ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ลอยโคม" .. ความเชื่อของคนล้านนา ไม่ใช่ "โคมลอย" ใกล้ลอยกระทงแล้ว  (อ่าน 7160 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

   
ลอยโคม ความเชื่อของคนล้านนา





< วัฒนธรรม ความเชื่อของคนไทยในแต่ละภาค มีความแตกต่างกัน ตามลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ค่ะ ดังเช่นประเพณีลอยโคมของชาวล้านนา ซึ่งในดินแดนสิบสองปันนาตอนเหนือของประเทศไทย

ประชาชน นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ผสมผสานกับการนับถือผีบรรพบุรุษ ลัทธิถือผีฟ้า ผีดิน ที่เรียกว่า ปู่แกน ย่าแกน มีการประดิษฐ์โคม และพิธีลอยโคม เพื่อเป็นการบูชาตามลัทธิประเพณีนี้มีการสืบทอดกันมา เมื่อมีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน


ลอยโคม ความเชื่อของคนล้านนา


ที่มีความเชื่อว่าเมื่อปล่อยโคมขึ้นฟ้า เป็นการปล่อยความทุกข์โศกและเรื่องราวร้ายๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ให้พ้นออกไปจากตัว และถือว่าเป็นการบูชาบรรพบุรุษแสดงความกตัญญู กตเวที

เดิมประเพณีนี้ เจ้าผู้ครองนครจะจัดขึ้นเพื่อสังเวยเทพยดาอารักษ์ บูชากุมภัณฑ์ และมีพิธีเข้าทรงผีเจ้านาย เพื่อสอบถามว่า ฝนฟ้าจะอุดมสมบูรณ์ และชะตาบ้านเมืองจะดีหรือไม่ หากชะตาของบ้านเมืองไม่ดี

ก็ จะจัดพิธีสืบชะตาเมืองเพิ่มขึ้นด้วย และปัจจุบันได้เพิ่มการทำพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง โดยการแห่พระพุทธรูปคันธารราษฎร์ (พระเจ้าฝนแสนห่า) รอบเมือง และจะนำมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง

เพื่อให้ชาวเมืองสรงน้ำ จากนั้นพระสงฆ์ 9 รูป จะเจริญพระพุทธมนต์บูชาเสา อินทขีล ซึ่งฝังอยู่ใต้ดิน การประกอบพิธีนี้ เพื่อมุ่งเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของชาวเมืองก่อนที่จะเริ่มต้นฤดูกาลเพาะ ปลูก
บันทึกการเข้า

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การบินผวา ประเพณีลอยโคม

:

เรื่องวุ่นๆ ของประเพณีโบราณ ที่ได้รับความนิยมจากกระแสท่องเที่ยว ส่งผลให้มีการลอยโคมนับหมื่นดวง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบิน

กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ซึ่งคนรุ่นก่อนถือว่าเป็นการทำบุญด้วยแสงสว่าง แต่หลังๆ มาด้วยปริมาณทั้งคนและโคมที่มากขึ้น บุญที่ลอยขึ้นไปกลับไปสร้างความทุกข์ จนเป็นที่มาของการ "โซนนิ่ง" พื้นที่ปล่อยโคม

............................................

มีคำขู่ขอร้องแกมบังคับมาก่อนหน้านี้ จากสายการบินไทย ให้ใครก็ตามที่เตรียมจะปล่อย "โคมลอย" ตามประเพณียี่เป็ง ขอให้รอจนกว่าเข็มนาฬิกาจะพ้น 21.30 น.ไปก่อน

ที่ต้องทำอย่างนี้ เพราะ 11-14 พฤศจิกายน (หรือราวๆ นี้) ของทุกปีจะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการทำบุญด้วยแสงสว่างหรือยี่เป็ง

เช่น...

