ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จุฬาฯโต้เป็นไปไม่ได้กรุงเทพฯจมบาดาล  (อ่าน 2176 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


วานนี้ ( 20 ธ.ค.)นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นว่า เราเตรียมแผนงาน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผ่นดินไหว หรือสึนามิ รวมทั้งได้มีการซ้อมรับมือตลอดเวลากับสถานการณ์ในพื้นที่ที่วิตกว่าอาจจะ เกิดเหตุขึ้น ถามว่ามั่นใจกับทุ่นเตือนภัยที่ปล่อยลงทะเลมากน้อยแค่ไหน นายสุเทพ กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานก็ช่วยได้มากในการเตือนให้เราได้รู้ก่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะได้มาบอกกับประชาชนในพื้นที่ที่อาจจะมีอันตรายได้ อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งไปกังวลใจอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ แต่เจ้าหน้าที่ก็ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ถามถึงกรณีที่ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรคนไทยที่ทำงานในองค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา ออกมาเตือนให้ระวังภัยพิบัติครั้งใหญ่ ขณะนี้มีปัจจัยที่จะเกิดเหตุเช่นนั้นหรือไม่  นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุอย่างนั้น

ด้านนาวาอากาศเอกสมศักดิ์  ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า หลังจากศูนย์เตือนภัยฯปล่อยเรือซีฟเดค ปฏิบัติการติดตั้งทุ่นลอยน้ำลึกตรวจคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน จำนวน 2 ทุ่น เมื่อที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ห้องปฏิบัติการศูนย์เตือนภัยฯ ได้รับสัญญาณจากทุ่นลอยน้ำลึกตรวจคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันทั้ง 2 ทุ่นเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำหรับสัญญาณที่ได้รับจากการทำงานของทุ่นทั้ง 2 ทุ่น เป็นสัญญาณที่บอกความลึกของท้องทะเลที่ติดตั้งทุ่น และค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเล รวมทั้งระบบการทำงานของตัวทุ่นเองซึ่งเป็นไปตามขอบเขตที่ศูนย์เตือนภัยฯ วางแนวทางไว้ ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะแจ้งให้ประชาชนทราบภายใน 15 นาที เมื่อทุ่นพบการเกิดสึนามิในทะเล ทำให้ประชาชนมีเวลาหนีเป็นชั่วโมง ขอให้ประชาชนสบายใจ-มั่นใจในระบบเตือนภัยของภาครัฐ

นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร โฆษกกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยผลการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า นายสัญญา ชีนิมิตร  ผอ.สำนักการระบายน้ำ(สนน.)ชี้แจงในที่ประชุมกรณีนักวิชาการภาคส่วนต่างๆ ออกมาคาดการณ์ว่าอีกไม่เกิน 10 ปีนับจากนี้กรุงเทพฯ ต้องเจอกับสภาพน้ำท่วม โดย สนน.รายงานว่าตัวเลขที่นักวิชาการนำมาใช้นั้นเป็นการคาดการณ์ที่รุนแรงเกิน จริง ทั้งเรื่องของปริมาณน้ำฝนที่อ้างว่าจะเพิ่มขึ้น 15 % ในขณะที่ผลการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์และการปรับตัวของ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)นั้น ระบุว่าปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นแค่ 3 % ส่วนระดับน้ำทะเลที่อ้างว่าจะสูงขึ้น 13 ม.ม./ปีนั้น ก็มีข้อมูลว่าจะเพิ่มสูงขึ้น 8 ม.ม./ปี

นอกจากนี้ผลการวิจัยของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ  เรื่องสภาวะโลกร้อนกับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในน่านน้ำไทย อ้างอิงข้อมูลย้อนหลัง 67 ปี ปรากฏว่าค่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั้งฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยปี พ.ศ.2483 – 2550 ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยไม่ได้สูงขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการทรุดตัวของแผ่นดินใน กทม.ปีละ 4 ม.ม.ตามที่ได้มีการคาดการณ์นั้นมีความเป็นไปได้ ซึ่งขณะนี้ กทม.พยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น และลดการใช้น้ำบาดาล ทั้งนี้ กทม.ได้นำสถิติที่น่ากลัวที่สุดจากทั้ง 3 หน่วยงานมาประมวล โดยจากนี้ไป กทม.จะมีการหารือในเรื่องการปรับใช้ผังเมืองรวมมากขึ้น ทั้งกรณีที่มีผู้สร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำแม่น้ำลำคลองและพื้นที่รับน้ำต่างๆ ก็จะต้องเข้มงวดมากขึ้นด้วย

ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนา “เจาะลูกข้อมูลวิชาการด้านพิบัติภัยกับข่าวสารที่ประชาชนควรได้รับรู้อย่าง ถูกต้อง” โดย ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์  กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีข่าวสารเกี่ยวกับไทยจะประสบภัยพิบัติออกมาหลายครั้ง ซึ่งเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากหลักวิชาการ ส่งผลให้ประชาชนตื่นตระหนก และเกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมตามมา การจัดเสวนาครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยนักวิชาการและผู้ เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เรื่องน้ำจะท่วมกรุงเทพฯจนถึงภาคกลาง จากภาวะโลกร้อนและน้ำแข็งขั้วโลกละลายนั้นคงเป็นเรื่องที่อ้างอิงจากข้อมูล ที่ไม่ถูกต้อง  เพราะปัจจุบันน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น จากการละลายของน้ำแข็งเฉลี่ยทั่วโลกเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น

ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากที่ได้ทำวิจัยในเรื่องนี้มากว่า 10 ปี โดยใช้สมมุติฐานระบบและเครื่องมือการป้องกันของไทยยังเป็นแบบในปัจจุบันพบ ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้าน้ำทะเลจะกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาเพียง 1.3 กิโลเมตร และ 50 ปี จะเข้ามาประมาณ 2.3 กิโลเมตร หรือกินพื้นที่ 1 แสนไร่ ส่วนอีก 100 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 6-8 กิโลเมตร หรือประมาณ 2 แสนไร่ โดยมี 5 จังหวัดที่รับผลกระทบ คือ ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร การที่จะน้ำทะเลจะเพิ่มสูง 6-7 เมตร จนท่วมถึง สิงห์บุรี อ่างทอง จึงเป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก และไม่เกิดขึ้นในเวลาเร็วๆนี้แน่นอน

ดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้ว อาจารญ์ภาควิชาธรณีวิทยา กล่าวว่า ในส่วนของการเกิดสึนามิในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน เป็นเรื่องที่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เพราะมีปัจจัยจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในบริเวณรอยเลื่อนของเปลือกโลกแถบเกาะ นิโคบาร์เหมือนปี 2547 จนที่เกิดสึนามิมีโอกาสน้อยมาก เพราะพลังงานบริเวณนั้นได้ถูกปลดปล่อยไปแล้วและต้องใช้เวลาในการสะสมใหม่ไม่ น้อยกว่า 100 ปี จึงจะเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ริกเตอร์ขึ้นไปได้อีก

ด้าน ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า เรื่องพายุสุริยะที่จะส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว และสึนามิเป็นการอ้างข้อมูลในเว็บไซต์ที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเกิดแผ่นดินไหมีสาเหตุจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะลมบริเวณรอยเลื่อน เปลือกโลก หากไหวรุนแรงจึงมีโอกาสเกิดสึนามิ ส่วนเรื่องสนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกๆ 11 ปีอยู่แล้ว

ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=111122
บันทึกการเข้า