ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ)  (อ่าน 2671 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม

เรื่องโดย ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา


ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัตฒนา ลูกศิษย์เจ้าปัญหา กับ อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร ผู้เปี่ยมประสบการณ์ทั้งทางโลกและทางธรรม จะสนทนากันเรื่องสิทธิสตรีว่า แท้จริงแล้วในทางธรรมผู้หญิงจะเท่าเทียมกับผู้ชายได้หรือไม่ และการเรียกร้องสิทธิสตรีที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนั้น แท้จริงแล้วที่ถูกต้อง ควรทำแค่ไหน อย่างไร
 
อาจารย์คะ การเกิดเป็นผู้หญิงนั้น เห็นได้ชัดว่าต้องใช้ชีวิตอย่างมีข้อจำกัดมากกว่าผู้ชาย ในทางธรรมแล้ว เพศหญิงไม่เท่าเทียมกับเพศชายจริงไหมคะ
จริงลูก ถ้าหมายถึงโลกิยธรรม เพราะตามธรรมชาติแล้วเพศหญิงกับเพศชายนั้นไม่เท่าเทียมกัน เพราะผู้หญิงอยู่ในเพศที่ไม่ปลอดภัย มีสภาวะของจิตอ่อนไหว มีสรีระบอบบาง และรับสิ่งกระทบมาปรุงอารมณ์ได้มากกว่าเพศชาย จึงเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ง่าย ทำให้ต้องมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตมากกว่า ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลของภิกษุณีสงฆ์ไว้ถึง ๓๑๑ ข้อ ในขณะที่ศีลของภิกษุสงฆ์ทรงบัญญัติไว้เพียง ๒๒๗ ข้อเท่านั้น

 ๏ ทำไมล่ะค่ะอาจารย์

เพราะจิตที่อยู่ในร่างกายของเพศหญิงนั้นต้องอาศัยศีลมากกว่า ถึงจะคุมจิตมิให้หวั่นไหวได้เท่าเทียมกับจิตที่อยู่ในร่างของเพศชาย

 ๏ หมายความว่าจิตของผู้หญิงมีความแน่วแน่และมีพลังน้อยกว่าผู้ชายหรือคะ

ไม่ใช่ลูก ตัวจิตเองนั้นมีศักยภาพเท่าเทียมกัน แต่ร่างของเพศหญิงเป็นร่างที่เปิดโอกาสให้จิตรับสิ่งกระทบมากกว่าร่างของเพศชาย จึงต้องอาศัยศีลมากกว่าในการควบคุมกาย วาจา ใจ ของเพศหญิงให้บริสุทธิ์ แต่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้ว จิตของทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีศักยภาพเท่ากัน

 ๏ ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า ผู้หญิงบรรลุธรรมยากกว่าผู้ชายใช่ไหมคะ

ยากกว่า เพราะจิตอยู่ในร่างที่รับสิ่งกระทบมากกว่า

 ๏ อย่างนี้การเกิดเป็นผู้ชายก็นับว่าโชคดีกว่าการเกิดเป็นผู้หญิงจริงๆ น่ะสิคะ

ใช่ลูก โชคดีกว่าในด้านการพัฒนาจิตให้เข้าถึงธรรม เพราะการอยู่ในเพศหญิงนั้นมีข้อจำกัดมาก เช่น ถึงแม้จะเก่งแค่ไหนก็ตาม แต่การดำรงชีพแต่เพียงผู้เดียวสำหรับผู้หญิงเป็นเรื่องอันตราย ดูอย่างพระอุบลวรรณาสิ แม้จะบรรลุอรหัตผลแล้ว แต่ก็ยังถูกนันทมาณพข่มขืน เพราะท่านไปปฏิบัติธรรมอยู่แต่เพียงผู้เดียวที่กุฏิในป่าอัมพวัน ด้วยเหตุนี้ ในพระวินัยจึงระบุไว้ว่า ภิกษุณีห้ามอยู่วัดโดยไม่มีภิกษุสงฆ์อยู่ด้วยเพราะจะไม่ปลอดภัย นี่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าต้องบัญญัติศีลอีกหลายๆ ข้อสำหรับภิกษุณีสงฆ์ เช่น ภิกษุณีสงฆ์แม้จะบวชมานานเท่าไร หรือบรรลุธรรมขั้นไหนก็ตาม ยังต้องกราบไหว้พระภิกษุที่บวชแม้เพียงวันเดียว ฯลฯ นี่เป็นกุศโลบายย้ำเตือนเพศหญิงให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ให้อัตตานำหน้าจนคิดว่าฉันอยู่ได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่ว่าใครจะมีความเห็นอย่างไรก็ตาม ตามธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว การเกิดเป็นผู้หญิงไม่เท่าเทียมกับการเกิดเป็นผู้ชาย
 
