ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ญาณ ในสมาธิ กับ ญาณ ใน วิปัสสนา ต่างกันหรือเหมือนกันครับ  (อ่าน 3510 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตามหัวข้อเลยนะครับ คือสงสัยว่า
ญาณ ในสมาธิ กับ ญาณ ใน วิปัสสนา ต่างกันหรือเหมือนกันครับ

   ญาณในสมาธิ คือ อะไร
   ญาณในวิปัสสนา คืออะไร

  เหมือนหรือ ต่างกันครับ จะมีได้ตอนไหนครับ

   :c017:
บันทึกการเข้า

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ญาณ ในสมาธิ น่าจะหมายถึง การเห็นตามความเป็นจริงคะ

ญาณ ในวิปัสสนา ก็น่าจะหมายถึงกัน คะ

  เพราะ ญาณ เป็น ปัญญา คะ จัดเป็น วิปัสสนา

   :19:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

     ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้


ญาน ในสมาธิ คะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6409.0

ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน

        ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นทุกข์ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นโรค ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังหัวฝี ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังลูกศร ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความลำบาก ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอาพาธ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอย่างอื่น ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของชำรุด ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นเสนียด ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอุบาทว์ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นภัย ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอุปสรรค ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความหวั่นไหว ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของผุพัง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของว่าง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของเปล่า ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของสูญ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอนัตตา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นโทษ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความแปรปรวน  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของหาสาระมิได้ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังเพชฌฆาต ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความเสื่อมไป ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีอาสวะ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความคับแค้นใจ  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเศร้าหมอง  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม


ญาณ ในวิปัสสนา คะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1610.0


ขอบคุณภาพประกอบใจสบายจาก http://www.dhammadelivery.com
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ ช่วยกันตอบปัญหาที่พอจะตอบได้ ดี นะครับ เป็นการช่วยกันแจกธรรมทานแบ่งเบาภาระ สหธรรม กันครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

 :25:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ ตอบได้เกือบชัดเจน แล้ว รอพระอาจารย์ มาเสริมน่าจะเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกคะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา สาธุ

  เจริญพร

   ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา