ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบว่า พระที่ไม่ได้รับกฐิน กับ พระที่ได้รับกฐิน ความเป็นพระต่างกันหรือไม่  (อ่าน 5333 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nippan55

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบว่า พระที่ไม่ได้รับกฐิน กับ พระที่ได้รับกฐิน ความเป็นพระต่างกันหรือไม่

 ได้เห็นพระป่า หลายรูป ท่านอยู่องค์เดียว ไม่มีกฐิน
   อย่างนี้ท่านเป็นพระสมบูรณ์ หรือไม่ครับ

 ส่วนพระเมือง พระวัด ไม่น่าแปลกใจเพราะมีแทบทุกวัด อันนี้เป็นพระสมบูรณ์ใช่หรือไม่ครับ

  :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กฐิน กับ ความเป็นพระ น่าจะเป็นคนละเรื่อง นะครับ

  ความเป็นพระ อยู่ที่สงฆ์ สวดยกฐานะ ด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา และ ทรงไว้ซึ่งวินัย

 ส่วนกฐิน นั้นเป้นเพียงกิจกรรม ส่วนหนึ่งที่ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ....

   :34:
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สำนักพุทธฯ สำรวจพบ "วัด 931 แห่ง ยังไม่มีเจ้าภาพทอดกฐิน-ผ้าป่า"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9319

  น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ ถามกันนะคะ
 
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
กฐินขันธกะ

ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า
      [๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติกธุดงค์ และเตจีวริกธุดงค์เดินทางไปพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
     
      เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณเมืองสาเกต ในระหว่างทาง ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระองค์

      ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลนมีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
             
การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนั่นเป็นพุทธประเพณี.





พุทธประเพณี
      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกันจำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?

      ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้พระพุทธเจ้าข้า
      อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าในชุมนุมนี้เป็นภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค


      เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ในระหว่างทาง พวกข้าพระพุทธเจ้านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค

      ครั้นล่วงไตรมาส พวกข้าพระพุทธเจ้าออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว
      เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน
      มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางมา พระพุทธเจ้าข้า.

      (คำกล่าวนี้เป็นเหตุให้เกิด "ผ้ากฐิน")





พระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน
      [๙๖] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
               ๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
               ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
               ๓. ฉันคณะโภชน์ได้
               ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
               ๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๖๔๘ - ๒๖๘๓. หน้าที่ ๑๐๘ - ๑๐๙.





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒

วิธีกรานกฐิน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
     สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์
     สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน
     การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน
     ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
     ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
     ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็นอันกราน.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๖๘๔ - ๒๖๙๕. หน้าที่ ๑๐๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2684&Z=2695&pagebreak=0





กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน

       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน

       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
       (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
       เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/,http://www.sati99.com/,http://3.bp.blogspot.com/,http://talk.mthai.com/,http://www.tigertemple.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2012, 11:52:43 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ คะ อ่านแล้วก็ัยังไม่ค่อยเข้าใจ กับคำถาม นะคะ ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร

 :25: :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบว่า พระที่ไม่ได้รับกฐิน กับ พระที่ได้รับกฐิน ความเป็นพระต่างกันหรือไม่

 ได้เห็นพระป่า หลายรูป ท่านอยู่องค์เดียว ไม่มีกฐิน
   อย่างนี้ท่านเป็นพระสมบูรณ์ หรือไม่ครับ

 ส่วนพระเมือง พระวัด ไม่น่าแปลกใจเพราะมีแทบทุกวัด อันนี้เป็นพระสมบูรณ์ใช่หรือไม่ครับ

  :s_hi: :c017:


    ผ้ากฐินถือเป็นสังฆทานประเภทหนึ่ง เมื่อเป็นสังฆทานก็ต้องถวายแก่สงฆ์
    ปัจจุบันส่วนใหญ่ถือว่า สงฆ์ หมายถึง พระ ๕ รูป แต่ใน "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์" พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายไว้ว่า "หมายถึง พระ ๔ รูป" ดังนี้


สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
       1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
           ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
       2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง


    ดังนั้น หากวัดใดหรือบุคคลใด เข้าใจว่า สงฆ์ คือ พระ ๕ รูป
    ความเข้าใจนี้จะเป็นเหตุให้วัดที่มีพระเพียง ๔ รูป ไม่ได้รับผ้ากฐิน

    วัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้าในการกรานกฐินนั้น ประการหนึ่งก็คือ สงเคราะห์ภิกษุที่มีจีวรไม่เพียงพอ
    หากพิจารณา "กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน" แล้ว จะเห็นว่า ผู้กรานกฐินจะมีเพียงรูปเดียว

       
    คำถามที่ว่า "พระที่ไม่ได้รับกฐิน กับ พระที่ได้รับกฐิน ความเป็นพระต่างกันหรือไม่"
    ตอบว่า พระที่ได้ครองผ้ากฐิน ถือว่า เป็นผู้ขาดแคลนจีวร
                     ส่วนพระที่ไม่ได้ครองผ้ากฐิน ก็ถือว่า เป็นผู้มีจีวรพอเพียง


    คำถามที่ว่า "ได้เห็นพระป่า หลายรูป ท่านอยู่องค์เดียว ไม่มีกฐินอย่างนี้ท่านเป็นพระสมบูรณ์ หรือไม่ครับ"
    ตอบว่า จุดประสงค์ของการกรานกฐิน เพื่อสงเคราะห์ผู้ขาดแคลน ไม่เกี่ยวกับการเป็นพระที่สมบูรณ์
                     พระที่สมบูรณ์ ควรเป็นพระที่เห็น มรรคผลและนิพพานมากกว่า หรือเป็น อริยสงฆ์ นั่นเอง