เช้าวันรุ่งขึ้น ตามรันเวย์สนามบิน จะพบซากโคม(ไม่)ลอยเรือนพันนอนหมดลม ระเกะระกะอยู่เกลื่อนกลาด

ในช่วงประเพณียี่เป็งของจังหวัด เชียงใหม่ในช่วง  3 ปีที่ผ่านมา เกิดไฟฟ้าดับรวม 308 ครั้ง  รวม 166 ชั่วโมง 20 นาที  เฉพาะปีที่แล้ว เกิดขึ้น 118 ครั้ง รวม 3,257 นาที  ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากโคมไฟตกพาดสายไฟ 2,200 โวลต์ ทำให้ฟิวส์ขาดและเบรกเกอร์ที่สถานีไฟฟ้าทำงานขัดข้อง จนเกิดไฟดับไฟกะพริบในวงกว้าง และมาจากโคมไฟตกในสถานีไฟฟ้าหรือสายส่ง 115  กิโลวัตต์ ที่ส่งผลให้เกิดการลัดวงจร จนต้องดับไฟในสถานีไฟฟ้าหรือสายส่ง เพื่อนำโคมไฟออกและแก้ไข (ข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)   

ส่วนหนึ่งมาจากความนิยมลอยโคมที่เพิ่ม ขึ้นทุกปี จนเกรงว่า วันหนึ่ง "แรงลมธรรมชาติ" ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางเพียงอย่างเดียวของโคม จะพัดโคมไปก่อกวนการบิน

"ถ้าโคมไฟเข้าสู่เครื่องยนต์ของเครื่อง บินหรือส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมการบิน ไม่ว่าจะเป็นส่วนควบคุมการเลี้ยว การไต่หรือลดความสูง ระบบล้อ ก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น"

เป็นน้ำเสียงปนเป็นห่วงของ เติมศักดิ์ แสงโชติ ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมการบินเชียงใหม่ ที่เปรียบเทียบให้ฟังว่า แม้นกตัวเดียวถ้าหลุดเข้าไปในเครื่องยนต์หรือบินชนกระจกหน้าห้องบังคับการ ยังทำให้เครื่องบินต้องร่อนลงฉุกเฉิน ไม่เช่นนั้นอาจระเบิดได้

"ถ้าโคมไฟ หรือวัสดุต่างๆ ของโคมไฟหลุดเข้าไป จะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าอีกหลายเท่า" เติมศักดิ์ยืนยัน

ลอยเยอะ เรื่องเยอะ

เหตุผลหนึ่งที่ผอ.ศูนย์ควบคุมการบิน เชียงใหม่ต้องออกโรงมาเตือนอย่างจริงจังและเสียงดังมากขึ้น เพราะสมัยก่อนการปล่อยโคมลอยในท้องถิ่น จะเป็นโคมขนาดเล็ก ใช้วัสดุธรรมชาติ ทำให้ลอยไม่สูงและลอยได้ไม่นาน ที่สำคัญ คนยังลอยโคมกันไม่เยอะ เมื่อเปรียบเทียบกับ "กระแส" จากการท่องเที่ยวในปัจจุบัน

เพราะกระแสนำมาซึ่งการพัฒนาโคมลอยให้มี เพดานบินสูงขึ้น แถมอึดมากขึ้น เพราะใช้วัสดุสังเคราะห์ทั้งลวด พลาสติก และเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ จนโคมลอยสูงทะลุระดับ 30,000 ฟิต ซึ่งเป็น "ฟลายเวย์" ของเครื่องบิน 

"ก็เสียใจที่สิ่งประดิษฐ์ของ บรรพบุรุษ ถูกมองในด้านลบ เพราะสมัยก่อนการปล่อยโคมขึ้นฟ้า ไม่เคยสร้างปัญหาเลย แต่ความเจริญของเทคโนโลยี กลับยัดเยียดให้โคมไฟ กลายเป็นวัตถุอันตราย" เป็นความรู้สึกจาก บัวผิน สุนทรเวช ผู้ผลิตโคมไฟและโคมยี่เป็งย่านวัดสาตร ชุมชนผลิตโคมไฟเก่าแก่ของเชียงใหม่

ในฐานะมือวางอันดับหนึ่ง บัวผินบอกว่า ในแง่รูปลักษณ์ โคมไฟ(ยี่เป็ง) ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง หากวัสดุมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โดยเฉพาะเชื้อเพลิงกับลวด

"จะใช้ไม้ไผ่ทำเป็นฐานรูปวงกลม แล้วใช้เส้นลวดที่หาซื้อง่ายๆ ขึงยึดกับก้อนกระดาษทิชชู่ อัดชุบพาราฟินเป็นเชื้อเพลิง แล้วหุ้มด้วยกระดาษสีขาว" ด้วยความสนิทสนมและรู้ธรรมชาติของโคมไฟมานาน บัวผินจึงโต้ตอบว่า โคมทั่วไป ลอยอยู่ในอากาศได้ไม่เกิน 15 นาที และเพดานบินไม่สูงถึงฟลายเวย์แน่นอน

การตักเตือนที่บอกกล่าวกันล่วงหน้า สร้างความหงุดหงิดให้บัวผินไม่น้อย เพราะเธอเห็นว่า ข่าวออกจะเกินจริงไปสักหน่อย ยิ่งไปกว่านั้นการถูกขอร้อง

แกมบังคับให้ทุกที่ ต้องแจ้งปล่อยโคมล่วงหน้ากับทางจัดหวัด น่าจะทำลายบรรยากาศของงานยี่เป็งไปไม่น้อย

"ส่วนกรณีโคมไฟตกพาดสายไฟจนเป็นต้นเหตุ ให้กระแสไฟฟ้าดับ ยอมรับว่าอาจมีบ้าง แต่เนื่องจากเป็น ประเพณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบอาจต้องหามาตรการป้องกันให้มากขึ้น" บรรทัดนี้ บัวผินเสียงอ่อนลงไปบ้าง

โคมในอุดมคติ

อำเภอหางดง สันป่าตอง สารภี สันกำแพง ของจ.เชียงใหม่ และ อำเภอบ้านธิ จ.ลำพูน คือ 5 อำเภอที่เป็นแนวร่อนลงสู่สนามบิน ซึ่งถือเป็นเขตโซนนิ่งพิเศษที่ต้องแจ้งการปล่อยโคมไฟล่วงหน้า และต้องใช้โคมไฟที่มีขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร น้ำหนักไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม ที่สำคัญต้องใช้เชื้อเพลิงที่ทำให้โคมลอยได้ไม่เกิน 15 นาที

ส่วนรายละเอียดอื่นๆ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้หารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหากำหนดต้นแบบของโคมที่เหมาะสม ซึ่งต้องใช้วัสดุที่ผลิตและเชื้อเพลิงจากธรรมชาติ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 90 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 140 เซนติเมตร ให้ใช้กระดาษว่าวชนิดบาง หากต้องใช้ลวดเพื่อผูกติดไส้เชื้อเพลิงให้ใช้ลวดอ่อน ความยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตรต่อเส้น  เชื้อเพลิงที่ใช้จะต้องไหม้สลายหมดขณะลอยในอากาศไม่เกิน 5 นาที โดยขนาดไส้ของเชื้อเพลิงจะต้องเหมาะกับโคม มีข้อห้ามไม่ให้พ่วงหรือผูกติดพลุ ดอกไม้ไฟหรือสิ่งอื่นใดไปกับโคมที่ปล่อย

สำหรับบางคนข้อเรียกร้องข้างต้นอาจจะดู ยุ่งยาก จุกจิก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงร่วมกับธุดงคสถานล้านนา ซึ่งเป็นจุดปล่อยโคมไฟหลายหมื่นดวงในประเพณียี่เป็ง ออกแบบ "โคมธรรมชัย" ซึ่งเข้าข่ายต้นแบบ "โคมที่เหมาะสม" ของสนข. แทบทุกข้อ

เริ่มตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร สูง 1.40 เมตร และ และปรับเปลี่ยนวัสดุเพื่อความปลอดภัย จากเดิมที่เคยใช้ลวดยาวเป็นตัวยึดโครงโคมไฟ ก็เปลี่ยนมาใช้เชือกธรรมดาขนาด 70 เซนติเมตร ซึ่งจะลดการใช้ลวดให้เหลือเพียง 20 เซนติเมตร เท่ากับเป็นการลดความยาวของลวดตัวนำที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในสายไฟ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าและปัญหาอัคคีภัยได้

โคมธรรมชัยที่ว่านี้ เปิดตัวครั้งแรกในประเพณียี่เป็งปีนี้และปีต่อ ๆ ไป พร้อมด้วยการรณรงค์ให้ผู้ผลิตหันมาประดิษฐ์โคมธรรมชัยออกจำหน่ายเพื่อลดผล กระทบให้น้อยลง

"ไม่จำเป็น เพราะของเดิมไม่ได้สร้างปัญหา แต่ถึงที่สุดแล้ว เราก็พร้อมให้ความร่วมมือปรับ เปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ต้องเป็นประเพณียี่เป็งในปีหน้านะ เพราะของปีนี้มีการสั่งทำจนครบทั้งหมดแล้ว" บัวผินแห่งย่านวัดสาตร ยืนกราน

..................................................

และแล้ว แสงไฟสีส้มนวลตาจากโคมไฟนับแสนดวงที่กระจายเหนือฟากฟ้าในวันเพ็ญเดือนยี่ ก็ "เป็นเรื่อง" ไปอีกกรณี อันเป็นผลมาจากการถูกปลุกปั่นจนกลายเป็นกระแส จึงต้องมีทั้งเรื่องดีและแย่ตามกันมาเป็นธรรมดา

การจะกลับไปโหยหา ลอยกันตามมีตามเกิดแบบดั้งเดิมสุดๆ ก็คงไม่ใช่ที่ หรือสักแต่ว่าจะลอยเพื่อความสวยงามและเก๋ ในฐานะแพคเกจท่องเที่ยวโปรแกรมหนึ่ง ก็จะเสพแต่เปลือกมากเกินไป

หลายคนมองว่า การจัดการให้ของเก่าอยู่กับคนสมัยใหม่ได้อย่างไร..ต่างหาก ที่สำคัญและดูมีอนาคตมากกว่า

และเราเชื่อว่า "โคมลอย" ในประเพณียี่เป็งกำลังพยายามทำเช่นนั้นอยู่

ยี่เป็ง ไม่เกี่ยวกับ ลอยกระทง

ด้วยช่วงเวลาที่ตรงกันของเทศกาลลอย กระทงและประเพณียี่เป็ง รวมทั้งรูปแบบที่คล้าย กันทั่วประเทศ ทำให้หลายคนเข้าใจว่า เทศกาลยี่เป็ง กับ เทศกาลลอยกระทง เป็นประเพณีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อเดียวกัน นั่นคือการบูชาพระแม่คงคา แต่แท้จริงแล้ว ประเพณียี่เป็ง มีที่มาที่แตกต่าง และไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีลอยกระทงเลยแม้แต่น้อย

ประสงค์ แสงงาม หรือ "ครูอาร์ต" นักวิชาการโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา พาย้อน อดีตเล่าถึงที่มาของความเชื่อและรูปแบบประเพณีของเทศกาลยี่เป็ง เริ่มจากตำนานที่เล่าสืบทอดมา จากรุ่นสู่รุ่นว่าในอดีตกาลมีพระพุทธเจ้า 5 องค์ คือ พระกกุสันท พระโกนาคมนะ พระกัสปเถระ พระศรี อริยเมตรัย และพระโคตม ( โค-ตะ-มะ) หรือพระพุทธเจ้าของศาสนาพุทธในปัจจุบัน ถือประสูติจาก " แม่กาเผือก" โดยแม่กาเผือกได้ฟักเป็นไข่จำนวน 5 ฟอง แต่ขณะที่กำลังฟักไข่ได้เกิดพายุรุนแรงทำให้ไข่ทั้ง  5 ฟอง ตกจากรังกระจายไปตามแม่น้ำ 5 สาย

ไข่ทั้ง 5 ฟอง ได้ถูกหญิงสาวซักผ้าริมแม่น้ำ รวมทั้ง นาค แม่ไก่ วัว เต่า เก็บไปฟูมฟักเลี้ยงดู  เมื่อเติบโตขึ้น พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ จึงเข้าเรียนในสำนักฤาษีเดียวกัน เมื่อเรียนจบก่อนจะแยกย้าย กลับบ้านเมืองของตน พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ได้ถามถึงที่มาของแต่ละคนซึ่งตรงกันว่าทุกพระองค์ ถูกเก็บมาจากแม่น้ำ

