ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บาลีวันละคำ โลกุตฺตรจิตฺต‬  (อ่าน 1487 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บาลีวันละคำ โลกุตฺตรจิตฺต‬
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2016, 12:41:39 pm »
0
‪‎โลกุตฺตรจิตฺต‬ (โลกุตฺตร+จิตฺต)

โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต
โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก ( กามภูมิ ) รูปโลก ( รูปภูมิ ) และ อรูปโลก(อรูปภูมิ) ก็ได้ อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับ ก็ได้
อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น
บาฬีวิเคราะห์ความหมายว่า
วิ. โลกโต อุตฺตรตีติ โลกุตฺตรํ.
จิตใด ย่อมพ้นจากโลก เพราะเหตุนั้น จิตฺนั้น ชื่อว่า โลกุตฺตร
‪จิตฺต‬ บาลีอ่านว่า จิต-ตะ (จินฺต จินฺตายํ ในความคิด+ต) ไทยอ่านว่า จิ


‪‎อภิธานัปปทีปิกา‬.. ท่านกล่าวไว้ในคาถาที่ ๑๕๒ ว่า
๑๕๒.จิตฺตํ เจโต มโน นิตฺถี วิญฺญาณํ หทยํ ตถา
มานสํ ธี ตุ ปญฺญา จ พุทฺธิ เมธา มติ มุติ.
จิต, ใจ ๖ ศัพท์ คือ จิตฺต, เจต, มน, วิญฺญาณ, หทย, มานส. อนิตฺถี มนศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์
--------------
‪‎จิตคืออะไร‬
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ
อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า
จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า
จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
-------------------------
‪#‎ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค‬ แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา
มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
*ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ




‪‎สภาพหรือลักษณะของจิต‬
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป
จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย
และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น
ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ
วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ
นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
------------------------
*ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความกล่าวถึง ลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คูหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ
แปลความว่า ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
----------------------------------
อนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ
๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน
จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละ
เป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหาย
ไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของ
กรรมเมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ
ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย




‪‎จำแนกจิต‬ เป็น ๔ ประเภท
เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง
แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ รู้ในเรื่อง
อรูปฌาณ รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
-------------------------------
๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภท
นี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่เข้าถึงซึ่งอรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นอรูปพรหมหรือ เป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ใน
อรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจาก กามโลก (กามภูมิ), จากรูปโลก
(รูปภูมิ) และจากอรูปโลก (อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวน
เพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาณด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของ
ฌาณ ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิศดาร ๔๐ ดวง ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๕๔ ดวง และนับโดยพิศดาร
ก็เป็น ๑๒๑ ดวงที่นับอย่างพิศดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรกุศลจิตประเภทเดียวเท่านั้น
-----------------
*อ้างอิง
คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0…/
---------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2016, 12:46:23 pm โดย ปัญญสโก ภิกขุ »
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ โลกุตฺตรจิตฺต‬
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2016, 05:05:34 pm »
0
    ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา