ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:42:11 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:25:33 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:44:11 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:13:04 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:58:47 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:30:39 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 7 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:11:49 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



มหากาพย์ ‘พระแก้วมรกต’ (3) เงื่อนงำ ‘กำแพงเพชร’ ผ่าน ‘พระซุ้มกอ’

สําหรับตอนที่ 3 นี้ เส้นทางของพระแก้วมรกตได้เคลื่อนมาสู่เมืองสำคัญยิ่ง เป็นเมืองที่เชื่อมคั่นตั้งอยู่กึ่งกลางด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับล้านนา นั่นคือ “กำแพงเพชร”

ดังนั้น วิทยากรผู้ที่จะมาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นใครอื่นใดไปมิได้ นอกเสียจาก “อาจารย์สันติ อภัยราช” ครูภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรม ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้เป็นประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรหลายสมัย



อาจารย์สันติ อภัยราช ปราชญ์ใหญ่เมืองกำแพงเพชร ผู้ร่วมเปิดประเด็นเสวนาให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่างในบทความชิ้นนี้


วัดพระแก้ว VS วัดอาวาสใหญ่ : วัดใดประดิษฐานพระแก้วมรกต.?

อาจารย์สันติ อภัยราช เปิดประเด็นว่า ทุกวันนี้ชาวกำแพงเพชรมีความเชื่อเป็นกระแสหลักไปเรียบร้อยแล้วว่า “วัดพระแก้ว” ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น คือสถานที่ที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต องค์ที่เรากำลังเสวนาหาความจริงกันอยู่นี้มาก่อน

การสืบเสาะค้นหาว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานอยู่ที่ไหนในกำแพงเพชรเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2446 โดย “พระวิเชียรปราการ” ขุนนางที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ส่งไปปกครองเมืองกำแพงเพชรนั้น ได้ทำการศึกษาสำรวจวัดร้างซากโบราณสถานโบราณวัตถุต่างๆ ในเขตเมืองเก่า แล้วพยายามตั้งชื่อสถานที่นั้นๆ ให้ใกล้เคียงกับตำนาน เท่าที่ความรู้ความสามารถของปราชญ์ยุคเมื่อ 130 ปีจักทำได้ คำว่า “วัดพระแก้ว” จึงปรากฏขึ้นครั้งแรกในบันทึกของพระวิเชียรปราการ

อย่างไรก็ดี 2 ปีถัดมาคือ พ.ศ.2448 ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 สมัยที่ยังดำรงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือที่เรานิยมเรียกย่อๆ ว่า “พระยุพราช” ได้เสด็จพระดำเนินเลียบเมืองกำแพงเพชร (ในอดีตสังกัดมณฑลนครสวรรค์)

ครั้งนั้นเองทรงวินิจฉัยว่า “พระแก้วมรกต หากเคยประดิษฐานที่กำแพงเพชรจริง ก็น่าจะเป็นวัดอาวาสใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอรัญญิก”

พระวินิจฉัยนี้หนุนเนื่องมาจากช่วงที่พระยุพราชเสด็จกำแพงเพชรเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ พระองค์ท่านยังมิทันได้เห็นจุดที่เรียกว่าวัดพระแก้ว ด้วยเหตุที่อาณาบริเวณของวัดอาวาสใหญ่นั้นกว้างขวางใหญ่โตกว่าวัดอื่นๆ



วัดอาวาสใหญ่ จุดที่รัชกาลที่ 6 สมัยเป็นพระยุพราช ได้เสด็จมากำแพงเพชร แล้วทรงเห็นว่าเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุด จึงสันนิษฐานเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นวัดพระแก้ว


ครั้นอีกเพียง 1 ปีให้หลัง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2449 สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นมายังเมืองกำแพงเพชรด้วยพระองค์เองอีกครั้ง คราวนี้พระวิเชียรปราการได้ทูลเชิญล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จไปทอดพระเนตรสถานที่ที่ปัจจุบันเรียกกันว่าวัดพระแก้ว

รัชกาลที่ 5 ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุประพาสต้นครั้งที่ 2 ว่า “ถ้าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่กำแพงเพชรจริง ก็น่าจะเป็นวัดแห่งนี้แน่ๆ”

