ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่ถูกแล้ว "ยักษ์วัดโพธิ์..ไม่ใช่ยักษ์จีน" (มีภาพสวยๆให้ชม)  (อ่าน 2708 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

“ยักษ์วัดโพธิ์” ซึ่งตั้งเก็บไว้ในตู้หน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)


ตำนานยักษ์วัดโพธิ์-ตำนานกำเนิดท่าเตียน

    สำหรับยักษ์ประจำวัดโพธิ์ หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์” โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ

     ตำนานกำเนิดท่าเตียน มีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้นทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืนแต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้

     ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น จึงราบเรียบกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย

    ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน ทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ และให้ยักษ์วัดแจ้งทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหารวัดแจ้งเรื่อยมา ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้



“ลั่นถัน นายทวารบาล”
หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่ ที่ยืนถือศาสตราวุธเฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออก บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็น “ยักษ์วัดโพธิ์”


     เมื่อคาดคะเนจากตำนานการต่อสู้ ยักษ์ทั้งสามน่าจะมีขนาดใกล้เคียงกัน บางคนเลยเข้าใจผิดคิดว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่ ที่ยืนถือศาสตราวุธเฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออกในเขตพุทธาวาสของวัด ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดรวม ๓๒ ตัวนั้น คือ ยักษ์วัดโพธิ์

    แต่โดยแท้จริงแล้ว “ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ ตัวเท่านั้น คือ ยักษ์กายสีแดง และ ยักษ์กายสีเขียว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามากเล็ก จนสามารถตั้งเก็บไว้ในตู้หน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ได้



“ยักษ์วัดโพธิ์” ตัวจริง มีลักษณะเช่นเดียวกับยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์


“ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ ตัวเท่านั้น คือ ยักษ์กายสีแดง และยักษ์กายสีเขียว


ยักษ์กายสีแดง


ยักษ์กายสีเขียว


“ยักษ์วัดโพธิ์” ยักษ์กายสีเขียว



ที่มา คัดลอกบางตอนมาจาก...กระทู้...๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=26201


ลิงค์แนะนำครับ

••••••••• ๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ •••••••••
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=23364

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19426

“จารึกวัดโพธิ์” ภูมิปัญญาไทยน่าทึ่ง มรดกความทรงจำแห่งโลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19751

พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19303

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=23317

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ วันที่ 29 ม.ค. ก็แวะ วัดแจ้งคะ รู้สึกเป็นงานวันสุดท้าย นะคะ
ขึ้นไปบนพระปรางค์ แล้ว กลับมาปวดน่อง ปวดขาเลยคะ

   :s_good: :s_good: :c017: :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน