนยังเมืองลังกา เมื่อไปเห็นวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ชาวลังกาตามแบบแผนนั้นก็เลื่อมใสใคร่จะนำกลับมาประดิษฐานในบ้านเมืองของตน แต่พระสงฆ์ชาวลังการังเกียจว่าสมณวงศ์ในนานาประเทศแตกต่างกันมาเสียช้านานแล้ว จึงเกี่ยงให้พระภิกษุซึ่งไปจาต่างประเทศรับอุปสมบทใหม่ แปลงเป็นนิกายลังกาวงศ์อันเดียวกันเสียก่อน พระภิกษุชาวต่างประเทศก็ยอมกระทำตาม พระภิกษุชาวต่างประเทศอยู่ศึกษาลัทธิพระธรรมวินัยในลังกาทวีปจนรอบรู้แล้ว จึงกลับมายังประเทศของตน บางพวกก็พาพระสงฆ์ชาวลังกามาด้วย เมื่อมาถึงบ้านเมืองเดิมผู้คนเห็นว่าพระสงฆ์ลังกาวงศ์ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ก็พากันเลื่อมใสให้บุตรหลานบวชเรียนในสำนักพระสงฆ์ลังกาวงศ์มากขึ้นโดยลำดับทั้งในประเทศพม่า รามัญ และประเทศสยามตลอดไปจนประเทศลานนา ลานช้างและกัมพูชา เรื่องตำนานพระสงฆ์นิกายลังกาวงศ์นี้มีเนื้อความดังนี้


( พระอุบาลีมหาเถระ รอนแรมไปกลางทะเลกับเรือสินค้าสัญชาติดัตช์นานกว่า 5 เดือน เมื่อถึงศรีลังกาจึงเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทพระ 700 และบรรพชาสามเณร 2,300 รูป พระพุทธรูปในศรีลังกาจึงเจริญรุ่งเรืองกระทั่งปัจจุบันรวม 260 ปี และให้เกียรติตั้งชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ หรือ อุบาลีวงศ์ )


ว่าโดยส่วนประเทศสยาม ดูเหมือนพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จะแรกมาถึงเมื่อราว พ.ศ. 1800 พวกพระภิกษุไทยซึ่งได้ไปบวชแปลง ณ เมืองลังกากลับมาตั้งคณะที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อนแล้วชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกาตามมาช่วยกันสร้างพระมหาธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราชแปลงเป็นรูปพระสถูปอย่างลังกา เมื่อเกียรติคุณของพระสงฆ์ลังกาวงศ์แพร่หลายขึ้นไปถึงกรุงสุโขทัยราชธานี เมื่อครั้งกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงเป็นใหญ่ก็ทรงเลื่อมใสโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาวงศ์ขึ้นไปตั้ง ณ กรุงสุโขทัย ลัทธิลังกาวงศ์จึงรุ่งเรืองในสยามแต่นั้นมา ความข้อนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1820 ความว่า“พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบพระไตรปิฎก หัวก๊กกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกตนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา” ดังนี้ ตั้งแต่ลัทธิลังกาวงศ์มาเจริญ ลัทธิมหายานก็เสื่อมแล้วสูญไป คงมีแต่พระสงฆ์ถือลัทธิหินยาน แต่ว่าในชั้นแรกต่างกันเป็น 2นิกาย คือ พระสงฆ์พวกเดิมกับพวกที่อุปสมบทตามลัทธิลังกาวงศ์ ในที่สุดจึงรวมเป็นนิกายเดียวกัน เรื่องรวมนิกายนี้ที่เมืองมอญถึงพรระเจ้าแผ่นดินต้องบังคับ แต่ในสยามรวมกันได้ด้วยปรองดอง มีหลักฐาน คือ ในศิลาจารึกที่เมืองสุโขทัยและเชียงใหม่ปรากฏว่าพระสงฏ์ลังกาวงศ์มาอยู่วัดอรัญญิก เมื่อจะไปตรวจดูถึงท้องที่ทั้ง 2 แห่งนั้นก็เห็นสมจริง ด้วยที่เมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่ บรรดาวัดใหญ่มักสร้างในเมือง แต่ยังมีวัดอีกชนิดหนึ่งเป็นวัดขนาดย่อมๆ สร้างเรียงรายกันอยู่ในที่ตำบลหนึ่ง ระยะทางพอพระเดินเข้าไปบิณฑบาตในเมืองได้ ที่เป็นเช่นนั้นพึงเห็นเป็นเค้าว่าพระสงฆ์นำกายเดิมคงอยู่วัดใหญ่ๆในเมือง ส่วนพระสงฆ์ลังกาวงศ์ไม่ชอบอยู่ในละแวกบ้าน เพราะถือความมักน้อยสันโดษเป็นสำคัญ จึงไปอยู่ ณ ที่อรัญญิก จึงมีวัดเรียงรายต่อกันไปเป็นหลายวัด อันที่จริงพระสงฆ์นิกายเดิมกับนิกายลังกาวงศ์ก็ถือลัทธิหินยานด้วยกัน แต่เหตุที่ทำให้แตกต่างถึงไม่ร่วมสังฆกรรมกันได้มีอยู่บางอย่าง ว่าแต่เฉพาะข้อสำคัญอันมีเค้าเงื่อนยังทราบได้ในเวลานี้ คือพระสงฆ์นิกายเดิมเห็นจะสังวัธยายพระธรรมเป็นภาษาสันสกฤต แต่พวกนิกายลังกาวงศ์สังวัธยายเป็นภาษามคธ อีกอย่างหนึ่งพวกลังกาวงศ์รังเกียจสมณในสยาม คงเป็นเพราะว่าปะปนกับพวกถือลัทธิมหายานมาช้านาน ถือว่าเป็นนานาสังวาสไม่ยอมร่วมสังฆกรรม พระสงฆ์จึงแยกกันอยู่เป็น 2 นิกายทั้งที่เมืองสุโขทัยและเชียงใหม่ เหตุที่จะรวมพระสงฆ์เป็นนิกายเดียวกันนั้น สันนิษฐานว่าคงจะเกิดแต่พวกผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมบวชเรียนในนิกายลังกาวงศ์มากขึ้นทุกที เมื่อความนิยมแพร่หลายลงไปถึงพลเมือง ก็พากันบวชเรียนในนิกายลังกาวงศ์มากยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้พระสงฆ์นิกายเดิมน้อยลงเป็นลำดับมา จนที่สุดต้องรวมกับนิกายลังกาวงศ์ ข้อความที่ว่ารวมกันโดยปรองดองนั้น มีที่สังเกตอยู่ 2 อย่าง คือ ในวิธีบรรพชาอุปสมบท ผู้บรรพชาต้องรับพระไตรสรณคมน์เป็นภาษามคธและยังต้องรับพระไตรสรณคมน์เป็นภาษาสันสกฤตอีก ข้อนี้ส่อให้เห็นว่าพวกลังกาวงศ์สังวัธยายพระธรรมเป็นภาษามคธ พวกนิกายเดิมสังวัธยายเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อจะให้การบรรพชาสมบูรณ์ตามคติทั้ง 2 นิกาย จึงให้รับพระไตรสรณคมน์ 2 อย่าง ยังมีที่สังเกตอีกอย่างหนึ่ง ที่ใบสีมาพระอุโบสถ บรรดาวัดซึ่งสร้างแต่ครั้งสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ถ้าเป็นวัดหลวงมักทำใบเสมา 2 แผ่นปักซ้อนกัน ถ้าเป็นวัดราษฎร์ทำสีมาแต่แผ่นเดียว สันนิษฐานว่า เดิมคงปักสีมาแต่แผ่นเดียวเหมือนกันหมด ครั้นพวกพระสงฆ์ลังกาวงศ์เข้ามาตั้งรังเกียจสมณวงศ์ในประเทศสยาม จึงรังเกียจสีมาซึ่งพระสงฆ์สยามผูกไว้ ไม่ยอมทำสังฆกรรม เป็นการลำบากแก่พวกที่เคยอุปสมบทบุตรหลานในวัดสำหรับตระกูล หรือซึ่งเคยให้อยู่วัดใกล้บ้านเรือนอุปการะกันง่ายมาแต่ก่อน คงอาศัยเหตุเหล่านี่เป็นต้น พระเจ้าแผ่นดินจึงทรงอาราธนาพระสงฆ์ลังกาวงศ์ให้ผูกสีมาบรรดาวัดหลวงซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทำสังฆกรรมได้ทั้งพระสงฆ์นิกายเดิมและนิกายลังกาวงศ์ วัดใดที่ได้ผูกสีมาซ้ำแล้ว จึงให้ปักใบสีมาเพิ่มขึ้นเป็น 2 ใบเป็นสำคัญ โบสถ์ที่มีใบสีมา 2 ใบจึงเป็นวัดหลวงเป็นพื้น ตั้งแต่ลัทธิลังกาวงศ์มารุ่งเรืองในประเทศสยาม ไทยก็รับแบบแผนของลังกามาประพฤติ ในการถือพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่าการสร้างพุทธเจดีย์ก็สร้างตามคติลังกา พระธรรมก็ทิ้งภาษาสันสกฤตกลับสาธยายเป็นภาษามคธ เป็นเหาตุให้การศึกษาภาษามคธเจริญรุ่งเรืองในสยามแต่นั้นมา ข้อนี้พึงเห็นได้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ในบางแผนกปรากฏนามคัมภีร์พระไตรปิฎกและนามพระเถระกับทั้งราชบัณฑิตที่ได้ทรงปรึกษาสอบสวนเป็นส่วนมาก ส่วนพระสงฆ์นั้นตั้งแต่รวมเป็นนิกายอันเดียวกันแล้ว ก็กำหนดต่างกันแต่โดยสมาทานธุระเป็น 2 พวกตามแบบอย่างในลังกา

แต่การที่ไทยรับถือลัทธิลังกาวงศ์ครั้งนั้น ไม่ได้ทิ้งขนบธรรมเนียมแม้เป็นฝ่ายศาสนาอื่น ซึ่งได้เคยประพฤติมาแต่ก่อนทั้งหมด ด้วยนิสัยเลือกใช้แต่ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ดังกล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นประเพณีการบ้านเมืองซึ่งเคยถือคติตามทางศาสนาพราหมณ์ อันมิได้ขัดแก่พระพุทธศาสนาก็คงถือต่อ แม้ภาษาสันสกฤตก็ยังศึกษาและใช้ปะปนในภาษาไทยมิได้เลิกถอนไปทีเดียว มีการบางอย่างซึ่งไทยรับลัทธิลังกามาแก้ไขให้เหมาะแก่ความนิยมในภูมิประเทศ เช่นตัวอักษรเขียนพระไตรปิฎกคงใช้ตัวอักษรขอม เป็นต้น พระพุทธศาสนาที่ถือกันในประเทศสยาม ควรนับว่าเกิดเป็นลัทธิสยามวงศ์ตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีสืบมา จนเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เมืองลังกาเกิดจลาจล หมดสิ้นสมณวงศ์ ได้มาขอคณะสงฆ์ไทยมีพระอุบาลีเป็นประธานออกไปให้อุปสมบท กลับมาตั้งสมณวงศ์ขึ้นในลังกาทวีป ยังเรียกว่านิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์อยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ประวัติ พระอุบาลีมหาเถระ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2014, 01:06:48 pm »
0


พระอุบาลีมหาเถระ

เป็นพระธรรมทูตในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่เดินทางไปยังประเทศศรีลังกาตามคำร้องของฝ่ายศรีลังกาในการเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแก่ สามเณรสรณังกร ชาวสิงหล เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาในศรีลังกา

ได้รับการจดจำในเรื่องความกล้าหาญของท่านที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา และได้มรณภาพที่นั่นหลังจากปักหลักเผยแผ่ศาสนานาน 2 ปี 9 เดือน นับเป็นพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

พระอุบาลีมหาเถระ เมื่อแรกได้พำนักอยู่ที่วัดธรรมาราม ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ มีอาณาเขตทิศเหนืออยู่ติดกับวัดท่าการ้อง ทิศใต้อยู่ติดกับวัดกษัตราธิราช ทิศตะวันออกอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกอยู่ติดกับถนนบางบาล ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอุบาลีมรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ ภายในกุฏิวัดบุปผาราม (มัลวัตตวิหาร) เมืองแคนดี เมื่อปี พ.ศ.2299 พระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาให้จัดพิธีถวายเพลิงศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ โดยจัดขึ้นที่สุสานหลวงนามว่าอาดาหะนะมะลุวะ ปัจจุบันคือวัดอัศคิริยะเคดิเควิหาร เมืองกัณฏี

ปัจจุบันได้ก่ออิฐล้อมสถานที่เผาศพท่านไว้ หลังเสร็จสิ้นพิธีถวายเพลิงศพแล้ว ทรงมีรับสั่งให้สร้างเจดีย์บนยอดเขาใกล้วัดอัสคีริยะบรรจุอัฐิเพื่อสักการบูชาซึ่งมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน กุฏิท่านพระอุบาลีและห้องพักของท่านได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี แม้จะเป็นเพียงห้องเล็กๆ มีเพียงเตียงเก่าๆ และโต๊ะเก้าอี้อีกหนึ่งชุดเท่านั้น บริขารและสิ่งของที่ท่านเคยใช้สอยที่ยังเหลืออยู่

ชาวศรีลังกาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกันและได้เก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ขอเสนอให้ทีมงาน เสนอประวัติของ พระโสณะ พระอุตตระ ด้วยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5942.0

พระโสณะพระอุตตระพระสมณทูตผู้นำพระพุทธศาสนาสู่'สุวรรณภูมิ' : ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

       "องค์พระปฐมเจดีย์" วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม สันนิษฐานกันว่าได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อคราวที่พระสมณทูตได้เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ

       เนื่องจากเจดีย์องค์เดิมมีลักษณะทรงบาตรคว่ำแบบเดียวกับสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นในกรุงอนุราชบุรี เกาะสิงหลทวีป ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ หลังจากทรงลาผนวชและได้เสวยราชสมบัติแล้ว โปรดให้ก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ ซึ่งมีความสูงถึง ๑๒๐ เมตร และพระราชทานนามพระสถูปเจดีย์ว่า “พระปฐมเจดีย์” เพราะทรงเชื่อมั่นว่าเป็นเจดีย์องค์แรกที่สร้างขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ

       เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง ๗ ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้

       พระโสณะและพระอุตตระได้เดินทางจากแคว้นมคธ เข้ามาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณตอนกลางของไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น

       พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในสมัยนี้ เป็นนิกายเถรวาทดั้งเดิม โดยพุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้น โดยศิลปะในยุคนี้ เรียกว่า ศิลปะทวารวดี

       พระโสณะและพระอุตตระเป็นชาวอินเดีย  มีชีวิตอยู่ในช่วงพุทธศตวรรที่ ๓ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ไม่ปรากฏประวัติก่อนบวช ปรากฏแต่ว่า  เมื่อท่านทั้งสองอุปสมบทแล้วเป็นผู้มีความแตกฉานในพระไตรปิฎกและเป็นกำลังสำคัญในการสังคายนาพระธรรมวินัย และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช โดยท่านทั้งสองได้รับมอบหมายให้เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ

       เมื่อครั้งที่พระโสณะและพระอุตตระเดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยนั้น ประชาชนกำลังตกอยู่ในความหวาดกลัวผีเสื้อสมุทรซึ่งมักจับทารกกินเป็นอาหาร ท่านทั้งสองได้สร้างขวัญกำลังใจ ทำให้ประชาชนหายหวาดกลัวโดยใช้อุบายธรรมนำ "พรหมชาลสูตร" ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยความเห็นผิดมาเทศนา และได้เปล่งวาจาถึงไตรสรณคมน์ รวมทั้งสมาทานศีล ๕ ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อที่ถูกต้องและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนพากุลบุตรและกุลธิดามาบวช ทำให้พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในดินแดนสุวรรณภูมิ และเจริญสืบเนื่องเรื่อยมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ

       พระโสณะและพระอุตตระ แม้จะเกิดไม่ทันสมัยพุทธกาล แต่เมื่ออุปสมบทแล้ว  ท่านทั้งสองได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมและศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน มีความรู้ ความสามารถ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างแดน แม้ว่า เดินทางจากอินเดียมายังสุวรรณภูมิซึ่งไกลและใช้เวลามาก ย่อมประสบกับความลำบากมากมาย แต่ท่านทั้งสองก็ไม่ย่อท้อ ด้วยเห็นแก่ประโยชน์ของพระพุทธศาสนา จึงอดทนต่อสู้ต่อความเหนื่อยยาก
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้โดยส่วนตัว

          ข้าพเจ้าขออิง ตามประวัติ  ตํานานการสืบทอดพระกรรมฐาน

     คือ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ  เอาไว้ก่อน..ดูได้ที่www.somdechsuk.org

                 เพราะปีพ.ศ.๒๓๖ นั้นเริ่มมาก่อนข้อมูลอื่นๆ จากแหล่งอื่น

            และยังมีข้อมูลอื่นๆ..เช่นคําทำนายของพระโสนะ  นั่นจากแหล่งอื่น

.....................................ตัวอย่าง อย่างเช่น  บรรพบุรุษไทยอพยพมาจากจีนตอนล่าง

            แต่พอมา อ่านตํานานการสืบทอดพระกรรมฐาน กลายมาเป็นคนไทย สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ของพระร่วง แต่มาตั้งต้นชื่อใหม่ คือขึ้นราชวงศ์ใหม่เพราะขึ้นเปลี่ยนยุคสุโขทัย    แต่ยังไงก็เป็นเชื้อสายพระร่วงอะไรทํานองนี้

       และพระร่วงเป็นมอญ ก็แปลว่าไทยคือมอญ    อย่างนั้นหรือ ไม่ได้มาจากจีนตอนใต้หรอกหรือ เฮอะๆๆๆ

             ลองไปอ่านกันดูนะ เป็นประวัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ด้วย และรู้ประวัติ บ้านเมืองตั้งแต่ยุค สุวรรณภูมิเลย

   มีพ.ศ.  กํากับมาโดยตลอด   มีชื่อกษัตริย์..ราชวงศ์...ชื่อพระอาจารย์กรรมฐานยุคนั้นๆ

         ไล่พ.ศ.ตั้งเต่ สุวรรณภูมิ-รัตนโกสินทร์เลย



       แล้วใครจะเชื่ออันไหนค่อยมาว่ากัน   แต่ข้าพเจ้าเชื่อในครูอาจารย์ของข้าพเจ้าอยู่แล้ว

        เพราะตําราของพระอริยะยังไงก็ไม่มีหรอก  ยิ่งเป็นตําราตํานานพระกรรมฐานด้วย  ไม่ได้ทําเป็นการค้าการขาย

         ก็ต้องดูแหล่งที่มา- บางอย่างต่างจุดประสงค์ -ทําเพื่อการค้า-สืบประวัติแล้วแต่สืบได้ได้แค่นั้น

             ก็ว่ากันไปไม่มีถูกไม่มีผิด..แล้วแต่ว่าใครจะปักใจเชื่ออันไหนก็ได้ทั้งนั้น

บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
        หลังตติยสังคายนาแล้ว   คณะของพระโสณะเถร และ พระอุตระเถร

  ได้ออกเดินทางจาก อโศการาม เมืองปาฎลีบุตร กรุงราชคฤห์

...................และมาแวะที่เกาะลังกาก่อน ในสมัยพระเจ้ากุฎสีเทวะ ประมาณ พ.ศ. 236

         คณะของพระโสณะเถรเจ้า ได้ล่วงหน้ามาก่อน คณะของ พระมหิทเถรเจ้า  และได้พักอยู่เกาะลังกานั้นก่อนนานพอ

สมควรทีเดียว     และได้บอก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ......ให้กับ พระจิตตกะเถรเจ้า  จนได้เป็นพระอาจารย์ กรรม

ฐานที่เกาะลังกา   และได้บอกกรรมฐาน ให้กับ .........((พระอุบาลีเถรเจ้า แห่งเกาะลังกา))

       ประวัติพระอุบาลีเถรเจ้า  พระองค์ ประสูตรที่เกาะลังกา หรือเรียกตาม พปัณณิทวีปเมื่อกาลพุทธกาลล่วงแล้ว ได้ประมาณ 275 ปี หรือ พ.ศ.275  รัชสมัย พระเจ้า เทวานัมปิยติสสะ  หลังสังคายนาครั้งแรก ล่วงมา 79ปี
     
          พระอุบาลเข้านิพพาน พ.ศ. 371 ชนม์มายุ 96 ปี

...

       พระอุบาลีเถร ได้ศึกษา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ........ทางสมาธิจิต กับ พระมัลลิกะเถระเจ้า

   ต่อมา พระอุบาลีเถรเจ้า ได้บอก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ให้กับ........((พระอภัยเถรเจ้า))

          ....................................................................................

         พระอุบาลี ไดรับสืบทอด ไม้เท้า ไผ่ยอดตาล ของพระราหุล มาจาก ......((พระมหินทเถรเจ้า)) และพระองค์

ได้มอบไม้เท้านี้ให้กับ ......((พระสัญญปะเถรเจ้า))ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่าน

       ...........ให้นํามาส่งต่อ ยังดินแดน สุวรรณภูมิ ก่อนที่พระอุบาลี จะเข้านิพพาน

     ...................................................................................................

             คณะของ พระโสณะเถรเจ้า และ พระอุตระเถรเจ้า      ได้พักที่เกาะลังกาเพื่อเผยแผ่ธรรมอยู่เป็นระยะเวลา

นานพอสมควร

            เสร็จแล้วได้เดินทาง  ออกจากลังกา.......ขึ้นที่     อานาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) สร้างวัดมหาธาตุ และพํานักอยู่ที่ นครศรีธรรมราช เป็นเวลา  3 ปี

            เสร็จแล้ว พระโสณะเถรเจ้า และ พระอุตระเถรเจ้า

                เดินทางโดยเรือผ่าอ่าวไทย เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ  และ   มาขึ้นที่นครปฐม  พ.ศ.274

                และได้สร้างวัดพระปฐมโพธิคุณ ((หรือวัดพระปฐมเจดีย์)) และได้ เผยแผ่ธรรมในดินแดนสุวรรณภูมิ

อย่างกว้างขวาง    จวบจนถึงยุคปัจจุบัน

              ข้าพเจ้าได้ตัดต่อย่อมาให้อ่าน จากเว็บของครูบาอาจารย์

     www.somdechsuk.org ......เรื่อง การสืบทอดกรรมฐาน

         
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ st12 st11 st11 st12
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มารู้จัก พระพุทธศาสนา ลังกาวงศ์กัน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา