ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สำนักหญิงแพศยา คือ อะไรคะ ฟังแล้วยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะ  (อ่าน 6210 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สำนักหญิงแพศยา คือ อะไรคะ ฟังแล้วยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะ พอดีรับฟังจากรายการ RDN เสียง อาจารย์กิตติวุฑโฒ คะ

  อยากทราบว่าหมายถึงอะไรคะ

  :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สำนัก อีกนัยนึง น่าจะหมายถึง  สังกัด หรือที่เรียน ที่มีการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ มีลูกศิษย์ลูกหา มีครูสอน มีประเพณีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ในระดับหนึ่ง  น่าร่วมไปถึงหมายถึง อยู่ในความปกครองของผู้นั้น มีความเคารพในผู้ปกครองนั้นๆ ด้วย
 
       ในสมัยโปราณ หญิงแพศยา หรืิอโสเภณี ก็มีโรงเรียน มีการเรียนการสอนเรื่องนี้โดยเฉพาะ  มีสถานที่อยู่เฉพาะ  จะเห็นได้จาก การเป็นตัวแทนรับแขกบ้านแขกเมืองในสมัยพุทธการ  และมีการคุ้มครองจากทางราชกาลเพราะจะมีเฉพาะกษัติย์เท่านั้น ที่เข้าถึงโสเภณีนี้ได้  และในส่วนมีประเพณีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง  จะเห็นได้จากแม่ของหมอชีวก ซึ่งนำหมอชีวกลูกชายของตัวเองไปทิ้งเพราะ ธรรมดาของหญิงโสเภณี ต้องการลูกผู้หญิงเพื่อจะได้ทำหน้าที่ต่อไปได้

  เชิงเป็นคำโปราณ ปัจจุบันไม่มีใครค่อยถือพูด ยกเว้นแต่ทางพระ หรือผู้ที่ปฏิบัติ มักจะใช้พูดคุยกัน แต่ก็มีน้อย  ตัวอย่างเช่น ถามกันว่า ท่านเป็นศิษย์สำนักไหน  ก็สามารถจะหมายความเอาได้ว่า ท่านเรียนที่ไหน  หรือท่านอยู่ในความปกครองของใครท่านไหน

ถ้าจะให้เห็นภาพได้ชัดเจน คงต้องดูจากหนังจีน ที่มีเรื่องขัดแย้งระหว่างสำนักกันมาให้ดู  คงต้องรพกวนให้คุณ THAWATCHAI173  เล่าให้ฟัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2012, 01:08:51 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตกลงสรุป ว่าคือ อะไรคะ สำนักแพศยา นี้ แล้วเกี่ยวข้องอย่างไร ต่อการปฏิบัติกรรมฐาน หรือ กับหลักธรรม ด้วยคะ

 ขอบคุณมากคะ

 สงสัยเหมือนกัน
   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

แพศยา
    [แพดสะหฺยา] น. หญิงหาเงินในทางประเวณี, หญิงถ่อย, หญิงสําส่อน. (ส. เวศฺยา; ป. เวสิยา).


ประเวณี
    น. การเสพสังวาส, การร่วมรส, ในคําว่า ร่วมประเวณี; ประเพณี เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทําร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).ก. ประพฤติผิดเมียผู้อื่น เรียกว่า ล่วงประเวณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


แพศยา  หญิงหากิจในทางกาม, หญิงหาเงินในทางร่วมประเวณี


ทีมา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เรื่องหญิงแพศยา

      [๗๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในหญิงแพศยา ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  บรรทัดที่ ๖๐๖๓ - ๖๐๘๖.  หน้าที่  ๒๓๖ - ๒๓๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=6063&Z=6086&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=48



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เรื่องนักเลงหญิง

        [๔๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกนักเลงหญิงหลายคนพากันไปเที่ยวรื่นเริงในสวน ได้ส่งชายสื่อไปในสำนักหญิงแพศยาคนหนึ่งว่า ขอให้นางมา พวกเราจักพากันเที่ยวรื่นเริงในสวนหญิงแพศยานั้นได้ตอบไปอย่างนี้ว่า ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ทราบว่า พวกท่านเป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งกายมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง ดิฉันไปไม่ได้ ครั้นแล้วชายสื่อนั้นได้แจ้งเรื่องนั้น แก่นักเลงหญิงเหล่านั้น

        เมื่อชายสื่อแจ้งอย่างนั้นแล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะนักเลงเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายพวกท่านไปอ้อนวอนหญิงแพศยานั้นทำไม ควรบอกท่านพระอุทายีมิดีหรือ ท่านพระอุทายีจักส่งมาให้เอง

        เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาสกคนหนึ่งได้กล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า คุณอย่าได้พูดอย่างนั้น การกระทำเช่นนั้นไม่สมควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ท่านพระอุทายีจักไม่ทำเช่นนั้น

        เมื่ออุบาสกนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นักเลงหญิงเหล่านั้น ได้พนันกันว่า ท่านพระอุทายีจักทำหรือไม่ทำ แล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันไปเที่ยวรื่นเริงในสวนนี้ ได้ส่งชายสื่อไปในสำนักหญิงแพศยาชื่อโน้นว่า ขอให้นางมา พวกเราจักพากันเที่ยวรื่นเริงในสวน

         นางตอบอย่างนี้ว่า ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ทราบว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งกายมาก มีเครื่องประดับเรือนมากและจะต้องไปนอกเมือง ดิฉันไปไม่ได้ ข้าแต่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าได้โปรดส่งหญิงแพศยานั้นไปให้สำเร็จประโยชน์ด้วยเถิด ขอรับ

         ลำดับนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงแพศยานั้น ครั้นแล้วได้ถามหญิงแพศยานั้นดังนี้ว่า ทำไมเธอจึงไม่ไปหาคนเหล่านี้เล่า?

         หญิงแพศยานั้นตอบว่า ดิฉันไม่ทราบว่า คนเหล่านี้เป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งตัวมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง ดิฉันไปไม่ได้เจ้าค่ะ
         อุ. จงไปหาคนเหล่านี้เถิด คนเหล่านี้ฉันรู้จัก
         ญ. ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันจะไป เจ้าค่ะ


         ครั้งนั้น นักเลงหญิงเหล่านั้น ได้พาหญิงแพศยานั้นไปเที่ยวสวน จึงอุบาสกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่งเล่า

         ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษมีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค....ฯลฯ..
         ..............................

พระอนุบัญญัติ
        ๙. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความเป็นผู้ชักสื่อ บอกความประสงค์ของบุรุษแก่สตรีก็ดี บอกความประสงค์ของสตรีแก่บุรุษก็ดี ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตาม โดยที่สุด บอกแม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส ฯ

        เรื่องนักเลงหญิง จบ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๔๖๙๗ - ๑๔๗๕๒. หน้าที่ ๕๖๔ - ๕๖๖.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=14697&Z=14752&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=
ขอบคุณภาพจาก http://www.thaifilm.com/,http://www.bloggang.com/,http://i617.photobucket.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2012, 12:54:45 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เสหิ ทาเรหิ อสนฺตุฏฺโฐ เวสิยาสุปทุสฺสติ ทุสฺสติ ปรทาเรสุ ต์ ปราภวโต มุข์
ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา
และประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
(พุทฺธ) ขุ.ส. ๒๕/๓๔๘

      ความสงบสุขเริ่มจากจุดเล็กๆคือ เริ่มจากสังคมของผู้ครองเรือนระหว่างสามีกับภรรยา ซึ่งมีอิทธิพลพอที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขหรือความทุกข์ร้อนได้เป็นเหตุ ให้ครองชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็น หรือจำต้องหย่าร้างแยกทางกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าทั้งสองฝ่ายมีคุณธรรมที่ชื่อว่า สทารสันโดษ ในจิตใจหรือไม่

     คำว่าสทารสันโดษ มิได้มุ่งถึงเฉพาะยินดีด้วยภรรยาของตนซึ่งเป็นธรรมปฏิบัติสำหรับฝ่ายชายเท่านั้น แต่ท่านหมายถึงฝ่ายหญิงด้วย คือ หมายเอาความยินดีด้วยภรรยาและสามีของตนๆนั่นเอง ที่ท่านสอนอย่างนี้เพราะต้องการให้เว้นจากหนทางแห่งความเสื่อม

     เมื่อไม่มีคุณธรรมข้อนี้แล้วนอกจากจะละเมิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารแล้ว ยังเป็นเหตุให้ถลำลงไปสู่อบายมุข คือความเป็นนักเลงหญิง หรือฝ่ายหญิงริคบชู้สู่ชายอื่นนอกจากสามีของตน อันจะทำให้ชีวิตเสื่อมโทรมยากที่จะปรุงแต่งให้คงคืนสภาพเดิม หันเข้าหาสภาวะที่จะทำให้ชีวิตปัจจุบันของเราวิบัติล่มจม คำว่าอบายมุข แปลว่าปากทางที่ตกไปสู่ความเสื่อม

     ดังนั้น เมื่อมันเพียงปากทางเราจึงมักมองไม่เห็นความเสื่อม เพราะความเสื่อมจริงๆมันเป็นปลายทาง ซึ่งเรามองไม่เห็น เพราะยังไม่ได้ตกไปถึงภูมินั้น หากพูดกันเพียงปากทาง อาจมองเห็นความเจริญด้วยซ้ำ ปากทางที่จะเข้าคุกก็เป็นถนนราบเรียบ แต่ปลายทางเป็นคุกที่ทรมาน ปากทางที่จะตกเหว ก็เป็นป่าหญ้างามดี แต่ก้นเหวลึกมากจนทำให้คนตกแล้วตายได้

    ดังนั้นผู้ปรารถนาความสงบสุขจากการครองเรือน ต้องเว้นจากอบายมุขและปฏิบัติตามหลักธรรมคือ สทารสันโดษ เพื่อเป็นเครื่องประสานความสามัคคีต่อไป


ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread32697.html
ขอบคุณภาพจาก http://anuchit.bus.ubu.ac.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