ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อธิวาสนะขันติ คืออะไร ครับ  (อ่าน 4565 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อธิวาสนะขันติ คืออะไร ครับ
« เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 12:22:36 pm »
0
อธิวาสนะขันติ คือ อะไรครับ

เป็น ขันติ ระดับไหนครับในบารมี 30

   :25: :25:
บันทึกการเข้า

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิวาสนะขันติ คืออะไร ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 05:49:29 pm »
0
อธิวาสนขันติ ความอดทนเกี่ยวกับเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย แม้พระพุทธเจ้าเองก็ต้องทรงอดทน อย่างในมหาปรินิพพานสูตร ที่พระ- คันถรจนาจารย์ได้เล่าเอาไว้ว่า ตตฺร สุทํ ภควา อาพาธํ อธิวาเสสิ ได้ยินว่าใน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงอาพาธหนัก มรณนฺติกํ เหมือนกับว่าจะ คร่าชีวิตไป อาพาธหนักอย่างยิ่งเหมือนกับจะคร่าชีวิตไป อวิหญฺญมาโน ไม่ทรงเดือดร้อนกับอาพาธนั้น เป็นแบบอย่างให้เรารู้สึกว่าท่านมีบุญบารมี ได้บำเพ็ญมาแล้วบริบูรณ์ถึงอย่างนั้น ได้ทำประโยชน์แก่โลกถึงอย่างนั้น  เป็นมหาบุรุษถึงอย่างนั้น แต่ก็ทนถึงอาพาธหนัก ประหนึ่งว่าจะคร่าชีวิตไป แต่ก็ทรงอดทน ไม่เดือดร้อน
 
          "ร่างกายของเรากระวนกระวายอยู่ แต่จิตใจไม่กระวนกระวาย"

ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เราก็ต้องอดทน พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่สามารถจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เมื่อมันมาถึงเข้าตามวาระ ตามเวลา ตามโอกาส และก็มาเยี่ยมเราบ่อยๆ ก็คิดให้เป็นเพื่อนกัน เป็นกันเอง กับความพลัดพรากความผิดหวัง เจ็บไข้ได้ป่วย จนที่สุดถึงแก่ความตายพิจารณาบ่อยๆ นึกถึงบ่อยๆ จนถึงกับมีความรู้สึกเป็นกันเอง ความพลัดพราก ความผิดหวัง ความเจ็บป่วย ก็ไม่ใช่คนแปลกหน้า ก็ไม่ใช่ของแปลก บางคนมีชีวิตลำบากมาตั้งแต่เด็กต่อสู้ดิ้นรนมาด้วยความยากลำบาก มาจนเป็นผู้ใหญ่ก็ยังลำบากอยู่ มันก็เป็นกันเองกับสิ่งเหล่านั้น ก็ดูว่าเป็นคนมั่นคง สงบ แต่ที่จริงเขาก็ได้รับทุกข์จากสิ่งเหล่านั้นอยู่ แต่ด้วยความคุ้นเคยกับ สิ่งเหล่านั้นจนรู้สึกเป็นกันเอง เพราะว่ามันผิดหวังมาตั้งแต่เด็กๆ รับความ ผิดหวังพลั้งพลาด ไม่ค่อยได้อะไร ตามที่ใจหวัง ก็ถือว่าความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดา แต่อะไรที่ได้สมหวังเป็นเรื่องพิเศษ
   ทีนี้เรามาพิจารณา บารมี ๓๐ ทัศ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ?ซึ่งก็จะทำให้ได้คำตอบที่ต้องการ
     บารมีทั้ง ๑๐ ประการอันเป็นองค์บารมีของพุทธการกธรรม สามารถแตกเป็น ๓ ระดับ คือ
     ๑. (สามัญ)บารมี หรือบารมีต้น
     ๒. อุปบารมี หรือบารมีกลาง
     ๓. ปรมัตถบารมี หรือบารมีปลาย
     การจำแนกระดับของบารมีนี้มีหลายประการ   เช่น
    1.จำแนกด้วยการกระทำ
     บารมีต้น เป็นการอนุโมทนาการกระทำของผู้อื่น
     อุปบารมี เป็นการให้ผู้อื่นทำ
     ปรมัตถบารมี เป็นการกระทำด้วยตนเอง
     2.จำแนกด้วยธรรม
     บารมีต้น เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำ
     อุปบารมี เป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ
     ปรมัตถบารมี เป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว
     3.จำแนกด้วยกาล
     บารมีต้น บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางใจ
     อุปบารมี บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางวาจา
     ปรมัตถบารมี บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางกาย
     4. จำแนกด้วยความยาก
     บารมีต้น เนื่องด้วยวัตถุและทรัพย์นอกกาย
     อุปบารมี เนื่องด้วยอวัยวะและเลือดเนื้อ
     ปรมัตถบารมี เนื่องด้วยชีวิต
     (อรรถกถาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗๔ อรรถกถา จาริยาปิฏก)
     บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นบารมีต้น รวมกันเรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ
     บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นอุปบารมี รวมกันเรียกว่า อุปบารมี ๑๐ ทัศ
     บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นปรมัตถบารมี รวมกันเรียกว่า ปรมัตถบารมี ๑๐ ทัศ

