ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่ครูบา "ดวงดี" วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่  (อ่าน 2385 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


หลวงปู่ครูบา"ดวงดี"
โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ยิ่งอายุมากขึ้น ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า "ตัวเอง" ยิ่งยากที่เข้าใจอย่าง "ถ่องแท้" ว่าพระพุทธศาสนาคืออะไร? เป็นมาอย่างไร มีทำไม เพื่ออะไร หลักการสำคัญๆ แก่นจริงๆ คืออะไร ปฏิบัติง่ายๆ ได้อย่างไร ถึงน่าจะพอเพียงไม่ต้องเข้าวัดบวชเรียนเป็นพระได้ไหม? อยู่ที่ไหนๆ ไม่ได้อยู่ในวัดปฏิบัติธรรมด้วยตนเองได้ไหม? และถ้าเป็นคนไม่มีศาสนาหรือพระพุทธศาสนา เราจะไปเป็นอย่างไร? และอะไร? คือรากแก้ว 1 เดียว ที่เป็นฐานรากเชื่อมโยงต่อๆ ไป หรือที่เรียกว่า "ชีวิตของความเป็นมนุษย์"

ทั้งหลายทั้งปวงผู้เขียนเองก็ไม่ได้เป็นมัคนายกหรือเป็นผู้เคร่งครัดในธรรมะ 100% เพียงแต่เคยบวชพระ 2 ครั้ง (ครั้งแรกวัดสังฆราชาวาส สิงห์บุรี ครั้งที่สอง บวชที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงเทพมหานคร) และบวชเณร (ที่วัดอัมพวัน สิงห์บุรี หน้าศพคุณแม่ 1 ครั้ง) พอจะรู้อย่างงูๆ ปลาๆ แต่สนใจใคร่รู้ ลองทำ ลองปฏิบัติดูตามคำสอนที่ได้ หากได้ผลก็จะเผยแพร่ต่อๆ ไป รวมถึงไปสัมผัสอะไรมาดีๆ ไม่อยากเก็บ "ของดี" ไว้ติดตัวตนเองอยากบอกต่อ


 :25: :25: :25: :25: :25:

ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนได้มีโอกาสไปกราบ "หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทฺโท" ในโอกาสที่ท่านสิริอายุครบ 102 ปี เมื่อได้กราบแนบเท้าหลวงปู่รู้สึกร่มเย็นโปร่งตัวทั้งกายใจ ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง เวลาสนทนารู้สึกว่าท่านอารมณ์ดี ใจดี อยู่ที่กุฏิท่านประมาณ 15-20 นาที ก็รู้สึก "ปีติ" มีบุญอย่างสูงที่ได้พบพระอรหันต์อีกองค์หนึ่ง (ท่านได้มรณภาพไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 สิริรวมอายุได้ 104 ปี พรรษา 83) อนึ่ง คนทางเหนือหรือชาวล้านนาเรียกขานท่านว่า "ครูบา" เพราะท่านคือผู้ทรงภูมิความรู้หลักธรรมคำสอนพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่ย่อหย่อน แล้วนำมาสั่งสอนให้ผู้อื่นได้ประพฤติปฏิบัติ ได้รู้จริงเห็นแจ้งตาม



"หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทฺโท" ท่านบวชที่วัดท่าจำปี ต.ทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ บวชเรียน 83 พรรษา ปี 2550 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ "พระมงคลวิสุต" (สย.) และเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปีครั้งสุดท้าย สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้ทราบจาก "หลวงปู่" คือ ท่านเป็นลูกศิษย์เอกและคนสุดท้ายของ "พระครูบาศรีวิชัย" ท่านได้พยากรณ์กับประสาทพรให้กับโยมพ่อโยมแม่ว่า "กลับไปให้เอาไปเข้าวัดเข้าวา ต่อไปภายหน้าจะได้พึ่งพาไหว้สามัน"

นั่นคือ เป็นดวงอันประเสริฐยิ่งของหลวงปู่ครูบาดวงดี ส่วนดีเมื่อตอนเด็กๆ หลวงปู่ได้ทำหน้าที่ดูแลวัด ช่วยเหลือท่านพระครูบาศรีวิชัย ปฏิบัติอาจารย์ ไหว้พระสวดมนต์นั่งกรรมฐาน บูชาขันดอกไม้ มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งอยู่ใน "ศีล" อันดีงามตลอดเวลา


 ans1 ans1 ans1 ans1

หนังสือ "อานิสงส์ศีล" จัดทำขึ้นเพื่อบูชาความดี จริยวัตรของหลวงปู่ครูบาดวงดี ดังคำว่า "สุภัทรศีลคุณ" คือ "ผู้มีคุณแห่งศีลอันดีงาม" ความว่า...

พระพุทธศาสนาหรือศาสนาพุทธคืออันเดียวกัน มีพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดา มีคำสอนแนะนำแนวทางให้การดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสุข ลดความทุกข์ จนกระทั่งพ้นพันธนาการไปทั้งปวง เป็นอิสระ มีสรณะอันสูงสุด 3 ประการ คือ "พระรัตนตรัย" (แก้วอันมีค่า 3 ประการ) : พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระธรรม แล้วทรงสั่งสอนให้พระภิกษุรู้ธรรมจนหลุดพ้นตาม ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาและฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้นเรียกว่า "พระสงฆ์" (สงฆ์ แปลว่า หมู่, ชุมชน) แล้วทรงมอบหมายให้ "พระสงฆ์" ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรมเพื่อประโยชน์ของชาวโลก



    หลักธรรมคำสั่งสอนเรียกว่า "พระธรรมวินัย" อันประกอบด้วย
    พระธรรม 1 คือ ความรู้ในสัจธรรมต่างๆ ที่พระพุทธตรัสรู้และสอนชาวโลก
    พระวินัย 1 คือ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ออกบวชเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งก็คือ "วินัย" ของคณะสงฆ์ อันเป็นชุมชนตัวอย่างเพื่อดำเนินชีวิต เพื่อความพ้นทุกข์
    โดยมีหมวด อภิธรรม 1 ไว้อธิบายคำจำกัดความคำศัพท์ในส่วนพระวินัยในภายหลัง เริ่มมีการบันทึกคำสอนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า... "คัมภีร์พระธรรม คัมภีร์พระวินัย"
    พระเถระผู้ทรงคุณในยุคนั้นได้เรียบเรียงคำอธิบายในหมวดอภิธรรมเพิ่มเติมอย่างละเอียดจนสามารถบันทึกเป็น... "คัมภีร์พระอภิธรรม" อีกต่างหาก เมื่อรวมเรียกทั้งสามคัมภีร์แล้ว หลักธรรมคำสอนทั้งหมดในศาสนาพุทธจึงเรียกว่า "พระไตรปิฎก"


   st11 st11 st11 st11

   พระพุทธเจ้าทรงเริ่มออกเผยแพร่คำสอนในภูมิภาคที่ประเทศอินเดียตั้งแต่ 45 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันศาสนาพุทธได้แพร่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนคนนับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะมีผู้นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย

     ผู้นับถือศาสนาพุทธได้บวชเพื่อศึกษาและฝึกฝนตามคำสอนเพื่อความหลุดพ้น เรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ (ชาย) และพระภิกษุณี (หญิง) ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่า "ฆราวาส" หรืออุบาสก (ชาย) อุบาสิกา (หญิง) โดยรวมบุคคล 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะเรียกว่า "พุทธบริษัท 4" อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก เป็นผู้ที่จรรโลง โดยร่วมนับถือร่วมกันศึกษา และรวมใจกันรักษาพุทธศาสนาไว้



หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา มีหลากหลายประมวลได้ 10 ประการ ดังนี้

    ๑) พระพุทธศาสนาสอน "สัจธรรม" คือ ความจริงแท้ของมนุษย์และกฎธรรมชาติ โดยมี "เป้าหมายสูงสุด" คือ การหลุดพ้นจากวงจรแห่งทุกข์ทั้งปวง
    ๒) หัวใจของพุทธศาสนา คือ หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
    ๓) พระพุทธศาสนา กล่าวว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ต่างมีเหตุให้เกิด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นผลก็เกิดขึ้นผลตามมา เมื่อเหตุนั้นไม่มีอีกแล้วผลก็ดับไป
    ๔) อริยสัจ 4 สอนให้เข้าใจถึงหลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ (มองตัวทุกข์ ตัวปัญหา คืออะไร) สมุทัย (มองตัวปัญหาทำให้เกิดทุกข์) นิโรธ (มองจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา ความหมดสิ้นแห่งทุกข์) มรรค วิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์ (มองลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือทุกข์นั้นๆ)
     ๕) สติปัฏฐาน 4 เป็นวิธีฝึกกายและจิตเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ โดยเฉพาะเจาะจงแล้วหมายถึงมรรคองค์ที่ 7 คือ "สัมมาสติ" แต่โดยกว้างแล้วหมายถึงหลักการ "ฝึกฝน" โดยรวมทั้งหมดเพื่อให้เกิด "นิโรธ"
     ๖) "ไตรลักษณ์" เป็นลักษณะสากลที่มีในทุกสิ่ง ดังนี้ คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยงแท้, แปรปรวน) ทุกขัง (ถูกบีบคั้นต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา) อนัตตา (ไม่มีแก่นสารอะไร, ไม่มีตัวตนใดๆ ของใครได้อย่างแท้จริง)
     ๗) "กฎแห่งกรรม" กรรม คือ การกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา ใจ ที่มีเจตนาสั่งการโดย "จิต" ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าเป็นการกระทำดี (บุญกุศล) หรือไม่ดี (บาป/อกุศล) หรือกลางๆ อันทำให้มีผลของการกระทำจะไม่สูญหายไปไหน แต่ "รอ" เวลาที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการกระทำนั้นๆ สะท้อนกลับมาหา "ผู้กระทำ" เสมอ... โดยไม่สามารถนำ "บุญ" กับ "บาป" มาหักล้างกันได้โดยตรง "กฎแห่งกรรม" นี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดความเป็นไปของแต่ละ "จิต วิญญาณ" ในสังสารวัฏ
     ๘) นิพพาน คือ สภาพที่พ้นออกไปเหนือโลก ออกไปจากสังสารวัฏเป็นอิสระจากพันธการทุกอย่าง เป็นความสุขอันแท้จริงเป็น "เป้าหมาย" อันสูงสุดที่สูงสุดที่พระพุทธศาสนาสอนให้บรรลุถึง
     ๙) พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ มีหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ยินดีที่ผู้อื่นมีสุขในทางที่เป็นกุศล) อุเบกขา (จิตเป็นกลาง โดยถือความยุติธรรม ความถูกต้องเป็นหลัก คือไม่ทุกข์ ไม่สุข)
    ๑๐) สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่างภพภูมิ คือมิติต่างๆ ทั้งเลวร้ายที่สุดไปจนถึงสุขสบายที่สุดที่ รองรับการเกิดของ "สิ่งมีชีวิต" การเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "ความโง่" "อวิชชา" คือ ความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริงไปหลงยึดเอาว่าสิ่งต่างๆ มีตัวตน ซึ่งเป็น "รากเหง้า" ของ "กิเลส" ทั้งหลายนำไปสู่โลภ โกรธ หลง
        ทางออกจาก "สังสารวัฏ" มีทางออกประตูเดียว คือ เส้นทาง "อริยมรรค 8"



    ถามว่าหลักปฏิบัติง่ายๆ คือ อะไร.?
    หลักการปฏิบัติตามทางของพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ มีหลักง่ายๆ 3 ประการ คือ
      1. ละเว้นอกุศล (ความไม่ฉลาด) ทางกาย วาจา ใจ
      2. หมั่นสร้างกุศล (ความฉลาด) ทางกาย วาจา ใจ
      3. ฝึกจิตให้หลุดพ้น (จากความไม่รู้สัจธรรมที่พันธนาการจิตไว้) นั่นคือมี "จิตใจให้เหนือทุกข์ทั้งปวง"


 :25: :25: :25: :25:

อนึ่งผู้เขียนใคร่อยากสรุปง่ายๆ เพื่อให้เพื่อนๆ สมาชิก "มติชน" ที่มีพุทธะอยู่ในใจกันอยู่แล้ว หรือมีบางท่านอ่านแล้วยังงงๆ ก็ขอให้ยึดหลักง่ายๆ และท่องปฏิบัติไปด้วยกันเลยโดยไม่ต้องผลัดวันประกันพรุ่ง...เพราะเริ่มได้เร็วเท่าใดยิ่งดีกับชีวิตเราเท่านั้น คือ การมี...

   "ไตรสิกขา"
     ศีล : ให้ฝึกกาย วาจา ใจ ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
     สมาธิ : ให้ฝึกความตั้งมั่นของ "ศีล" ให้เป็น "นิจ" จนเกิด "สติ" รับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง...เสมอๆ เป็น "นิจศีล" จนนิ่งระลึกรู้อยู่เสมอตลอดเวลา
     ปัญญา : ให้พิจารณาความเป็นจริง "ระลึกรู้สึกใจ" ตลอดเวลา จนกระทั่งทำลาย "อวิชชา"..."ความไม่รู้" ได้ในที่สุด นั่นคือ "จิตเรารู้แจ้งแทงตลอด เหนือทุกข์ทั้งปวง" (หาได้มีสุข มีทุกข์ไม่) นั่นคือจิตของเรามีแต่ "สะอาด สว่าง สงบ" ในที่สุด


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

หลวงปู่ "ครูบาดวงดี" ผู้มีคุณแห่งศีลอันดีงาม บอกว่า "ศีล" คือ รากแก้วของชีวิต ปฏิบัติดีจะส่งผลให้เกิดสมาธิดี ปัญญาดี จะเกิดขึ้นเองตามลำดับ (เสมือนหนึ่ง "ศีลปัญญา" เป็นสิ่งคู่กันเลยทีเดียว) โดยอัตโนมัติและขอให้ชวนกันปฏิบัติทั้งครอบครัวจะประเสริฐยิ่งนะครับ

นพ.วิชัย เทียนถาวร
อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข


ที่มา:มติชนรายวัน 17 มิ.ย.2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1434517732
ขอบคุรภาพจาก http://www.krubaduangdee.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า