ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - tcarisa
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
161  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 10:25:59 am
ปฏิบัติผิดแนวทาง คะ เพราะส่วนตัวเวลาปฏิบัติธรรม แล้ว มีความขยันเพิ่มขึ้น และ รู้สึกมีความต้องการภาวนามากกว่า ไม่ค่อยนอนด้วย ถึงขั้นนอนไม่หลับคะ เหมือนสติตื่นตัวอยู่คะ และไม่อ่อนเพลียคะ
 :coffee2:
162  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร ของพระอาจารย์ น่าประทับใจมากครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2012, 10:23:57 am
น่าสนใจ คะ น่าจะมีประโยชน์ บ้างนะคะ พระอาจารย์ออกหนังสือ ประวัติการเดินธุดงค์ ที่สำคัญที่พระอาจารย์มีประสบการณ์ พิเศษ น่าจะดีมากเลยคะ ติตามคะ
 :58:

  :25: :25: :25:
163  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมเททองหล่อพระพุทธมัชฌิมามุนี หน้าตัก 30 นิ้ว 2 องค์ ในวันที่ 29 ม.ค.55 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 02:11:00 pm
อนุโมทนา สาธุ กับญาติธรรม ทุกท่าน ที่ได้ร่วมปฏิบัติธรรมกัน ด้วยคะ

 :25: :25: :25:
164  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: QA "การปฏิบัติกรรมฐาน จัดเป็นการบ้าอย่างหนึ่ง หรือป่าว ท่าน" เมื่อ: มกราคม 25, 2012, 10:09:22 am
สำหรับ ชาวโลก อาจจะพูด หรือ บอกว่า คนที่มาปฏิบัติธรรม คือ คนสิ้นคิด เป็นบ้า พวกโต่ง คะ
เพราะคำนี้ ดิฉัน เองก็เจอเป็นประจำจากเพื่อน ๆ ที่ชอบแซว จนบางครั้งไปนั่งที่ไหน เขาก็จะลุกหนีกันหมด เพราะกลัวจะติดเรื่อง บ้าธรรมะ บ้าปฏิบัติ เป็นพวกที่ไม่ปกติ

   การบ้า ทุกคน ก็บ้า กันทุกคน แหละคะ บ้ายศ บ้าดัง บ้า สาระพัด บ้า แต่ บ้าอย่างพุทธสาวก นั้น เพื่อการไม่บ้า ต่อไป คะ ดังนั้น การปฏิบัติธรรม สำหรับ ชาวโลกเป็นเรื่องบ้าคะ แต่ สำหรับชาวธรรมเป็นเรื่องปกติ คะ

   :25:
165  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมโมทนาบุญทอดผ้าป่าสามัคคี สำนักปฏิบัติธรรม อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี เมื่อ: มกราคม 22, 2012, 01:58:40 pm
อนุโมทนา ด้วยคะ คุณธรรมธวัช นี่มีกิจกรรมทำบุญ ทุกเดือนเลยนะคะ

ขออนุโมทนาด้วยคะ

 ผู้มีน้ำใจในบุญ สมเป็นศิษย์กรรมฐาน คะ

  อยากเรียนถามว่า สำนักที่ไปนี้เป็นครูอาจารย์ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา ใช่หรือไม่คะ
มีเพื่อน ๆ หลายคนอยู่ใกล้ ๆ จะได้แนะนำไปฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา คะ

  :s_hi: :25:
166  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: งานร่วมบุญถวายทานปฏิบัติธรรม 23 มกราคม 2554 เมื่อ: มกราคม 20, 2012, 01:40:27 pm
คุณ magicmo ได้ร่วมปฏิบัติ ด้วยหรือไม่คะ

 ว่าแต่กิจกรรมนี้ ไม่มีแล้วหรือคะ  .........

 อนุโมทนากุศล ของทุกท่าน ด้วยคะที่ยังคงรักษากิจกรรม อย่างนี้นะคะ

  :25: :25: :25:
167  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไม ผู้ปฏิบัติธรรมภาวนา ต้องหนี่หายกันไป หัวซุกหัวซุน เมื่อ: มกราคม 15, 2012, 09:51:22 pm
โลกธรรม ไม่มีที่ว่างสำหรับ ผู้ภาวนาคะ

 ถ้ารักการภาวนา ต้องทำใจให้ห่าง โลกธรรม คะ


  :25:
168  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถ้ำอชันตา มรดกโลก ศรัทธายิ่งใหญ่ของชาวพุทธ เมื่อ: มกราคม 15, 2012, 08:54:57 pm








ขอบคุณภาพจาก
http://images.thaiza.com
http://statics.atcloud.com
http://image.dek-d.com
169  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สอนกรรมฐานเด็ก ๆ ควรสอนกรรมฐาน อะไรดีคะ เมื่อ: มกราคม 13, 2012, 09:18:02 am
พรุ่งนี้วันเด็ก มีกิจกรรมเด็ก หลายอย่างแต่อยากสอนกรรมฐาน เด็ก ๆ บ้างคะ

จึงสงสัยว่า สอนกรรมฐานเด็ก ๆ ควรสอนกรรมฐาน อะไรดีคะ เอาแบบที่เกี่ยวกับกรรมฐาน มัชฌิมา นะคะ


  :25:
170  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: QA "ช่วยอธิบาย รูปกรรมฐาน และ อรูปกรรมฐาน ด้วยครับ " เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 02:36:03 pm
กรรมฐาน ที่มีรูป เป็น อารมณ์ เช่นกรรมฐาน 36 กอง นั้น จัดเป็น อรูปกรรมฐาน เพราะมีนิมิต เป็นเครื่อง กำหนดอารมณ์  เรียกว่า รูปกรรมฐาน มีทั้งส่วนเป็นพระลักษณะ และ พระรัศมี มี อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต


กรรมฐาน ที่ไม่กำหนดรูป กรรมฐาน ปราศจากรูป เช่น อากาสานัญจายตะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญยยตนะ เนวนาสัญญายตนะ ทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอรูปกรรมฐาน เพราะปราศจากนิมิต

 แม้ใน วิปัสสนา หมวด เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็เป็น อรูปกรรมฐาน ( ฟังมาจากพระอาจารย์ )

  :s_hi:
171  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มีปัญหา ค้างตอบ เยอะนะครับ ช่วยกันตอบดีหรือไม่ครับ ? เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 02:30:31 pm
ต้องดูกาละเทศะ ด้วยคะ

 ว่าสมควรตอบลงไปหรือไม่ เกรงว่า ตีเสมอ ครูอาจารย์ อันนี้ กลัวแล้วเจ้าคะ

 โดยเฉพาะกรรมฐาน ถ้าเกี่ยวกับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลักษณะแจ้งอารมณ์กรรมฐาน อย่างนี้ไม่ควรตอบคะ แต่ถ้าเป็นเรื่อง ปลีกย่อย เช่นการจัดถาด คำอธิษฐาน ประวัติกรรมฐาน ประวัติหลวงปู่ ประมาณนี้ก็น่าจะช่วยตอยอยู่คะ

 :welcome: :88: :58: :25:
172  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: แฉมารศาสนาอ้างชื่อ พศ.ตุ๋นเงินพระ เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 02:27:53 pm
พวกฉวยโอกาส พวกนี้ ไม่รู้จักกลัวกรรม
  น่ารังเกียจ สะอิดสะเอียน เพราะอาศัยทุกข์ ของผู้อื่น เป็นสิ่งที่โกยความสบายหาตัว หากินบนความทุกข์
เหมือนพวก โกงกิน สิ่งของบริจาค ตอนที่คนเดือดร้อน

  กรรม ที่ก่อ ย่อมส่งผลโดยไว.....

   :s_hi:
173  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รวมกลอนปีใหม่ ชุดที่ 1 เมื่อ: มกราคม 04, 2012, 11:35:36 am



ขอลาที ปีเก่า แสนเศร้าโศก
ความอับโชค ที่มา กับราศี
อีกโพยภัย ไข้ทำ ประจำมี
ในชีวี จงสลาย มลายพลัน



สวัสดี ปีใหม่ ขอให้สุข
หมดสิ้นทุกข์ กายจิต มิผิดผัน
อายุมั่น ขวัญยืน สี่หมื่นวัน
มีผิวพรรณ ผ่องนวล เย้ายวนชม



ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า
ทำการค้า ร่ำรวย ไปสวยสม
มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์
ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคง




สวัสดีวันนี้วันปีใหม่
ขอจงให้จงได้สิ่งที่หวัง
คิดอะไรขอให้สมใจกัน
มีเงินพันให้ได้นับไม่ขาดเอย



สวัสดีปีใหม่ ส่งใจอวยพร
เขียนเป็นคำกลอน   ให้พรสุขี
ขอให้ทุกท่าน  พ้นผ่านไพรี
อยู่ดีกินดี  โชคดีตลอด
มั่งมีเงินทอง ข้าวของสินสอด
รายได้ตลอด ให้ปลอดโรคภัย
เรื่องเจ็บอย่าป่วย ความซวยห่างไกล
ทุกข์เข็ญจัญไร จงไกลห่างตัว
จงสุขสำราญ  เบิกบานกันทั่ว
ความเลวความชั่ว  ห่างตัวห่างใจ
จงมีแต่สุข   เรื่องทุกข์อย่าใกล้
โชคดีปลอดภัย  คนไทยทุกคน



สวัสดี ปีใหม่ ขอให้สุข
หมดสิ้นทุกข์ กายจิต มิผิดผัน
อายุมั่น ขวัญยืน สี่หมื่นวัน
มีผิวพรรณ ผ่องนวล เย้ายวนชม



...ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่
ขออวยชัยทุกๆท่านจงสุขขี
ให้ประสพพบแต่สิ่งดีดี
และจงมีชีวีที่ยืนนาน
 
...ให้เบิกบานฤทัยไม่มีทุกข์
มีแต่สุขทุกคืนวันนั้นฉ่ำหวาน
สุขภาพพลานามัยให้สราญ
ให้เบิกบานสมหมายตามใจปอง
 
...จึงขอมอบของขวัญวันปีใหม่
แด่คนไทยบ้านกลอนได้สนอง
ขอทุกอย่างที่ท่านได้หมายปอง
ด้วยไมตรีผองไทยร่วมใจกัน
 
...ให้ทุกที่ ทุกถิ่นแผ่นดินเกิด
ได้พริ้งเพริศงดงามอย่างสร้างสรรค์
โชคมากมีทวีทรัพย์นับอนันต์
ที่เฉิดฉันด้วยยศลาภกราบอัญเชิญ
 
...เทวดานางฟ้าจงมาโปรด
พรประเสริฐงดงามนามสรรเสริญ
แด่ทุกท่านทั้งหลายชายหญิงเทอญ
ให้เจริญก้าวหน้าค้าขายรวย



เนื่องดิถี วาระดี ขึ้นปีใหม่
อวยพรให้ ใจผ่องแผ้ว ดังแก้วกล้า
ให้สิ่งดี ศิริศรี เยือนทุกครา
ชื่นชีวา ประสบสุข ทุกยามยล
 
คิดหวังหวาน ให้แช่มชื่น ระรื่นสุข
ครั้งเคยทุกข์ จงมลาย กลายสดชื่น
เริ่มการใหม่ ให้สำเร็จ อย่างยั่งยืน
ทุกวันคืน เป็นที่รัก ยิ่งทุกคน
 
คำเคยท้อ ในปีนี้ ไม่มีแล้ว
คำกล้าแกล้ว มอบให้ ไว้ยึดมั่น
ทำสิ่งดี ได้ดีตอบ รับชอบพลัน
ทำสิ่งฝัน ให้มีวัน สำเร็จจริง
 
ให้สุขล้ำ ล้นเผื่อแผ่ ผู้ยากไร้
ให้สดใส มีน้ำใจ รู้ช่วยเหลือ
ให้สมหวัง สำเร็จดี มีจุนเจือ
ให้มีเหลือ ไว้แบ่งเบา คราวลำเค็ญ



อัญเชิญเทพบนสวรรค์ทุกชั้นฟ้า
ประสิทธิ์สถาพรชัยให้สุขศรี
ขอให้ชาวร้อยฝันทุกท่านมี
สุขเกษมเปรมปรีดิ์ทุกวี่วัน
 
สรรพโศกโรคร้ายให้หายหมด
เกียรติยศพร้อมพรั่งบันดาลขวัญ
เกียรติศักดิ์พูนเพิ่มเสริมชีวัน
สบสุขสันต์วันดีปีใหม่เทอญ



เถลิงศกลุล่วงแล้ว.....................มนแผ้วประสิทธิ์ใส
แม้หวังประสงค์ใด....................ประลุสุขสโมสร
 
ขอให้ประสบสุข.....................นิรทุกข์สถาพร
เงินทองมิคลายคลอน...............พละเปี่ยมมโนกูล
 
นักวิ่ง ณ ทั่วทิศ........................บมิติดอมิตรสูญ
เกียรติก้องนภาพูน....................ระอุอุ่นเกษมสราญ
 
แม้หวังบดีแพร้ว ......................ธนแก้วศฤงคาร
จงพบประสบพาน...................นรนั้นนิรันดร์เทอญ





ขอขอบคุณข้อมูลจาก Planet Kapook โดยคุณ •OrAGe•, dreampoem.com โดยคุณ none7777777, dreampoem.com โดยคุณ5cats, dreampoem.com โดยคุณ am087, thaipoem.com โดยคุณกู้ภัย, thairunning.com โดยคุณลุงขาว
174  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มงคลชีวิต 9 ประการ ให้มีแต่สิ่ง ดี ปี พ.ศ.2555 คะ เมื่อ: มกราคม 04, 2012, 11:26:50 am
มงคลชีวิต 9 ประการ

 
 
1.ซื่อตรง


ข้อนี้สำคัญมาก บุคคลใด หรือฝ่ายใดก็ตาม ถ้าขาดความซื่อตรงเสียแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมโทรมเสียหาย เกิดเรื่องเดือดร้อน เกิดความไม่สงบ เกิดความระแวงไม่ไว้วางใจ ขาดความเชื่อถือ ขาดความนิยม เกิดความโกรธเคือง อาฆาตแค้น เกิดความเกลียดชัง ดูถูกดูหมิ่นกัน กฏธรรมชาติ มีอยู่ว่า...
"บุคคลใดซื่อตรงเป็นบุคคลที่น่าคบค้าสมาคม มีเสน่ห์ใครๆ ก็ชอบคบค้าสมาคมกับคนซื่อตรง ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ถ้าเรามีนักการเมืองคดในข้อ งอในกระดูก โกงในสันดาน บ้านเมืองของเราก็มีแต่พังกับพังเท่านั้น เพราะฉะนั้น ขอให้ถือความซื่อตรงเป็นหลัก ปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

2.สะอาด
ข้อนี้สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง เพราะความสะอาดทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เชื้อโรคเกิดจากความสกปรก เมื่อเรามีความสะอาดเชื้อโรค ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็มีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ บ้านเรือนที่สะอาด ก็เป็นบ้านเรือนที่น่าอยู่อาศัย ใครๆก็ชอบบ้านเรือนที่สะอาด เสื้อผ้าที่สะอาด ก็เป็นเสื้อผ้าที่น่าสวมใส่ น่าดู น่าชม ใครๆก็ชื่นชม ใครๆก็ชอบใช้เสื้อผ้าที่สะอาด
          บุคคลใดเป็นคนสะอาด ก็เป็นคนที่น่าคบค้าสมาคม เพราะใครๆก็ชอบคบค้าสมาคมกับคนสะอาด ยิ่งกว่านั้นความสะอาดยังส่อแสดงให้เห็นถึงชีวิตจิตใจ การศึกษาและบุคลิกภาพ โบราณท่านสอนว่า ดูวัดให้ดูฐาน(ส้วม) ดูบ้านให้ดูครัว วัดใดส้วมสะอาด แสดงว่าวัดนั้นพระขยัน วัดใดส้วมสกปรก แสดงว่าวัดนั้นพระขี้เกียจ
          บ้านใดครัวสะอาด แสดงว่าแม่ครัว หรือลูกสาวบ้านนั้นขยัน บ้านใดครัวสกปรก แสดงว่าแม่บ้านหรือลูกสาวบ้านนั้น ขี้เกียจ เพราะฉะนั้น ขอให้ถือความสะอาดเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

 3. ขยัน

ข้อนี้ก็สำคัญอีกข้อหนึ่ง เพราะความขยันเป็นเครื่องผลักดันชีวิต ให้เจริญก้าวหน้าไปสู่ความมั่นคั่ง บรรดาบุคคล สำคัญของโลกได้ประสบความรุ่งโรจน์ เพราะอาศัย ความขยัน เป็นเครื่องช่วยผลักดันชีวิตคือ..

ขยันศึกษา คือ ศึกษาเล่าเรียน ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะมีโอกาสศึกษาได้ตามฐานะ และกำลังทรัพย์ ในยุคโลกาวิวัฒน์นี้ เรารียกว่า ศึกษาตลอดชีวิตจนถึง วาระสุดท้าย คือ ความตาย

ขยันคิด คือ คิดให้ดีที่สุด คือ หาทางก้าวหน้าอยู่เสมอ คิดสร้างสรรค์คิดพัฒนา พลิกแพลงให้ดีขึ้น และคิดแก้ไข ปรับปรุงตนเองว่า มีจุดดี หรือเลวอย่างใดบ้าง

ขยันพูด โปราณสอนว่า พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากจะมีสี ข้อนี้คือ พูดให้ดีที่สุด พูดให้ถูกกาละเทศะ พูดให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทางพระท่านเรียกว่า ปิยะวาจา หรือมธุรสวาจา

ขยันทำ คือ ทำให้ดีที่สุดจนความสามารถ เวลาเป็นเงินเป็นทอง จงทำเวลาทุกนาที ทุกชั่วโมง และทุกๆวันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

ขยันหา คือ หาความรู หาความชำนาญ หาความดี ความชอบทางก้าวหน้า หาทรัพย์สินเงินทอง หาหลักฐาน หามิตรสหาย หาพระสงฆ์องค์เจ้า ทางสุจริต หาความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
อย่า..หายใจทิ้งไปวันๆ ทางพระตำหนิว่าเป็น..โมฆะบุรุษ บางครั้งท่านให้ศัพท์ค่อนข้างรุนแรงว่า..**เสียชาติเกิด**หรือ**รกโลก** เพราะฉะนั้น ขอให้ถือความขยัน เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

4. ใช้จ่ายให้พอสมควรแก่ฐานะ

ข้อนี้สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง ถ้าเราใช้จ่ายเพื่อประหยัด จะมั่งมีเพราะประหยัด จะอัตคัตเพราะฟุ่มเฟือย รูรั่วนิดเดียวยังทำให้เรือใหญ่จมได้ จงอดกลั้น อดทน อดออม แล้วจะไม่อดตาย

คนรวยเพราะทำตัวจนพอประมาณ คนขัดสนเพราะทำตนร่ำรวย จงกินแต่พออิ่ม ชิมแต่พอดี เป็นหนี้แต่พอประมาณ อย่าเอาโรงแรมเป็นบ้าน อย่าเอาภัตตาคารเป็นครัว

อย่ากินเกิน อย่าใช้เกิน อย่าเกินพิกัด เกินอัตรา เกินกำลัง เกินความจำเป็น รู้จักแก้จนด้วยการทำตัวต่ำ รู้จักลดขนาดความต้องการลง เพื่อความอยู่รอดของครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

อย่าลืมพลาดไปครั้ง พังไปนาน เพราะฉะนั้น ขอให้ถือการใช้จ่าย พอสมควร แก่ฐานะเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

5. งดเว้นสิ่งให้โทษ
คือ
สุราเมรัย เครื่องดองของเมา (ยกเว้นกินกับยา)
ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า ยาอี เป็นต้น
การพนันขันต่อต่างๆ
แหล่งอบายมุข ตลอดจนสถานเริงรมย์ ที่ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นดีที่สุด

ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งให้โทษ ก็จะพาชีวิตของเราเสื่อมโทรม เสียหายพินาศเดือดร้อน ไม่เจริญก้าวหน้า เดินไปสู่ความตาย สู่ประตูคุกตารางเข้าไปทุกที เพราะฉะนั้น ขอให้ถือการงดเว้นสิ่งให้โทษ เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

6. ไม่ล่วงเกินผู้อื่นก่อน

ข้อนี้สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง เพราะเรื่องราวเดือดร้อนต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ทะเลาะวิวาทกัน ตีกัน ทำร้ายกัน เข่นฆ่ากันนั้น เนื่องมาจากการล่วงเกินกันเป็นมูลเหตุ ถ้าต่างฝ่ายไม่ล่วงเกินกัน หัด..ยอม..เป็น ให้อภัยเสียบ้าง คิดเสียว่า โลกทั้งผองพี่น้องกัน รู้รักสามัคคี สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวร และเบียดเบียนซึ่งกัน และกันเลย โกรธ คือ โง่ โมโห คือ บ้า อิจฉาริษยาเขา คือ จุดไฟเผาตัวเอง อายุก็สั้นและตายเร็วด้วย

เพราะฉะนั้นขอให้ถือ การไม่ล่วงเกินผู้อื่น เป็นหลักปฏิบัติ ที่สำคัญที่สุดของชีวิต
7. งดติดต่อคบค้า สมาคมคนไม่ดี

ข้อนี้ก็สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง เพราะการติดต่อกับคนไม่ดี เป็นบันไดแรก นำไปสู่เรื่องราวเดือดร้อนวุ่นวาย ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากการติดต่อเป็น ถ้าเราติดต่อกับคนไม่ดี ก็จะมีแต่เรื่องยุ่งผิดหวัง เดือดร้อน เสียหาย เสื่อมโทรม พินาศ ขาดทุน อาจจะถึงแก่ชีวิต ก็เป็นได้ รวมความว่า...** การติดต่อคนไม่ดี ** มีแต่ความเดือดร้อน เสียหาย ขาดทุน ไร้ประโยชน์ เสียเวลาด้วยประการทั้งปวง

ข้อสังเกตว่า คนใดจะดีหรือไม่ดีนั้น มีดังนี้คือ..

คนดี ย่อมแสดงออก ซึ่งความดี
คนชั่ว ย่อมแสดงออก ซึ่งความชั่ว
คนซื่อ ย่อมแสดงออก ซึ่งความซื่อ
คนคด ย่อมแสดงออก ซึ่งความคด
คนเลวทราม ย่อมแสดงออก ซึ่งความเลวทราม

หรือ ดูคนดี แบบ 4 ดี คือ คิดดี ทำดี พุดดี คบคนดี และไปสู่สถานที่ดี

ส่วนคนชั่ว คิดแต่ชั่วๆ ทำเรื่องชั่วๆ และพูดแต่ชั่วๆ คบแต่คนชั่วๆ และชอบไปสู่สถานที่ชั่วๆ เป็นต้น

คนไม่ดี มีนิสัย ดังนี้เช่น..

1. ไม่ซื่อตรง (คิดคดเสมอ)
2. ไม่รักษาคำพูด(ที่ตกลงกันไว้)
3. โกหก(ให้เสียหายเดือดร้อน)
4. ปลิ้นปล้อน ตะลบตะแลง ประเภท 18 มงกุฏ
5. ยักยอก ฉ้อโกง เบียดบัง เอาเปรียบ
6. ทรยศหักหลัง กินบนเรือน ถ่ายบนหลังคา เป็นต้น
7. ไม่ทำตามเงื่อนไขสัญญา
8. ใช้เล่ห์เหลี่ยม แกล้งทำให้เดือดร้อน เสียหาย
9. กลับกลอก หลอกลวง ให้เสียหาย เดือดร้อน
10. ขาดความเกรงใจ ไร้มารยาท บีบคั้นเอาเปรียบ

เชื้อโรคเกิดจากความ..สกปรก..ฉันใด ความเสียหาย เดือดร้อน ก็เกิดจากคนไม่ดี ฉันนั้น

โบราณท่านสอนว่า หลีกสัตว์ร้ายให้พ้นวา หลีกคนชั่วช้า ให้ย้ายบ้านเรือนหนี เพราะฉะนั้น ขอให้ถือหลักปฏิบัติ งดการติดต่อกับคนไม่ดี เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต
8. กตัญญู กตเวที

คนเราเกิดมาชาติหนึ่ง ผู้มีพระคุณแก่เรา สรุปโดยย่อ มี 5 ประการ เรียงลำดับสูงได้ดังนี้

1. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี และประพฤติตนเป็นตัวอย่าง หรือเป็นที่พึ่งสูงสุด

2. ชาติ กษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ผู้ให้สิทธิคุ้มครอง ความยุติธรรม ความมีหลักฐาน ถิ่นที่อยู่อาศัย

3. บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้ให้กำเนิดเลี้ยงดู รักษาให้ความสุข ความเจริญ และหลักฐานของชีวิต

4. ครูบาอาจารย์ ผู้สั่งสอนศิลปวิทยาการ ทั้งหลายให้ความเจริญ รุ่งเรือง และป้องกันในทิศทั้งหลาย

5. ญาติ พี่น้อง มิตรสหาย เจ้านายผู้บังคับบัญชาเหนือตน ผู้ให้ความอุปการะ หรือเลี้ยงดู สนับสนุน ส่งเสริมเราให้เจริญรุ่งเรือง

ผู้มีพระคุณ ทั้ง 5 ประการ ที่กล่าวมานี้ บุคคลผู้เจริญแล้วทั้งหลาย ต้องรู้จักบุญคุณและหาทางสนองตอบคุณ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ อย่าให้ใครมาตำหนิท่านว่าเป็นคนเนรคุณ หรือลูกทรพี

ความกตัญญู กตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี ที่โลกต้องการบุคคลประเภทนี้ นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญยกย่องว่า ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ เทวดาฟ้าดินย่อมคุ้มครอง รักษาเสมอ เพราะฉะนั้น ขอให้ถือเรื่องความกตัญญู กตเวที เป็นหลักที่สำคัญของชีวิต
9. รู้จักหน้าที่ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด

คนเรามีหน้าที่ แตกต่างกันตาม เพศ วัย และการงาน ใครจะอยู่ในหน้าที่ก็ตาม ก็ต้องทำหน้าที่ ของตนให้ดีที่สุด เต็มศักยภาพความรู้ ความสามารถ โดยไม่มุ่งผลตอบแทน จนเกินไป ให้ทำหน้าที่ด้วยความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า.. งาน

งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุข ขณะทำงาน

แต่คนส่วนมากมีแต่ความ..อยาก อยากได้ แต่ไม่ทำ อยากรวย อยากสบาย แต่ไม่อยาก..ทำ อยากได้ดี แต่ไม่ยอมสะสมความดี เป็นต้น

จากข้อสังเกตของข้าพเจ้าเป็นเวลายาวนาน คนที่เสียชื่อเสียง เสียผู้เสียคน เสียอนาคต ถูกลงโทษ ถูกลงทัณฑ์ ถูกปลด ถูกไล่ออก ถูกย้าย ถูกถอดถอนจากยศ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ติดคุกติดตาราง ตัวเองและครอบครัวเดือดร้อน ก็เพราะไม่รู้จักหน้าที่ ไม่ทำตามหน้าที่ ดูถูกหน้าที่ ละทิ้งหน้าที่ ของตนเองแทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ขอให้ถือการ..รู้จักหน้าที่ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชีวิต

ท่านผู้ใดปฏิบัติได้ครบทั้ง 9 ประการ รับรองว่า ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ อยู่ที่ไหนใครก็รัก จากไปก็เสียดาย ตายไปก็มี คนร้องไห้คิดถึง





 

175  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พระธาตุเขี้ยวแก้ว หรือพระทาฐธาตุ คือพระธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระพุทธเจ้า เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 05:44:15 pm
อนุโมทนา ด้วยคะ นับว่าเป็นมงคล วันแรกที่ได้เห็น เลยคะในส่วนนี้คิดว่าเป็นของจริงเลยคะ ถึงแม้จะเป็นแค่ภาพแต่ทำให้นึกถึงองค์สมเด็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทันทีเลยคะ

  อีกอย่างเป็นภาพที่ทีมงาน มัชฌิมา เลือกเป็นภาพ ส.ค.ส.2555


 สวัสดี ปีใหม่ เพื่อน ๆ ทุกท่านด้วยนะคะ

  :25: :25: :25: :25: :88: :58: :58: :58:
176  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: QA "ฝึกอานาปานสติ มาก่อน จะสามารถฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อย่างไร" เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 05:41:35 pm
QA "ดิฉันฝึก อานาปานสติ มาก่อน ถ้าฝึกกรรมฐาน มัชฌฺมา แบบลำดับ มีผลกระทบอย่างไร"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6017.0

ลองอ่านตรงนี้ ดูนะคะ คำถามน่าจะคล้าย ๆ กันคะ

 :25:
177  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: QA "เมื่อจิตกวัดแกว่งมาก ๆ รู้สึกว่าทำกรรมฐานไม่ได้ ควรทำอย่างไรดีคะ" เมื่อ: ธันวาคม 29, 2011, 03:39:43 pm
เป็นการบรรยาย ให้เข้าใจง่ายดี นะครับ
แต่เสียดายที่ไมม่ ใครเข้ามาอ่านกัน

  :25:

เห็นด้วยคะ อาจจะมีผู้ได้รับข่าวสาร ที่พระอาจารย์ ตอบน้อยนะคะ

 :58: :88:
178  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: QA "สมาธิที่ฝึก นี้ เสื่อมได้ หรือ ไม่ คะ" เมื่อ: ธันวาคม 29, 2011, 03:38:17 pm
เป็นเรื่องที่โดนใจ มาก ๆ เลยคะ ตรงนี้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ คิดว่า สมาธิ เมื่อฝึกแล้วจะไม่สูญหายไปไหน จะมีอยู่พอได้อ่านเรื่องที่พระอาจารย์ อธิบาย หูตา สว่างเลยคะ

    ที่นี้อยากรู้ว่า ตอนที่สมาธิ เสื่อม เราจะมีอาการอย่างไรบ้างคะ

   :smiley_confused1: :c017: :25:
179  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อนฟุ้งซ่าน หมิ่นครูอาจารย์ ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 26, 2011, 11:36:01 am
อนุโมทนา สาธุ ที่พระอาจารย์ เข้ามาแนะนำในหัวข้อนี้คะ

  :25: :25: :25:

180  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อนฟุ้งซ่าน หมิ่นครูอาจารย์ ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 11:13:01 am
โปรดอย่าคิดกันไปเอง สิคะ คณะครู นักเรียน ไปเข้าค่ายลูกเสือ 3 วันคะ จึงไม่ได้เข้าใช้งาน Internet คะ
พึ่งกลับมากันเมื่อวาน คะ

  :25: :smiley_confused1: :29:
181  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: อนุโมทนา กับผู้บริจาค เน็ตบุ๊ค ให้กับงาน สำันักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 11:10:50 am
ทำไม จึงใช้เครื่องไม่ได้คะ ไม่ค่อยจะเข้าใจคะ
แต่อนุโมทนากับผู้ที่ ถวายด้วยนะคะ

 ใช้ Win7 student ได้หรือไม่ คะ เห็นราคาแค่ 1500 บาทเองคะ

  :25: :25: :25:
182  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไม เรารู้ แต่จิต ทำไม่ไม่คลาย ครับ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2011, 12:15:56 pm
รู้ แต่ไม่ละ เพราะได้แต่ รู้

เพราะถ้าพิมพ์ใส่ตอบไปอีก ก็จะว่า ฟุ้งซ่าน เฮ้อ ...

 :smiley_confused1:
183  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อนฟุ้งซ่าน หมิ่นครูอาจารย์ ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2011, 12:12:21 pm
เย็นไว้โยม อิิอิ  สหายธรรม เพิ่งพิจารณาให้เห็นความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา แล้วปล่อยวางครับ ทำใจสบายๆ พึ่งพูดจากันด้วย เหตุ ด้วยผลครับธรรมะ ไม่ใช่ของร้อนคุยธรรมกันแล้วสำรวจใจให้ดีครับ ว่าร้อนหรือป่าวไม่มีสิ่งใดเป็นของเราทั้งนั้น ไม่ต้องยึดถือครับปล่อยวาง แล้วการฟัง คิด อ่าน เขียน ของทุกๆท่านจะ เย็นสบายอย่ามั่วไปแยก ตีความครับ ธรรมะพระพุทธองค์ มีแค่กายกับใจ ของทุกท่านเท่านั้นปฏิบัิติตามศีล ตามมรรคมีองค์แปด ไม่มีทางคลาดเคลือน แน่นอน
สาธุ เจริญในธรรมจ้า

ทำไม ถึงมองประเด็นที่เรามาช่วยกัน ตอบ เป็น เหตุทำใจให้หวั่นไหว คะ
184  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อนฟุ้งซ่าน หมิ่นครูอาจารย์ ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 19, 2011, 01:21:23 pm
มีคำพูด ของพระอาจารย์ หนึ่ง ฟังแล้ว จะรู้สึกดึ ได้คะ เมื่อเจอะเจอกับกรณีอย่างนี้

  ผู้ ที่เรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น ต้องมีวาสนา บารมี ร่วมกัน ถ้าไม่มีวาสนา บารมี ร่วมกันแล้ว ก็ไม่ได้เรียน ด้วยกัน ไม่ได้มานับถือกัน ไม่ได้มาปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ด้วยกันคะ

 ก็ทางใคร ทางคุณ คะ แต่ถ้าปรามาสครูอาจารย์แล้ว คิดว่าไม่ร่วมด้วยกันคะ เพราะจะนำเหตุมาให้เราเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดนะคะ เคยคิดเหมือนกันคะว่า จะสามารถเปลี่ยนใจเพื่อนได้ คะแต่เอาเข้าจริง ๆ ทุกครั้งจะต้องนั่งฟังเขา ด่า เขาว่า ครูอาจารย์ เราทุกครั้งที่เจอกัน เราฟังแล้วควรจะนิ่ง ถูกนะคะ แต่ ทำไมเราต้องไปเสียเวลาฟังเขาอย่างนั้น ซึ่งเท่ากับเราเป็นผู้ไปเติมเชื้อ โทษให้เขาด้วยนะคะ

   คิดให้ดี ใน คำสอนของ พรหมชาลสูตร พระพุทธเจ้าสอนให้เรามีใจอดทนและใจกว้าง แต่ไม่ได้สอนให้เราต้องติดตามคนที่คอยที่ ย่ำยี ติเตียน พระรัตนตรัย นะคะ

   อย่าสนับสนุน อย่าทำเป็นเฉย

   ก่่อนที่ครูอาจารย์ ที่เรานับถือหายไปกันหมด แล้วตอนนั้นเราต้องระหกระเหิน หาเรียนกรรมฐาน กันต่อไปนะคะ ถามใจทุกท่าน เองเถอะ ควรที่จะทำการเพิกเฉยและ ติดตามคนที่ ย่ำยี ครูอาจารย์เราด้วยกันหรือคะ


กระทู้นี้ ตอบอย่าง เทใจ เลยนะคะ
ขอโทษหากไม่ถูกใจใครด้วย คะ
 :58: :58: :58:

 



 
185  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: ลำดับการสืบทอด พระกรรมฐาน เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 02:44:07 pm
ลำดับพระมหาเถรเจ้าผู้สืบทอด

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

จากดินแดนชมภูทวีป ถึงดินแดนสุวรรณภูมิ

(ตั้งแต่ประมาณ พศ.๒๗๔ ถึง พ.ศ.๒๕๔๐)



ยุคพุทธกาล
๑. พระราหุลเถรเจ้า เป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำยุคพุทธกาล ชมภูทวีป
หลังพุทธกาล ครั้งปฐมสังคายนา

๒. พระโกลิกะเถรเจ้า ชมพูทวีป เป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำยุค
หลังพุทธกาล ครั้งทุติยสังคายนา

๓. พระมัลลิกะเถรเจ้า ชมพูทวีป เป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำยุคหลังพุทธกาล

พระมัลลิกะเถรเจ้า ทรงบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า และพระโสนันตเถรเจ้า


หลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนา
๔. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานให้กับ พระโสณเถรเจ้า พระอุตตรเถรเจ้า พระมหินท์เถรเจ้า ต่อมาพระเถรทั้งสามพระองค์เรียนพระกรรมฐานมัชฌิมา ต่อกับพระโสนันตเถรเจ้า เนื่องจากพระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า เข้านิพพาน

๕. สายพระโสณเถรเจ้า
- พระอุตตรเถรเจ้า,พระโสณเถรบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระชาลตะเถรเจ้า พระกิตตระเถรเจ้า พระภูริยะเถรเจ้า

สายพระมหินทเถรเจ้า พระอัฎฎิยเถรเจ้า
- พระมหินทเถรบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับพระอุตติยะเถรเจ้า พระสัมพละเถรเจ้า พระภัททสาลเถรเจ้า


ลังกาทวีป
๖. พระอุบาลีเถรเจ้า พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา ประจำเกาะลังกา
สายพระโสณเถร พระอุตตรเถร เดินทางมาแวะพักลังกาทวีป บอกพระกรรมฐานให้กับ พระจิตตกะเถรเจ้า ต่อมา คณะของพระมหินทเถรเจ้ามาเกาะลังกา พระจิตตกะเถรเจ้า ทรงศึกษากับ พระมหินทเถรเจ้าเพิ่มเติม พระจิตตกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระอุบาลีเถรเจ้า แห่งเกาะลังกา




ศรีพระอริยะสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยุคฟูนัน
ศรีพระอริยะสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ยุคสุวรรณภูมิ (ฟูนัน)

คณะพระโสณเถรเจ้า พระอุตตระเถรเจ้า

ยุคสุวรรณภูมิ
(สมัยฟูนัน เจ้าแห่งภูเขา กำลังรุ่งเรือง)
พระมหาเถรเจ้าทั้ง ห้าพระองค์ เป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา ประจำยุคสุวรรณภูมิ
๑. พระโสณเถรเจ้า
๒. พระอุตตระเถรเจ้า
๓. พระชาลตะเถรเจ้า
๔. พระกิตตระเถรเจ้า
๕. พระภูริยะเถรเจ้า
พระญาณเถรเจ้า ๑ พระณิชาเถรเจ้า ๑ พระปถวีเถรเจ้า ๑ พระชาติเถรเจ้า ๑ พระติสสเถรเจ้า ๑ พระปาโสเถรเจ้า ๑ พระเตชิตะเถรเจ้า ๑ จากชมพูทวีป ๑๒ รูป
มีพระสังฆเถร ติดตามจาริกมาจาก เกาะลังกา ๕ รูป คือ พระโสตถิยะเถรเจ้า ๑ พระชิตตะเถรเจ้า ๑ พระเสวกะเถรเจ้า ๑ พระชินโสเถรเจ้า ๑ พระปาละเถรเจ้า ๑
มีพระสังฆเถร ติคตามจาริกมาจาก นครตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) ๓ รูป พระโกลันยาเถรเจ้า ๑ พระปิตะเถรเจ้า ๑ พระเชตุเถรเจ้า ๑
คณะของพระโสณเถร พระอุตระเถร แยกย้ายไปเผยแผ่ตามเมืองต่างๆ


เมืองสุวรรณสังข์
(เมืองทวาราวดี-อู่ทอง มอญ)
(พระราชสามีรามมหาเถร)
๑. พระโสณเถรเจ้า
๒. พระชาลตะเถรเจ้า
๓. พระญาณเถรเจ้า
๔. พระราชสามีรามเถรเจ้า(เพชร)
๕. พระสิทธาจารย์ญาณเถรเจ้า(ด้วง)
๖. พระสิทธาจารย์ญาณเถรเจ้า(อิง)


เมืองศรีสุวรรณ
(นครปฐม-มอญ)
๑. พระอุตตระเถรเจ้า
๒. พระเสวกะเถระเจ้า
๓.พระสิทธิตะเถรเจ้า
๔.พระปาลมุตตะเถรเจ้า


เมืองสะเทิม
(เมืองมอญ)
(พระราชสปทังเถร)
๑.พระกิตตระเถรเจ้า
๒.พระปถวีเถรเจ้า
๓.พระปาโสเถรเจ้า
๔.พระเตชิตะเถรเจ้า



เมืองศรีเทพ
(พระราชสามีรามฯ)
๑.พระภูริยะเถรเจ้า
๒.พระโสตถิยะเถรเจ้า
๓.พระชิตตะเถรเจ้า
๔.พระชินโสเถรเจ้า
๕.พระปาลเถรเจ้า


ยุคทวราวดี
ศรีพระอริยะสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ยุคศรีทวาราวาดี พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร)
เป็นพระอาจารย์ใหญ่บรมครูประจำยุคทวาราวดี

๑. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (ใจ)
สิทธิวิหาริก พระญาณสิทธาจารย์เถรเจ้า(ด้วง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (ไข)
สิทธิวิหาริก พระญาณสิทธาจารย์เถรเจ้า(ด้วง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า(แสง)
สิทธิวิการิก พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า(ไข)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๔. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (ชัย)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๕. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (โต)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๖. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (จริง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๗. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (พ่วง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๘. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (เกตุ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๙. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (สาน)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๐. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (ตา)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๑. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (ปาน)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๒. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (ดำ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๓. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ก่อ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๔. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (เพียร)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๕. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า ( แดง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๖. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า ( ธรรม)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๗. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (แสง )
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๘. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ฟ้า)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๙. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ขาว)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๐. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (เดช)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๑. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า ( ยา)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๒. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ขาว)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๓. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ตอง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๔. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชอบ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๕. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า (ปอ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๖. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า (แพร)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๗. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า ( อัง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๘. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า (ชิต)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๙. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (อาด)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๐. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า (แสม)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๑. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า (เพชร)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๒. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า ( โปง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๓. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า ( ผล)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๔. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( พิงคะ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๕. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( คุต)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๖. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า ( เองนำ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๗. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า ( เกด )
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๘. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า (จีบ)
เริ่มมีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์ ครั้งแรก พระพุทธโฆษาจารย์ (โชติ)

๓๙. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า (กลิ่น)
พระพุทธโฆษาจารย์ (นิด)

๔๐. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( แพร)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ปล่อง)

๔๑. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชิด)
พระพุทธโฆษาจารย์ (วง)

๔๒. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (ปาน)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ยา)

๔๓. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชาด)
พระพุทธโฆษาจารย์ (แปลก)

๔๔. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชัย)
พระพุทธโฆษาจารย์ (สอง)

๔๕. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (กล่อม)
พระพุทธโฆษาจารย์ (เปลื้อง)

๔๖. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( เวท)
พระพุทธโฆษาจารย์ (แสง)

๔๗. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (สี)
พระพุทธโฆษาจารยย์ (ยง)

๔๘. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (สุก)
พระพุทธโฆษาจารย์ (เขต)

๔๙. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (เดช)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ยก)

๕๐. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ฟัก)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ช่วง)

๕๑. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (ปลา)
พระพุทธโฆษาจารย์ (โอ)

๕๒. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (เกด)
พระพุทธโฆษาจารย์ (สาม)

๕๓. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (เขต )
พระพุทธโฆษาจารย์ (แช)


ศรีพระอริยสงฆ์ เมืองละโว้
สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา จากอาณาจักรศรีทวาราวดี
พระราชสุวรรณมุนีมหาเถรเจ้า(ทอง) สัทธิวิหาริกของ พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า(ปอ) มีพระมหาเถรเจ้าสืบทอดมาถึง ๔๙ พระองค์


ศรีพระอริยสงฆ์ เมืองบ้านคูเมือง (สิงห์บุรี)
สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา จากเมืองศรีทวาราวดี สู่เมืองบ้านคูเมือง
๑. พ่อเจ้า (จัน) วัดดงตาล สัทธิวิหาริกของพระญาณไตรโลก วัดแสนท้าวโคตร เมืองศรีทวาราวดี
๒. พ่อเจ้า ( โย่ง) วัดดงตาล
๓. พ่อเจ้า ( ตาล) วัดดงตาล
๔. พ่อเจ้า ( แพร) วัดดงตาล บอกพระกรรมฐานให้กับ พระญาณสุวรรณ มหาเถรเจ้า(สิงห์) วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
๕. พ่อเจ้า(ขวัญ) วัดดงตาล ศึกษาพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมากับ พ่อเจ้าแพร
๖. พ่อเจ้า (เต็ม) วัดดงตาล ศึกษาพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมากับ พ่อเจ้าแพร
เมืองบ้านคูเมืองไม่มี ตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์





ยุคสุโขทัย
ศรีพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอด
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เมืองสุโขทัย
ก่อนสถาปนาเป็นอานาจักรศรีสุโขทัย

๑. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า ( สิงห์) เป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา บรมครูประจำยุคกรุงสุโขทัย สมัยพระเจ้าประกันติราช สถิตวัดมหาธาตุ เป็นพระสังฆราชา พระองค์ท่านทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับสืบต่อมาจาก พ่อเจ้าแพร แห่งวัดดงตาล เมืองบ้านคูเมือง ชานเมืองละโว้ ใกล้เขตเมืองสุโขทัย

๑. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์) สมัยพระเจ้าประกันติราช
พระพุทธโฆษาจารย์ (โปร่ง)

๒. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า ( เหม) สมัยพระเจ้าประกันติราช
พระพุทธโฆษาจารย์(โปร่ง)

๓. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (ชิต) สมัยพระเจ้าปทุมวงศ์
พระพุทธโฆษาจารย์ (เซง)

๔. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (เชื้อ) สมัยพระเจ้าปทุมวงศ์ (องค์เดิม)

๕. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (สาย) สมัยพระเจ้าสุริยราชา
พระพุทธโฆษาจารย์ (อ่อน)

๖. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า ( ตา ) สมัยพระเจ้าจันทราชา
พระพุทธโฆษาจารย์(โชติ)

๗. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า ( คง) สมัยพระเจ้าจันทราชา (องค์เดิม)

๘. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า (อยู่ ) สมัยพระเจ้าอรุณราชา
พระพุทธโฆษาจารย์(ชัย)

๙. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า( ชัย) สมัยพระเจ้าอรุณราชา (องค์เดิม)

๑๐. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า ( อยู่ ) สมัยพระเจ้าชัยฟ้า
พระพุทธโฆษาจารย์(แฝง)

๑๑. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า (เสือ) สมัยพระเจ้าชัยฟ้า (องค์เดิม)

๑๒. พระทักษิณาทิศาจารย์ (มั่น) สมัยพระเจ้าชัยฟ้า (องค์เดิม)

๑๓. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า(แสง) สมัยพ่อขุนนาวนำถม
พระพุทธโฆษาจารย์(ปรือ)

๑๔.พระครูญาณไตรโลก ( ดา) สมัยพ่อขุนบางกลางหาว (องค์เดิม)


ศรีพระอริยะสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ยุคสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
๑. พระวันรัตมหาเถร ( อาด) สมัยขุนศรีอินทราทิตย์
์พระพุทธโฆษาจารย์ (เปล่ง)

๒. พระวันรัตมหาเถร (ขาว ) สมัยพ่อขุนบานเมือง
พระพุทธโฆษาจารย์ (ก้อง)

๓. พระวันรัตมหาเถร (ชื่น) สมัยพ่อขุนบานเมือง (องค์เดิม)

๔. พระวันรัตมหาเถร (เงิน) สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระพุทธโฆษาจารย์ (ขาม)

๕. พระวันรัตมหาเถร ( สิงห์) สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (องค์เดิม)

๖. พระวันรัตมหาเถร ( มาก) สมัยปู่ไสยสงคราม
พระพุทธโฆษาจารย์ (ลือ)

๗. พระมหาวันรัตเถร (ขุน) สมัยพญาเลอไท
พระพุทธโฆษาจารย์ (เมฆ)

๘. พระวันรัตมหาเถร ( เรือง) สมัยพญาเลอไท (องค์เดิม)

๙. พระวันรัตมหาเถร (แสง) สมัยพญางั่วนำถม
พระพุทธโฆษาจารย์ (ชื่น)

๑๐. พระวันรัตมหาเถร (สี) สมัยพระมหาธรรมราชาที่๑ พญาลิไท
พระพุทธโฆษาจารย์ (ใจ)

๑๑. พระวันรัตมหาเถร (ไม่ทราบ) สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒
พระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)

๑๒. พระวันรัตมหาเถร (นวน) สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๓ พญาไสยลือไท
พระพุทธโฆษาจารย์ (สี)

๑๒. พระวันรัตมหาเถร (สอน)สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๔ พญาบาลเมืองหรือบรมบาล
พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉาย)


ยุคอยุธยา
ศรีอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา
ยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
(ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓–๒๓๑๐ ปี รวม ๔๑๗ ปี )

๐พระพนรัตน(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่
กรรมฐานมัชฌิมา บรมครูประจำยุคกรุงศรีอยุธยา

๑. พระพนรัตน (จวน) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒. พระพนรัตน ( แดง) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๓. พระพนรัตน (รอด)หลวงปู่เฒ่า วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๔. พระพนรัตน (สี ) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๕. พระพนรัตน (รอด องค์ที่๒) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๖. พระพนรัตน (แสง) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๗. พระพนรัตน ( คร้าม) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๘.พระพนรัตน (จุ่น) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๙. พระพนรัตน ( เอื๊ยน.) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๐. พระพนรัตน (มี) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๑. พระพนรัตน(เดช) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๒. พระพนรัตน ( สอน) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๓. พระพนรัตน ( พระมหาเถรคันฉ่อง) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๔. พระพนรัตน (อ้น) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๕. พระพนรัตน ( ขุน) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๖. พระพนรัตน (มาก) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๗. พระพนรัตน (ใหญ่) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๘. พระพนรัตน ( บุญ) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๙. สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช(สิงห์) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราช ฝ่ายขวา

๒๐. พระพนรัตน (แปร) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๑. พระพนรัตน (ดำ) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๒. พระพนรัตน (แก้ว) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๓. พระพนรัตน (ใย) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๔. พระพนรัตน ( ผา) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๕. ท่านพระครูปลัดเขียน วัดป่าแก้ว
ท่านเป็นถานานุกรมพระพนรัตน(แปร)

๒๖. พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน
ท่านเป็นถานานุกรมพระพนรัตน(แปร)

๒๗. ท่านขรัวตาทอง วัดท่าหอย
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

๒๘. พระครูรักขิตญาณ(สี) วัดโรงช้าง
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

๒๙. พระธรรมภาวนาเถร ( อิน) วัดราชาวาส
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

๓๐. ท่านขรัวตาเจ้า วัดเกาะหงส์
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน




ยุคธนบุรี
ศรีอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา
ยุคกรุงธนบุรี
(พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ.๒๓๒๕ ระยะเวลานาน ๑๕ ปี)
พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) วัดสมอลาย ศิษย์พระธรรมภาวนาเถร (อิน) วัดราชาวาส อยุธยา เพื่อนสหธรรมิก หลวงปู่พระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม

เปลี่ยนจากยุคกรุงศรีอยุธยามากรุงธนบุรี มาถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ.๒๓๒๕)


สมาชิกแสดงการอนุโมทนาบทความของคุณ:

suppysuppy, karuna, ritt, watchara, ปาฏิหาริย์, toppdt
หัวข้อกระทู้นี้, มี 6 สมาชิก แสดงการอนุโมทนา!
   บันทึกการเข้า
ร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=1681.msg16083;topicseen#msg16083
กรรมฐานตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดฯ
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22135#msg22135
รับอาสาสมัครอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อป้องกันภัยพิบัติ
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=827.msg5095#msg5095
veerawong
ทีมงานชุมชนคนรักหลวงปู่ดู่
กัลยาณมิตร
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3666

อนุโมทนา
-มอบให้: 11424
-ได้รับ: 32242



เว็บไซต์
   
   
ลำดับพระมหาเถรเจ้าผู้สืบทอด พระกรรมฐานมัชฌิมาจาก;ชมภูทวีปถึงสุวรรณภูมิ2
« ตอบ #33 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 03:11:06 PM »
   

ยุครัตนโกสินทร์
ศรีอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา
ยุคกรุงรัตนโกสินทร์

พระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมา
บรมครูประจำยุครัตนโกสินทร์คือ หลวงปู่สุก
ชาวบ้านเรียกขานพระนามท่านว่า หลวงปู่ไก่เถื่อน หรือสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๑. พระพรหมมุนี(ชิต) ชาวเมืองเรียก ท่านเจ้าคุณหอไตร
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชสมัยรัชกาลที่ ๒ - ๓
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๒. พระครูวินัยธรรม (กัน) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่กัน
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชสมัยรัชกาลที่ ๓
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๓. พระญาณสังวร (ด้วง) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่ใหญ่
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๔. พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่รุ่ง
สถิตวัดราชสิทธาราม
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๕. พระญาณสังวร (บุญ) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่บุญ
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๔
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
และพระพรหมมุนี (ชิต)

๖. พระญาณโยคาภิรัติเถร (มี) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่มี
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๔
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน พระพรหมมุนี (ชิต)
พระญาณสังวร (ด้วง)

๗. พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) หลวงปู่เมฆ
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน พระพรหมมุนี (ชิต)
พระญาณสังวร(ด้วง)

๘. พระสังวรานุวงศเถร (เอี่ยม)
สถิตวัดราชสิทธาราม ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อใจดีบ้าง หลวงพ่อผิวเหลืองบ้าง รัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๖
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระญาณสังวร (บุญ) พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)

๙. พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) คนทั้งหลายเรียกท่านว่า เจ้าคุณสังวราฯ บ้าง หลวงปู่ชุ่มบ้าง
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๖ – รัชกาลที่ ๗
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)

๑๐. พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ) ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพระครูใหญ่
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๘ – รัชกาลที่ ๙
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) พระสังวรานุวง์เถร (ชุ่ม)

๑๑. พระครูญาณสิทธิ์ (เชื้อ) ชาวบ้านเรียกว่า หลวงตาญาณ
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๙
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ)

๑๒. พระครูปัญญาวุธคุณ (บรรจง) ชาวบ้านเรียกว่า หลวงตาอางค์
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๙
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระครูญาณสิทธิ (เชื้อ)
186  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 02:38:06 pm
พรรษาแรกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านก็สามารถศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับเบื้องต้นได้จนจบ สามห้อง พรรษาที่สอง พระองค์ท่าน สามารถท่องพระปาฎิโมกข์จบได้ พรรษาที่สาม พระองค์ท่านทรงศึกษาพระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ ๙ กัณฑ์ ๖๗๓ สูตรจบ ศึกษาพระคัมภีร์โยชนาบาลีมูลกัจจายน์ จบทุกผูก
พระอาจารย์สุก ทรงอุปสมบทได้สามพรรษาแล้ว ทรงจบทั้งสมถะ-วิปัสสนา

มัชฌิมา แบบลำดับ คือสมถะมีลำดับดังนี้
ปีติ ๕
ยุคล ๖
สุขสมาธิ ๒
อานาปาน ๙ จุด
อาการ ๓๒
กสิณ ๑๐ ประการ
อสุภะ ๑๐ ประการ
ฌานปัญจกนัย
อนุสสติ ๗
พรหมวิหาร ๔
อาหาเรปฎิกูลสัญญา ๑(๑๐)
จตุธาตุววัฎฐาน ๑ อรูปฌาน ๔ (จบสมถะ)

วิปัสสนา มีลำดับดังนี้
ขึ้นวิสุทธิ ๗ ประการ
พระไตรลักษณะญาณ ๓
พระอนุวิปัสสนาญาณ ๓
วิปัสสนาญาณ ๑๐
วิโมกข์ ๓
อนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ สัญโญชน์ ๑๐

พระอาจารย์สุก จบสมถะ-วิปัสสนาธุระ ที่วัดโรงช้างแล้ว และทรงจบ พระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ หรือพระบาลีใหญ่ ๑ ทรงจบพระโยชนามูลกัจจายน์ ๑ ก็สิ้นความรู้ของท่านพระครูรักขิตญาณ วัดโรงช้าง
187  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี วัดระฆัง เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 02:34:59 pm
สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน
พระอาจารย์ของสมเด็จโต พรหมรังสี


สมัยเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พระอาจารย์โต พรหมรังสี) ท่านบวชเป็นพระภิกษุใหม่ ๆ ยังไม่มีสมณศักดิ์ใดๆ นั้น ท่านเรียนพระปริยัติจนแตกฉานที่วัดมหาธาตุ สนามหลวง โดยมีพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เป็นพระอาจารย์ วิธีการเรียนของท่านก็แปลกกว่าวิธีของพระภิกษุรูปใด ๆ นั่นคือ ท่านจะกำหนดล่วงหน้ามาว่า วันนี้ท่านจะเรียนจากหน้าไหนถึงหน้าไหนในหนังสือ พอมาถึงสำนักเรียน ก็จะเปิดหนังสือออกแล้วแปลไปเรื่อยโดยไม่ติดขัดจนจบหน้าที่กำหนดไว้ ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ พอจบท่านก็กราบแล้วกลับวัดระฆัง


สมเด็จพระสังฆราชสุกฯ มีรับสั่งว่า'

“ขรัวโต ลูกศิษย์เธอ เขามาแปลหนังสือให้ฉันฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันหรอก”

นี่แสดงถึงภูมิปัญญาของสมเด็จโตฯ ว่าเลิศเพียงใด และเมื่อไม่ได้ข้ามฝั่งไปเรียนพระปริยัติแล้ว ท่านก็เรียนด้วยตัวเองของท่านเองโดยวิธีพิศดารคือ ตอนสายของทุกวัน หลังจากเสร็จกิจทำวัตรแล้ว ท่านจะถือหนังสือเข้าไปในพระอุโบสถวัดระฆัง ไปถึงก็วางหนังสือกับพื้น แล้วกราบพระประธาน ๓ ครั้ง จากนั้นก็หยิบหนังสือออกมากาง เปิดหน้าที่กำหนดไว้แล้วแปลเรื่อยไปจนจบ ท่านก็ปิดหนังสือก้มกราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วกลับขึ้นกุฏิ ท่านแตกฉานในพระปริยัติอย่างยิ่ง แต่ท่านไม่เคยคิดเข้าสอบเอาเปรียญ แต่กลับมุ่งศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งสมัยก่อนผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้ก็มักจะมีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนาธุระ ที่เต็มไปด้วยคาถาอาคม มีอภินิหารมหัศจรรย์ที่แสดงออกด้วยอิทธิวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ที่ท่านได้สร้างกันขึ้น

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาสถิตที่วัดมหาธาตุ จะแตกฉานทางด้านคันถธุระหรือทางด้านปริยัติ ส่วนฝ่ายซ้ายจะสถิต ณ วัดป่าแก้ว ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิทยาคม มีเวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมัยนั้น มีเกจิอาจารย์สำคัญที่มีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ อาทิ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระวันรัต (วัดป่าแก้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น

ซึ่งการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระของพระภิกษุสงฆ์ไทยนั้น ได้สืบทอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงโปรดส่งเสริมการศึกษาทางด้านนี้มาก (สายวิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ) ได้เจริญรุ่งเรื่องที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จโตฯ ผู้สร้างพระเครื่องพระสมเด็จอันเลื่องลือยิ่งนักนั้น ท่านก็ได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเก่งทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เรียนพระปริยัติจนไม่มีอาจารย์สอนได้ และเก่งวิปัสสนา ซึ่งหาได้ยากยิ่งในพระภิกษุรูปเดียวกัน เพราะปกติทั่วไป มักจะเก่งคนละอย่าง ไม่มีพระภิกษุรูปใดที่เก่งทั้ง ๒ ด้านเฉกท่าน

พระอาจารย์ที่สอนวิทยาคมให้แก่สมเด็จโตฯ องค์แรก ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่ก็คือ พระอริญญิก (แก้ว) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอาจารย์องค์ต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ที่ท่านได้สมญานามนี้ เพราะท่านสามารถแผ่เมตตาจนกระทั่งไก่ป่าที่เปรียวและตื่นง่าย เชื่องเป็นไก่บ้านเข้ามาจิกข้าวที่ท่านเสกให้กินได้ สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก ท่านทรงเป็นพระกรรมวาจารย์ของ รัชกาลที่ ๒ และเป็นอุปัชฌาจารย์ของ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรด้วย

คัดจาก : หนังสือ “ประวัติสมเด็จโตฯ” จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโยธา (สอน โลหนันท์) และหนังสือ “อภินิหาร สมเด็จโตฯ” โดย ฟ้า วงศ์มหา, ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ
188  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี” ความสำเร็จสมประสงค์ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 02:13:12 pm


พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี” ความสำเร็จสมประสงค์


มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ


พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตน เพื่อจะนั่งทางธรรมจะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์

โบราณจารย์พระกรรมฐานมัชฌิมา ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อนอาราธนาองค์พระกรรมฐาน เมื่อนำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม (บาปอกุศล ๑๔)




ที่มาแห่งการแพร่พระคาถาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อพรรษาที่ ๑๗ คืนหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์สุก (สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน) ทรงเข้าที่เจริญสมณะธรรมตามปรกติ ทรงทราบในนิมิตสมาธิว่า มีพระอริยเถราจารย์ ชั้นสุทธาวาส มาบอกว่า ให้ไปพบท่านที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ท่านจะสำเร็จสมประสงค์สูงสุดทุกอย่าง ตามที่ท่านต้องการ ให้ไปที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย แล้วความประสงค์ ของท่านจะสำเร็จ และจะได้เกื้อกูล ชนทั้งหลายในภายหน้าด้วย

ต่อมาพระองค์ท่านพระอาจารย์สุก ก็สัญจรไป ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย ทรงไปด้วยอิทธวิธญาณเมื่อพระองค์ท่าน ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย กรุงเก่า พระองค์ท่านก็ทรงพบพระอริยเถราจารย์อยู่ในร่างกายทิพย์ ที่สำเร็จด้วย การเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา พระองค์ท่านก็ทรงเข้าไปกราบนมัสการ พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ก็กล่าวว่า พรุ่งนี้ให้ท่านเดินทางไป ในทางนั่นพร้อมกับชี้มือไปทางนั้นด้วย จะพบของดี ของวิเศษ แต่คืนนี้ให้ท่านพักปักกลด บำเพ็ญสมณะธรรม ณ ที่ป่าดงพญาเย็น (คนละแห่ง กับที่เมืองอุตรดิตถ์) นี้ก่อน

ภายหลังพระอาจารย์สุก ได้ทรงทราบเถรประวัติ ของพระอริยเถราจารย์พระองค์นี้ว่า ท่านเคยบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าดงพญาเย็น แขวงเมืองสุโขทัยนี้ประชาชนทั้งหลายสมัยนั้นเรียกขานนามท่านว่า พระฤาษีกัณทหะ (กัณทา) ต่อมาภายหลัง ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชา-อุปสมบท ได้นามทางพระพุทธศาสนาว่า วิสุทโธ

เพลาสายของวันนั้น พระอาจารย์สุก ออกเดินทางไป ตามที่พระอริยเถราจารย์ ผู้ทรงร่างอยู่ด้วยกายทิพย์ ไปถึงป่าใหญ่แห่งนั้น ใกล้เชิงเขา ทรงทอดพระเนตรเห็น ก้อนหินก้อนหนึ่ง จารึกเป็นอักษรขอม โบราณว่า


มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ



พระอาจารย์สุก ทรงอ่าน และท่องจำไว้แล้ว ทรงพักปักกลด ณ ที่แห่งนั้นหนึ่งคืน ตกเพลากลางคืนทรงบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคย ก็ได้ทรงทราบมงคลนิมิต ของพระคาถานี้ทั้งหมด และได้ทรงทราบอุปเท่ห์ วิธีการ ย่อๆ โดยสมควร จากบาทฐาน ขององค์ฌาน


ต่อมาพระองค์ท่าน ก็ได้ทรงทราบจากสมาธินิมิตอีกว่า พรหมชั้นสุทธาวาส มาบอกพระองค์ท่านว่า ให้ไปที่วัดร้าง กลางเมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ท่านจะพบของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี เมื่อพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว พระองค์ท่านก็ทรงทราบได้ทันทีว่า วัดร้างนั้น คือวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐาน พระศรีศากยะมุนี ที่สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี


เพลาสายของวันต่อมา พระองค์ท่าน ทรงเดินทางมายังเมืองสุโขทัย กรุงเก่า โดยไม่ใช้อิทธวิธญาณ ถึงเมืองสุโขทัย กรุงเก่าแล้ว พระองค์ท่านทรงค้างแรม นั่งเจริญสมาธิอยู่ที่บริเวณ วัดมหาธาตุสถานที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี หนึ่งราตรีเวลานั้น วัดพระมหาธาตุ สุโขทัย กรุงเก่า เป็นวัดร้าง เนื่องจากขณะนั้น ยังมีการรบระหว่างไทย-พม่าอยู่ และพระพุทธรูปใหญ่ พระพุทธศรีศากยะมุนี ก็ยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ ซึ่งปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานแห่งชาติสุโขทัย ครั้งนั้น หลังฉันอาหารเช้าแล้ว พระองค์ท่าน ทรงเดินทางเข้าไปในวัดมหาธาตุ เข้าไปในพระวิหาร ที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธศรีศากยะมุนี พระพุทธรูปสำคัญ ของวัดแห่งนี้


ต่อมาพระองค์ท่านทรงทราบว่า ของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี อยู่ใน พระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ท่านจึงเดินทางไปที่หอไตรประจำวัดมหาธาตุ และทรงค้นพระคัมภีร์ในตู้แรกดู พอพระองค์ท่านทรงเปิดตู้แรก ทรงเห็นพระคัมภีร์แรก ที่หน้าพระคัมภีร์จารึก รูปนางฟ้านั่ง อยู่บนดอกบัวบาน พระองค์ก็ทรงทราบได้ในทันทีว่า พระคาถาวาณี พร้อมรายละเอียดอุปเท่ห์ อยู่ในลานนี้ทั้งหมด


ความนัยะพระคาถา


เมื่อพบแล้ว พระองค์ท่านทรงเปิดพระคัมภีร์ดูก็ทรงพบ พระคาถาอาราธนานั่งธรรม หรือ พระคาถาวาณีจารึกเป็นอักษรขอมโบราณ เป็นตัวทอง อ่านได้ความ เหมือนอย่างที่พบ จารึก ที่ก้อนหิน ในป่าใกล้ๆป่าดงพญาเย็น พร้อมมีคำอาราธนา และคำอธิบายว่า


มุนินฺท วท นมฺพุชะ คพฺภ สมฺภว สุนทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ


๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฏก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ห้องปทุมชาติคือพระโอฐ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

มนํ ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในขันธ์สันดานของข้าพระเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้สิ้นไปเสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมัตถานุโยค ไม่ให้ลำบากแก่สังขาร ฯ

๐ พุทธํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ
๐ ธมฺมํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิฯ
๐ สงฺฆํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ
๐ ข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า จงมารับเครื่องสักการะบูชาของข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิดฯ



พร้อมคำอธิบายว่า พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตนเพื่อจะนั่งทางธรรม จะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์ ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อน อาราธนาองค์พระกรรมฐานประกอบกับพระกรรมฐานห้องต่างๆ เวลานั้นพระองค์ท่านติดอยู่ขั้นสุดท้าย ของอันตราปรินิพพายี อย่างประณีต

เมื่อพระองค์ท่าน นำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม


ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เจตสิกมี ๑๔ ตัว คือ
๑. โมโห คือหลง
๒. อหิริกํ มิละอายแก่บาป
๓. อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป
๔. อุทธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน
๕. โลโภ โลภ
๖. ทิฏฐิ ถือมั่น
๗. มาโน มีมานะ
๘. โทโส โกรธ
๙. อิสฺสา ริษยา
๑๐. มจฺฉริย ตระหนี่
๑๑. กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ
๑๒. ถีนํ กระด้าง หดหู่
๑๓. มิทธํ หลับง่วง
๑๔. วิจิกิจฉา สงสัย


พระคาถาเพื่อความสำเร็จสมประสงค์

เมื่อกำจัดบาปธรรม ออกไปแล้ว อาจสามารถยังปัญญาให้บรรลุธรรมได้ จะเป็นทางนำสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสได้จากนั้นพระองค์ท่าน ก็ทรงทำการคัดลอกพระคัมภีร์วาณี ที่ไม่มีเจ้า อยู่ในวัดร้าง เมืองสุโขทัยนี้ กลับมาจากรุกข์มูล

พระองค์ท่านทรงนำบทพระคาถาวาณีนี้ว่านำก่อนนั่งพระกรรมฐานทุกครั้ง แล้วจึงเจริญเมตตาเจโต เมตตาออกบัวบานพรหมวิหาร ต่อไป ผ่านไปไม่นานนัก พระองค์ท่าน ทรงสามารถบรรลุอันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างประณีต ดังได้มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกา ตอนว่าด้วยอรรถกถา แห่งภิกขุนีขันธกะ ว่า

กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระขีณาสพปฏิสัมภิทาญาณ
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๒,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอรหันต์สุกขวิปัสสก
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๓,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอนาคามี
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๔,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระสกทาคามี
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๕,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระโสดาบัน

กาลที่พระอาจารย์สุก สำเร็จคือกาลแห่ง พระอนาคามี ท่านบรรลุขั้นประณีตครั้งนั้น พร้อมด้วย มรรค ๓ ผล ๓ อภิญญา ๖ เป็นพระอนาคามีบุคคล เต็มขั้น กล่าวว่า เมื่อมรณะภาพ หรือนิพพานแล้ว จะไปบังเกิดในภพ สุทธาวาส คือที่อยู่ของท่านที่บริสุทธิ์ ที่บังเกิดของอนาคามีบุคคล ได้แก่พรหม ๕ ชั้นสูงสุด ของชั้นรูปาวจรคือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา จะสำเร็จพระอรหันต์ผลในภพทั้งห้านี้ ไม่กลับมาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกถึงแม้ท่าน จะทราบว่าเป็นกาล แห่งอนาคามี พระองค์ท่าน ก็ยังไม่ละความเพียรเพิ่มวิริยะบารมีขึ้นเรื่อยๆไม่ทรงท้อถอย ต้องการที่จะบรรลุขั้นต่อไป

ดังปรากฏในคัมภีร์ ปัญจปสูทนีอรรถกถา แห่งมหาสูญญะตาสูตรมีใน อุปริปัณณาสก์ว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า แม้เมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้วก็ดี กุลบุตรทั้งหลายที่ยินดีแล้วในเอกีภาพ คือความเป็นอยู่ผู้เดียว นึกถึงมหาสูญญตาสูตรอยู่ดังนี้แล้ว หลีกออกจากหมู่คณะ ก็จะทำให้สิ้นวัฏฏะทุกข์ได้ดังนี้

พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงมีความเป็นอยู่ผู้เดียว แลทรงบำเพ็ญเพียรภาวนาซึ่ง มหาสูญญตาสูตร เสมอๆ กล่าวว่าสมัยอยุธยา พระคาถาวาณีก็มีเหมือนกัน แต่ไม่แพร่หลาย เพราะถึงตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ก็เริ่มเสื่อมจากอุบายธรรมนี้ พระอาจารย์สุก ท่านปฏิธรรม ยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มาถึงกาลล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเสียก่อน พระคัมภีร์อุบายธรรมต่างๆ จึงถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น และพระคาถาวาณีนี้ จึงตกค้าง อยู่ที่เมืองสุโขทัย กรุงเก่ากาลต่อมาพระคาถาวาณี ได้แพร่หลายในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง มีการให้ความหมายพระคาถาวาณีไว้ดังนี้


นางฟ้าคือ พระไตรปิฏก มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
มีรูปอันงามอันเกิดแต่ห้องดอกบัวคือ พระโอฐ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่กว่าจอมปราชญ์ทั้งหลาย
ปาณีนํ สรณํ วาณี
เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณ คือลมหายใจทั้งหลาย
มยฺหํ ปิณยตํ มนํ
จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี



ที่มาเนื้อหา จาก http://www.somdechsuk.org/
189  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขอเสนอให้ทีมงาน เสนอประวัติของ พระโสณะ พระอุตตระ ด้วยครับ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 02:03:59 pm


พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ

โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น  พระคัมภีร์วิสุทธิมรรคเพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่ง คัมภีร์อรรถคาถา
แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึง

ยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง

ต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อจากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทรศัพท์-084-651-7023


190  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ประมวลภาพกิจกรรม การปฏิบัติธรรม ที่วัดแก่งขนุน เมื่อ: ธันวาคม 16, 2011, 12:23:27 pm


อนุโมทนาชื่นชม กับความตั้งใจของพระอาจารย์ ในการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา มาโดยตลอดคะ

 :25: :25: :25:
191  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ประมวลภาพกิจกรรม การปฏิบัติธรรม ที่วัดแก่งขนุน เมื่อ: ธันวาคม 16, 2011, 12:10:02 pm








192  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ประมวลภาพกิจกรรม การปฏิบัติธรรม ที่วัดแก่งขนุน เมื่อ: ธันวาคม 16, 2011, 11:55:48 am
คิดว่า ให้เห็นภาพบ้างดีกว่า คะ เพราะถ้าให้สมัครสมาชิก แล้ว ส่วนใหญ่จะไม่สมัครนะคะ





193  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: เที่ยว ๙ วัด ในกรุงเทพกับพระอาจารย์สนธยา เมื่อ: ธันวาคม 16, 2011, 11:49:11 am


พระอาจารย์ สนธยา ธัมมะวังโส




คณะศิษย์ ไหว้พระแก้วมรกต


ไหว้หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร


ไปต่อวัดภูเขาทอง


วัดระฆัง


เดินจากวัดประดู่ฉิมพลี ไปวัด ปากน้ำ


ไปวัดกัลยาณมิตร


วัดกัลยาณมิตร


บนวิหารภูเขาทอง


วัดยานนาวา


วัดยานนาวา


วัดยานนาวา


วัดไตรมิตร


วัดไตรมิตร

และเท่าที่ทราบ ก็ยังมี วัดราชสิทธาราม วัดสังฆทาน วัดชลประทาน วัดชูจิตธรรมาราม วัดป่าภูริฑัตร

นำมาช่วยโพสต์ให้คะ เพราะเข้ามาทีไรไม่เคยได้ดูภาพ คะ



194  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กระดูก ขี้เถ้า ของพระสงฆ์ ที่เราเก็บมาถ้าเปลี่ยนสภาพเป็นวัตถุอื่น ๆ แสดงว่าเป็น. เมื่อ: ธันวาคม 15, 2011, 10:17:46 am
การแปรเปลี่ยน เป็น ธาุตุ ยังไม่ได้ฟันธงลงไปว่า เป็นพระอริยะขั้น พระอรหันต์ ใช่หรือไม่คะ

ซึ่งอาจจะมี หรือไม่มี ข้อมุล ที่ยืนยันชัดเจน แต่ กระดูก หรือ ขี้เถ้า( อังคาร ) ของพระสงฆ์ ที่เปลี่ยนลักษณะต่าง ๆ เราควรให้ความเคารพ ชื่นชม เป็น สีลานุสสติ และ สังฆานุสสติ  กายคตาสติ มรณัสสติ อุปสมานุสสติ

 โดยส่วนตัว มีความเคารพมากคะ

  แต่ ก็ยังไม่แน่ใจว่า พระอริยะบุคคล ตั้งแต่ พระโสดาบัน ขึ้นไป ก็เปลี่ยนธาตุ ได้หรือไม่ ?

  ขอบคุณ คะ

   :c017: :25: :58:
195  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "จับหลับ" หลับอย่างมีสติ เมื่อ: ธันวาคม 15, 2011, 10:13:37 am
ดีใจ คะ ไม่เห็น ป้าปชาบดี มาเยี่ยมตั้งนานแล้วคะ
 :s_hi: :25:


สำหรับ หนู คิดว่า การจับหลับ เป็น สติ เบื้องต้นเท่านั้นคะ เป็น สติ ที่ควรจะมีสำหรับ ผู้เริ่มฝึกสติ เป็นกำลังใจของคนที่ง่วง และ ยังหลับคะ ส่วน สติ แท้ ต้องประกอบด้วยญาณ คือความรู้แจ้ง มิใช่ประกอบด้วย สังขาร (ปรุงแต่ง ) คะ เพราะว่า ถ้าปรุงแต่งอยู่ ก็ยังไม่พ้น ลูบ ของ อวิชชาิ

   ดังนั้น สติ พัฒนา สัมปชัญญะ และ สัมปชัญญะ พัฒนา สมาธิ ก็พัฒนา ยถาภูตญาณ เป็นลำัดับไปคะ

  ควรมิควรแล้วแต่ จะแนะนำนะคะ

  :25: :25: :25: :58:
196  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: กลุ้มใจ คะ ไม่รู้ว่าเราจะรับกรรมอย่างไร บ้างคะ เมื่อ: ธันวาคม 14, 2011, 12:15:32 pm
กรรม น่าจะมีอยู่ นะคะส่วนของการพรากลูก พรากแม่ ก็ยุติกรรมไว้เท่านั้น และทำหมันแมวซะถ้าไม่อยากให้เพิ่มประชากรนะคะ เพราะเขาก็มีประชากรหลายตัวแล้ว เราเองก็ไม่ต้องรับกรรมเพราะการทำหมันแมวมากคะ


 :25: :25: :25:
197  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ยามที่เราสับสน ผิดหวัง อยู่ในสภาวะเครียด ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 10:05:19 am
อ้างถึง
รู้สึกว่า กระทบใจอย่างแรง เลยคะ ต้องอ่านกลับไป กลับมาหลายรอบ เพราะอ่านแล้วรู้สึกหงุดหงิด เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ได้มีมุมมอง ที่แสดงให้เห็นว่า ดิฉัน เป็นคนที่ ถึือดี อวดเก่ง แหมอ่านแล้วรู้สึก ตะหงิด ๆๆ เพิ่มขึ้นมา ยิ่งอ่านอารมณ์ ยิ่งหงุดหงิด มาก และดิฉัน ก็อ่านทบทวน กลับไป กลับมา

บรรยายอารมณ์ ได้ชัดเจนดีคะ เป็นผู้ที่ยอมรับตามความเป็นจริง ตามธรรมดาบุคคลถ้าไม่เห็นธรรมจะมักปกปิดไว้คะ

นับถือคะ

  :25: :25: :25:
198  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ยามที่เราสับสน ผิดหวัง อยู่ในสภาวะเครียด ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 10, 2011, 05:15:02 pm
เอาเป็นว่า เสนอวิธี ปล่อยวางให้ดีหรือไม่คะ

  เวลาที่จิตหดหู่อย่างนี้ ก็ควรได้อาศัยกรรมฐาน เป็นเครื่องระงับจิต แต่เหตุที่จะระงับจิตไม่ได้ ก็จะมีมาจากการปรามาสต่อ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

   ( ซึ่งมีอยู่ครั้งหนึ่ง ดิฉันเองเคยปรามาส พระอาจารย์ ในกระทู้หนึ่ง ช่วงนั้น กรรมฐานทำไม่ได้เลยคะ แต่ก็โชคดีตรงที่ได้เข้ากรุงเทพ และมาขอขมาท่าน ที่วัดราชสิทธารามครา ขึ้นกรรมฐานใหญ่ ตั้งแต่นั้นมาก็ปฏิบัติกรรมฐานได้ง่ายขึ้นสะดวกคะ )

   ดังนั้นหาคุณ ratchannee ปฏิบัติกรรมฐาน ไม่ได้ในช่วงนี้ต้องนึกให้ออกด้วยนะคะว่า ได้ทำการปรามาสครูอาจารย์ด้วยหรือไม่ บางครั้งอารมณ์ เราฟุ้งจนหมิ่นครูอาจารย์ได้นะคะ เรื่องนี้ต้องระวัง

   สำหรับเรื่องกรรมฐาน ถ้าปฏิบัติไม่ได้ จากประสบการณ์ตัวเองก็มีมาจากเหตุนี้ คะ

   ส่วนเรื่องการปล่อยวาง นั้น ถ้าเราภาวนากรรมฐานได้ ก็จะปล่อยวางได้คะ

   คุยกันเท่านี้ก่อนนะคะ


   :58: :88:
199  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ร่วมอวยพร ส่งความสุข ด้วยการ์ด ดิจิตอล ต้อนรับปี 2555 / 2012 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2011, 12:40:02 pm
200  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญสมัครร่วมปฏิบัิติธรรม ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 30 - 31 ธ.ค.54 - 1 ม.ค.55 เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2011, 10:11:39 am
อ้างถึง
ณ สายป่านรีสอร์ท มวกเหล็ก สระบุรี
มีค่าใช้จ่าย 1,300 - 1,500 บาท
ต้องชำระเิงินภายในวันที่ 10 ธ.ค. 54

ค่าใช้จ่าย อันนี้ ต่อวัน หรือ ต่อ   3  วัน คะ
และทำไมต้องชำระเงินก่อน วันที่ 10 ธ.ค.54 ด้วยคะ
ขออนุญาตตอบใน โพสต์ ถาม เลยนะครับ เนื่องด้วย มีคำถามเยอะมากครับ

 ตอบคำถามนะครับ
    ค่าใช้จ่ายนี้ เป็นค่าใช้จ่าย ที่เหมา 3 วันแล้วครับ ซึ่งรวม ค่าอาหาร ค่าที่พัก ห้องประชุม อาคาร คือเหมาทั้งอาคารครับ และ เป็นค่าใช้จ่ายที่ ถูกที่สุด ที่ทีมงาน ได้หามาแล้วครับ เพราะที่อื่น ๆ คิดเป็นรายวัน ๆ ละ 900 บาทครับ เดิมที เขาคิดเหมาไว้ที่ 1,700 บาท นะครับ แต่ทาง รีสอร์ทต้องการร่วมทำบุญสนับสนุนด้วย จึงคิดลดราคาเหลือเพียง 1,300 บาท ส่วนที่ต้องบอกไปถึง 1,500 บาท นั้นคืออาหารมื้อเย็น ที่บางท่านต้องการทาน 3 มื้อครับ

   ทำไมต้องชำระ ก่อนวันที่ 10 ธ.ค.54 เพราะเราต้องจอง ที่พัก ครับ และต้องจ่ายเงินมัดจำ ด้วยครับดังนั้น เพื่อไม่ให้ทาง รีสอร์ท เสียโอกาสในการจำหน่ายที่พัก เราต้องจองก่อน ซึ่งถ้าเราไม่จองภายในวันที่ ๆ กำหนดก็คือ ยกเลิก ครับ

 
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13