ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ เหตปัจจัยภายนอก เหตุปัจจัยภายใน ของกรรมฐานครับ  (อ่าน 3219 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบ เหตปัจจัยภายนอก เหตุปัจจัยภายใน ของกรรมฐานครับ
อะไรเป็นเหตุปัจจัยภายนอก อะไรเป็นเหตุปัจจัยภายในครับ

ฌาน มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย
ญาณ มีอะไรเป็นเหตุปัจจัยครับ

 ได้ฟังจากรายการ RDN ครับแต่ยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ
  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เหตุปัจจัยภายนอกและภายใน ก็คือการปรุงแต่งในรูปนามขันธ์ห้า คือการปรุงแต่งอายตนะหกและขันธ์ทั้งห้ารวมคือขันธ์ห้า
 เห็นว่าไม่เที่ยง ว่าเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นอนัตตา
         เห็นธรรมภายนอกและภายใน ก็คือ ทั้งในรูปและในอารมณ์เห็นว่าเป็นแบบใดในไตรลักษณ์
            ฌาณและญาณมีเหตุปัจจัยนับเนื่องกัน เรียกว่าได้กรรมฐานสองส่วน สมบูรณได้สมถะ-และครบวิปัสสนา สมถะ ฌาณสี่ วิปัสสนาฌาณแปดถึงเนวนาสัญญายตนะ ความไม่มีอะไร
         หมุนอานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค พร้อมกสินอนุโลมปฏิโลมเข้าวัดออกวัดเข้าสะกด

        เพื่อทําฌาณโลกุตระหา ยถา กายพระพุทธเจ้า

       พระป่าเรียกว่าทําฌาณสมาบัติ

        กรรมฐานมัชฌิมาเรียกว่า สัมปยุตธาตสัมปยุตธรรม ทําปฐวีกสิน
         เพื่อเข้าสู่รูปวัตถุสิบหกญาณสติสองร้อย
         เพื่ออิทธิเจโต อิทธิคุณร้อยแปด อิทธิฤทธิ์อภิญญาสิบ
           ทุกอย่างที่ว่ามา คือกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ

            และก็ต้องว่าไปตามลําดับ
            ไม่มี ปนเป หรือแหวกแนว ตรงนั้นไม่รู้ด้วย
              ครูอาจารย์สอนไว้เท่านี้
           
       
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุพระอาจารย์ตอบได้แจ้งใจและเป็นประโยชน์มากครับ ผมขอน้อมนำไปศึกษาปฏิบัติด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคหสิตะ คือ ยังเนื่องด้วยด้วยกิเลส
เนกขัมมสิตะ คือ ออกจากกิเลส พ้นจากกิเลส

ทุกขเวทนามีอามิส    คือ การไม่ได้สิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
                           เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ แบบทางโลก จึงเกิด “เคหสิตโทมนัสเวทนา” ขึ้น
                           (เช่น ทุกข์ที่ไม่ได้ของรัก ทุกข์ที่ไม่มีคนรัก)

สุขเวทนามีอามิส     คือ การได้สิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
                          เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ แบบทางโลก จึงเกิด “ เคหสิตโสมนัสเวทนา” ขึ้น
                          (เช่น สุขที่ได้ของรัก สุขที่มีคนรัก)

อทุกขมสุขเวทนามีอามิส คือ การวางเฉย แต่ยังยึดมั่นถือมั่น เห็นว่า
                                 สิ่งทั้งหลายเที่ยง จึงเกิด “เคหสิตอุเบกขา” ขึ้น
                                 (เช่น วางเฉยต่อสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ใช่การวางเฉยด้วยปัญญา)

ทุกขเวทนาไม่มีอามิส    คือ การเห็นว่าสิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
                               แล้วเข้าไปตั้งความปรารถนาในความหลุดพ้นจึงเกิด “เนกขัมมสิตโทมนัสเวทนา” ขึ้น
                               (เช่น ทุกข์จากการคร่ำ่เคร่งปฏิบัติธรรม มีวิตก วิจารในฌาน)

สุขเวทนาไม่มีอามิส     คือ การเห็นว่าสิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
                              มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงเกิด  “เนกขัมมสิตโสมนัสเวทนา” ขึ้น
                               (เช่น สุขจากการปฏิบัติธรรม สุขในฌาน)

อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส คือ การวางเฉย เห็นว่าสิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
                                    มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงเกิด   “เนกขัมมสิตอุเบกขาขึ้น”
                                   (เช่น ความวางเฉยที่ไม่มีกิเลส ความวางเฉยในฌาน ๔)                       


ผู้ปฏิบัติธรรมควรพิจารณาเวทนาในเวทนา (สติปัฏฐาน)
อาศัย  “เนกขัมมสิตโทมนัสเวทนา” เพื่อละ  “เคหสิตโทมนัสเวทนา” 
อาศัย  “เนกขัมมสิตโสมนัสเวทนา” เพื่อละ  “เคหสิตโสมนัสเวทนา” 
อาศัย  “เนกขัมมสิตอุเบกขา”         เพื่อละ  “เคหสิตอุเบกขา”                   
อาศัย  “เนกขัมมสิตโสมนัสเวทนา” เพื่อละ  “เนกขัมมสิตโทมนัสเวทนา”     
อาศัย  “เนกขัมมสิตอุเบกขา”         เพื่อละ  “เนกขัมมสิตโสมนัสเวทนา"
อาศัย  “ความเป็นผู้ไม่มีตัณหา”  (อรหัตผล)    เพื่อละ  “เนกขัมมสิตอุเบกขา”
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เหตุปัจจัย คือ สิ่งที่นับเนื่อง ซึ่งกันและกัน เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึง เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เหตุปัจจัย ในพระอภิธรรม มีหลายละเอียดหลายประการ แต่ เหตุปัจจัยโดยรวม ก็มีอยู่ 2 ชนิด
 คือ เหตุปัจจัยที่ภายนอกประการหนึ่ง และ เหตุปัจจัยที่เป็นภายในอีกประการหนึ่ง
 เหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก อาศัยธรรม 4 อาศัยเครื่องกำหนด สติ

  ธรรม 4
 1. กาย
 2. เวทนา
 3. จิต
 4. ธรรม

  เครื่องกำหนดคือ สติ มีความเห็นธรรมเป็นที่สุด การกำหนดได้เรียกว่า มหาสติปัฏฐาน
  ในการกำหนด เหตุปัจจัย ก็ตั้งแต่
   การเห็นธรรมภายนอก
   การเห็นธรรมภายใน
   การเห็นธรรมทั้งภายในและภายนอก
   การเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก
   การเห็นธรรมคือความเสื่อมไปทั้งภายในและภายนอก
   การเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น และเสื่อมไป ทั้งภายใน และภายนอก
 
   ทั้งหมดอาศัยธรรมที่เรียกว่า เหตุปัจจัย

   ธรรมภายนอกคือ รู้ได้ จับต้องได้ ทั้งเราและคนอื่น เช่นการเดิน การกิน เราจับต้องได้ และ คนอื่นก็จับต้องได้
 
   ธรรมภายใน คือ รู้ได้ เห็นได้ เฉพาะเราเท่านั้น

 การมองเรื่องเหตุปัจจัย ถ้าทำความเข้าใจให้ชัด ก็ต้องใช้ธรรมเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ขึ้นตั้งก็จะเข้าใจมากขึ้น

 เจริญธรรม

  ;)

 

 
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