ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พิจารณาอาหาร ของพระคืออย่างไรครับ  (อ่าน 5655 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พิจารณาอาหาร ของพระคืออย่างไรครับ
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2011, 10:12:41 am »
0
ผมเห็นเวลา พระท่านตั้งโต๊ะเพื่อรับอาหาร ก็เห็นพระเดินเลือกอาหาร ต่าง ๆ ตามความชอบใจ ( เข้าใจอย่างนี้ )

การที่พระ่ท่านเดินเลือกอาหารใส่บาตรไปเพื่อฉันนี้ จัดว่าเป็นการพิจารณา ที่ถูกตามหลักของพระสงฆ์หรือไม่

เพราะท่านเลือกอาหารอันปราณึต ( ชอบใจ ) อาหารอันไม่ปราณีต ( ไม่ชอบใจ ) ไม่ตักดังนั้นทุกท่านมีความเห็น

อย่างไร กับการที่พระพิจารณาอาหาร การปัจจเวกขณวิธี ต้องการอย่างนี้หรือครับ

 เรียนถามสมาชิก ทุกท่านด้วยความสงสัยครับ

  :c017: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พิจารณาอาหาร ของพระคืออย่างไรครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2011, 10:53:02 am »
0

อาหาเรปฏิกูลสัญญา

อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือ การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร โดยกำหนดหมายว่าอาหารที่บริโภคเป็นสิ่งปฏิกูล

การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร ให้พิจารณาอาหารที่เรียกว่า กพฬีการาหาร หรืออาหารที่เรารับประทานนั่นเอง การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ


   ๑. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยอาการไปสู่สถานที่ที่มีอาหาร ว่าลำบาก ตั้งแต่การต้องออกไปหาอาหาร ฆราวาสต้องประกอบการงานอาบเหงื่อต่างน้ำเพื่อจะได้เงินมาซื้ออาหารเลี้ยงชีวิต ถ้าเป็นภิกษุก็ต้องบิณฑบาตไปในสถานที่ต่างๆ ทั้งที่เฉอะแฉะ สกปรก กรำแดดกรำฝน เพื่อให้ได้อาหารมาเลี้ยงอัตภาพ

   ๒. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการแสวงหา ว่ามีเงินแล้วก็ต้องไปตลาดซื้ออาหาร เข้าร้านโน้นออกร้านนี้ เลือกหาอาหาร หอบหิ้วกลับมา

   ๓. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการบริโภค ว่าเมื่อหยิบอาหารเข้าปากแล้วฟันก็ทำหน้าที่บดเคี้ยว คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ก่อนจะเข้าปากอาหารนั้นปรุงอย่างดี แต่เมื่อเข้าปากเคี้ยวแล้ว หากลองคายออกมาแล้วให้กลืนกลับเข้าไปใหม่ ก็คงกลืนไม่ลงเพราะดูน่าเกลียดเหมือนรากสุนัข

   ๔. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยที่อยู่ ว่าอาหารที่บริโภคนี้ แปดเปื้อนคละเคล้ากับสิ่ง ๔ อย่าง คือ น้ำดี เสมหะ หนอง และเลือด เป็นสิ่งสกปรกโสโครก

   ๕. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยกระเพาะ ว่าเป็นที่หมักหมมรวมกันของอาหารว่า อาหารที่เรากินเข้าไป เปื้อนน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด หมักหมมรวมกันอยู่ในกระเพาะที่สกปรกโสโครก ถ้วยชามภาชนะเราใช้แล้วยังขัดล้างทำความสะอาด แต่กระเพาะอาหารเป็นที่ใส่อาหารที่แปดเปื้อนไปด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด ไม่เคยล้างตลอดเวลา ๒๐-๔๐ ปี แห่งอายุของเรา และทุกวันมีอาหารใหม่หมักหมมทับถมลงไปอีก

   ๖. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยยังไม่ย่อย ว่าอาหารที่บริโภคเข้าไป ตั้งแต่เมื่อวานก็ตาม วันนี้ก็ตาม หมักหมมรวมกันเกิดเป็นฟอง เพราะธาตุไฟที่มีอยู่ในกระเพาะอาหาร มีสภาพน่าสะอิดสะเอียน เหมือนซากศพหรือขยะที่บูดเป็นฟอง

   ๗. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยย่อยแล้ว ว่าอาหารที่ถูกย่อยแล้วกลายเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นสิ่งที่น่าเกลียด

   ๘. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยผลที่สำเร็จ ว่าอาหารที่ย่อยแล้วกลายเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูก เป็นอวัยวะต่างๆ แต่อาหารที่ไม่ย่อยกลับทาให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคหิดเปื่อย หิดด้าน คุดทะราด โรคเรื้อน กลาก หืด ไอ เป็นต้น ล้วนแต่เป็นผลที่เกิดจากอาหารที่บริโภคเข้าไปนี้เอง เป็นสิ่งที่น่าเกลียดและน่ากลัว การบริโภคถ้าบริโภคมากไปก็เกิดโทษได้