ถ้าอย่างนั้นการออกมาเรียกร้องสิทธิสตรีที่ทำกันอยู่ทั่วโลก ก็เป็นสิ่งที่ผิดนะสิคะ

การเรียกร้องสิทธิสตรีให้เท่าเทียมกับผู้ชาย เป็นสิ่งที่คนทางโลกเขาทำกัน โดยไม่ดูความถูกต้องในทางธรรม เรื่องอย่างนี้ในทางโลกอาจจะเรียกร้องให้เกิดการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันได้ แต่ในทางธรรมแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
 
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ผู้หญิงทั้งหลายจะอยากเกิดเป็นผู้ชายหรือเปล่าค่ะ
ไม่จำเป็น เรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับความปรารถนาของแต่ละคน เพราะไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้เหมือนกัน เพียงแต่ก่อนที่จะบรรลุนั้น ความเสมอภาคทางร่างกายมีต่างกัน แต่ความเสมอภาคทางจิตใจเมื่อบรรลุธรรมแล้วมีเหมือนกัน
 
กรรมอะไรทำให้คนเราเกิดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายคะ

หนึ่ง คือ การประพฤติ สอง คือ ความปรารถนา เหมือนในครั้งพุทธกาล เจ้าหญิงโคปกาเกิดเป็นผู้หญิงแล้วรู้สึกว่าเป็นเพศที่มีภาระและปัญหามาก จึงอธิษฐานขอเกิดเป็นผู้ชาย แล้วทำเหตุให้ถูกตรง ในที่สุดจึงไปเกิดเป็นโคปกเทพบุตรอยู่บนสวรรค์

การทำเหตุให้ถูกตรงสำหรับการไปเกิดเป็นผู้ชาย ก็คือการประพฤติจริยธรรมของการเป็นผู้หญิงให้ถูกตรงตามธรรม เช่น ทำตัวเป็นลูกสาวที่ดี เป็นภรรยาที่ดี เป็นแม่ที่ดี นอกจากนั้นก็ต้องทำจิตให้มีลักษณะแบบผู้ชาย เช่น ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก เพราะถ้าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ นั่นคือลักษณะนิสัยที่จะทำให้ไปเกิดเป็นผู้หญิงต่อไปอีก

 
อาจารย์คะ ถ้าผู้หญิงมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ไม่ต่างจากผู้ชาย แล้วทำไมปัจจุบันนี้การบวชเป็นภิกษุณี จึงเป็นสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาในบ้านเมืองเราล่ะคะ

อาจารย์ต้องเท้าความอดีตก่อนว่า ในครั้งพุทธกาล พุทธบริษัท ๔ นั้นประกอบไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา

ภิกษุณีรูปแรกของพระพุทธศาสนาคือ พระมหาปชาบดีโคตรมี ซึ่งเป็นพระมาตุจฉาหรือพระน้านางของพระพุทธเจ้า แต่กว่าจะได้บวช พระพุทธเจ้าทรงไม่อนุญาตอยู่ถึง ๒ ครั้งจนกระทั่งในครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตรมีทรงปลงผมและนุ่งผ้าย้อมฝาด แล้วเดินเท้าเปล่าจากรุงกบิลพัสดุ์มายืนร้องไห้อยู่หน้ากุฏาคารศาลาที่แคว้นวัชชี พระอานนท์ออกไปเห็นเข้าจึงไปถามไถ่ดู เมื่อได้ความแล้วจึงรับอาสาไปจัดการให้และเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมื่อผู้หญิงปฏิบัติธรรมแล้วจะบรรลุธรรมได้ไหม เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตอบว่าได้ พระอานนท์จึงทูลถามต่อว่า แล้วเหตุใดจึงทรงไม่อนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตรมีบวช ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องประพฤติครุธรรม ๘ ประการ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อวัดใจผู้บวชที่เป็นหญิงว่ามีความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาจริงๆ

 
ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้ตั้งแต่แรกคะอาจารย์
เพราะทรงเกรงว่า หากรับเพศหญิงที่ไม่มีความมั่นคงในพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวชแล้ว อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุได้ เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงทรงบัญญัติไว้ด้วยว่า การบวชเป็นภิกษุณีนั้นต้องบวชด้วยสงฆ์สองฝ่าย คือทั้งฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์

ทุกวันนี้ประเทศที่ปฏิบัติตามพระวินัยข้อนี้ได้ มีเหลืออยู่เพียงประเทศศรีลังกา ด้วยเหตุนี้ภิกษุณีในประเทศไทยของเราจึงต้องไปบวชมาจากประเทศศรีลังกา แล้วค่อยกลับมาเป็นภิกษุณีสงฆ์อยู่ที่บ้านเรา แต่อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย


แล้วอย่างนี้ในฐานะชาวพุทธ เราควรจะเห็นด้วยกับการมีภิกษุณีในเมืองไทยไหมคะ
ขึ้นอยู่กับสภาวะความรู้แจ้งของจิต หากจิตของเรามีปัญญาเห็นแจ้งแล้ว เราย่อมรู้ว่าไม่ว่าจิตจะอยู่ในเพศชายหรือหญิงก็สามารถบรรลุธรรมได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่มีเพศ ด้วยเหตุนี้ผู้รู้จริงจึงเห็นด้วยกับการอนุญาตให้ผู้หญิงบวช เพราะรู้ว่าการบวชเป็นเรื่องของจิตที่มีศักยภาพในการบรรลุธรรมได้เท่าเทียมกัน ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เข้าใจนะลูก

 ๏ เข้าใจแล้วค่ะอาจารย์

ครุธรรม ๘ ประการ (โดยสรุป) ได้แก่

๑. ภิกษุณีต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้มีอายุพรรษาน้อยกว่าเสมอ

๒. ภิกษุณีต้องจำพรรษาในวัดที่มีภิกษุอยู่ด้วยเสมอ

๓. ภิกษุรีต้องเป็นฝ่ายรับการสั่งสอนจากภิกษุเสมอ

๔. ภิกษุต้องปวารณาในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

๕. เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติหนักรองจากปาราชิก) จะต้องประพฤติมานัตต์ (การเข้าปริวาสกรรม-การอยู่ในบริเวณที่กำจัดและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาต่อเนื่องเพื่อลดละกิเลส) ตลอดปักษ์ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย

๖. ภิกษุณีต้องเป็นผู้ศึกษาธรรมและรักษาศีล ๖ ข้อ (เพิ่มข้อห้ามกินยามวิกาลจากศีล ๕) เป็นเวลา ๒ ปี ก่อนจะได้รับการบวชโดยสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

๗. ห้ามมิให้ภิกษุณีด่าว่าภิกษุสงฆ์ไม่ว่าในกรณีใดๆ

๘. ห้ามมิให้ภิกษุณีว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ

ทั้งหมดนี้เป็นธรรมที่ภิกษุณีพึงสักการะ นับถือ เคารพ บูชาและไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต


ที่มา     http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37014
 
 
 
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 11:38:02 am »
0

ความเป็นไปตาม "วิบากแห่งบุญและบาป" ย่อมจัดสรรให้ทุกดวงจิตเสวยทุกข์และสุขอย่างยุติธรรม
มีหลายคนไม่พอใจในเพศของตนเอง พยายามที่จะแปลงเพศ เรื่องนี้เป็นทุกข์อย่างไร ทุกคนควรตระหนัก
อย่าได้น้อยใจในเพศของตนเลย จงภูมิใจที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ แล้วได้พบพุทธศาสนา
:welcome: :49: :25: ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 07:46:00 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 11:39:56 am »
0
^_^  รู้สึกอ่านตามดูแล้ว คุณ nathaponson ตามดันกระทู้ให้คุณ jaravee อยู่นะคะ ในวันนี้

 หรือ ทั้งสองคนคือคนเดียวกันคะ

 อนุโมทนาคะ

   :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 11:59:20 am »
0
^_^  รู้สึกอ่านตามดูแล้ว คุณ nathaponson ตามดันกระทู้ให้คุณ jaravee อยู่นะคะ ในวันนี้

 หรือ ทั้งสองคนคือคนเดียวกันคะ

 อนุโมทนาคะ

   :s_hi: :25:


  ผมมีเพียง "ยูสเซอร์เดียว"...ขอรับ
  คนโพสต์หายาก ควรช่วยกันอนุโมทนา และหาข้อมูลมาสนับสนุน

  คนใช้หลายๆยูสเซอร์ จะเพิ่มชาติเพิ่มภพ..ขอรับ เรื่องนี้ผมไม่ได้พูดเอง พูดตามพระอาจารย์
  คนที่หวังนิพพานในชาตินี้ หรือ กลัวภัยในสังสารวัฏนี้ ควรใช้เพียงชื่อเดียว


   :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 12:01:55 pm »
0
อนุโมทนา ครับ

 จริง ๆ แล้วผมว่า คนโพสต์ หายากจริง ๆ นะครับ

   :hee20hee20hee:

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 04:20:24 pm »
0
ขอบคุณนะคับ
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก