ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สันโดษ กับ อยู่ เฉยๆ ไม่ยุ่งอะไร ใช่ความหมายเดียวกันหรือไม่ ^_^  (อ่าน 3205 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือ สงสัยว่าปัจจุบัน นี้ไม่ทราบว่าใช้คำถูกหรือไม่ ?

  มีพี่คนหนึ่ง บอกว่า ขออยู่ สันโดษ
    วิธีอยู่ สันโดษ ของพี่ก็คือ ไม่ยุ่งกับใคร ๆ ทั้งนั้น ไม่ร่วมกิจกรรมอะไรกับ ใคร เหมือนอยู่โลกของพี่เขาคนเดียว

 แต่พอมาอ่านหลักธรรม ของพระพุทธเจ้า

    ภิกษุอยู่สันโดษ แต่มีการเผยแผ่พระธรรม

  มาคิดไปคิดมา การเผยแผ่พระธรรม เป็นสันโดษได้หรือคะ เพราะมีกิจกรรม ที่ต้องทำ ต้องร่วมด้วย

 หรือ ความหมายของคำว่าสันโดษ ยังใช้ไม่ถูกต้อง

  สันโดษ อุเบกขา วางเฉย เฉยเมย  เป็นธรรมอันเดียวกันหรือไม่


  :c017: :s_hi:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คือ สงสัยว่าปัจจุบันนี้ ไม่ทราบว่าใช้คำถูกหรือไม่ ? สันโดษ ไม่ร่วมกิจกรรมอะไรกับ ใคร เหมือนอยู่คนเดียว แต่พระภิกษุสันโดษ มีการเผยแผ่ธรรม เป็นสันโดษได้หรือคะ สันโดษ อุเบกขา วางเฉย เฉยเมย  เป็นธรรมอันเดียวกันหรือไม่

พระภิกษุ อยู่ด้วยบริขาร ๘ ถือนิสสัย ๔ มีธรรมวินัยเป็นคุณเครื่องครองตน จึงชื่อว่า "สันโดษ"

หากแต่คฤหัสถ์ สำคัญรูปแบบผิดหมายว่า HOME ALONE, OUT DOOR เป็นอะไรที่ชอบกล่าวว่า "สันโดษ" อย่างนั้น

ผิดแต่จำพวกเหงาเศร้า เขลาแต่เรื่องชู้ อย่างนี้ก็ จัญไร.! อย่างไร.? ก็ช่วยไม่ได้ ครับ.! อย่างนี้จำพวกแบบว่า วางเฉย

ต่อคำครหา เฉยเมย ต่อ คำนินทา พระท่านก็ "อุเบกขา" นะครับ.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2012, 05:10:22 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สันโดษ
    [-โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือสันโดษ.(ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


สันโดษ ๓ และ ๑๒ (ความยินดี, ความพอใจ, ความยินดีด้วยของของตนซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรม, ความยินดีด้วยปัจจัยสี่ ตามมีตามได้, ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ)

๑. ยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้, ยินดีตามที่พึงได้ คือ ตนได้สิ่งใดมา หรือ เพียรหาสิ่งใดมาได้ เมื่อเป็นสิ่งที่ตนพึงได้ ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหน ก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้หรือเกินไปกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้อง ชอบธรรม ไม่เพ่งเล็งปรารถนาของที่คนอื่นได้ ไม่ริษยาเขา)

๒. ยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง คือ ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลัง ตนมีหรือได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกกับกำลังร่างกายหรือสุขภาพ เช่น ภิกษุได้อาหารบิณฑบาตที่แสดงต่อโรคของตน หรือเกินกำลังการบริโภคใช้สอย ก็ไม่หวงแหนเสียดายเก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ย่อมสละให้แก่ผู้อื่นที่จะใช้ได้ และรับหรือแลกเอาสิ่งที่ถูกโรคกับตน แต่เพียงที่พอแก่กำลังการบริโภคใช้สอยของตน)

๓. ยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร คือ ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน อันสมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุไม่ปรารถนาสิ่งของอันไม่สมควรแก่สมณภาวะ หรือภิกษุบางรูปได้ปัจจัยสี่ที่มีค่ามาก เห็นว่าเป็นสิ่งสมควรแก่ทานผู้ทรงคุณสมบัติน่านับถือ ก็นำไปมอบให้แก่ท่านผู้นั้น ตนเองใช้แต่สิ่งอันพอประมาณ หรือภิกษุบางรูปกำลังประพฤติวัตรขัดเกลาตน ได้ของประณีตมา ก็สละให้แก่เพื่อนภิกษุรูปอื่นๆ ตนเองเลือกหาของปอนๆ มาใช้หรือตนเองมีโอกาสจะได้ลาภอย่างหนึ่ง แต่รู้ว่าสิ่งนั้นเหมาะสมหรือเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อื่นที่เชี่ยวชาญถนัดสามารถด้านนั้น ก็สละให้ลาภถึงแก่ท่านผู้นั้น ตนรับเอาแต่สิ่งที่เหมาะสมกับตน)


สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒

อ้างอิง ที.อ.๑/๒๕๓; ม.อ.๒/๑๘๘; องฺ.อ.๑/๘๑; ขุทฺทก.อ.๑๕๙; อุ.อ.๒๘๘; ฯลฯ

สทารสันโดษ ความพอใจด้วยภรรยาของตน,
       ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม),
       จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2012, 08:18:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๘. มหาสีหนาทสูตร เรื่องอเจลกกัสสป

สันโดษ

              ดูกรกัสสป อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ
             ดูกรกัสสป ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง
             ดูกรกัสสป นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง
             ดูกรกัสสป ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.


จิตสัมปทา

             ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
             ในการภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

 
             เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้าย คือ
             พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาทได้
             ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้
             ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบในภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้
             ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  บรรทัดที่ ๕๒๙๕ - ๖๐๒๘.  หน้าที่  ๒๒๒ - ๒๕๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=5295&Z=6028&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=260
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