ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พร ๕ ประการ และความหมายที่แท้จริงของคำว่า พร  (อ่าน 19575 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กัลยาณมิตร และสหธรรมิก ทุกท่านครับ หากท่านเป็นแฟนเพลงลูกกรุงรุ่นเก่า 
สมัย สุเทพ ชรินทร์ หรือธานินทร์ คงพอจะจำเพลงนี้ได้ เพลงนี้มีคำร้องอยู่ว่า

   “ผู้หญิงที่สวยอย่างคุณ ทำบุญไว้ด้วยอะไร จึงสวยน่าพิสมัย
น่ารักน่าใคร่พริ้มเพรา คงถวายมะลิไหว้พระ วรรณะจึงได้นวลขาว
เนตรน้อยดูสวยดั่งดาว กระพริบพร่างพราวร้าวใจ.....................”
....................................................................................
ในตอนท้ายๆของเพลงนี้ มีเนื้อร้องอยู่ว่า
“อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ” (ประโยคต่อไปจำไม่ได้ ขออภัย)


 ที่ยกเพลงนี้ขึ้นมา เพียงอยากจะบอกว่า คนสมัยก่อนเค้านิยมกล่าวคำอวยพรในวาระต่างๆว่า
“ขอให้สมบูรณ์ด้วย อายุ วรรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ”

โดยส่วนตัวเชื่อว่า หลายท่านไม่ทราบความหมายและที่มา
จึงขออนุญาตนำข้อธรรมในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่าน ป.อ.ปยุตโต
มาให้พิจารณาตามอัธยาศัย ดังนี้ครับ

พร ๕ (สิ่งน่าปรารถนาที่บุคคลหนึ่งอำนวยให้ หรือแสดงความประสงค์ด้วยความปรารถนาดีให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลอื่น; สิ่งประเสริฐ, สิ่งดีเยี่ยม — blessing; boon; excellent thing)

พรที่รู้จักกันมากได้แก่ ชุดที่มีจำนวน ๔ ข้อ ซึ่งเรียกกันว่า จตุรพิธพร หรือ พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
Dh.109; A.II.63   ขุ.ธ.๒๕/๑๘/๒๙; องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๕๘/๘๓.

พรที่เป็นชุดมีจำนวน ๕ ข้อบ้าง ๖ ข้อบ้าง ก็มี เช่น
อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ (องฺ.ปญฺจก.๒๒/๓๗/๔๔ = A.III.๔๒)
; อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขะ พละ (องฺ.จตุกฺก.๒๑/๓๔/๔๕; องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๒/๓๘; ขุ.อิติ.๒๕/๒๗๐/๒๙๙ = A.III.๓๖; It. ๘๙)
; อายุ วรรณะ สุขะ ยศ เกียรติ สัคคะหรือสวรรค์ พร้อมทั้ง อุจจากุลีนตาคือความมีตระกูลสูง (องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๓/๕๑ = A.III.๔๘)
; อายุ วรรณะ ยศ สุข อาธิปัจจะ คือ ความเป็นใหญ่ (ขุ.เปต. ๒๖/๑๐๖/๑๙๕ = Pv. ๓๐๘)
และชุดที่จะกล่าวถึงต่อไปคือ อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ พละ


อย่างไรก็ดี พึงทราบว่า คำว่า พร ในที่นี้ เป็นการใช้โดยอนุโลมตามความหมายในภาษาไทย ซึ่งเพี้ยนไปแล้วจากความหมายเดิมในภาษาบาลี ในภาษาบาลีแต่เดิม พร หมายถึง ผลประโยชน์หรือสิทธิพิเศษที่อนุญาตหรืออำนวยให้ตามที่ขอ พรที่กล่าวถึง ณ ที่นี้ทั้งหมด ในบาลีไม่ได้ เรียกว่า พร แต่เรียกว่า ฐานะ หรือธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (ซึงจะบรรลุได้ด้วยกรรม คือการกระทำที่ดีอันเป็นบุญ)

สำหรับพระภิกษุ พรหรือธรรมอันน่าปรารถนาเหล่านี้ หมายถึงคุณธรรมต่างๆ ที่ควรปลูกฝังฝึกอบรมให้เกิดมี ดังพุทธพจน์ว่า : ภิกษุท่องเที่ยวอยู่ ภานในถิ่นท่องเที่ยว ที่เป็นแดนของตนอันสืบทอดมาแต่บิดา (คือ สติปัฏฐาน ๔) จักเจริญด้วย

๑. อายุ คือ พลังที่หล่อเลี้ยงทรงชีวิตให้สืบต่ออยู่ได้ยาวนาน ได้แก่ อิทธิบาท ๔ (for monks, = the Four Bases of Accomplishment)
[/color]
๒. วรรณะ คือ ความงามเอิบอิ่มผ่องใสน่าเจริญตาเจริญใจ ได้แก่ ศีล (beauty = moral conduct)

๓. สุขะ คือความสุข ได้แก่ ฌาน ๔ (the Four Meditative Absorptions)

๔. โภคะ คือ ความพรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่างๆ อันอำนวยความสุข ความสะดวกสบาย ได้แก่ อัปปมัญญา หรือพรหมวิหาร ๔ (Wealth = the Four Boundless Sublime States of Mind)

๕. พละ คือ กำลังแรงความเข้มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังแห่งมาร ทำให้สามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามปลอดโปร่งเป็นสุข บำเพ็ญกิจด้วยบริสุทธิ์และเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดใดจะสามารถบีบคั้นครอบงำ ได้แก่ วิมุตติ ความหลุดพ้น หมดสิ้นอาสวะ หรืออรหัตตผล (strength or power = the Final Freedom)
D.III.77;S.V.147   ที.ปา.๑๑/๕๐/๘๕; สํ.ม.๑๙/๗๐๙/๑๙๘
________________________________________

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2009, 03:26:10 pm โดย ทินกร »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