เมื่อรู้ว่ามารดาผู้ให้กำเนิดคือแม่กา เผือก พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ จึงนึกตอบแทนบุญคุณ ของแม่กาเผือก แต่ไม่รู้ว่าจะสามารถตอบแทนด้วยวิธีใด เทวดาจึงโปรดให้ทำ "ประทีปตีนกา" หรือ "ผาง ประทีป" โดยใช้ถ้วยดินเผาขนาดเล็ก ภายในบรรจุไส้เป็นรูปตีนกา ซึ่งเมื่อจุดประทีปตีนกาแล้ว  แสง สว่างที่เกิดขึ้น จะทำให้แม่กาเผือกที่อยู่บนสรวงสวรรค์ได้รับบุญกุศลที่พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ถวาย ไปให้

ส่วนการปล่อยโคมลอย มีข้อสันนิษฐานสองประการ คือ การบูชาพระเกตแก้วจุฬามณี ที่อยู่ บนสวรรค์ โดยใช้ประทีปตีนการวมทั้งดอกไม้ธูปเทียนวางไว้ด้านในโคมก่อนปล่อยล่องลอย ขึ้นฟ้า ส่วน อีกความเชื่อหนึ่งเป็นของชาวมอญในยุคสมัยหริภุญไชย หรือ จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ซึ่งอพยพมาจาก เมืองหงสาวดี โดยมีการนำข้าวปลาอาหารลอยใส่โคมลอย โดยเชื่อว่าจะไปตกยังเมืองหงสาวดีที่มีญาติ ของพวกเขาหลงเหลืออยู่

ขณะที่การลอยกระทงในแม่น้ำสายต่างๆ ของประเพณียี่เป็ง ยังมีความเชื่อต่างจาก ประเพณีลอยกระทงของภาคกลางอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเดิมทีชาวล้านนาจะ "ลอยสะเปา" โดยใช้ไม้ไผ่สาน เป็นเรือขนาดเล็ก บรรจุภายในด้วยข้าวของเครื่องใช้และข้าวปลาอาหารต่างๆ บนแพต้นกล้วยลอยไปตาม แม่น้ำ โดยเชื่อว่า "สะเปา" จะนำพาข้าวของทั้งหมดไปสู่ภายภพหน้าหลังจากเสียชีวิต แต่เมื่อกาลเวลา ผ่านไป กระทงรูปทรงกลมที่ใช้ลอยกันในทางภาคกลางจึงเข้าสู่ล้านนาพร้อม ๆ กับการส่งเสริมการท่อง เที่ยว จนสะเปาเริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำ

พื้นฐานความเชื่อที่เล่าขานสืบทอดมา หลายชั่วอายุคน โดยเฉพาะการจุดผางประทีปและ การปล่อยโคมไฟ ทำให้แท้จริงแล้วประเพณียี่เป็งคือ "ประเพณีการทำบุญด้วยแสงสว่าง"  กระทั่งกลาย เป็นประเพณีแห่งแสงสีและความอบอุ่นในยามปลายฝนต้นหนาวในปัจจุบัน หาเกี่ยวข้องกับการบูชา พระแม่คงคา หรือ นางนพมาศ แต่อย่างใด   

วันนี้ แม้ความเชื่อตามตำนานที่เล่าขาน จะเลือนหายไปตามยุคสมัย แต่ด้วยความสวยงาม ของโคมไฟบนฟากฟ้าที่ไม่แปรเปลี่ยน โคมไฟจึงกลายเป็นจุดเด่น ของเทศกาลยี่เป็งที่มิอาจแยกจากกันได้  เพียงแต่โคมไฟในปัจจุบันปราศจากซึ่งข้าวปลาอาหาร หรือดอกไม้ธูปเทียนตามความเชื่อดั้งเดิม กลับ กลายเป็นกระดาษอัดชุบน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงผลักดัน โดยทุกวันเพ็ญเดือนยี่ หรือ วันเพ็ญเดือน 12 ตาม ปฏิทินไทย ของทุกปี ชาวเชียงใหม่ นักท่องเที่ยว หน่วยงานราชการ บริษัทห้างร้าน และแทบทุกองค์กร  จะพร้อมใจปล่อยโคมไฟ จนท้องฟ้าเมืองเชียงใหม่ในคืนนั้นแทบไม่มีที่ไม่เว้นว่างจากแสงสี

:  เอกพงศ์ ประดิษฐ์พงษ์

ที่มา
http://www.bangkokbiznews.com/2008/11/10/news_309952.php
บันทึกการเข้า