การที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยเช่นนี้ก็เนื่องมาจากทรงทอดพระเนตรเห็นพระเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับพระวิหาร ทรงตรัสชมว่า เป็นเจดีย์ที่งดงามมาก เมื่อก้มลงมองฐานเจดีย์ พบปูนปั้นรูปสิงห์แบก (จมอยู่ใต้ชั้นดิน ครั้นเมื่อทำการขุดค้นทางโบราณคดีจึงพบพระพิมพ์รูปสิงห์แบกที่ฐานพระพุทธรูปอีกเป็นจำนวนมาก)



วัดพระแก้ว ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จุดที่พระวิเชียรปราการทูลเสนอต่อรัชกาลที่ 5 ว่าน่าจะเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตมากกว่าวัดอาวาสใหญ่


การพบรูปสิงห์ที่ล้อมฐานเจดีย์นี้เองยิ่งทำให้ปราชญ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ว่าสมเด็จพระน้องยาเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระน้องยาเธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ต่างเห็นคล้อยว่า วัดแห่งนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับ “พระแก้ว-พระสิงห์” หรือ พระแก้วมรกตกับพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพระคู่กัน มีตำนานใกล้เคียงกัน เป็นแน่แท้ ควรเชื่อได้ว่าที่นี่น่าจะเป็น “วัดพระแก้ว” มากกว่าบริเวณวัดอาวาสใหญ่

เหนือสิ่งอื่นใด ในส่วนท้ายที่ต่อเชื่อมกับเจดีย์ยังมี “มณฑป” ขนาดใหญ่ตั้งอยู่อีกด้วย สะท้อนว่าครั้งหนึ่งต้องเคยมีการประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญยิ่งอย่างแน่นอน ทำให้ทุกวันนี้ชาวกำแพงเพชรเรียกที่นี่ว่า “มณฑปพระแก้วมรกต”

ในความเป็นจริง พระแก้วมรกตจักเคยประทับในกำแพงเพชรหรือไม่ และหากเคยประทับจริง สถานที่แห่งนั้นควรอยู่ที่ไหน ยังไม่มีใครทราบข้อเท็จจริงได้ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือข้อสันนิษฐานจากรุ่นสู่รุ่น



เจดีย์ทรงระฆังแบบลังกาขนาดใหญ่ ณ วัดพระแก้ว กำแพงเพชร


เชื่อตำนานเล่มไหนดี จะให้กำแพงเพชรเป็น “ฮีโร่” หรือ “ผู้ร้าย”.?

ในส่วนความเกี่ยวข้องระหว่างเมือง “กำแพงเพชร” กับ “พระแก้วมรกต” ที่ปรากฏในตำนานล้านนาสองฉบับนั้น อาจารย์สันติ อภัยราช กล่าวว่า น่าแปลกทีเดียว แม้นตำนานทั้งสองเล่มจักเขียนขึ้นในเมืองเหนือเหมือนกัน และแต่งโดยพระภิกษุในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ไฉนเลยตำนานทั้งสองฉบับกลับให้ข้อมูลต่างกันราวฟ้ากับเหว

รัตนพิมพวงศ์ กล่าวว่า ขณะที่พระแก้วมรกตประทับอยู่ที่กรุงอโยธยา/อโยฌปุระนั้น (หมายเหตุ อาจารย์สันติก็ตั้งข้อสังเกตเหมือนกับ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ว่าดูจากศักราชและปูมแวดล้อมแล้ว ย่อมไม่ใช่กรุงศรีอยุธยาอย่างแน่นอน เพราะช่วงนั้นน่าจะอยู่ในรอบพุทธศตวรรษที่ 16-17 กรุงศรีอยุธยายังไม่ได้สร้าง และกำแพงเพชรก็ยังไม่เกิด) น่าสนใจว่าตำนานเรียกเมืองแห่งนี้ว่า “วชิรปราการ” แล้ววงเล็บสำทับว่า “กำแพงเพชร”

รัตนพิมพวงศ์ระบุว่าวชิรปราการเป็นเมืองใหญ่ สามารถกรีธาทัพไปยังอโยธยาในทำนองประกาศแสนยานุภาพถึงความเกรียงไกร จนเจ้าเมืองอโยธยายอมยกพระแก้วมรกตให้โดยดี

ความที่เจ้าเมืองวชิรปราการมีพระโอรสองค์หนึ่งปกครองเมืองละโว้อยู่ (น่าคิดไม่น้อย หากเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องจริง สะท้อนว่ากำแพงเพชรค่อยๆ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขนาดส่งโอรสไปนั่งเมืองใหญ่อย่างละโว้ได้) พระโอรสได้ทูลขอยืมพระแก้วมรกตไปเป็นขวัญแก่พระนครชั่วคราวด้วย

สรุปว่า พระแก้วมรกตประทับ ณ กรุงละโว้ประมาณ 1 ปีเศษๆ เจ้าเมืองวชิรปราการได้ขอคืนกลับมา จากนั้นพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่เมืองกำแพงเพชรนานนับร้อยปี

จนกระทั่ง “ท้าวมหาพรหม” จากเชียงรายได้ยกกองทัพถึง 80,000 นายมาข่มขู่กดดันให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรต้องยกพระแก้วมรกตให้ (ซ้ำรอยเดิมกับตอนที่กำแพงเพชรยกทัพไปประกาศศักดานุภาพที่อโยธยา โดยเหตุการณ์ทั้งสองครั้งนี้ไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ) กำแพงเพชรจำต้องยอมยกพระแก้วมรกตให้เชียงรายไป



ฐานเจดีย์วัดพระแก้ว เคยมีรูปสิงห์แบกโดยรอบ (ปัจจุบันมีแต่ช้างแบก) ทำให้ปราชญ์ยุค 130 ปีก่อนเชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับ “พระสิงห์” หรือพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งคู่กับพระแก้วมรกต


ทฤษฎีของรัตนพิมพวงศ์นี้ อาจารย์สันติ อภัยราช มองว่าเป็นการเขียนแบบให้เกียรติเมืองกำแพงเพชร คือตอนที่เราได้พระแก้วมรกตมา ก็ไปเอามาอย่างผู้มีอำนาจเหนือกว่าแว่นแคว้นที่เริ่มอ่อนแอ และเมื่อพระแก้วมรกตจะต้องจากไป ก็เป็นเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิมคือผู้มีอำนาจเหนือกว่าเราก็ใช้วิธีเดียวกัน คือดูแล้วค่อนข้างสมน้ำสมเนื้อ

เมื่อหันมามองชินกาลมาลีปกรณ์ กลับให้ข้อมูลแปลกๆ พิลึกพิลั่น คือกล่าวถึงคนที่ชื่อ “ติปัญญามหาเถร” (บ้างเรียกติยะอำมาตย์) ถูกส่งจากอโยธยามาครองกำแพงเพชร (เข้าใจว่า “อโยธยา” ในที่นี้ หมายถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว) ในช่วง พ.ศ.1900 กว่าๆ

ติปัญญามีแม่เป็นสนมคนโปรดของกษัตริย์อโยธยานาม “ขุนหลวงพ่องั่ว” (พะงั่ว) ติปัญญาอยากได้พระแก้วมรกตมาครอง ขอให้แม่ใช้กลอุบายลวงขอพระแก้วมรกตจากขุนหลวงพะงั่วในฐานะที่หลงใหลในเสน่ห์ของนางอย่างเนียนๆ ชนิดที่ว่าอย่าให้พระองค์รู้ตัวเป็นอันขาด

แม่ของติปัญญายอมเสี่ยง ทำทีทำท่าว่าอยากได้พระปฏิมาสักองค์ไว้บูชา ขุนหลวงพะงั่วยินดีแบ่งให้ โดยบอกว่าให้นางไปเลือกเอาเองว่าต้องการองค์ไหน นางจึงไปติดสินบนพนักงานหอพระว่าช่วยเอาดอกไม้ไปวางหน้าพระแก้วมรกตให้หน่อย ตอนนางเลือกจะได้รู้ว่าองค์ไหน ในที่สุดก็พาพระแก้วมรกตองค์จริงหนีไปให้โอรสที่กำแพงเพชร

ตำนานหน้านี้อาจารย์สันติบอกว่า เหมือนกันมากราว “แพะกับแกะ” เมื่อเทียบกับตำนานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งหากยึดตามทฤษฎีต้องถือว่ากำแพงเพชรเสียเครดิตพอสมควร ที่ใช้เล่ห์เพทุบายอันไม่ค่อยสุจริตนัก เพื่อให้ได้มาซึ่งพระแก้วมรกต (รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์)

อย่างไรก็ดี หากดูไทม์ไลน์ตามท้องเรื่องของชินกาลมาลีปกรณ์แล้ว พบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เริ่มใกล้ตัว ติปัญญาเป็นบุคคลร่วมสมัยกับขุนหลวงพะงั่วและท้าวมหาพรหม ซึ่งช่วงนี้มีการสร้างเมืองกำแพงเพชรแล้ว (ในขณะที่เนื้อหาของรัตนพิมพวงศ์ กำหนดท้องเรื่องเก่าเกินไป คือยุคอโยฌปุระ ยุคละโว้ยังเรืองอำนาจ ซึ่งกำแพงเพชรยังไม่ได้เกรียงไกรขนาดนั้น)

ด้วยเหตุที่ตำนานสองฉบับซึ่งเขียนขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน บนแผ่นดินเดียวกันยังตีกันให้สับสนถึงขนาดนี้ น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงไม่เชื่อเหตุการณ์อันโกลาหลช่วงนี้เลย ทรงข้ามไปมองว่า พระแก้วมรกตควรจะเริ่มต้นที่เชียงรายมากกว่ากระมัง



พระกำแพงเพชรซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ภาพจากไฟล์เพาเวอร์พอยต์บรรยายของคุณ “น้อย ไอยรา” (อาจารย์นิพนธ์ สุขสมมโนกุล)


พิมพ์ทรงพระซุ้มกอกับพระแก้วมรกต

กรณีพิมพ์ทรงด้านพุทธศิลป์ของพระแก้วมรกตที่นักวิชาการมองว่าเหมือนกับพระพุทธรูปเชียงแสน-พะเยานั้น อาจารย์สันติ อภัยราช เสนออีกแนวทางว่า “โปรดอย่าได้มองข้ามรูปแบบพระซุ้มกอกำแพงเพชรโดยเด็ดขาด” ซึ่งพระซุ้มกอนี้ขุดพบครั้งแรกในกรุพระธาตุนครชุม ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง กำหนดอายุราวสมัยพระญาลิไท?

พระพักตร์กลม พระวรกายอวบอ้วน พระเศียรเกลี้ยงไม่แสดงเม็ดพระศก พระเมาลีต่ำเป็นกรวยสามเหลี่ยมคล้ายกลีบบัว ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศอเป็นปล้อง นั่งขัดสมาธิราบแบบลังกา เอาพระหัตถ์ทั้งสองประสานที่หน้าตักในปางสมาธิ

ทั้งหมดนี้คือพุทธลักณะของพระพิมพ์กำแพงเพชรซุ้มกอ และพระแก้วมรกต! เหมือนกันโดยบังเอิญหรือเช่นไร?



เปรียบเทียบพุทธศิลป์ของพระแก้วมรกตกับพระซุ้มกอกำแพงเพชร พบว่าคล้ายคลึงกันมาก


เราควรตั้งคำถามว่า หากกำแพงเพชรไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับพระแก้วมรกต (รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์) แล้วไซร้ ไฉนตำนานต้องลากให้ท้าวมหาพรหมจากเชียงราย ลงมาพันพัวเอาพระแก้วมรกตจากที่นี่ไปอวดอ้างต่อชาวเชียงใหม่ด้วยเล่า ซ้ำเมื่อเอาไปแล้ว กลับกลายเป็นว่า “เสียของ” เข้าไปอีก

คือแทนที่จะให้ประชาชนเชียงใหม่-เชียงรายได้กราบไหว้ อย่างออกหน้าออกตา กลับกลัวหาย ต้องเอาไปหลบซ่อนไปพอกปูนจนตัวเองก็สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระแก้วมรกตจักหวนกลับมาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอีกครั้ง

เงื่อนงำของตำนานหน้านี้ต้องช่วยกันถอดรหัสขบคิดวิเคราะห์กันอีกให้มาก อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเหตุการณ์จริงที่เกี่ยวกับพระแก้วมรกตทั้งหมดจักต้องเริ่มต้นที่เชียงรายเท่านั้น •


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2567
คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_757564

 8 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:48:17 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.
มหากาพย์ ‘พระแก้วมรกต’ (2) รอยต่อระหว่างตำนานกับประวัติศาสตร์






ในตำนานมีประวัติศาสตร์ ในประวัติศาสตร์มีตำนาน

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ได้อธิบายถึงเรื่องเส้นทางของ “พระแก้วอมรโกฏ” (พระแก้วมรกต) จากปาฏลีบุตรสู่สยาม ต่อไปว่า

มีทั้งการนำ “เรื่องจริง” เหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์ มาผสมปนเปกับ “เรื่องเล่า” หรือตำนาน ที่กระโดดไปมา ต่างยุคต่างสมัยกัน ตลอดทั้งเรื่อง

จากตอนที่ 1 เราค้างถึงเหตุการณ์ที่ “พระนาคเสน” ได้บูชาพระแก้วมรกต จนกระทั่งเข้านิพพานไปแล้ว

ต่อมาพระแก้วมรกตได้รับการอัญเชิญให้ไปประดิษฐาน ณ เกาะลังกาประมาณ พ.ศ.800 ตำนานระบุชื่อพญามหากษัตริย์ของอินเดีย 3 องค์สุดท้ายในช่วงกลียุคและมหากลียุค ผู้ไม่สามารถรักษาพระแก้วมรกตไว้ได้

อันนามเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริง (ชินกาลมาลีปกรณ์ใช้ชื่อว่า พระเจ้าพันธุ พระเจ้ากลันธรรม และพระเจ้าสิริธรรมกิตติ ในขณะที่รัตนพิมพวงศ์ใช้ชื่อ บัณฑุราช ตักกลาธรรม และศิริธรรมกิตติราช) หรือหากมีชื่อที่พอจะเทียบเคียงกับประวัติศาสตร์จริงได้อยู่บ้าง ก็ถือว่าไม่ได้เรียงลำดับรัชกาลตามนี้ ทั้งศักราชก็คลาดเคลื่อน

ในที่สุดได้มีผู้นำเอาพระรัตนปฏิมาหนีไปอยู่เกาะลังกา หรือลังกาทวีป ดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญขึ้นแทนชมพูทวีปตามคำนาย



นัตของชาวพม่า ในรูปแบบที่เชื่อว่าเป็นดวงวิญญาณของพระเจ้าอนิรุทธมหาราช


เพิ่มอิทธิฤทธิ์ด้วยยี่ห้อ “อนิรุทธ” บลั๊ฟฟ์ “สูริยวรมันที่ 2” ไม่ทศพิธราชธรรม

พระแก้วมรกตอยู่ที่เกาะลังกาได้สักระยะ มีกษัตริย์ชื่อ อนิรุทธ หรือ อนุรุทธราช เสวยราชย์ในเมือง “มลานปุระ” แต่ชินกาลมาลีปกรณ์เรียก “อริมัททนะ” (ทั้งสองชื่อหมายถึงพุกาม) โดยระบุว่าตรงกับปี พ.ศ.1200 ในขณะที่รัตนพิมพวงศ์ให้ศักราชเก่ากว่านั้นอีก ตรงกับปี พ.ศ.1000

พระเจ้าอนิรุทธตั้งใจนั่งเรือสำเภามาขอ “พระไตรปิฎก” จากลังกา ลังกาเห็นว่ากองทัพของอนิรุทธนั้นเกรียงไกรนัก จึงยอมให้พระไตรปิฎกไป แถมอนิรุทธเมื่อทราบว่าลังกามีพระแก้วมรกตจึงรวบอัญเชิญพระรัตนปฏิมาไปอีกด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าอนิรุทธมหาราช เป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่มีตัวตนอยู่จริงในสมัยพุกาม แต่ตรงกับ พ.ศ.1500-1600 และในความเป็นจริงนั้น พระองค์จะยกทัพไปลังกาจริงหรือไม่ ก็ยังไม่มีความแน่ชัด ยุคของพระองค์กำลังก่อสร้างอาณาจักรพุกาม ตามหลักฐานมีการยกทัพไปขอพระไตรปิฎกจากเมืองสะเทิม (สิริธรรมนคร) จากชาวมอญนี่แน่นอน

ทำให้เข้าใจได้ว่า ชินกาลมาลปกรณ์และรัตนพิมพวงศ์ ได้นำชื่อของพระเจ้าอนิรุทธมหาราช เข้ามาเกี่ยวข้องก็เพื่อช่วยเสริมบารมีของพระแก้วมรกตให้ทรงอิทธิฤทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก เพียงแต่ว่าผู้เขียนอาจไม่มีความแม่นยำทางประวัติศาสตร์ของเพื่อนบ้าน จึงระบุให้อนิรุทธเป็นโอรสของพระเจ้าสิริธรรมราช ทั้งๆ ที่พระเจ้าสิริธรรมราชนั้นเป็นชาวมอญ ปกครองเมืองสิริธรรมนคร (สะเทิม) เมืองที่อนิรุทธยกทัพมาตีเพื่อขอพระไตรปิฎก

ตำนานกล่าวต่อไปว่า เมื่ออนิรุทธได้พระรัตนปฏิมาจากลังกาไปแล้ว แต่เรือสำเภากลับแตก ทั้งพระแก้วมรกตและพระไตรปิฎกพลัดหลงขึ้นไปยังฝั่งชายหาดแห่งหนึ่งของเมืองที่ชื่อ “มหานคร” แห่ง “กัมโพชทวีป” บ้างเรียก “นครอินทปัตถ์”

เมื่อเราเห็นชื่อเมืองเหล่านี้ ไม่ว่าจะใช้คำใด คงพอจะเดาออกว่า ตำนานต้องการสื่อถึงเมืองสำคัญยิ่งคือ เมืองพระนคร Angkor Thom ในกัมพูชา เพิ่มความเข้มข้นของตำนานให้ขลังยิ่งขึ้นไปอีก

แต่น่าแปลก หลังจากที่พระเจ้าอนิรุทธยกพลขึ้นบกที่เมืองมหานครได้แล้ว แทนที่จะเอาทั้งพระแก้วมรกตและพระไตรปิฎกซึ่งอุตส่าห์บากบั่นไปแย่งมาชิงมาจากลังกาได้ เอากลับคืนกรุงอริมัททนา (พุกาม) ไว้ทั้งหมด

กลับกลายเป็นว่า พระเจ้าอนิรุทธพอใจที่จะขนเอาแค่พระไตรปิฎกลงสำเภาอย่างเดียวเท่านั้น ทิ้งพระแก้วมรกตไว้ที่กัมโพชนคร

น่าสนใจทีเดียวที่บทบาทของพระเจ้าอนิรุทธช่วงนี้ตั้งใจ “ลืมพระแก้วมรกต” ให้ตกค้างอยู่ที่กัมโพช

ซ้ำร้ายฉากนี้ยังวาดให้ “พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์” กษัตริย์แห่งกัมโพช ไม่มีทศพิธราชธรรมเข้าไปอีก เหตุที่ไปสั่งประหารเด็กเล็กๆ ลูกของปุโรหิต ด้วยเหตุผลเพียงแค่เด็กสองคนทะเลาะกันเรื่องเอาสัตว์เลี้ยง (พวกแมลงวันหัวเขียว แมลงวันหัวเสือ) มาชนแข่งกัน แล้วแมลงวันของลูกพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์แพ้แก่แมลงวันของลูกปุโรหิต

ตำนานเล่าเหตุการณ์ว่าเกิดอาเพศ น้ำท่วมทะเลสาบเมืองกัมโพชมหานคร แต่โชคดีที่มีพระภิกษุรูปหนึ่งทันเห็นเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากลตั้งแต่กษัตริย์สั่งประหารเด็กเล็กๆ ด้วยเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง เกิดไหวตัวทัน รีบเอาพระแก้วไปลอยน้ำ ทำให้พระรัตนปฏิมาไม่จมหายไปในทะเลสาบ

เรื่องราวช่วงแรกนี้พระแก้วมรกตยังไม่เข้ามาสู่สยามประเทศ เห็นได้ว่าผู้รจนาตำนานตั้งใจหยิบยกเอาเหตุการณ์บ้านเมืองในรัฐจารีต 4 รัฐอันยิ่งใหญ่ หรือในตำนานใช้คำว่า “ทวีป” คือชมพูทวีป ลังกาทวีป อริมัททนะทวีป กัมโพชทวีป มารองรับความสำคัญของพระแก้วมรกตว่าเป็นของสูงของสำคัญ จนเกิดการช่วงชิงกันไปมาระหว่างรัฐต่อรัฐ

หรือมาตรแม้นว่ารัฐไหนหรือทวีปใดได้ครอบครองไปแล้ว หากผู้ปกครองบ้านเมืองไม่อยู่ในศีลในธรรม พระแก้วมรกตก็จักอันตรธานหายไปจากทวีปนั้นๆ ไม่ด้วยวิธีใดก็วิธีหนึ่ง เช่น ไม่สำเภาแตกก็น้ำท่วมเมือง



รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยากรท่านแรกที่เปิดประเด็นเรื่องพระแก้วมรกต ในรายการคลับเฮาส์


ปริศนาอาทิตยราช VS กรุงอโยฌปุระ

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวต่อไปว่า เหตุการณ์หลังจากนี้ จะเริ่มเข้าสู่โหมดการเดินทางของพระแก้วมรกตในดินแดนสยามแบบเต็มๆ แล้ว (หมายเหตุ สยามคำนี้ควบรวมรัฐโยนกตอนเหนือด้วย) อีกทั้งตัวละครต่างๆ ก็เป็นบุคคลจริงทางประวัติศาสตร์ แต่ผู้เขียนตำนานอาจผูกเรื่องแบบผิดฝาผิดตัวไปบ้าง

หลังจากนครอินทปัตถ์ล่มจมใต้ทะเลสาบเพราะพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ (ตั้งใจจะสื่อถึง สูริยวรมันที่ 2) ลงโทษผู้บริสุทธิ์ไปแล้ว ในช่วงเวลานั้น มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งชื่อ “พระญาอาทิตยราช” ครองราชย์ ณ กรุงอโยฌยา (อโยฌปุระ) ได้เดินทางมายังมหานคร เป็นผู้มีบุญญาธิการสามารถครอบครองพระแก้วมรกตได้ และนำไปไว้ในกรุงอโยฌปุระ

คำว่า “อโยฌปุระ” หรือ “อโยธยา” ทันทีที่ทุกคนได้ยินชื่อนี้ปั๊บ มักปิดตานึกถึง กรุงศรีอยุธยาช่วงต้นๆ ในยุครอยต่อตอนปลายของรัฐรัฐละโว้ รัฐสุพรรณภูมิที่กำลังล่มสลายแล้วกำลังจะเริ่มก่อเกิดกรุงศรีอยุธยา ซึ่งช่วงนั้นเรียกกันว่า อโยธยา

ทว่า คำว่า “อโยฌปุระ” หรือ “อโยธยา” ในตำนานกลับมีนัยยะซับซ้อนมากกว่านั้น มิได้หมายถึงแค่ช่วงต้นของกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใดเลย

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ฝากให้พินิจพิเคราะห์ว่า ชื่อกษัตริย์ “อาทิตยราช” นั้น เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงของนครรัฐหริภุญไชย มีอายุร่วมสมัยไล่เลี่ยกับพระเจ้าอนิรุทธแห่งพุกาม และพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 แห่ง Angkor Thom

ดังนั้น ตำนานน่าจะมีความคลาดเคลื่อนในการประพันธ์ ไปเอาชื่ออโยธยาเข้ามาใส่ให้แก่กษัตริย์ผู้มีอำนาจเกรียงไกรอย่างสูงสุดในแว่นแคว้นเมืองเหนือ ซึ่งพระญาอาทิตยราชนี้ก็เคยกรีธาทัพลงมาสู้รบกับรัฐละโว้ (ลพบุรี) หลายครั้งอีกด้วย

