ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง  (อ่าน 6618 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
Re: ไร้รูปแบบ แล้วสำเร็จธรรมจริงหรือ ?
ที่จริงท่านอาจารย์เคยกล่าวกับดิฉันไว้ว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกนี้ ล้วนแล้วแต่มุ่งสู่พระนิพพาน
แตกต่างกันที่ว่าเวลา ว่าใครจะไปก่อนไปหลัง บางท่านอาจจะต้องใช้เวลาเป็นกัปป์ ๆ

แต่ดิฉัน ก็ไม่ได้รังเกียจคนไม่ดี แต่พยายามห่างคนไม่ดี ( อเสวนา จ พาลานัง )
ถ้า พอตักเตือน หรือชักนำได้ ก็จะช่วยตักเตือน หรือ ชักนำ ถ้าตักเตือนไม่ได้ หรือ ชักนำไม่ได้ ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งคะ เพราะตลอดดิฉันเป็นอาจารย์มา 28 ปีนี้ เข้าใจลูกศิษย์ดีคะเพราะอยู่กับเด็กวัยรุ่นมาตลอด
========================================================
และพยายามส่งเสริมคนดี ( ปณฺฑิตานญฺ จ เสวนัง )
ส่วนคนดี แล้ว ดิฉันจะส่งเสริมไม่ว่าจะเป็นการกล่าาวด้วยวาจา ให้รางวัล หรือเข้าไปช่วยเหลือ ยามตกยาก
========================================================

   เหตุจากการตอบกระทู้ของอาจารย์สายทอง(ข้างบน) ทำให้ผมนึกถึงธรรมข้อหนึ่งได้  ผมเคยฟังมาจากพระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช ฟังครั้งแรก รู้สึกประทับใจมาก
ประทับใจในความเป็นยอดอัจฉริยะของพระพุทธเจ้า เลยค้นรายละเอียดต่างๆมาให้อาจารย์สายทอง เก็บไว้เป็นข้อมูล เผื่อมีโอกาสนำไปสอนลูกศิษย์


   แต่ขอออกตัวก่อนว่า คำอธิบายความ เป็นผมที่เขียนขึ้นเองตามความเข้าใจ ที่ได้ฟังมาจากพระอาจารย์ปราโมทย์ อาจารย์ช่วยพิจารณา และคอมเม้นต์ให้ด้วย

เชิญสดับได้เลยครับ





ทารุขันธสูตรที่ ๑

       [๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ

      พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
          - ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
          - จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
          - จักไม่เกยบก
          - ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
          - ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้
          - จักไม่เน่าในภายใน


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้
     ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะ
        - ไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น
        - ไม่จมลงในท่ามกลาง
        - ไม่เกยบก
        - ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
        - ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้
        - จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้


      ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
      ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

      [๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
        - ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร
        - การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร
        - การเกยบนบกได้แก่อะไร
        - มนุษย์ผู้จับคืออะไร
        - อมนุษย์ผู้จับคืออะไร
        - เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร
        - ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร


     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
        - คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖
        - คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖
        - คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ
        - คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ

   - ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ

   - ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ

   - ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕

   - ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารีเป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ที่มาhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4909&Z=4963&pagebreak=0





อธิบายศัพท์และธรรม

อายตนะ   ที่ต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

สัมผัส ความกระทบ,การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก,ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอกและวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖); ผัสสะ ก็เรียก

อายตนะภายใน ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน — internal sense-fields) บาลีเรียก อัชฌัตติกายตนะ
๑. จักขุ (จักษุ, ตา — the eye)
๒. โสตะ (หู — the ear)
๓. ฆานะ (จมูก — the nose)
๔. ชิวหา (ลิ้น — the tongue)
๕. กาย (กาย — the body)
๖. มโน (ใจ — the mind)

ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น

___________________________________
อ้างอิง : ที.ปา.๑๑/๓๐๔/๒๕๕; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.


อายตนะภายนอก ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก) บาลีเรียก พาหิรายตนะ
๑. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย)
๖. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด)
ทั้ง ๖ นี้ เรียกทัวไปว่า อารมณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง

__________________________________________________
อ้างอิง : ที.ปา.๑๑/๓๐๕/๒๕๕; ม.อุ.๑๔/๖๒๐/๔๐๐; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.


นันท[นันทะ-] น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป.).