     ผู้ปรารถนาสาวกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ
     ผู้ปรารถนาปัจเจกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๒๐ ทัศ คือ บารมีและอุปบารมี
     ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ คือ บารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี

เมื่อแจกแจงบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ตามความยาก จะได้ดังนี้
     ๑. ทานบารมี
         บารมี           สละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา ให้เป็นทาน
         อุปบารมี           สละอวัยวะและเลือดเนื้อ ให้เป็นทาน
         ปรมัตถบารมี           สละชีวิต ให้เป็นทาน

     ๒. ศีลบารมี
         บารมี           ยอมสละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา เพื่อรักษาศีล
         อุปบารมี           ยอมสละอวัยวะและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาศีล
         ปรมัตถบารมี           ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาศีล

     ๓. เนกขัมมบารมี
         บารมี           ถือบวช โดยไม่อาลัยในธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
         อุปบารมี           ถือบวช โดยไม่อาลัยในอวัยวะและเลือดเนื้อ
         ปรมัตถบารมี           ถือบวช โดยไม่อาลัยในชีวิต

     ๔. ปัญญาบารมี
         บารมี           ใช้ปัญญารักษา ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา ของผู้อื่น
         อุปบารมี           ใช้ปัญญารักษา อวัยวะและเลือดเนื้อ ของผู้อื่น
         ปรมัตถบารมี           ใช้ปัญญารักษา ชีวิต ของผู้อื่น

     ๕. วิริยะบารมี
         บารมี           มีความเพียร ไม่อาลัยใน ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
         อุปบารมี           มีความเพียร ไม่อาลัยใน อวัยวะและเลือดเนื้อ
         ปรมัตถบารมี           มีความเพียร ไม่อาลัยใน ชีวิต

     ๖. ขันติบารมี
         บารมี           อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
         อุปบารมี           อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ อวัยวะและเลือดเนื้อ
         ปรมัตถบารมี           อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ ชีวิต

     ๗. สัจจบารมี
         บารมี           ยอมสละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา เพื่อรักษาสัจจะ
         อุปบารมี           ยอมสละอวัยวะและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาสัจจะ
         ปรมัตถบารมี           ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาสัจจะ

     ๘. อธิษฐานบารมี
         บารมี           ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
         อุปบารมี           ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย อวัยวะและเลือดเนื้อ
         ปรมัตถบารมี           ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย ชีวิต

     ๙. เมตตาบารมี
         บารมี           มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
         อุปบารมี           มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย อวัยวะและเลือดเนื้อ
         ปรมัตถบารมี           มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ชีวิต