    การที่เราเห็นว่า "มีพระรูปเดียวที่ได้รับผ้ากฐิน" อีกทั้งการถวายกฐินทำได้เพียงปีละคร้ังเท่านั้น
    เราให้เลยให้ความสำคัญกับผ้ากฐิน และคิดเลยไปว่า พระที่กรานกฐินต้องเป็นผู้มีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่แท้
    นั่นเพราะ เราไม่เข้าใจว่า ผ้ากฐินเป็น แค่สังฆทาน ผู้รับทานนี้ เป็นผู้ขาดแคลน
    ขอคุยเท่านี้ครับ
:25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2012, 12:42:22 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระ ที่รับ กฐิน  กับ พระ ที่ไม่รับ กฐิน
ความเป็นพระ มิได้ต่างกัน
  แต่ต่างกันที่บารมี ธรรมที่สั่งสมไว้

    ยกตัวอย่าง

    พระรูปหนึ่ง เดินบิณฑบาตร ได้อาหารน้อย
    พระอีกรูปหนึ่ง เิดินบิณฑบาตร ในเส้นทางเดียวกัน แต่ได้อาหารมาก

   ทั้งสองรูป ก็ยังเป็นพระเหมือนกัน กิจวัตรแบบเดียวกัน เดินเส้นทางเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ผลของการบิณฑบาตร นั้นไม่เหมือนกัน

    เป็นเพราะอะไร ?
     คำตอบ เพราะบุญบารมีสั่งสม มาไม่เหมือนกัน นั่นเอง ส่วนนี้เป็นส่วนบุคคล ผลแห่งบุญ ผลแห่งทาน เป็นสิ่งจำเพาะเจาะจง ไว้อย่างนั้น นั่นเอง ตรงนี้เรียกว่า วาสนา บารมี ไม่เท่ากัน นะจ๊ะ


   เจริญธรรม / เจริญพร

 
    สีหสูตร ว่าด้วยตรัสผลแห่งทานแก่สีหเสนาบดี                     
 [๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน
 ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
 ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามว่า
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถบัญญัติ
 ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบันหรือหนอ
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สามารถ ท่านสีหเสนาบดี แล้วจึงตรัสต่อไปว่า
 
 

ท่านสีหเสนาบดี ทายกผู้เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
 แม้ข้อนี้เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน
.
 
 

อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายกผู้เป็นทานบดี
 แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน
.
 
 

อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของทายกผู้เป็นทานบดีย่อมขจรไป
 แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน
.
 
 

อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี จะเข้าไปอยู่ที่ประชุมใด ๆ คือ
 ที่ประชุมกษัตริย์ ที่ประชุมพราหมณ์ ที่ประชุมคฤหบดี ที่ประชุมสมณะ
 ก็ย่อมเป็นผู้องอาจไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน
.
 
 

อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
 แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายภพ
.
 
 

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงกราบทูลว่า
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน ๔ ข้อ เหล่านี้
 พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมถึง (ยอมรับ)
 เพราะเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ก็หามิได้
 แม้ข้าพระองค์เองก็ทราบดี ซึ่งผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ คือ
 ข้าพระองค์เป็นทายกเป็นทานบดีย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
 สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาข้าพระองค์ ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี
 กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี ย่อมขจรไปว่า
 สีหเสนาบดีเป็นทายก เป็นการก (ผู้กระทำกิจการแด่สงฆ์) เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์
 ข้าพระองค์ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใด ๆ
 คือที่ประชุมกษัตริย์ ที่ประชุมพราหมณ์ ที่ประชุมคฤหบดี ที่ประชุมสมณะ
 ก็ย่อมเป็นผู้องอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
 ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน ๔ ข้อนี้เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกแล้ว
 ข้าพระองค์ย่อมยอมรับ เพราะเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ ก็หามิได้
 แม้ข้าพระองค์เองก็ทราบดี ซึ่งผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้
 ส่วนผลแห่งทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกข้าพระองค์ว่า
 ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ
 ก็แต่ว่าข้าพระองค์ย่อมยอมรับเพราะเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้
.
 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้ำว่า อย่างนั้นท่านสีหะ อย่างนั้นท่านสีหะ
 ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
.
 
 

นรชนผู้ไม่ตระหนี่ให้ทาน ย่อมเป็นที่รัก
 ชนเป็นอันมากย่อมคบหานรชนนั้น
 นรชนนั้นย่อมได้เกียรติ ย่อมเจริญด้วยยศ
 เป็นผู้ไม่เก้อเขิน เป็นผู้แกล้วกล้าเข้าสู่ที่ประชุมชน
 เพราะเหตุนี้แล บัณฑิตผู้หวังสุข จงขจัดมลทิน คือความตระหนี่แล้วให้ทาน
 บัณฑิตเหล่านั้นย่อมประดิษฐานในไตรทิพย์
 ถึงความเป็นสหายของเทวดา รื่นเริงอยู่ตลอดกาลนาน
 บัณฑิตเหล่านั้นได้โอกาสได้ทำกุศลแล้ว จุติจากโลกนี้แล้ว
 ย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อนันทนวัน
 ย่อมเพรียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕
 เพลิดเพลินรื่นเริงบันเทิงใจอยู่ในนันทนวันนั้น
 สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลสผู้คงที่
 ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้วย่อมได้รับผล
.
 
 



สีหสูตร จบ
 
 


 (สีหสูตร สุมนาวรรคที่ ๔ ปฐมปัณณาสก์
 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
 พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๖)
  Aeva Debug: 0.0006 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