ราคะ ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉัน นี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขา
กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ

____________________________________________________________________
อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ประมวลศัพท์และประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)




อธิบายความโดยย่อ

ธรรมชาติของแม่น้ำส่วนใหญ่จะไหลออกสู่ทะเล ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้กล่าวถึงท่อนไม้ที่ลอยไปตามแม่น้ำจะออกสู่ทะเลได้นั้น ต้องมีเหตุ ๘ ประการ

- ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
- จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
- จักไม่เกยบก
- ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
- ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้
- จักไม่เน่าในภายใน


แล้วได้เปรียบมนุษย์เป็นดั่งท่อนไม้ เปรียบทะเลเป็นพระนิพพาน โดยกล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะเข้าสู่พระนิพพานไว้ ๘ ประการ

- ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น
- ไม่จมลงในท่ามกลาง
- ไม่เกยบก
- ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
- ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้
- จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ (เน่าใน)


ในตอนท้ายได้อธิบายเหตุ ๘ ประการว่า คืออะไร

   - คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖  สองข้อนี้หมายถึง การยึดติดกับสัมผัสทางกายและใจ ไม่สามารถวางเฉยกับสัมผัสต่างๆที่เข้ามากระทบได้

   - คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ  หมายถึง  การเผลอเพลิน ไปตามกิเลสต่างๆ คำว่านันทิราคะ ยังใช้กับเทวดา ที่ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน ไม่เจอความทุกข์

   - คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ  หมายถึง ยึดมั่นในตัวกูของกู แบ่งเขาแบ่งเรา

   - ถูกมนุษย์จับไว้ หมายถึง คลุกคลีกับคนหมู่มาก ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกมากเกินไป ทำให้เดือดร้อน จนไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม

   - ถูก อมนุษย์จับไป  การเอาแต่ทำทาน ถือศีล ทำสมาธิ แต่ไม่เจริญวิปัสสนา
ติดสมถะกรรมฐาน ตายไปอย่างมากก็ไปเป็นเทวดา หรือพรหม (ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่)


   - คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ หมายถึง การติดอยู่ในความอยาก และความพอใจใน รูป  รส กลิ่น เสียง สัมผัส

   - ความเป็นผู้เสียในภายใน(เน่าใน) หมายถึง การละเมิดศีล ไม่มีศีล





สรุปให้สั้น

แวะเข้าฝั่ง    คือ หลงสัมผัส
จมน้ำ       คือ เผลอเพลิน
เกยตื้น      คือ ตัวกูของกู
มนุษย์จับ     คือ ชอบเข้าสังคม
อมนุษย์จับ    คือ ไม่เจริญวิปัสสนา
น้ำวน        คือ ติดกามคุณ
เน่าใน    คือ ไม่มีศีล


   “ท่อนไม้ที่ลอยไปตามแม่น้ำ มีแนวโน้มที่จะไหลออกสู่มหาสมุทร ฉันใด จิตมนุษย์นี้ไซร์ ย่อมมีแนวโน้มที่จะไหลสู่พระนิพพาน ฉันนั้น”


 :25: :25: :25: :25: :25:

พระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช กล่าวไว้ว่า

มนุษย์แปลว่า ผู้มีใจสูง เหมาะสำหรับการเจริญวิปัสสนาเพื่อนิพพาน
เทวดานั้น เอาแต่ เผลอเพลินในความเป็นทิพย์
พรหม ก็มีแต่ พรหมวิหารสี่ ยากที่จะเข้านิพพาน
ใจมนุษย์ เหมาะสมที่สุด จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้มีใจสูง

การที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น เป็นเรื่องที่แสนยาก
ดังนั้นการได้เกิดเป็นมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่วิเศษที่สุด
อย่ามัวหลงอยู่ในกิเลส ขอให้เร่งปฏิบัติ


 :welcome: :49: :25: :s_good:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 10:29:56 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 06:28:26 am »
0
ขอบคุณ คะคุณ ณัฐพลสันต์ ให้เครดิต เป็นหน้าเลย :D :D :D :D

อนุโมทามิ
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 01:28:42 am »
0
 :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การระวังตนของผู้มุ่งนิพพาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 19, 2015, 10:08:52 am »
0


การระวังตนของผู้มุ่งนิพพาน

ปัญหา : ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน ควรจะระมัดระวังตนอย่างไร.?
คำตอบ : มีคำอธิบายอยู่ใน ทารุขันธสูตรที่ ๑ (อยู่ด้านบน)


นอกจากกระทู้นี้แล้ว ขอแนะนำกระทู้อื่นๆตามนี้ :-
“ท่อนไม้ลอยไหลสู่ทะเลได้ฉันใด จิตก็โน้มเอียงสู่นิพพานได้ฉันนั้น”
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3234.0
ทำไม พรหม และ เทวดา ไม่ปรารถนาความเป็นพระอรหันต์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3277.msg11673#msg11673
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2015, 10:30:50 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 19, 2015, 08:14:43 pm »
0
 gd1 like1 st11 st12 :035: :035: :035:
      ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2015, 11:10:47 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