     ๑๐. อุเบกขาบารมี
         บารมี           วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
         อุปบารมี           วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย อวัยวะและเลือดเนื้อ
         ปรมัตถบารมี  วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ชีวิต
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิวาสนะขันติ คืออะไร ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 06:00:50 pm »
0
อธิวาสนะ
           อธิวาสนะ แปลว่า อดทน การละกิเลสด้วย ความอดทน การพัฒนาจิตไปสู่ความบริสุทธิ์ด้วยความอดทน ความอดทนที่ท่านเรียกว่าขันตินี้ ท่านแบ่งเป็น 3 อย่าง คือ
             1.  ธีติขันติ  แปลว่า ทนต่อการตรากตรำลำบาก เหน็ดเหนื่อยด้วยการงาน การศึกษา การปฏิบัติธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าต้องตรากตรำลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เป็นฆราวาส ที่เรียกว่า ฆราวาสธรรม มีข้อหนึ่งเรียกว่า ขันติ อดทน ในพระบาลีท่านใช้คำว่า ธีติ ยกตัวอย่างเช่น ยสฺเส เต จตุโร ธมฺมา สทฺธสฺส ฆรเมสิโน สจฺจํ ทโม ธีติ จาโค สัจจะ ทมะ และในที่นี้ท่านใช้คำว่า ธีติ แทน ขันติ ทโมก็คือ ทมะ ธีติ ก็คือ ขันติ จาโค คือ จาคะ สเว เปจฺจ น โสจติ ผู้นั้น ล่วงลับไปแล้ว จะไม่เศร้าโศก ยสฺเส เต จตุโร ธมฺมา ธรรม 4 ประการนี้ มีอยู่แก่ท่านผู้ใด แก่ฆราวาสผู้ใด ผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ สัจจะ ทมะ ธีติ จาคะ ผู้นั้นล่วงลับไปแล้วจะไม่เศร้าโศก แม้มีชีวิตอยู่ก็ไม่ เศร้าโศก ไม่ต้องพูดถึงล่วงลับ เพราะเหตุที่มีธรรม    เหล่านี้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทมะ การฝึกอินทรีย์ การฝึกตน ก็ได้พูดมาบ้างแล้วในปัจจัย 4
             2. อธิวาสนขันติ  ที่เรียกว่า อธิวาสนะ อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดมาแล้วไม่มีใครที่ไม่เจ็บไข้   ได้ป่วย เพราะว่าร่างกายนี้มันเป็นตัวโรคอยู่แล้ว ว่าความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง ท่านหมายถึงไม่มีโรคทางใจ แต่เราเอามาใช้ในความหมายว่าไม่มีโรคทางกาย ความไม่มีโรคทางกายมันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าตัวร่างกายเองมันเป็นตัวโรคอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้นะครับ ในมาคัณฑิยสูตร มัชฌิมนิกาย ตรัสว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง ก็หมายถึงไม่มีโรคทางใจ ก็ทำให้ไม่มีโรคได้สำหรับใจ ก็ทำให้บรรเทาเบาบางลงไป ฝึกฝนไป แก้ไขไป ขัดเกลาไป ฝึกฝนไป โรคใจมันก็ค่อยๆ น้อยลง ด้วยความอดทน ในที่สุดก็จะไม่มีโรคทางใจเลย มีน้อยลงไป จนไม่มีเลย แต่ว่าโรคทางกาย ยิ่งเรา มีอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโรคมากขึ้น เหมือนกับรถยนต์ เครื่องยนต์ต่างๆ ที่ใช้ไป ยิ่งนานปีก็ยิ่งทรุดโทร ยิ่งต้องแก้ไขมากปรับปรุงมากขึ้นเท่านั้น
     3. ตีติกขาขันติ  อดทนต่อความลำบากทางใจ อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่อคำด่าว่าเสียดสี อดทนต่อคำนินทาว่าร้าย อดทนต่อการบีบคั้นของกิเลสต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากภายในบ้าง มาจากภายนอกบ้าง ทำได้ก็เป็นตบะอย่างยิ่ง เรียกว่า ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
          ขันติ ประเภทตีติกขา อดกลั้นต่อกิเลส เป็นตบะอย่างยิ่ง บางทีพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ถูกด่าว่าเสียดสี มีคนจ้างไปด่าหลายวัน พระอานนท์ทนไม่ไหว พระพุทธ- เจ้าตรัสบอกว่าอานนท์ เราเป็นเหมือนช้างศึกที่ลงสู่สงคราม จะต้องอดทนต่อลูกศรที่พุ่งมาจาก 4 ทิศ เพราะว่า คนส่วนมากเป็นคนชั่ว เพราะฉะนั้น เราจึงต้องอดทน ถ้ามีคนดีมากก็ไม่ต้องอดทนมาก

http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=60&content=801&name_content=%B7%D3%A8%D4%B5%E3%CB%E9%BA%C3%D4%CA%D8%B7%B8%D4%EC%20%C7%D4%B8%D5%B7%D5%E8%204.%20%CD%B8%D4%C7%D2%CA%B9%D0

บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิวาสนะขันติ คืออะไร ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 06:51:55 pm »
0
โอ้โห้ เซอร์ไพร์สมากๆ นานๆจะเห็น "น้องหญิง" ตอบกระทู้สักที

แต่จำได้ว่า น้องเก้า เรียกว่า "ป้าหญิง"

ไม่ว่าจะเป็น น้องหรือป้า ก็อย่าได้ใส่ใจ เร่งภาวนาเข้าเถอะ

ขอยินดีกับจิตที่เป็นกุศลของ"คุณนาฏนพิทย์"

ช่วยกันสาธุดังๆหน่อยครับ

 :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2010, 06:55:00 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิวาสนะขันติ คืออะไร ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 06:25:53 am »
0
อนุโมทนา คะ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า