การเขียนตำนานแบบผิดฝาผิดตัวในช่วงนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ อธิบายว่า อย่าว่าแต่ยุคสมัยของเราเลยที่อ่านแล้วสับสน แม้แต่ผู้ปริวรรตตำนานรัตนพิมพวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ พระธรรมปรีชา (แก้ว) เอง ก็ไม่ทราบว่าจะหาคำอธิบายให้คนอ่านเข้าใจอย่างไรดีต่อข้อความในตำนานช่วงนี้

ได้แต่ทำคำขยายเพิ่มว่า “พระเจ้าอาทิตยราช คือผู้ครองแว่นแคว้นแดนสยามประเทศฝ่ายเหนือ ซึ่งเมืองโบราณนั้นเรียกว่า กรุงอโยธยา แต่จักตั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งใดนั้น ยังมิอาจทราบชัดถนัดแน่”

เห็นได้ว่าปราชญ์รัตนโกสินทร์ ช่วงที่ต้องจัดทำคำอรรถาธิบายเกี่ยวกับความย้อนแย้งของกษัตริย์ที่ชื่อ “อาทิตยราช” (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-ต้น 17) กับการที่พระองค์ครองเมืองอโยธยา (เป็นที่รับรู้กันว่า เมืองนี้หมายถึงกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีขึ้นไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 19) ปราชญ์ยุคต้นรัตนโกสินทร์ก็ทำได้เพียงแค่

“ปฏิเสธเช่นกัน ว่าอโยธยาในตำนานพระแก้วมรกตมิใช่กรุงศรีอยุธยาตามที่เรารู้จัก แต่ต้องเป็นเมืองที่อยู่หนไหนสักแห่งในภาคเหนือ”



ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนขึ้นก่อน รัตนพิมพวงศ์


พระแก้วมรกต-พระพุทธสิหิงค์ เริ่มมาบรรจบกันที่กำแพงเพชร

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐาน ณ กรุงอโยฌยาช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ชินกาลมาลีปกรณ์ระบุว่า “พระเจ้าติปัญญา” แห่งกำแพงเพชร (ในรัตนพิมพวงศ์ใช้ชื่อว่า “ภูบดี” เสวยราชย์ในวชิรปราการปุระ)

เมื่อทราบถึงเดชานุภาพของพระรัตนปฏิมา ได้เดินทางมาเอาพระแก้วอมรโกฏนั้นไปจากอโยฌยา โดยไม่ได้บอกเหตุผลว่าทำไมจึงสามารถเอาไปได้โดยง่าย?

หลังจากกำแพงเพชร (ซึ่งเป็นรอยต่อของรัฐสุโขทัยแห่งลุ่มน้ำปิง) แล้ว พระแก้วมรกตได้ถูกอัญเชิญขึ้นไปยังนครเชียงราย โดย “ท้าวมหาพรหม” พระอนุชาของกษัตริย์กือนา ทั้งสองพี่น้องเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์

และท้าวมหาพรหมท่านนี้เอง เป็นคนเดียวกันกับที่อัญเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” จากกำแพงเพชรขึ้นสู่ดินแดนโยนกล้านนาเป็นครั้งแรกอีกด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ตั้งข้อสังเกตว่า ชื่อของ “เจ้าติปัญญา” แห่งกำแพงเพชรคนเดียวกันนี้ ยังได้ไปปรากฏซ้ำ แบบสอดคล้องกันกับตำนานพระพุทธสิหิงค์

อาจารย์รุ่งโรจน์จึงสรุปว่า นับแต่เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในเชียงรายเป็นต้นไปนับต่อจากนี้ เริ่มน่าจะมีเค้าโครงจริงทางประวัติศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว เพราะพระแก้วมรกตสร้างขึ้นในล้านนานี่เอง

ทว่า เรื่องเล่าก่อนหน้านั้นทั้งหมด เป็นการรวบรวมเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของบุคคลผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ของรัฐเพื่อนบ้าน มาเชื่อมโยงให้มีสีสันจนดูเสมือนจริง เพื่อให้พระแก้วมรกตมีความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้นนั่นเอง •


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22 - 28 มีนาคม 2567
คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_755984

 9 
 เมื่อ: เมษายน 15, 2024, 09:31:53 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 10 
 เมื่อ: เมษายน 15, 2024, 07:20:57 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

หน้า: [1] 2 3 ... 10