   ๙. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยการหลั่งไหล ว่าอาหารที่บริโภคเข้าไปนั้น เมื่อไหลออก ก็ออกทางทวารทั้ง ๙ เช่น ไหลออกทางช่องตาก็เป็นขี้ตา ไหลออกทางช่องปากเป็นน้าลาย เสมหะ ไหลออกจากทวารหนักเป็นอุจจาระ ไหลออกจากทวารเบาเป็นปัสสาวะ ไหลออกจากขุมขนเป็นเหงื่อ เป็นต้น ขณะที่บริโภคอาหารก็ล้อมวงกันรื่นเริง แต่เวลาถ่ายออก ก็แยกกันไปปิดบังกัน ซ่อนเร้นไม่ให้ใครเห็น

   ๑๐. พิจารณาความเป็นปฏิกูล โดยความแปดเปื้อน ว่าอาหารนี้เมื่อเวลาบริโภคอยู่ก็เปื้อนมือ ปาก ลิ้น เพดาน ย่อยแล้วก็เปื้อน ถ่ายออกก็เปรอะเปื้อนน่าเกลียด ต้องชาระล้างใส่เครื่องหอมกลบความโสโครกและกลิ่นเหม็น การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา เจริญได้แต่เฉพาะในมนุสสภูมิเท่านั้น เพราะมนุษย์มีการรับประทานอาหารชนิดที่เป็นปฏิกูล ส่วนในเทวภูมิและพรหมภูมิไม่มีอาหารชนิดปฏิกูลแล้ว



นิมิต ภาวนา ในการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา
    นิมิตได้เพียงบริกรรมนิมิต คือ ข้าว แกง ขนม น้า ฯลฯ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสัญญาของตนที่มีการเห็นว่าเป็นปฏิกูลนี้เองเหล่านี้ใช้เป็นเครื่องอาศัยในการบริกรรม จัดเป็นบริกรรมนิมิต
     ภาวนาได้ ๒ คือ บริกรรมภาวนาและอุปจารภาวนา


     การที่ไม่เกิดอัปปนาภาวนา เพราะการเจริญกรรมฐานนี้มีสภาวะอาหาร คือ กพฬีการาหารเป็นอารมณ์เป็นหลักเกณฑ์ ตัวกพฬีการาหารเป็นเพียงสมมุติอาหารเท่านั้นไม่ใช่ตัวอาหารแท้ๆ ส่วนข้าว แกง ขนม น้า ฯลฯ ต่างๆ ที่เห็นอยู่นั้นเป็นเพียงเครื่องประกอบในการเจริญเท่านั้น

     ตามธรรมดาสภาวะของอาหาร มุ่งถึงโอชาหรือสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ แร่ธาตุต่างๆ ที่อยู่ในอาหาร โอชานี้มีสภาพละเอียดสุขุมทั้งเป็นธรรมารมณ์ ด้วยเหตุนี้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ทั้งสองนี้จึงไม่ปรากฏ เมื่อปฏิภาคนิมิตไม่ปรากฏ อัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้



อานิสงส์ของอาหาเรปฏิกูลสัญญา คือ
     ๑. ไม่ยินดีในรสอาหาร บริโภคเพียงเพื่อดารงชีวิตอยู่ ดุจดังสามีภรรยาที่บริโภคเนื้อบุตรในทางกันดารที่แร้นแค้นด้วยอาหารโดยไม่มีความยินดี ประสงค์เพียงแต่จะข้ามทางกันดารให้ถึงที่หมายปลายทางฉันใด ผู้เจริญก็ย่อมบริโภคไปฉันนั้น อาศัยเหตุ คือ การบริโภคอาหารที่ปราศจากรสตัณหา ประสงค์เพียงแต่จะดำรงชีวิตร่างกายเอาไว้ เพื่อจะได้ทำการปฏิบัติให้พ้นออกไปจากวัฏฏทุกข์นี้ แม้ตัณหา ราคะ ในกามคุณ ๕ ผู้เจริญก็ย่อมละลงได้
     ๒. เห็นความเกิดดับของรูปขันธ์ ความเกิดดับของรูปภายในตนที่เกิดจากอาหาร ความเกิดดับของจิต ขณะบริโภคและหลังบริโภค
     ๓. สามารถเจริญกายคตาสติไปในขณะนั้นด้วย คือพิจารณาความเป็นปฏิกูลโดย ดี เสลด หนองเลือด เป็นต้น
     ๔. อยู่เป็นสุข
     ๕. มีสุคติภูมิเป็นที่หวังได้



อ้างอิง
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๙ สมถกรรมฐาน ตอนที่ ๓
เรียบเรียงโดย อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พิจารณาอาหาร ของพระคืออย่างไรครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2011, 03:24:37 pm »
0
บันทึกการเข้า